สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อิทธิพลจีนคับอาเซียนถึงเวลาปรับสมดุลรับมืออย่างมีชั้นเชิง

จาก โพสต์ทูเดย์

อิทธิพลจีนคับอาเซียนถึงเวลาปรับสมดุลรับมืออย่างมีชั้นเชิง

ต้องยอมรับตรงๆ ว่าการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และเอเชียตะวันออก ที่กัมพูชาเป็นเจ้าภาพ

โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา คงจะเป็นภาพที่ไม่มีใครอยากจะเห็นและเป็นที่น่าประทับใจเท่าไรนัก โดยเฉพาะความขัดแย้งในประเด็นหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ที่ทำให้อาเซียนถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว ระหว่างฝั่งที่ต้องการนำประเด็นดังกล่าวขึ้นไปหารือในระดับเวทีโลกซึ่งนำโดย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม กับอีกฝั่งที่ต้องการเก็บเรื่องนี้ไว้ให้เป็นประเด็นในภูมิภาคแก้ไขกันเอง ซึ่งนำโดยเจ้าภาพกัมพูชา

ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดนั้นจะกลายเป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นัก วิเคราะห์ที่พากันชี้นิ้วไปที่ “จีน” ว่าเป็นตัวต้นเหตุของความไม่ลงรอยกันในอาเซียน เนื่องจากพญามังกรถูกมองว่ากำลังพยายามใช้อำนาจเงินทุนที่เหนือกว่า และความช่วยเหลือต่างๆ สารพัดมูลค่ามหาศาล เพื่อเข้าครอบงำประเทศต่างๆ ในอาเซียน เช่น กัมพูชาและลาว และใช้เป็นเครื่องมือสนองผลประโยชน์ในทางการเมือง โดยเฉพาะการขัดขวางไม่ให้อาเซียนรวมกลุ่มกันขึ้นมางัดข้อกับจีนในเรื่องหมู่ เกาะทะเลจีนใต้ ที่มีหลายชาติในอาเซียนเกี่ยวข้องด้วย

เห็นได้จากการที่จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศคู่ค้าหลักและผู้ให้เงินกู้ หลักอันดับ 1 แก่กัมพูชา ซึ่งจำนวนหนี้ของกัมพูชาที่มีต่อจีน คิดเป็นจำนวน 3 ใน 10 ของประเทศ ที่ 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.41 แสนล้านบาท) ในขณะที่ยอดเงินลงทุนของจีนที่หลั่งไหลไปสู่กัมพูชาในระหว่างปี 25372554 มีมากถึง 8,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.64 แสนล้านบาท)

ล่าสุด การเดินทางมาเยือนกัมพูชาเพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าจากจีนก็ได้ประกาศว่าจะเพิ่มการลงทุนเพื่อสร้างโรง งานผลิตปูนซีเมนต์ที่ใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่าอีกกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3,000 ล้านบาท) ให้ หลังจากนั้นไม่กี่วันผู้นำจีนก็ได้เดินทางต่อมายังประเทศไทย พร้อมกับลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ซื้อข้าวจากรัฐบาลไทยอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจีนจะตกเป็นเป้าถูกวิพากษ์วิจารณ์ตามที่ระบุไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับการถ่ายทอดออกมาจากฝั่งของสื่อตะวันตก แต่หากมองในอีกด้านหนึ่ง “อิทธิพลจีน” ที่มีต่อประเทศต่างๆ ในอาเซียนมากขึ้นนั้น จะว่าก็ไม่ได้มีแต่การนำไปสู่ผลกระทบด้านลบเพียงอย่างเดียว หากว่าอาเซียนรู้จักจัดการบริหารความสัมพันธ์อย่างสมดุล และไม่พาประเทศชาติไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนมากเกินไปจนเสียความเป็นกลาง ไปเสียเอง

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผงาดขึ้นมาของจีนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วที่อาเซียนจะต้อง เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นจึงอยู่ที่อาเซียนจะดีลกับจีนอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุด และไม่ให้เรื่องหมู่เกาะทะเลจีนใต้มาขัดขวางความเป็นหนึ่งเดียว และการเดินหน้าสู่การเป็นประชาคมในปี 2558

สาเหตุที่จะทำให้อาเซียนไม่อาจจะปฏิเสธอิทธิพลของจีนในภูมิภาคได้เลย เนื่องจากต้องยอมรับกันว่าบทบาทของจีนในภูมิภาคและต่อเวทีโลกหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากขึ้นอย่างที่กะพริบตาไม่ได้

“การเติบโตของจีนในภูมิภาคเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว และจีนน่าจะนำมาซึ่งอิทธิพลในด้านบวกต่ออาเซียนมากกว่า โดยเฉพาะในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและความร่วมมือในภูมิภาค” นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของมาเลเซีย กล่าวต่อเวทีที่ประชุมผู้นำเอเชียยุโรป ที่กรุงเวียงจันทร์ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

ท่าทีดังกล่าวของผู้นำมาเลเซียสามารถยืนยันได้จากการที่จีนได้ก้าวขึ้นมา เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ เมื่อปี 2553 ขณะที่ในช่วงไม่กี่ 10 ปีที่ผ่านมา จีนก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าหลักในอันดับ 1 ของอาเซียน และเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 2 ของอาเซียนได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนด้านการลงทุนโดยตรงจากจีนมาสู่อาเซียนนั้น ก็ได้ก้าวกระโดดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากปี 2000 ที่อยู่เพียงแค่ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) ขึ้นมาอยู่ที่ 5.59 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.67 ล้านล้านบาท) ในปี 2551

“การค้าระหว่างจีนและอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จีนคือตลาดการค้าที่ใหญ่ที่สุดสำหรับอาเซียน และแน่นอนว่าจีนจะเป็นเครื่องยนต์ที่จะนำพาความเติบโตทางเศรษฐกิจมาสู่อา เซียน และระดับโลกอย่างแน่นอน” สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าว

ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยภาวะเศรษฐกิจโลก เช่น สหรัฐและยุโรป ที่อยู่ในภาวะย่ำแย่อย่างหนักและไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวได้ในระดับที่แข็ง แกร่งในอนาคตอันใกล้ จึงเลี่ยงไม่พ้นที่เอเชียจะต้องหันมาพึ่งพาการทำการค้ากันเองในภูมิภาค เพื่อกระตุ้นการเติบโต เพื่อชดเชยภาคการส่งออกไปขายสินค้าในตะวันตกที่ขาดหายไป ดังนั้นจีนจึงต้องเข้ามามีบทบาทต่ออาเซียนอย่างแน่นอน

เห็นได้จากการที่จีนเริ่มมีบทบาทนำต่อการผลักดันและการจัดตั้งกรอบการ เจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์ซีอีพี) หรือเรียกอีกชื่อว่า อาเซียนบวก 6 ที่จะเริ่มขึ้นในปีหน้า โดยเป็นการรวบรวมข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ของอาเซียนที่มีอยู่แล้วกับทั้ง 6 ประเทศมารวมไว้ให้เป็นฉบับเดียว หากสำเร็จจะทำให้กลายเป็นข้อตกลงเอฟทีเอที่ใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นสัดส่วนผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ออกมาถึง 1 ใน 3 ของจีดีพีที่ทั่วโลกผลิตได้ หรือที่ 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 690 ล้านล้านบาท)

ทั้งนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้อย่างไรเสียอาเซียนจะต้องเกี่ยวพันกับจีนอยู่ วันยันค่ำก็คือยุทธศาสตร์ของจีนเอง ที่มุ่งสยายปีกลงมายังอาเซียน เพราะในมุมของจีนมองว่านอกจากอาเซียนจะเป็นคู่ค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว ก็ยังเปรียบเสมือนเป็นประตูหลังบ้านของจีนที่จะใช้เพื่อออกสู่โลกภายนอกอีก ด้วย สังเกตได้จากแผนการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่จีนจะเชื่อมจากมณฑลยูนนานซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีนลงมายัง ลาว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์

นอกจากนี้ นักลงทุนภาคเอกชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จากจีนก็เตรียมเบนเป้าหันมาลงทุนใน อาเซียนมากขึ้น เนื่องจากบริษัทของจีนเริ่มถูกรัฐบาลตะวันตกกีดกัน ด้วยเหตุความหวาดระแวงว่าธุรกิจจีนอาจเป็นภัยต่อความมั่งคงของประเทศ เห็นได้จากกรณีที่สภาครองเกรสสหรัฐได้เตือนว่า บริษัทด้านโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของจีนอย่างหัวเหว่ยและซีทีอี อาจใช้เครื่องมือในการสอดแนมและโจรกรรมข้อมูล เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

“มีการขยายตัวของลัทธิการกีดกันทางการค้าและการลงทุนในตะวันตกบางประเทศ” โหลจี้เหว่ย ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทด้านการลงทุนไชนาอินเวสเมนต์ คอร์ปอเรชั่น ซีไอซี กล่าว พร้อมย้ำว่าจะนำเงินทุนกว่า 4.82 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 14.4 ล้านล้านบาท) มาไว้ที่เอเชีย เนื่องจากเอเชียกำลังอยู่ในภาวะการขยายตัว

ด้วยเหตุนี้ อาเซียนจึงไม่ควรมองอะไรเพียงแค่ด้านเดียว และไม่ควรจมปลักกับความขัดแย้งในประเด็นด้านหมู่เกาะทะเลจีนใต้เพียงอย่าง เดียว จนทำให้ความก้าวหน้าในด้านอื่นๆ ต้องโดนฉุดรั้งไปด้วย

ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของอาเซียนจะต้องหาวิธีในการบริหารความสัมพันธ์ และผูกมิตรอย่างเหมาะสม เพื่อให้ความสัมพันธ์นั้นก่อเกิดประโยชน์สูตัวเองให้มากที่สุด


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อิทธิพลจีน อาเซียน ปรับสมดุล รับมือ มีชั้นเชิง

view