สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ลดภาษีบุคคลธรรมดามัดใจประชา(มติ)

ลดภาษีบุคคลธรรมดามัดใจประชา(มติ)

จาก โพสต์ทูเดย์

ลดภาษีบุคคลธรรมดามัดใจประชา(มติ)

ถือเป็นปฏิบัติการเหนือความคาดหมายเมื่อรัฐบาลไฟเขียวให้ มีการปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาชุดใหญ่ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าสุดที่ผ่านมา

โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง

ก่อนหน้านี้มีการประเมินกันว่าการปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาจะถูกลาก ยาวไปทำปีหน้า เพราะรัฐบาลมีปัญหาการเก็บรายได้ เนื่องจากการลดภาษีบุคคลธรรมดาจะทำให้รายได้ของรัฐบาลหายไป 23 หมื่นล้านบาท แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ตัดสินใจเห็นชอบเรื่องนี้ ทิ้งทวนเป็นของขวัญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ให้กับผู้เสียภาษี 10 ล้านคน

ผลที่ตามมาจะทำให้โครงสร้างอัตราภาษีบุคคลธรรมดาใหม่ที่จะเริ่มมีผล บังคับใช้ในรายได้ที่เกิดขึ้นในปี 2556 และจะมีการยื่นแบบกันต้นปี 2557 เปลี่ยนไปมาก

โดยหลักการแล้ว โครงสร้างอัตราภาษีใหม่จะทำให้ผู้เสียภาษีทั้งหมดมีภาระภาษีน้อยลง มีเงินเพิ่มในกระเป๋ามากขึ้น

เนื้อในโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา มีการปรับอัตราการเสียภาษีให้มีความถี่มากขึ้นจากเดิมที่รายได้สุทธิหลังหัก ค่าใช้จ่าย 1 แสนบาทแรก เสียภาษี 5%

รายได้ตั้งแต่ 15 แสนบาท เสียภาษี 10%

รายได้ตั้งแต่ 5 แสน1 ล้านบาท เสียภาษี 20%

รายได้ตั้งแต่ 14 ล้านบาท เสียภาษี 35%

และรายได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตราสูงสุด 37%

สำหรับอัตราภาษีใหม่ กำหนดให้ผู้มีรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย 3 แสนบาทแรก เสียภาษี 5%

รายได้เกิน 35 แสนบาท เสียภาษีในอัตรา 10%

รายได้ตั้งแต่ 7.5 แสนบาท จนถึง 1 ล้านบาท เสียภาษี 20%

รายได้ตั้งแต่ 12 ล้านบาท เสียภาษี 25%

รายได้ตั้งแต่ 24 ล้านบาท เสียภาษี 30%

และรายได้ 4 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตราสูงสุด 35%

จากโครงสร้างภาษีใหม่ จะเห็นว่าผู้เสียภาษีทุกคนได้รับประโยชน์ ทำให้เสียภาษีน้อยลงตามขั้นบันได โดยเฉพาะคนระดับกลางที่มีรายได้ตั้งแต่ 1 แสนบาทขึ้นไป จนถึง 2 ล้านบาท จะได้ประโยชน์จากอัตราภาษีที่ลดลง

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า คนที่มีรายได้สูงตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป จะได้รับประโยชน์มากกว่าคนที่มีรายได้น้อย

เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะการสอยช่วงรายได้และอัตราภาษีใหม่ ทำให้ภาระภาษีแต่ละช่วงของผู้เสียภาษีลดลง ทำให้คนที่มีรายได้สูงๆ ที่ต้องเสียภาษีไล่มาตั้งแต่ช่วงอัตราภาษีแรกๆ ไปจนถึงอัตราที่เสียสูงสุด ได้ลดภาษีตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง

นอกจากนี้ อัตราภาษีสูงสุดของคนมีรายได้มากๆ จากที่เคยสูงสุดอยู่ที่ 37% แต่ของใหม่ลดลงเหลือ 35% เท่ากับคนรวยเสียภาษีในอัตราสูงได้รับโชคสองชั้น คือ ได้ลดการเก็บภาษีรายได้ที่เกิน 4 ล้านบาทไปอีก 2%

แม้ว่าก่อนหน้านี้ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง จะออกมาแสดงความคิดเห็นว่า อยากให้คงอัตราภาษีสูงสุดไว้เท่าเดิม 37% แต่สุดท้ายคนรวยก็ถูกหวย อัตราภาษีสูงสุดเหลือแค่ 35%

เมื่อเป็นเช่นนี้ การปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาจึงถูกมองว่าเอื้อประโยชน์กับคนรวยมากกว่าคนรายได้น้อย อย่างที่รัฐบาลปฏิเสธได้ยาก

จากข้อมูลการเสียภาษีบุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร พบว่า มีผู้ยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาจำนวน 10 ล้านราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียภาษีเพียง 2 ล้านรายเท่านั้น

นั่นหมายความว่าคนจำนวน 8 ล้านคน ที่ไม่ได้เสียภาษีอยู่แล้วไม่ได้ประโยชน์จากการปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาใหม่เลย

และเมื่อลงไปดูผู้เสียภาษี 2 ล้านราย ก็ยังพบว่าในจำนวนนี้มีผู้เสียภาษีในอัตรา 30% ขึ้นไปอยู่ประมาณ 2 แสนราย แต่มีสัดส่วนเสียภาษี 2 ใน 3 ของภาษีบุคคลธรรมดาทั้งหมด

ข้อมูลดังกล่าวก็ยิ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าผู้เสียภาษีกลุ่มนี้ได้รับประโยชน์มากกว่าใครเพื่อน

เพราะจากการประเมินของกรมสรรพากร การลดภาษีครั้งนี้ทำให้รายได้หายไป 3 หมื่นล้านบาท เท่ากับว่าคนรวยกลุ่มนี้เสียภาษีลดลงไป 2 หมื่นล้านบาท

ส่วนผู้เสียภาษีอีกประมาณ 1.8 ล้านราย ที่เสียภาษี 1 ใน 3 ของภาษีบุคคลทั้งหมด ก็เห็นได้ชัดว่าจำนวนภาษีที่ได้ลดลงน้อยกว่าผู้เสียภาษีที่มีรายได้สูง ภาระภาษีที่ลดลงประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

แม้แต่ กิตติรัตน์ ก็ยอมรับว่า หากคิดเป็นตัวเงินแล้วคนที่เสียภาษีสูงจะได้ลดภาษีมากกว่าคนที่เสียภาษีต่ำ แต่เขาก็ยืนยันว่าหากเทียบเป็นสัดส่วนหรือเปอร์เซ็นต์ที่ได้ลดลงแล้ว คนที่มีรายได้น้อยได้ลดมากกว่า

นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาใหม่ครั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้แตะค่าลดหย่อนต่างๆ กว่า 10 รายการ รวมเป็นเงินที่ได้รับการลดหย่อนรวมกันถึงกว่า 1 ล้านบาทต่อปี เช่น การลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน 1 แสนบาท ประกันชีวิต 3 แสนบาท ลงทุนกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 5 แสนบาท กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) 5 แสนบาท ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่หนีไม่พ้นคนรวยมีรายได้หลายล้านบาทต่อปี

การที่รัฐบาลยังคงค่าลดหย่อนทั้งที่ก่อนหน้านี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และกรมสรรพากรเสนอให้ตัดลดลงโดยกำหนดเพดานให้หักลดหย่อนไม่เกิน 25 แสนบาท ทำให้ผู้เสียภาษีคนรวยได้โบนัสก้อนโตต่อไป เพราะการได้หักลดหย่อนดังกล่าว ทำให้รายได้สุทธิก่อนไปคิดเสียภาษีลดลงไปเป็นจำนวนมาก

ขณะที่ผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดารายเล็กรายน้อยไม่ต้องพูดถึง ถึงแม้ว่าจะมีรายได้เกินเสียภาษีอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็มีรายได้ไม่เหลือพอที่จะไปลงทุนเพื่อการหักลดหย่อนเพิ่มเติม เหมือนคนรวย ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมในระบบภาษี แต่รัฐบาลก็ยังไม่คิดจะแก้ไข ทำให้ไม่มีเหตุผลเข้าใจเป็นอย่างอื่นใดได้

นอกจากรัฐบาลยังต้องเอาใจผู้เสียภาษีที่มีเงินตุงกระเป๋า

ในการปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาครั้งใหม่นี้ รัฐบาลยังถือโอกาสออก พ.ร.ก.แก้ไขการยื่นเสียภาษีของสามีภรรยา ให้แยกยื่นกันได้ตั้งแต่รายได้ปี 2555 ที่จะยื่นแบบต้นปีหน้า ในส่วนนี้ทำให้คู่สามีภรรยาที่มีรายได้สูงได้รับประโยชน์เต็มๆ ไปด้วย

การปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาของรัฐบาลครั้งนี้ ยังถูกมองว่าต้องการหาเสียงเอาใจมนุษย์เงินเดือน ในช่วงก่อนที่จะมีการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะมนุษย์เงินเดือนชนชั้นกลางถือเป็นกลุ่มคนที่ยังไม่เทใจเต็มร้อยให้กับ รัฐบาลเหมือนกับกลุ่มรากหญ้า ที่รัฐบาลอัดโครงการประชานิยมลงไปให้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโครงการรับจำนำข้าว บัตรเครดิตเกษตรกร พักทั้งหนี้ดี ไม่ดี เติมเงินกองทุนหมู่บ้าน ขึ้นค่าแรง 300 บาท ทำให้รัฐบาลมัดใจรากหญ้าไว้อยู่หมัด

ขณะที่การมัดใจชนชั้นกลางมนุษย์เงินเดือน ที่ผ่านมารัฐบาลก็ทุ่มหนักมือมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท โครงการรถคันแรกที่ยอดใช้สิทธิสูงถึง 1 ล้านคัน รัฐบาลต้องใช้เงินจ่ายคืนในโครงการรถคันแรกเป็นจำนวนเงิน 78 หมื่นล้านบาท ทำให้ชนชั้นกลางเทใจให้รัฐบาลเพิ่มขึ้นไม่น้อย

และในจังหวะที่การเมืองร้อน รัฐบาลต้องการเสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาจึงถูกงัดออกมามัดใจผู้เสียภาษีชนชั้นกลาง 2 ล้านคน เป็นการซื้อใจคนชั้นกลางเทคะแนนให้รัฐบาลเพื่อหวังผลทางการเมืองอีกครั้ง หนึ่ง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ลดภาษีบุคคลธรรมดา มัดใจ ประชามติ

view