สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เสียงจาก Stakeholders สะท้อนซีเอสอาร์ธุรกิจใหญ่

จากประชาชาติธุรกิจ

หลายธุรกิจที่มีความเข้าใจซีเอสอาร์ว่าเป็นกระบวนการดำเนินกิจการด้วย ความรับผิดชอบต่อสังคม และมีแนวทางปฏิบัติงานที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ของธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ทั้งเพื่อบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ และเพื่อการจัดการธุรกิจให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนก็ตาม

การรับฟัง เสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในต้นทางของห่วงโซ่อุปทาน จึงเป็นเรื่องจำเป็นและเพื่อการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจให้สมกับคำประกาศ พันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การดำเนินธุรกิจแบบวิน-วิน


ส่วนการทำความเข้าใจเกษตรพันธสัญญา ซึ่งเป็นต้นทางห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ และเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ทำเงินมหาศาล จึงเป็นอีกหน่วยของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจที่ไม่เพียง อ้างเรื่องการสร้างงานให้เกษตรกร แต่จะดีกว่าหรือไม่หากพันธสัญญาที่มีต่อกันนั้นจะสร้างความมั่นคงทางอาชีพ ความมั่นคงทางอาหาร และทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการทำสัญญาร่วมกันในระยะยาว

เมื่อ ปัจจัยการผลิตถูกกำหนดด้วยบริษัท ดังนั้น การทำงานร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับบริษัทน่าจะอยู่ในฐานะของ partnership หรือพันธมิตรธุรกิจ มากกว่าการเป็นลูกจ้างกับเจ้าของกิจการเสียงสะท้อนจาก "โชคสกุล มหาค้ารุ่ง" อดีตเกษตรกรเจ้าของฟาร์มหมูและบ่อเลี้ยงปลาในระบบเกษตรพันธสัญญา ที่ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ บอกว่า เริ่มต้นจากเซลส์แนะนำให้ลงทุนทำฟาร์มหมูเงินลงทุน 10 ล้านบาท ทำได้ 6 ปีก็เริ่มมีปัญหา ปัจจุบันมีหนี้สินกว่า 20 ล้านบาท และระหว่าง 6 ปีนั้นก็ได้ทำเกษตรพันธสัญญามากกว่า 2 บริษัท ต้องลงทุนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ได้มาตรฐานของบริษัท และปัจจัยการผลิตต้องใช้ของบริษัททั้งหมด

"บริษัท เขามีกลยุทธ์ชักชวนคน คือพาเราไปดูงาน ไปสร้างแรงจูงใจจากเกษตรกรพันธสัญญาที่ทำร่วมกับเขาแล้วมีเงินมีทอง พอเรามั่นใจอยากทำร่วมกับเขา ก็จะพาไปกู้เงินกับธนาคารมาลงทุนทำโรงเรือนเลี้ยงหมู แล้วค่อยทำสัญญากับบริษัท ซึ่งหลายรายไม่มีสำเนาสัญญาเก็บไว้เพราะตัวแทนอ้างว่าเพื่อป้องกันคู่แข่ง รู้ความลับธุรกิจ"

คล้ายกับกรณีของ "ดวงคำ ทาทอง" อดีตเกษตรกรพันธสัญญาผู้เลี้ยงไก่ ใน ต.มะขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันเลิกเลี้ยงไก่และหันมาปลูกลำไยและปลูกผักขาย เล่าว่า ได้ทำเกษตรพันธสัญญาเลี้ยงไก่มาแล้วมากกว่า 4 บริษัท ซึ่งการเข้าไปทำสัญญาเกิดจากความสนใจของตนเอง บริษัทไม่ได้มาส่งเสริมหรือมาหาด้วยซ้ำ แต่ตนเห็นว่าเลี้ยงไก่แบบนี้น่าจะมีรายได้ดี จึงไปหาบริษัทเอง

"ทำมา 10 ปี จากมีเงินลงทุน 1 แสนบาท ถึงวันนี้ขาดทุนเป็นหนี้เป็นสิน 4 แสนบาท พอเป็นหนี้ก็น้ำท่วมปาก จะไปว่าบริษัทก็ไม่เต็มปาก เพราะเราว่าเขาก็ดีนะ ที่ทำให้เราได้เลี้ยงไก่ แต่ค่าอาหาร ค่าประกันเขากำหนดไว้เองหมด อย่างของบางอย่างเขาขายเรา 2,000 บาท แต่พอเราไปถามร้านค้าเอง ร้านค้าขายแค่ 1,000 กว่าบาทเท่านั้นเอง"
ส่วน "มูลเมือง สังฆบุญ" เกษตรกร

ผู้ เลี้ยงปลา แม้มีเงินลงทุนขุดบ่อปลาและซื้อพันธุ์ปลา อาหารปลา หรือระบบการเลี้ยงทั้งหมดจะเป็นของลูกสาว และเธอมีหน้าที่ดูแลให้ก็ตาม แต่เธอบอกว่า ปัจจุบันต้องแบกรับต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งค่าอาหารปลา พันธุ์ปลาหลายหมื่นบาท ยังไม่รวมค่าไฟฟ้าที่ต้องใช้เป็นพลังงานให้กังหันบำบัดน้ำในบ่อปลา

"ทำ มาก็เหนื่อยนะเพราะมันไม่ค่อยคุ้ม อย่างเลี้ยงมาสักพัก ถ้าน้ำหนักปลายังไม่ได้ตามที่บริษัทกำหนด เราก็ต้องเสียเงินซื้ออาหารเพิ่มตามจำนวนวันที่รอให้น้ำหนักปลาได้ตามกำหนด หรือพอเขามารับปลาไปแล้ว แต่หักลบกับค่าประกัน
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มันก็ได้ไม่คุ้มเท่าไร แต่พอหมดปลารอบนี้ ลูกสาวก็ว่าจะลองลงปลาอีกรอบ เขาบอกว่าอยากลองอีกสัครั้ง"

เหล่า นี้คือ เสียงสะท้อนจากเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู-ไก่-ปลา ที่ "โครงการพัฒนากลไกทางกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิ์ของเกษตรกรจากการทำเกษตรพันธ สัญญา" ซี่งดำเนินการผ่านเอ็นจีโอ 3 องค์กร ได้แก่ สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) มูลนิธิข้าวขวัญ และมูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศน์ (CAEF) นำเสนอเป็นตัวอย่าง

โดยโครงการ นี้ได้รับทุนสนับสนุน 90% จากสหภาพยุโรปหรืออียู จากการทำงานร่วมกับองค์กรที่ไม่ใช่รัฐและหน่วยงานท้องถิ่น (NSA-Non State Actor) เป็นระยะเวลา 3 ปี (ม.ค. 2555-ธ.ค. 2557)ด้วยเป้าหมาย 3 เรื่องสำคัญ คือ

1) ทำให้เกษตรกรกลุ่มใหม่เข้าใจและเท่าทันเกษตรพันธสัญญา 2) สร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคในเรื่องอาหารปลอดภัย และ 3) สร้างศูนย์คุ้มครองสิทธิเกษตรกรระดับตำบลผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น

ขณะที่เสียงสะท้อนนี้ไม่ได้เกิดเพื่อต่อต้านอุตสาหกรรม อาหารขนาดใหญ่ แต่คือการสะท้อนพันธกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่มักกล่าวถึงการ พัฒนาอย่างยั่งยืน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือซีเอสอาร์ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และทำในสิ่งที่มากกว่ากฎหมายกำหนด

ดัง นั้น การรับฟังเสียงสะท้อนจากต้นทางห่วงโซ่อุปทาน อาจเป็นการอุดช่องโหว่การดำเนินกิจการ และทำให้ซีเอสอาร์ที่บริษัทตั้งความมุ่งหวังเกิดเป็นรูปธรรม สร้างการพัฒนาให้กับบริษัทและเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืนจริง ๆ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : Stakeholders สะท้อน ซีเอสอาร์ ธุรกิจใหญ่

view