สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จัดระเบียบแบงก์รัฐป้องกันการเมืองรุมทึ้ง

จาก โพสต์ทูเดย์

ความกังวลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ)

โดย...กนกวรรณ บุญประเสริฐ

ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเรื่องการสนองนโยบายรัฐบาลด้วยการเร่งปล่อยสินเชื่อทั้งโครงการปกติและ โครงการประชานิยม จนอาจส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินที่มากขึ้นนั้นกลายเป็นประเด็นร้อนส่ง ท้ายปีที่น่าสนใจมากขึ้น

เมื่อ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาแสดงความกังวล เรื่องสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อของแบงก์รัฐบางแห่งที่มีสัดส่วนสูงถึง 80% ของรายได้ ซึ่งหมายถึงถ้าคนคนหนึ่งมีรายได้ 1 หมื่นบาท คนคน นั้นจะเป็นหนี้ถึง 8,000 บาท เท่ากับคนคน นั้นจะเหลือเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพียง 2,000 บาท

ซึ่งในความเป็นจริงจะพบว่าคนที่มีหนี้มากมายเช่นนี้คงไม่มีปัญญาจะใช้หนี้ได้ครบตามจำนวนแน่นอน

“ประสาร” ประเมินว่าสาเหตุที่แบงก์รัฐบางแห่งปล่อยสูงในระดับ 80% อาจเพราะเขาไปตีความบทบาทของตัวเขาเองว่า ต้องช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งตรงนี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ภาครัฐต้องมาดูแลเรื่องมาตรฐานการปล่อยสิน เชื่อของแบงก์รัฐ ที่มุ่งแต่จะเร่งปล่อยกู้เพื่อสร้างผลงานเอาใจรัฐบาล

ขณะที่เกณฑ์มาตรฐานที่ธนาคารพาณิชย์ยึดเป็นหลักปฏิบัติคือการปล่อยกู้ไม่ เกิน 40% ของรายได้ นั่นหมายถึง คนคน นั้นเมื่อมีรายได้ 1 หมื่นบาท เขาจะเป็นหนี้ 4,000 บาท ซึ่งยังมีเงินที่เหลืออีก 6,000 บาท ไว้จับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน

ทำให้ขณะนี้มีการพูดถึงเรื่องการยกมาตรการกำกับดูแลภาพรวมเศรษฐกิจผ่าน ระบบสถาบันการเงิน (Macro Prudential) ที่ถือเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ซึ่งที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการปล่อยสินเชื่อทั้งของธนาคารพาณิชย์และ แบงก์รัฐในแต่ละปีมีสัดส่วนมากกว่างบประมาณแผ่นดินที่ทำกันอยู่ปีละประมาณ 2 ล้านล้านบาท

ขณะที่เงินสินเชื่อจากระบบสถาบันเงินคือตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แท้จริงรวมกันปีหนึ่งๆ อัดเงินเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 5 ล้านล้านบาท

ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไม่น่าเป็นห่วงเพราะเป็นการทำงานเป็นมาตรฐานสากล มีความเป็นเจ้าของ จึงบริหารงานแบบระมัดระวัง แต่ “แบงก์รัฐ” ดูท่าอาการสาหัส เพราะต้องสนองการเมืองอย่างหนักหน้าดำหน้าแดง ผู้บริหารคนไหนทำไม่ถูกใจ หรือเป็นคนของรัฐบาลเก่าจะถูกบีบสารพัดให้กระเด็นพ้นจากเก้าอี้

นอกจากนี้ ยังเจอการเมืองเข้าแทรกให้ทำโครงการประชานิยมมากมายหลายอย่าง หลายโครงการทำมาหลายยุคหลายสมัยไม่เคยสำเร็จ ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนไม่มีฐานข้อมูลไว้วัดผลในเชิงประจักษ์ ใช้แต่ยอดปล่อยกู้เอามาคุยโม้โอ้อวด แต่ตรวจสอบไม่ได้ว่าคนเหล่านั้นมีตัวตนจริงหรือไม่ และเมื่อได้สินเชื่อแล้วชีวิตเปลี่ยนไปอย่างไร เช่น โครงการแก้หนี้นอกระบบ ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังสั่งให้เอามาปัดฝุ่นปล่อยกู้กันใหม่อีกครั้งเร็วๆ นี้ รวมถึงการพักหนี้รายย่อย ที่คนเคยได้พักหนี้ไปก่อนหน้านี้แล้ว

มาวันนี้ก็จะก่อตัวทางนโยบายเพื่อเปิดให้พักหนี้กันอีกครั้ง

ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่กระทรวงการคลัง ต้องปฏิรูปบทบาทแบงก์รัฐอย่างเอาจริงเอาจัง ด้วยการสร้างเกณฑ์การกำกับดูแลที่ได้มาตรฐานอาจไม่เข้มข้นเท่าธนาคารพาณิชย์ แต่ต้องชัดเจน เพื่อสร้างเกราะป้องกันการทำงานให้แบงก์รัฐไม่ถูกอำนาจการเมืองเข้ามาสั่ง การได้อีก

รวมถึงสร้างรูปแบบการทำงานที่บูรณาการเกื้อหนุนต่อกันระหว่างแบงก์รัฐ ด้วยกัน เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยหรือคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่ง เงิน หรือกลุ่มที่ได้รับการปฏิเสธจากธนาคารพาณิชย์ได้รับความช่วยเหลืออย่างมี ประสิทธิภาพ

ในแง่ของการรับ “เงินฝาก” ควรให้ธนาคารออมสินซึ่งเป็นพี่ใหญ่มียอดเงินฝากใกล้จะแตะที่ระดับ 2 ล้านล้านบาท มีสาขาทั่วประเทศ มีเครื่องมือที่ได้เปรียบกว่า เช่น ออกสลากระดมเงินได้ครั้งละหลายแสนล้านบาท มาเป็นเสาหลักในการปล่อยสภาพคล่องให้กับแบงก์รัฐที่ไม่สามารถรับฝากเงิน จากรายย่อยได้ เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ซึ่งปัจจุบันใช้วิธีการออกตั๋วเงินฝากต้องแบกต้นทุนสูงกว่าการรับฝากเงิน จากรายย่อย หรือแม้กระทั่งธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งกำลังพยายามปรับรูปแบบการระดมเงินฝากจากบัญชีเผื่อเรียก แทนการออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีต้นทุนสูงกว่า

หากกำหนดเป็นตัววัดผลงานหรือ KPI ให้ธนาคารออมสิน เจียดเงินก้อนหนึ่งที่มีต้นทุน 23% กว่าๆ มาทำซอฟต์โลนให้แบงก์รัฐ ปล่อยกู้ต่อ แล้วให้เอสเอ็มอีแบงก์ ธอส. รวมถึงธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เอาไป “ปล่อยสินเชื่อ” ต่อให้ประชาชนในอัตราดอกเบี้ย 56% ก็เท่ากับช่วยลดภาระให้ผู้กู้ได้มาก ถือว่า WIN WIN กันทุกฝ่าย

แถมยังช่วยให้ลดการออกโครงการประชานิยมซ้ำๆ ซากๆ สะเปะสะปะได้อีกมาก รวมทั้งควรมีการพัฒนาเรื่องการใช้เอทีเอ็มพูลเพื่อลดต้นทุนให้กับแบงก์รัฐ ขนาดเล็ก

ในแง่การ “ปล่อยสินเชื่อ” ควรมีการกำหนดเกณฑ์ชี้วัดที่ชัดเจนแยกเป็นรายแบงก์ว่า สินเชื่อแบบไหนคือสินเชื่อปกติและสินเชื่อแบบไหนคือสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องใส่ไปในบัญชีพิเศษ (พีเอสเอ) เพราะหากเกิดเป็นหนี้เสียแล้วรัฐบาลต้องใส่เงินชดเชยให้ และไม่นับรวมในผลการดำเนินงานปกติ รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยบัญชี พีเอสเอ ต่อสาธารณะทุกปี และมีการกำหนดเพดานขั้นสูงว่าแต่ละแบงก์ควรทำพีเอสเอได้เท่าไร และแค่ไหนควรถึงจุดที่รัฐบาลต้องใส่เงินชดเชย เพื่อไม่ให้มีการซ้อนหนี้เน่าไว้ใต้พรม เพราะหากกรณีที่ยอดหนี้ในโครงการพีเอสเอถึงจุดวิกฤตหรือชนเพดานที่กำหนดแล้ว แบงก์นั้นก็ไม่ควรจะทำโครงการประชานิยมอีกจนกว่าจะมีการล้างหนี้ให้

นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดเรื่องการปล่อยกู้ที่เชื่อมโยงกัน เช่น กรณีของการปล่อยของเอสเอ็มอีแบงก์ ไปยังเอ็กซิมแบงก์ เพื่อเป็นการส่งเสริมลูกหนี้เอสเอ็มอีให้สามารถบุกตลาดขายสินค้าในต่าง ประเทศได้ รวมถึงการพูลข้อมูลสินเชื่อลูกหนี้แบงก์รัฐทำเหมือนเป็นเครดิตบูโรของธนาคาร พาณิชย์ เพื่อสร้างประวัติลูกหนี้ทั้งหมดของแบงก์รัฐ และกำหนดเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของลูกหนี้แต่ละราย

รายไหนที่ได้ประโยชน์จากโครงการใดโครงการหนึ่งของรัฐแล้วจะต้องชำระหนี้ ให้หมดก่อนที่จะเข้าโครงการใหม่ได้ เพื่อไม่ให้ได้รับความช่วยเหลือซ้ำซ้อน

สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.กำลังเดินหน้าปฏิรูปบทบาทแบงก์รัฐใหม่ทั้งระบบ โดยเตรียมร่างแผ่นปฏิรูประบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง พิจารณาเห็นชอบ

ยุทธศาสตร์การทำงานของธนาคารแต่ละแห่งแบบเจาะให้ถึงกึ๋นรายตัวสาระสำคัญ ของแผ่นปฏิรูประบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่กำลังร่างอยู่มี 3 ด้าน ได้แก่ 1.การวางบทบาทและปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความชัดเจนและเข้มแข็งขึ้น 2.การกำกับดูแล และ 3 การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

หาก สศค. สามารถร่างคัมภีร์จัดระเบียบแบงก์รัฐ โดยการยกร่างแผนแม่บทนี้ให้เป็นกิจจะลักษณะ จะถือเป็นการสร้างมาตรฐานที่สำคัญของการพัฒนาระบบการเงินของประเทศและการ พัฒนาแบงก์เฉพาะกิจของรัฐให้เข้มแข็ง มีกฎกติกาที่เป็นมาตรฐานในการช่วยเหลือคนรากหญ้า ไม่ต้องกังวลว่าแบงก์รัฐจะเจ๊งเพราะโครงการประชานิยม

ที่สำคัญทั้งข้าราชการและผู้บริหารแบงก์รัฐจะได้ไม่ต้องก้มหน้ากุมมือรอฟังนักการเมืองสั่งทำโครงการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำอีกต่อไป


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จัดระเบียบ แบงก์รัฐ ป้องกันการเมือง รุมทึ้ง

view