สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มติ เครือข่ายครู และศิษย์เก่า กู้วิกฤตอัสสัมชัญ

มติ “เครือข่ายครู และศิษย์เก่า กู้วิกฤตอัสสัมชัญ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       มติ “เครือข่ายครู และศิษย์เก่า กู้วิกฤตอัสสัมชัญ”
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เครือข่ายครู ศิษย์เก่าอัสสัมชัญ มีมติร่วมกันผ่านแฟนเพจ ตั้งชื่อเครือข่ายว่า “เครือข่ายครู และศิษย์เก่า กู้วิกฤตอัสสัมชัญ” พร้อมประกาศ ปฏิเสธการเจรจา จนกว่า ภราดา อานันท์ จะลาออก


แก๊งโฟร์ซีซั่นส์จ้องฮุบ “อัสสัมชัญ” ปั้นโครงการสำเร็จกำไรกว่า 2 พันล้าน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       คน รัก “อัสสัมชัญ” เกาะติด แก๊งโฟร์ซีซั่นส์ เชื่ออยู่เบื้องหลังการจ้องฮุบที่ดินโรงเรียนอัสสัมชัญ เซนต์หลุยส์ เนื้อที่เกือบ 6 ไร่ ถือเป็นสุดยอดที่ดินทำเลทองที่ยังคงเหลืออยู่ในย่านสีลม-สาทร จากมูลค่าที่ดินประมาณ 800 กว่าล้านบาท สามารถเนรมิตเป็นโปรเจกต์ขนาดใหญ่มีมูลค่ากว่า 4,500 ล้านบาทได้ดั่งใจ หากบรรดาสมาคมศิษย์เก่า อาจารย์ และนักเรียนไม่ออกมาขับไล่ภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญก่อน “อัสสัมชัญโปรเจกต์” มีสิทธิ์รุกคืบยึดอัสสัมชัญ บางรัก ได้อย่างง่าย สมประโยชน์กันทั้งนักการเมืองและภราดาอานันท์ รวมไปถึงบรรดาสมาคมฟุตบอลที่อยู่เบื้องหลังในการใช้อัสสัมชัญเป็นแหล่งผลิต นักฟุตบอล!
       
       ปัญหาความขัดแย้งในโรงเรียนอัสสัมชัญเริ่มปะทุหนัก เมื่อกลุ่มคณาจารย์ และศิษย์เก่า ทนการบริหารงานของผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน “ภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ” ไม่ไหว เพราะมองว่า ภายใต้การบริหารงานของภราดาอานันนท์ นั้นได้ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญตกอยู่ในภาวะวิกฤตและกำลังไปสู่จุดตกต่ำหลาย ด้าน ทั้งด้านนักเรียน ผู้ปกครอง ครู การเงิน และด้านจริยธรรมของผู้บริหาร ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มครูมีการประท้วงโดยใส่ชุดดำ
       
       ขณะที่กลุ่มศิษย์เก่าก็เคยยื่นหนังสือถึงภราดาอานันท์ เกี่ยวกับข้อสงสัยเรื่องการขายโรงเรียนให้กับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แต่ได้รับการตอบกลับจากภราดาอานันท์ ว่าไม่ได้มีการขายโรงเรียน แต่จะมีการควบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก และอัสสัมชัญ เซนต์หลุยส์ จริง ทำให้ล่าสุด (25 มกราคม 2556) กลุ่มครูโรงเรียนอัสสัมชัญ และศิษย์เก่าได้มีการแต่งชุดดำประท้วง และเดินทางไปยื่นหนังสือถึงประธานมูลนิธิเซนต์คาเบรียล ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญทั้งบางรัก และเซนต์หลุยส์ โดยมีข้อเรียกร้อง 4 ประการคือ
       
       1. ขอให้ปลด ภราดาอานันท์ ออกจากตำแหน่งโดยทันทีเพื่อยุติความขัดแย้ง 2. ให้แต่งตั้งภราดาที่เคยเป็นอธิการโรงเรียนมากอบกู้สถานการณ์ 3. ขอให้มีการเลือกกรรมการบริหารสถานศึกษาใหม่ โดยเน้นเป็นคนที่มีธรรมาภิบาล และสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของอธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4. ขอให้พิจารณานำเงินของโรงเรียนอัสสัมชัญที่นำไปใช้สร้างโครงการพระราม 2 กลับคืนมาให้โรงเรียนอัสสัมชัญ เพราะแม้ว่าโรงเรียนดังกล่าวจะเป็นโรงเรียนในเครือเซนต์คาเบรียล แต่เนื่องจากผิดวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคที่ต้องการพัฒนาโรงเรียนอัสสัมชัญ จึงควรนำเงินทั้งหมดกลับมาพัฒนาที่โรงเรียน ทั้งนี้ หนี้สินต่างๆ ของโครงการอัสสัมชัญ พระราม 2 นั้นจะต้องไม่เป็นภาระของโรงเรียนอัสสัมชัญด้วย
       
       ใครอยู่เบื้องหลังขายอัสสัมชัญเซนต์หลุยส์
       
       เหตุผลที่น่าสนใจของกลุ่มศิษย์เก่าที่มีการเรียกร้องให้รีบปลดภราดาอานันท์ ออกจากตำแหน่งนั้น นับว่ามีจุดที่น่าสนใจอย่างมาก
       
       โดยกลุ่มศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ กำลังช่วยกันสืบค้นพร้อมตั้งข้อสงสัยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวกับเรื่องเงินไม่ว่าจะเป็นในส่วนของครู และผู้ปกครองที่เกิดขึ้นเป็นปัญหารุนแรงในหลายปีมานี้นั้น ล้วนมีเหตุผลเบื้องหลังเป็นผลประโยชน์มูลค่ามหาศาล ที่มีกระบวนการเชื่อมโยงไปถึงนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ รวมถึงนักการเมืองระดับชาติเข้ามาเอี่ยว!
       
       “ทีม Special Scoop หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน” พยายามหาคำตอบในเรื่องนี้ และพบว่าข้อสงสัยเรื่องขบวนการ “หาประโยชน์” โดยใช้โรงเรียนอัสสัมชัญเป็นฐานนั้น น่าจะไม่ใช่เรื่องปั้นน้ำเป็นตัว แต่น่าจะเป็นเรื่องที่เคยเจรจาพาทีกันมาก่อน ระหว่างนักการเมืองที่เป็นอดีตศิษย์เก่าอัสสัมชัญและแก๊งโฟร์ซีซั่นส์ กับภราดาอานันท์ แต่จะลงมือซื้อจริงหรือไม่ยังเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง
       
       “พวกศิษย์เก่าอัสสัมชัญที่เป็นรุ่นเดียวกับนักการเมืองคนนี้บอกเล่า ให้เพื่อนๆ ฟัง ทำให้พวกเราจำต้องลุกขึ้นมาประท้วงและเปิดโปงพฤติกรรมของภราดาอานันท์ ทำให้เรื่องเจรจาขายที่ดินแปลงนี้ต้องยุติลง และปล่อยให้มีกระแสวิจารณ์ว่าเป็นข่าวโคมลอยของกลุ่มคนไม่หวังดีแทน”
       
       อย่างไรก็ดี ปัญหาภายในโรงเรียนอัสสัมชัญ ถูกเปิดสู่สาธารณะโดย หมอนิด-กิจจา ทวีกุลกิจ ที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555 โดยระบุปัญหาภายในว่ามีฝ่ายบริหารที่เป็นใหญ่ “อ” ร่วมมือกับนักการเมืองผู้หนึ่ง และข้าราชการบางคนสมรู้ร่วมคิดกันแก้กฎหมายการรวมเด็กนักเรียนชั้นประถม แถวซอยเซนต์หลุยส์ให้มารวมกับเด็กมัธยมที่บางรัก ทั้งๆ ที่มีกฎห้ามไว้ และมีการให้ครูเซ็นชื่อลาออกล่วงหน้า เพื่อเป็นการข่มขู่ถ้าครูท่านไหนไม่ให้ความร่วมมือในอนาคต?
       
       จากนั้น ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้เขียนบทความเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลในโรงเรียนอัสสัมชัญในวันที่ 29 ธันวาคม-4 มกราคม 2555 เรื่อง “ขายโรงเรียนอัสสัมชัญ” และวันที่ 4 มกราคม 2556 เรื่องเหตุที่ครู “โรงเรียนอัสสัมชัญ แต่งชุดดำประท้วง”
       
       การเปิดให้สังคมได้รับรู้ความไม่โปร่งใสครั้งนี้สร้างความโกรธจัดให้ กับภราดาอานันท์ จึงได้มีการจัดการประชุมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอน ปลายในวันที่ 7 มกราคม 2556 โดยระบุว่า บทความที่เผยแพร่นั้นเป็นเท็จ แต่ยอมรับว่า มีการรวมโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษาเป็นโรงเรียนเดียวกันจริง ภายใต้ตราสารจัดตั้ง (ความเป็นนิติบุคคล) ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ 2 พ.ศ. 2554 โดยอ้างว่ามูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยผู้ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาต (เป็นเจ้าของ) ไม่มีความประสงค์ที่จะแยกโรงเรียนทั้งสองออกจากกันแม้จะมีที่ตั้งอยู่ห่าง กัน (ข้อมูลจากเอกสารประชุมชี้แจงเรื่องการรวมโรงเรียนอัสสัมชัญ ตามตราสารจัดตั้ง ที่เผยแพร่ผ่าน www.assumption.ac.th)
       
       สร้างอัสสัมชัญพระราม 2 มหึมาเพื่อใคร!
       
       สำหรับประเด็นสำคัญที่ศิษย์เก่า และกลุ่มครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ยังคลางแคลงใจอย่างมาก และมีข้อเรียกร้องให้มีการปลดภราดาอานันท์ ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโดยด่วนนั้น ยังเป็นข้อสงสัยในประเด็นบริหารงานไม่โปร่งใส ตั้งแต่การควบรวมกิจการ 2 โรงเรียนไว้ด้วยกัน, แนวโน้มการขายโรงเรียนให้ธุรกิจเอกชนและการไม่ปรับขึ้นเงินเดือนครู และบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายกำหนด
       
       “เบื้องหลังจริงๆ คือ ภราดาอานันท์ มีความพยายามจะให้มีการย้ายนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนสร้างขึ้นใหม่แถวพระ ราม 2 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่กำลังก่อสร้าง มีแผนการก่อสร้างที่เกินการใช้งานจริง และใช้การก่อสร้างในงบประมาณมหาศาล” แหล่งข่าวศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ เปิดเผย
       
       พร้อมกล่าวว่า วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก แผนกมัธยมในขณะนี้นั้น เกิดจากแผนการสร้างโรงเรียนอัสสัมชัญ ภาคภาษาอังกฤษ ขึ้นใหม่ ที่บริเวณพระราม 2 คลองโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีการซื้อที่ดินจำนวน 231 ไร่
       
       จุดที่น่าสงสัยประเด็นแรกอยู่ที่ว่า โรงเรียนอัสสัมชัญ ภาคภาษาอังกฤษนี้ เป็นพื้นที่เปล่าที่อยู่ติดกับโครงการของสารินซิตี้ ซึ่งในบริเวณดังกล่าวยังถือว่ามีการเดินทางที่ลำบาก จนทำให้ศิษย์เก่าหลายคนตั้งข้อสงสัยว่า มีการเข้าไปช่วยโครงการสารินซิตี้ในการซื้อที่ดิน หรือการช่วยโฆษณาให้ด้วยหรือไม่ เพราะล่าสุด สารินซิตี้ก็ได้ทำการโฆษณาบ้านจัดสรรในบริเวณนั้นว่า อยู่ติดกับโรงเรียนอัสสัมชัญใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว
       
       ประเด็นที่น่าสงสัยต่อมาคือ โครงการจัดสร้างโรงเรียนอัสสัมชัญภาคภาษาอังกฤษนี้ มีการก่อสร้างที่เกินการใช้งานจริง และไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
       
       กล่าวคือ ตามมาสเตอร์แพลนของโรงเรียนอัสสัมชัญภาคภาษาอังกฤษนี้ จะมีความสามารถในการรองรับเด็กนักเรียนได้ถึง 1,800 คน แต่ปัจจุบันก็มีนักเรียนภาคภาษาอังกฤษเพียง 900 กว่าคน นอกจากนี้ยังมีแผนการสร้างสวนสาธารณะ ทะเลสาบ ระบบไฟฟ้าใต้ดิน อาคารเรียนทันสมัย สนามกีฬาฟุตบอลสเตเดี้ยมขนาด 15,000 ที่นั่ง สนามซ้อมฟุตบอล 2 สนาม สนามกรีฑา 9 ลู่วิ่ง สนามโรงยิมเนเซียมที่มีสนามบาสเกตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามแบดมินตัน 4 สนาม สนามตะกร้อ 6 สนาม พร้อมที่นั่ง 5,000 ที่นั่ง ศูนย์ฟิตเนส ห้องแอโรบิก ห้องเซาน่า ห้องเทควันโด สระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิกที่สามารถบรรจุผู้ชมได้ 1,000 ที่นั่ง สนามเทนนิสมาตรฐาน และสนามเทนนิสผิวแข็งอีก 8 สนาม ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา รวมถึงอพาร์ตเมนต์สำหรับครูภาคภาษาอังกฤษขนาด 200 คน
       
       แต่ที่น่าสนใจคือในพื้นที่ 231 ไร่นี้ มีการทำมาสเตอร์แพลนเฉพาะในส่วนกีฬามากถึง 83-3-20 ไร่! ไม่รวมเงินลงทุนมหาศาลที่ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลข
       
       ปัญหาคือ การสร้างโรงเรียนขนาดใหญ่ และสนามกีฬาที่เกินความจำเป็นไปมากขนาดเป็นสนามกีฬาระดับชาติได้นั้น ทำให้ปัญหาวิกฤตการเงินของโรงเรียนอัสสัมชัญเกิดขึ้นในทันที เพราะใช้เงินจากโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมมาก่อสร้าง และมีข่าวว่าขณะนี้ทางผู้บริหารโรงเรียนติดเงินกับบริษัท ฤทธา ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นจำนวนมาก
โครงการอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม2
       
       ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการเชื่อมโยงว่า ความต้องการควบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และมัธยม เข้าด้วยกันนั้นเป็นเพราะว่า ผู้บริหารต้องการเอาเงินในส่วนของโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมมารวมไปใช้ใน การสร้างโรงเรียนใหม่นี้ เพื่อแก้ปัญหาการเงินที่ใช้ในการก่อสร้างไม่เพียงพอ
       
       ที่สำคัญที่ผ่านมา ผู้บริหารโรงเรียนยังมีการออกบอนด์ หรือพันธบัตรกู้ยืม ให้ผู้ปกครองให้เงินกู้นี้กับทางโรงเรียนโดยไม่มีดอกเบี้ย และจะคืนให้เมื่อบุตรสำเร็จการศึกษา ซึ่งอธิการอัสสัมชัญมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียง 4 ปี แล้วใครจะเป็นคนคืนเงินก้อนนี้ให้ผู้ปกครอง
       
       ขณะที่ภาวะการเงินของโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม ก็กำลังอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างหนัก จนที่ผ่านมามีการบีบไม่ขึ้นเงินเดือนให้ครู และยังบีบให้ลดค่าวิทยฐานะจาก 2,000 บาทต่อเดือน มาเป็น 1,500 บาท และล่าสุดได้ยกเลิกค่าวิทยฐานะ หลังจากเปลี่ยนชื่อเป็น ค่าครองชีพ ซึ่งครูอาจารย์ในโรงเรียนที่มีอายุการทำงานถึง 9 ปี รวมเงินเดือนแล้วมีรายได้เพียง 13,090 บาทเท่านั้น
       
       โดยเป็นอัตราเงินเดือนในระดับที่ต่ำมาก ซ้ำยังน้อยกว่าข้าราชการที่มีเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทด้วย ทั้งๆ ที่โรงเรียนมีค่าแป๊ะเจี๊ยะการสอบเข้าโรงเรียนในระดับประถมมหาศาล แต่เงินเหล่านั้นไม่ถึงคนที่ทำหน้าที่ “ครู” และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเงินเหล่านั้นหายไปไหน!
       
       ดังนั้นประเด็นปัญหาของโรงเรียนอัสสัมชัญที่กำลังเกิดขึ้นทั้งหมดนี้ จึงนำไปสู่ข้อสงสัยที่สำคัญที่สุดที่บรรดาศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ครู อาจารย์ และผู้ปกครองมองข้ามไม่ได้ และเป็นที่มาของการแสวงหาหลักฐานคือ ถ้ารวมโรงเรียนอัสสัมชัญทั้ง 2 โรงเรียน แล้วให้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนสร้างใหม่ที่พระราม 2 คำถามคือ พื้นที่โรงเรียนเดิมจะเอาไว้ทำอะไร จะมีการขายไหม แล้วจะขายให้ใคร?
       
       ข้อมูลเชื่อมโยงเรื่องนี้ยิ่งน่าตกใจกว่าเรื่องอื่นๆ เมื่อพบคอนเนกชันทางการเมืองที่สำคัญเชื่อมโยงไปถึงนักการเมือง นักธุรกิจกลุ่ม “โฟร์ซีซั่นส์” ในการเตรียมการเข้ามาซื้อที่ดินย่านเซนต์หลุยส์ และย่านบางรัก เพื่อนำมาพัฒนาต่อ
       
       “คุณมีนักเลง ผมก็มีนักเลง คุณมีพวก ผมก็มีพวก ผมมีคนรู้จักในกระทรวงศึกษาธิการ”
       
       นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนอัสสัมชัญย้ำตลอด
       
       “กิตติรัตน์-เศรษฐา” ตกเป็นจำเลยอีกแล้ว!?
       
       แหล่งข่าวอดีตศิษย์เก่าอัสสัมชัญและเป็นนักพัฒนาที่ดิน ระบุว่า “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” และชื่อของ “เศรษฐา ทวีสิน” กำลังตกเป็นเป้าที่บรรดาศิษย์เก่าเชื่อว่าเป็นผู้ที่จะเข้ามาซื้อที่ดินอัส สัมชัญ เซนต์หลุยส์ และถ้าทุกอย่างสำเร็จคือภราดาอานันท์ ควบรวมและย้ายเด็กอัสสัมชัญไปที่อัสสัมชัญ พระราม 2 สำเร็จ ก็จะมีการรุกคืบซื้อที่ดินอัสสัมชัญ บางรัก ต่อไป เพราะอัสสัมชัญ พระราม 2 สามารถรองรับได้หากจะมีการย้ายทั้งอัสสัมชัญ เซนต์หลุยส์ และบางรักในเวลาเดียวกัน
       
       “วันนี้พวกเราตำหนิกิตติรัตน์มาก เพราะตัวเองเป็นศิษย์อัสสัมชัญแต่ทำไมมาทำลายอัสสัมชัญ แม้แต่พี่ชายกิตติรัตน์คือคุณกิตติพงษ์ เขาก็ไม่เห็นด้วย”
       
       อย่างไรก็ดี จากการข่าวที่ทางศิษย์เก่าอัสสัมชัญหามาได้นั้น เบื้องต้นเข้าใจว่าผู้ที่จะมาลงทุนคือบริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยเป็นผู้บริหารสูงสุดบริษัทเอสซีฯ มาก่อนที่จะเข้าสู่การเมือง
       
       แต่จากข้อมูลล่าสุดน่าจะไม่ใช่บริษัทเอสซีฯ เนื่องจากขณะนี้บริษัทเอสซีฯ กำลังมีปัญหาภายในกันเอง โดยเฉพาะด้านการตลาด และด้วยวัฒนธรรมของเอสซีฯ แล้ว ไม่กล้าที่จะสู้ราคาที่ดินแปลงนี้แน่นอน
       
       “ลูกๆ เขาอยากจะทำโรงแรม ซึ่งที่ดินตรงนี้ถ้าได้มาก็ต้องเป็นการซื้อส่วนตัว ลงทุนโรงแรม เป็นธุรกิจที่เก็บเกี่ยวได้ยาว แต่ตอนนี้ไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยวแล้ว”
       
       เมื่อบริษัทเอสซีฯ ถูกตัดทิ้งไปแล้ว แหล่งข่าวบอกว่า เศรษฐา ทวีสิน ผู้บริหารของแสนสิริ เป็นหนึ่งในผู้ถูกพาดพิงว่าอยู่ในโต๊ะเจรจาและมีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะปีนี้แสนสิริมีแผนในการลงทุนมาก
       
       อย่าลืมว่า “เศรษฐา ทวีสิน” ถูกครหามาตลอดในเรื่องการได้ประโยชน์จากข้อมูลรัฐ ในการวางแผนเดินหน้าธุรกิจของบริษัทแสนสิริมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเหตุการณ์ “ว.5” ที่โฟร์ซีซั่นส์ ครั้งนั้นถูกเชื่อมโยงไปในเรื่องของผลประโยชน์เรื่องพื้นที่ฟลัดเวย์ด้วย
กิตติรัตน์ ศิษย์เก่าอัสสัมชัญ กับเศรษฐา ทวีสิน แก๊งโฟร์ซีซั่นส์ ถูกจับตาจ้องฮุบที่ดินอัสสัมชัญเซนต์หลุยส์
       
       “เศรษฐา ทวีสิน” ปั้นคอนโดฯอัสสัมชัญ
       
       แหล่งข่าวบอกอีกว่า ผู้ที่สนใจที่ดินแปลงนี้ก็คือเศรษฐา ทวีสิน เพราะในการทำธุรกิจของกลุ่มแสนสิริ เขาจะกล้าสู้ราคาที่ดินแพงๆ และโปรเจกต์ของแสนสิริ ต้องการพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียม ซึ่งที่ดินอัสสัมชัญ เซนต์หลุยส์ สามารถลงทุนโปรเจกต์คอนโดมิเนียมได้สบายๆ ทั้งในเรื่องจำนวนพื้นที่ และราคาน่าจะเป็นที่สนใจเพราะบริเวณนี้สาธารณูปโภคพร้อม และถือเป็นที่ดินแปลงใหญ่ที่เหลืออยู่ในย่านสีลม-สาทร
       
       “แสนสิริ ทำธุรกิจแบบ aggressive ราคาสูงเขาก็กล้าไล่ซื้อ จึงไม่แปลกถ้าเขาจะต้องการที่แปลงนี้”
       
       สำหรับที่ดินอัสสัมชัญ เซนต์หลุยส์ ที่ตั้ง 164 ซอยสาทร 11 แขวงยานนาวา เขตสาทร กทม. เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ 2 งาน มีราคาประเมินคร่าวๆ โดยกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554-2558 ซึ่งประเมินถนนสาทรอยู่ที่ราคา 450,000-600,000 บาทต่อตารางวา
       
       “ประมาณราคาซื้อขายกันของที่แปลงนี้ 880 ล้านบาท พัฒนาเป็นพื้นที่ขายได้ประมาณ 44,000 ตารางเมตร ขาย ตร.ม.ละเฉลี่ย 1 แสนบาท หักค่าก่อสร้างประมาณ 1,600 ล้านบาท เขาจะได้กำไรจากโครงการนี้ 2 พันกว่าล้าน แต่ถ้าเขาทำเป็นโรมแรมอย่างที่กลุ่มเอสซีฯ คิด จะเก็บเกี่ยวรายได้นาน”
       
       ส่วนที่ดินอัสสัมชัญ บางรัก ตั้งอยู่ที่ 26 ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กทม. จำนวน 8 ไร่ 3 งาน มีราคาประเมินคร่าวๆ ที่ถนนเจริญกรุงอยู่ที่ 180,000-450,000 บาทต่อตารางวา
       
       แผนลงทุนแสนสิริทั้งในและต่างประเทศ
       
       ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI โดดเด่นขึ้นมาอย่างผิดหูผิดตาในช่วงที่มียิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวทักษิณ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี โครงการของแสนสิริเปิดตัวเป็นว่าเล่นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พร้อมๆ กับการโรยราลงไปของบริษัท แอลพีเอ็น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN ตอนนี้เจ้าตลาดคอนโดมิเนียมหรูจึงตกอยู่ในมือของแสนสิริ
       
       ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ว.5 ที่โฟร์ซีซั่นส์หรือไม่ ในปี 2556 นี้ทางแสนสิริได้เตรียมเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่ 11 โครงการ เริ่มต้นที่ราคา 9.9 แสนบาท และมีอีกกว่า 50 โครงการที่มีทั้งบ้าน ทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ
       
       โดยได้เปิดให้เลือกโครงการและลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษแจก iPad mini 16 GB ฟรีทุกยูนิต ประกอบด้วย เดอะ เบส พัทยากลาง เดอะ เบส ไฮท์-ภูเก็ต เดอะ เบส พาร์ค อีสต์ สุขุมวิท 77 ดีคอนโด อ่อนนุช-พระราม 9 ดีคอนโด แคมปัส ราชพฤกษ์-จรัญฯ 13 ดีคอนโด แคมปัส รังสิต ดีคอนโด แคมปัส บางนา ดีคอนโด พัทยา นายน์ บาย แสนสิริ เอดจ์ สุขุมวิท 23 และบ้านไม้ขาว ภูเก็ต
       
       ส่วนที่กำลังเปิดขายอยู่ในขณะนี้คือ ดีบุรา พรานนก แต่งเฟอร์นิเจอร์ครบ รับ iPad mini และดีคอนโด แคมปัส รีสอร์ท “กู้กู” ภูเก็ต รับซัมซุง กาแล็กซีโน้ต 2 ทั้งสองโครงการเปิดจองวันที่ 26-27 มกราคม 2556
       
       ส่วนแผนการลงทุนในปี 2556 ที่มีทั้งในและต่างประเทศ แสนสิริเตรียมจะเปิดอีก 45 โครงการ มูลค่า 6.1 หมื่นล้านบาท โดยได้ทำการโรดโชว์ที่ลอนดอน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เดนมาร์ก และสวีเดน เมื่อ 14-18 มกราคมที่ผ่านมา และเดือนกุมภาพันธ์ระหว่าง 4-5 กุมภาพันธ์ โรดโชว์ที่ฮ่องกง และ 4-5 มีนาคม โรดโชว์ที่สหรัฐอเมริกา
       
       บริษัทหลักทรัพย์ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด มองว่าผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 4/2555 ของปีที่ผ่านมา คาดว่าจะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดจากการสร้างยอดขายที่สูงเป็นประวัติการณ์ได้ ถึง 16,300 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นยอดขายรายไตรมาสที่สูงที่สุดนับแต่การก่อตั้งบริษัท
       
       เมื่อมองเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม ทางแสนสิริจะเปิดอีก 24 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ทั้งในกรุงเทพฯ และ 6 พื้นที่ในต่างจังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต หัวหิน พัทยา ขอนแก่น ระยองและอุดรธานี
       
       อย่างไรก็ดี แม้ว่าภราดาอานันท์จะออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่มีการซื้อ-ขายที่ดินโรงเรียนอัส สัมชัญทั้ง 2 แห่งแล้วก็ตาม แต่บรรดาศิษย์เก่า ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง รวมทั้งศิษย์ปัจจุบัน ก็ไม่มีใครเชื่อใจว่าจะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น
       
       ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือต้องมีการปลดภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ ออกจากการเป็นผู้อำนวยการอัสสัมชัญได้เสียก่อน จึงจะทำให้ทุกฝ่ายมีความไว้วางใจขึ้น เพราะประเด็นต่อจากนี้ไปยังเชื่อว่าต้องมีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับนักการ เมือง และคนในแวดวงการกีฬาจึงได้มีการสร้างสนามกีฬาขนาดใหญ่ไว้ที่อัสสัมชัญ พระราม 2 เป็นเหตุให้สถานภาพทางการเงินของอัสสัมชัญต้องวิกฤตอยู่ทุกวันนี้ (ติดตาม อ่านอัสสัมชัญตอน 2 สร้างสนามกีฬาเพื่อใคร!?.”

เรื่องลับๆ ล่อๆ และแก๊งโฟร์ซีซั่นส์ ที่ ร.ร.อัสสัมชัญ

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 2 กุมภาพันธ์ 2556 06:56 น.

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -แม้มูลนิธิมูลนิธิคณะเซนต์คาเบลียลแห่งประเทศไทย จะมีคำสั่งให้พักการปฏิบัติหน้าที่ของภราดา อานันท์ ปรีชาวุฒิ ใน ฐานะผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญแผนก ประถม และในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญประถม พร้อมแต่งตั้งให้ภราดา สุรสิทธิ์ สุขชัย ปฏิบัติหน้าที่แทน รวมถึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อหาข้อเท็จจริงหลังครูและศิษย์เก่าฯ สวมชุดดำรวมตัวประท้วงครั้งใหญ่สุดบริเวณโรงเรียนเมื่อวันที่25 ม.ค.ที่ผ่านมา แต่เชื่ออย่างยิ่งว่า ยังคงมีเงื่อนงำอีกหลายข้อที่สังคมสงสัยว่าสุดท้ายแล้วผลจะออกมาอย่างไร
       
       โดยเฉพาะความห่วงใยเรื่องการหาผลประโยชน์บนที่ดินของโรงเรียนอัสสัม ชัญ แผนกประถม ซอยเซนต์หลุยส์ โดยให้ควบรวมโรงเรียนให้เด็กนักเรียนประถมย้ายมาเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก การไม่ปรับเงินเดือนครู หรือข่าวที่มีการย้ายนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2
       
       ย้อนไปจุดเริ่มต้น ปลายเดือน ธ.ค. 2555 จากการเปิดเผยปัญหาภายในรั้วอัสสัมชัญซึ่งโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก(Facebook) ส่วนตัวของ “หมอนิด-กิจจา ทวีกุล” ที่ระบุว่า “มีฝ่ายบริหารที่เป็นใหญ่ “อ.” ร่วมมือกับนักการเมืองผู้หนึ่ง และข้าราชการบางคนสมรู้ร่วมคิดในการแก้ไขกฎหมายการรวมเด็กนักเรียนชั้นประถม แถวซอยเซนต์หลุยส์ให้มาเรียนรวมกับเด็กมัธยมที่บางรัก ทั้งที่มีกฎห้ามไว้ และมีการให้ครูเซ็นชื่อลาออกล่วงหน้า เพื่อเป็นการข่มขู่ถ้าครูท่านไหนไม่ให้ความร่วมมือในอนาคต?” พร้อม ๆ กับการออกมาสำทับของ ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ และระบุด้วยว่า มีกระแส ครูแต่งชุดดำ เพราะไม่ต้องการควบรวมจริง
       
       นอกจากนี้ ยังมีบทความโดย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คอลัมน์นิสต์หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ ที่ได้ตีแผ่ข้อร้องเรียนจากครู ผู้ปกครอง ที่ต้องการความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
       
       ทว่า มีความเคลื่อนจาก ภราดา อานันท์ ที่เด่นชัดเพียง 2 ครั้งในเรื่องดังกล่าว ครั้งแรกคือการประชุมทำความเข้าใจผ่านนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและ ตอนปลาย ในวันที่ 7 ม.ค.2556 ยอมรับว่าจะมีการควบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถมและมัธยมเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 เกี่ยวกับตราสารจัดตั้ง ซึ่งโรงเรียนได้ทำรายละเอียดเผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.assumption.ac.th ด้วย
       
       กฎหมายที่ว่า คือ การขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการและการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555” ซึ่งลงนามโดย นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ
       
       ส่วนครั้งที่ 2 อันเนื่องจากเหตุครูแต่งชุดดำประท้วง ประมาณกลางเดือนม.ค. 2556 ภราดา อานันท์ และภราดา ศิริชัย ฟองซีกา ประธานมูลนิธิคณะเซ็นต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย จึงร่วมแถลงข่าวเคลียร์ประเด็นคับข้องใจยืนยันว่าจะไม่มีการควบรวมโรงเรียน ทั้งประถมและมัธยมเข้าด้วยกัน ครูทุกคนยังทำงานเช่นเดิม ส่วนการย้ายนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 นั้นก็เฉพาะนักเรียนที่เรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program : EP) ที่สมัครใจย้ายไปเรียนเท่านั้น
       
       ขณะที่ในวันที่27 ม.ค.ที่ผ่านมา “ทีม Special Scoop นสพ.ผู้จัดการรายวัน”ได้นำเสนอเรื่อง “แก๊งโฟร์ซีซั่นส์จ้องฮุบ“อัสสัมชัญ” ปั้นโครงการสำเร็จกำไรกว่า 2 พันล้าน” โดยมีข้อมูลจากแหล่งข่าวศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ ว่า เบื้องหลังจริง ๆ คือภราดา อานันท์ ต้องการย้ายนักเรียนไปเรียนในที่โรงเรียนสร้างขึ้นใหม่แถวพระราม 2 ซึ่งเปิดสอนหลักสูตร EPและกำลังก่อสร้างโดยได้ซื้อที่ดิน231 ไร่ ซึ่งใช้งบประมาณมหาศาล และมีบริเวณใกล้กับโครงการสารินซิตี้ บริเวณดังกล่าวเดินทางเข้าออกลำบาก จนทำให้กลุ่มศิษย์เก่าหลายคนตั้งข้อสงสัยว่า มีการเข้าไปช่วยโครงการสารินซิตี้ซื้อที่ดิน หรือการช่วยโฆษณาด้วยหรือไม่ เพราะล่าสุด มีการทำโฆษณาบ้านจัดสรรบริเวณดังกล่าวอยู่ติดโรงเรียนอัสสัมชัญใหม่เรียบ ร้อยแล้ว”
       
       สำหรับความอภิมหึมาของ โรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 มีกระแสว่าใช้งบประมาณมูลค่ากว่า2,500 ล้านบาท เป้าหมายรองรับนักเรียนถึง 1,800 คน ขณะที่ภายในอาณาเขต 231 ไร่ก็เตรียมการสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้าใต้ดิน อาคารเรียน โดยเฉพาะสนามกีฬา มีทั้งสนามฟุตบอลสดี้ยม ขนาด 15,000 ที่นั่ง สนามฟุตบอล 2 สนาม สนามกรีฑา 9 ลู่วิ่ง ฟิตเนส สระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิก ฯลฯ โดยเริ่มสร้างมาแต่ม.ค.2552 และตั้งเป้าต้องสร้างแล้วเสร็จ ร้อยละ 75 ในปี 2558 แต่ขณะนี้โรงเรียนแห่งนี้เพิ่งมีการรับนักเรียนรุ่นแรกเดือนมี.ค.2555 มีนักเรียนเข้าเรียนกว่า 900 คนในระดับประถมและมัธยม อีกทั้งโรงเรียนแห่งนี้อยู่ห่างจากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ประมาณ 28.4 กิโลเมตร ด้วยระยะทางที่ห่างจากไกลหากจะให้ผู้ปกครองเดินไป-กลับระหว่าง กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร เฉลี่ย 60 กิโลเมตรทุก ๆ วันคงไม่น่าจะคุ้มค่าใช้จ่ายเท่าใดนัก และคาดว่าไม่น่าจะเป็นการลงทุนมูลค่ามหาศาลที่คุ้มค่า ?
       
       ทั้งนี้ โรงเรียนแห่งนี้เป็นโปรเจ็กต์ยักษ์ที่ ภราดา อานันท์ ทั้งผลักทั้งดัน แม้จะไม่ได้รับการอนุมัติการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาชุดเก่าก็ ตาม เพราะการสร้างโรงเรียนขนาดใหญ่เกินจำเป็น รวมไปถึงสนามกีฬาจำนวนมากส่งผลต่อสถานการณ์ทางการเงินของโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมเกิดวิกฤต ! เพราะถูกดึงเงินของโรงเรียนมาใช้ในการก่อสร้างที่ขณะนี้ยังติดชำระหนี้กับ บริษัท ฤทธา ผู้รับเหมาจำนวนมากเช่นกัน โดยที่ผ่านมา ผู้บริหารโรงเรียนได้มีการออกพันธบัตรกู้ยืม หรือ บอนด์ แก่ผู้ปกครองให้เงินกู้กับโรงเรียนไม่มีดอกเบี้ย และได้คืนเมื่อบุตรจบการศึกษา แต่ก็เกิดคำถามด้วยว่าหากอธิการอัสสัมชัญ หมดวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปีใครกันจะใช้หนี้เหล่านี้แทน
       
       แต่..ถ้าผู้บริหารหากสามารถควบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมและ มัธยมเข้าร่วมกันได้ตามข้อกฎหมายใหม่สำเร็จ นั่นหมายถึง เม็ดเงินของโรงเรียนแผนกประถมก็จะเป็นเนื้อเดียวกับแผนกมัธยม ซึ่งไม่แคล้วคลาดถูกดึงสร้างโรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 แห่งนี้?
       
       และในภาวะเงินตึงมือผลกรรมเลยไปตกที่ “ครู”เพราะผู้บริหารไม่เคยขึ้นเงินเดือนให้ครู แม้รัฐบาลจะมีนโยบายให้ผู้จบปริญญาตรีได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท และสช.ได้ส่งหนังสือแจ้งมายังโรงเรียนเอกชนในกำกับ หรือกระทั่งมูลนิธิฯ จะมีคำสั่งให้ดำเนินการก็ตาม แต่ผู้บริหารก็ไม่ดำเนินการทันที ซ้ำยังตัดค่าครองชีพ หรือเดิมคือค่าวิทยฐานะที่เคยจ่าย 2,000 บาทเหลือเพียง 1,500 บาท ดังนั้นครูจึงประท้วงเรียกร้องขอคืนสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมาย รวมทั้งต้องปรับเงินเดือนตามประกาศมูลนิธิฯ เช่น ปริญญาตรี ต้องได้เงินเดือนที่ 11,680บาท
       
       ขณะที่มีข้อมูลจากครูโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม ระบุว่าโรงเรียนมีการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเพิ่มขึ้น เช่นในปีการศึกษา 2555ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ ระดับม.ต้น เฉลี่ยที่ 2,500 บาทต่อเทอม และม.ปลาย เฉลี่ยที่ 2,800 บาทต่อเทอม เฉพาะหลักสูตรภาษาอังกฤษ ที่เปิดสอน ม.2,3 ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดปีในปีการศึกษา2555 อยู่ที่ 168,000บาท และ 165,000บาท ส่วน ม.4แผนกวิทย์ อยู่ที่ 173,200 บาท แผนกศิลป์ 167,200 บาท ระดับม.5,6 แผนกวิทย์ อยู่ที่ 163,000บาท และ 168,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 จะมีราคาสูงกว่านี้
       
       คำถามคือ โรงเรียนชื่อดังระดับนี้ มีผู้ปกครองต้องการให้ลูกเรียนทั้งแผนกประถม-มัธยมจำนวนมาก และเต็มใจจ่ายพิเศษ และพร้อมยอมควักเงินจ่ายแล้วเหตุใดเจอประสบปัญหาการเงิน และหากควบรวมโรงเรียน 2 แห่งเข้าด้วยกันโรงเรียนที่ไร้นักเรียนบนพื้นที่ทำเลทอง นั่นจะถูกนำไปทำอะไร ? ใครกันที่กำลังจ้องตาเป็นมันหวัง “ฮุบ”!!
       
       มีข้อมูลเชื่อมโยงซึ่ง “ทีม Special Scoopนสพ.ผู้จัดการรายวัน” นำเสนอด้วยว่า คอนเนกชันทางการเมืองที่มีการพูดถึง คือ กลุ่มนักการเมือง และกลุ่มนักธรกิจกลุ่ม “โฟร์ซีซั่น” เตรียมการจะเข้าซื้อที่ดินอัสสัมชัญย่านเซนต์หลุยส์ และย่านบางรัก ซึ่งแหล่งข่าว ระบุว่า “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” ศิษย์เก่าอัสสัมชัญ และ“เศรษฐา ทวีสิน” กำลังตกเป็นเป้าที่ศิษย์เก่าฯ เชื่อว่าจะเป็นผู้ที่มาซื้อที่ดินอัสสัมชัญ เซนต์หลุยส์ และเมื่อภราดา อานันท์ ทำทุกอย่างสำเร็จทั้งควบรวมประถม-มัธยม สำเร็จและย้ายไปรวมไว้ที่พระราม 2 ได้อีก ที่ดินบางรักก็คือเป้าหมายถัดไป
       
       โดยระยะแรกข่าวที่ศิษย์เก่าฯ ได้รับระบุว่า เบื้องต้น บริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด (มหาชน) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ และน.ส.ยิ่งลักษ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสูด สนใจจะเข้ามาลงทุน โดยจะทำโรงแรม ซึ่งเป็นธุรกิจที่เก็บเกี่ยวได้นาน แต่ล่าสุดตัดสินใจใส่เกียร์ถอย ไม่อยากยุ่งเกี่ยวเพราะเกิดประเด็นครึกโครมขึ้น
       
       ขณะที่ “เศรษฐา ทวีสิน” เจ้าพ่อแสนสิริ ที่เจอข้อครหาว่าได้รับประโยชน์จากรัฐเอื้อให้ต่อธุรกิจตนเองมาอย่างต่อ เนื่อง โดยเฉพาะลืมไม่ได้กับเหตุการณ์ “ว.5” ที่โฟร์ซีซั่นส์ ซึ่งถูกโยงเรื่องผลประโยชน์ของพื้นที่ฟลัดเวย์ และถูกจับตามองพิเศษว่าในยุคการบริหารงานของพรรคเพื่อไทย ธุรกิจในเครือแสนสิริ เติบโตมากเป็นพิเศษ คือ ตัวเต็งที่นั่งในโต๊ะการเจรจาและคาดว่าเป็นไปได้มากที่สุด เพราะหมายตาทำโปรเจ็กต์คอนโดมิเนียมซึ่งพื้นที่ดังกล่าวลงทุนได้สบาย ๆ โดยเฉพาะสไตล์ “แสนสิริ” กล้าสู้ราคาที่ดินแพง!?
       
       สำหรับโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนประถม ซ.เซนต์หลุยส์มีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน ซึ่งกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ประเมิน ถ.สาทร อยู่ที่ 4.5-6 แสนบาทต่อตารางวา เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2554-2558 ซึ่งหากประมาณราคาซื้อขายกันเองของที่แปลงนี้880 ล้านบาท พัฒนาเป็นพื้นที่ขายได้ประมาณ 44,000 ตารางเมตร (ตร.ม.)ขายเฉลี่ย ตร.ม.ละ 1 แสนบาทหักค่าก่อสร้างประมาณ 1,600 ล้านบาท จะได้กำไร 2 พันล้านบาท ขณะที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก มีเนื้อจำนวน 8 ไร่ 3 งาน ราคาประเมินเบื้องต้น ถ.เจริญกรุงอยู่ที่ 1.8-4.5 แสนบาทต่อตารางวา
       
       ทว่า สิ่งที่น่าสงสัยคือ มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เคยระแคะระคายบ้างหรือไม่?และเหตุใดเกิดเหตุการณ์ยุ่งเหยิงขนาดนี้จึงไม่ออก มาสร้างความกระจ่างให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า หรือออกมาไขข้องใจแก่สังคม


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มติเครือข่ายครู ศิษย์เก่า กู้วิกฤตอัสสัมชัญ

view