สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คลายสงสัย ไขข้ออักเสบในเด็ก

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น จากร่างกายที่ดูกระฉับกระเฉงก็เริ่มอ่อนแรงโรยรา กระดูกและข้อที่เคยใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วย่อมมีวันเสื่อมสภาพ จะเดิน จะลุกนั่งแต่ละทีก็แสนจะลำบาก หลายคนจึงเกิด "อาการปวดข้อ"

ขณะ เดียวกัน คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยเพียงเท่านั้น หรือที่เราเรียกกันว่า "โรครูมาตอยด์" หรือโรคข้ออักเสบที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าเด็กก็สามารถเกิดอาการปวดข้อได้ด้วยเช่นกัน และมีผู้ป่วยเด็กจำนวนไม่น้อยที่ทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดของโรคนี้ โดยที่ผู้ป่วยเด็กเหล่านั้นไม่สามารถบอกอาการเจ็บปวดที่แท้จริงออกมาให้ ผู้ใหญ่ทราบ และอาจสายเกินกว่าจะรักษาให้หายขาดได้


แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกัน และโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ

"โรค ข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก" ว่า "โรคนี้มีคนรู้จักน้อยคนนัก เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่และเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กบางราย ส่วนใหญ่จะเหมารวมว่าเด็กที่เกิดอาการปวดข้อนั้นเป็นโรครูมาตอยด์ หรือโรคเก๊าต์ แต่ความเป็นจริงร่างกายและสรีระของเด็กกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน การให้ยาก็แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของชื่อโรค"

โรคข้ออักเสบไม่ทราบ สาเหตุในเด็ก เป็นกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (Autoimmune Disease) หมายถึงภูมิคุ้มกันทำงานเกินหน้าที่ เพราะหลังจากที่กำจัดเชื้อโรคไปแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันยังคงทำงานอยู่ จนย้อนกลับมาทำร้ายร่างกาย โรคนี้สามารถส่งต่อได้จากทางพันธุกรรม ปัจจุบันโรงพยาบาลรามาธิบดีมีผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุใน เด็ก 200 คน และตรวจพบผู้ป่วยเด็กที่อายุไม่ถึง 1 ปีไปจนถึงเด็กอายุ 16 ปี

แต่ ความยากของโรคนี้กำลังเกิดขึ้นกับเด็ก คือ ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการที่เกิดกับเด็ก เพราะเด็กนั้นไม่สามารถบอกอาการที่แท้จริงได้ว่าเจ็บปวดในลักษณะอาการแบบใด ทำได้เพียงแต่งอแง นั่งร้องไห้โอดครวญกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

แต่ผู้ปกครองสามารถมองสิ่งผิดปกติที่เกิดกับเด็กผ่านภายนอกร่างกายว่า ข้อต่าง ๆ นั้นเกิดอาการล็อกและขยับไปมา
ไม่ ได้ และหากเกิดอาการเป็นเวลานานอาจทำให้มีน้ำอยู่ในข้อ และเมื่องลองจับจะรู้สึกอุ่นกว่าข้อข้างที่ปกติ มีรอยแดงอูมบริเวณข้อ เมื่อกดเบา ๆ จะรู้สึกเจ็บกว่าปกติ มีอาการเดินกะเผลกในตอนเช้า

ไม่ สามารถเดินลงน้ำหนักตัวได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากข้อบวมในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่อากาศเย็นจะทำให้ปวดข้อกว่าช่วง เวลาปกติ หรือช่วงที่นั่งเป็นเวลานานก็สามารถปวดได้ ดังนั้น ต้องหาลูกประคบร้อน หรือการแช่น้ำอุ่นในช่วงเช้าก็สามารถคลายความเจ็บปวดได้อีกทาง

"ผู้ ป่วยเด็กพวกนี้จะเป็นเด็กที่มีความอดทนสูงมาก เพราะต้องมีการเจาะเลือดทุกครั้งที่มาตรวจพบแพทย์ บางทีเห็นเด็กที่เป็นโรคกินยาเป็นกำ แต่เขาก็ต้องยอมกินเพราะพวกเขาบอกว่า การปวดข้อมันทรมานกว่าการกินยา และต้องทำกายภาพบำบัดซึ่งต้องอดทนเป็นอย่างสูงเพราะจะทำให้ข้อต่าง ๆ ยืด ซึ่งทรมานเป็นอย่างมาก" แพทย์หญิงโสมรัชช์กล่าว

การออกกำลังกาย พ่อแม่ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าไม่สามารถทำได้ ซึ่งต้องให้นั่ง-นอนอยู่บ้านเท่านั้น เพราะคิดว่ายิ่ง
ออก กำลังกายร่างกายยิ่งแย่ลง ในความเป็นจริงแล้วเป็นความเข้าใจที่ทั้งถูกและผิด ในกรณีที่เกิดข้ออักเสบเฉียบพลัน มีอาการบวมแดงก็ควรหยุดขยับร่างกาย แต่อาการดีขึ้นก็ควรขยับร่างกายเพื่อบริหารไม่ให้ข้อติด การได้เล่นกีฬาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าผู้ป่วยเด็กสามารถมีชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่รู้สึกว่าเป็นปมด้อย

ส่วนกีฬาที่ควรงด คือ กีฬาที่ใช้แรงกระแทก เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล บัลเลต์ กีฬาที่แนะนำคือว่ายน้ำ เพราะเป็นการ
บริหารข้อโดยลดแรงกระแทก สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือน้ำอัดลม อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ แต่เนื้อไก่และไข่ หน่อไม้
รับประทานได้ เพราะโรคนี้ไม่ใช่โรคเกาต์ที่ใครหลายคนต่างเข้าใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กเกิดอาการข้ออักเสบขึ้น สิ่งสำคัญคือผู้ปกครองควรตั้งสติ ต้องเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับโรค
เกี่ยวกับยา ผลข้างเคียงของยา การดูแลเด็กแม้กระทั่งการกินอาหาร ดูแลในเรื่องของสภาวะทางจิตใจ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว

เรา ควรจะต้องสามารถอยู่กับมันและเรียนรู้ให้ได้อย่างปกติสุข การรักษาที่ทันท่วงที กินยาตามที่หมอสั่ง และกายภาพเป็นประจำ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กก็จะไม่กวนใจอีกต่อไป


7 กลุ่ม เสี่ยงโรคข้ออักเสบ

1.Systemic onset juvenile idiopathic arthritis (SoJIA) เป็นชนิดที่รุนแรงมากที่สุด และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยมีไข้สูงและผื่นแดง ๆ ที่เรียกว่า ผื่นแซลมอน ขึ้นตามร่างกาย

2.Oligoarticular JIA หรือ Pauciarticular JIA ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการข้ออักเสบน้อยกว่า 5 ข้อ แต่อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดตาอักเสบได้มากกว่าชนิดอื่น ๆ เพราะสามารถลามขึ้นที่ตาได้

3.Polyarticular JIA ที่มีรูมาตอยด์แฟกเตอร์ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการข้ออักเสบมากกว่า

5 ข้อขึ้นไป และมีอาการปวดข้อเล็ก ๆ เช่น ข้อนิ้วมือ หรือข้อนิ้วเท้า และเด็กที่อยู่ในกลุ่มนี้พอโตขึ้นจะมีอาการเหมือนผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้อ อักเสบรูมาตอยด์ได้

4.Polyarticular JIA ที่ไม่มีรูมาตอยด์แฟกเตอร์ การดำเนินของโรคในกลุ่มนี้จะรุนแรงน้อยกว่ากลุ่มที่มีรูมาตอยด์แฟกเตอร์ แต่ก็เสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาอักเสบได้

5.Enthesitis related arthritis หรือ ERA จะพบอาการข้ออักเสบในตำแหน่งที่มีเส้นเอ็นไปเกาะกับกระดูก เช่น บริเวณส้นเท้า ฝ่าเท้า กระดูกสะบ้า ข้อต่อของกระดูกสันหลังบริเวณเอว เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดมาก โดยส่วนมากจะเป็นในเด็กผู้ชายอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป

6.Psoriatic arthritis หรือโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน จะพบผื่นสะเก็ดเงินร่วมกับอาการข้ออักเสบ ชนิดนี้จะยากต่อการวินิจฉัย แต่พบน้อยในเด็กไทย

7.Undifferentiated JIA ข้ออักเสบที่ไม่เข้าพวกกับ 6 กลุ่มข้างต้น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คลายสงสัย ไขข้ออักเสบในเด็ก

view