สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ค่าเงินกับอัตราดอกเบี้ย

ค่าเงินกับอัตราดอกเบี้ย

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ประเด็นเศรษฐกิจร้อนในช่วงนี้คงจะเป็นเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศทั่วโลกเป็นกังวลรวมถึงประเทศไทย

ด้วย จนเริ่มมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง ดังปรากฏข่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ทำหนังสือถึงธนาคารแห่ง ประเทศไทยให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารแห่งประเทศไทยลงจากระดับ 2.75% ในปัจจุบัน (เทียบกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงร้อยละ 0.25 ของสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 0.50 ของกลุ่มสหภาพยุโรป และร้อยละ 0.10% ของประเทศญี่ปุ่น) โดยมีความคิดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลงจะทำให้ส่วนต่างของอัตรา ดอกเบี้ยในประเทศกับอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศลดลง และจะทำให้ปริมาณเงินลงทุนจากต่างประเทศชะลอลดลง

ซึ่งกระทรวงการคลังมีความเห็นว่าเงินทุนไหลเข้าทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณร้อยละ 3 ในช่วงต้นปีนี้ จากระดับเฉลี่ย 30.5 บาทต่อดอลลาร์ ในไตรมาสที่สี่ของปีที่ผ่านมาลงมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 30 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ และเป็นการเรียกร้องของรัฐมนตรีคลังก่อนหน้าภาคเอกชนเสียอีก แนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้นเข้าใจว่าน่าจะมีเป้าหมายสอง ประการ คือ ประการแรกคือการทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงน่าจะช่วยกระตุ้นการส่งออกให้เพิ่ม ขึ้น และประการที่สองคือการลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงก็จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่าย ของรัฐบาลให้ลดลง เพราะหนี้รัฐบาลมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากโครงการต่างๆ ของภาครัฐ

แต่แท้ที่จริงแล้วการที่ค่าของเงินบาทและเงินสกุลในเอเชียแข็งค่าขึ้นมา อย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมานั้น เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นที่ต่างก็ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยการอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่รวมไปถึงการพิมพ์ธนบัตร ในการช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้น จึงทำให้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ยูโร หรือปอนด์ ต่างอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลของเอเชีย และนโยบายการเงินที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็ คือ การดำรงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์ในการกระตุ้นการใช้จ่ายและ การลงทุนของประชาชน สภาวะที่มีเงินจำนวนมหาศาลเพิ่มขึ้นและมีอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์ จึงทำให้เกิดการไหลออกของเงินลงทุนจากภูมิภาคตะวันตกมายังภูมิภาคตะวันออก ที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังเติบโตได้สูง

ดังนั้น จึงมีแรงกดดันต่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งกำลังจะมีการประชุมครั้งที่สองของปีนี้ในสัปดาห์หน้า (วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556) ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่อัตราร้อยละ 2.75 นี้หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการฯในการประชุมครั้งแรกของปีนี้ (เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้และแสดงข้อคิดเห็นว่าเป็น ระดับที่เหมาะสมแล้ว จากการสำรวจความคิดเห็นของหน่วยงานต่างๆ ก็มองว่าในการประชุมสัปดาห์หน้า ธนาคารแห่งประเทศไทยยังน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้ แต่ในการประชุมครั้งที่เหลือของปีนี้อาจจะเห็นมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้าง อิงลง ในสภาวะปกติแล้วการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของ กนง. จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเพียงครั้งละ 0.25% ซึ่งการปรับลดขนาดเล็กน้อยดังกล่าวจึงไม่น่าจะมีผลในการสกัดกระแสเงินทุนไหล เข้าได้ เพราะปัจจัยที่มีแรงดึงดูดที่แรงกว่าคือ อัตราผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าไม่ว่าจะเป็นตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสาร ทุน

แนวคิดที่ว่าค่าเงินอ่อนลงแล้วจะช่วยการส่งออกให้เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไปในทุกกรณี เพราะการที่ค่าเงินอ่อนค่าลงหมายถึงว่าราคาสินค้าส่งออกสินค้าและบริการ บริการต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวต่างๆ จะมีราคาถูกลงในมุมมองของชาวต่างประเทศ ก็จะจูงใจให้ชาวต่างประเทศซื้อสินค้าไทยมากขึ้นรวมถึงมีการเดินทางเข้ามา ท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น และเป็นความคิดที่ทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษกำลังพยายามใช้นโยบายการลดค่าเงินสกุลของตนเองในการแก้ไขปัญหาการ ขาดดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด และการขาดดุลการคลัง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การลดค่าเงินนั้นจะได้ผลนั้นก็ต่อเมื่อประเทศคู่แข่งขันไม่ลดค่าเงินลงตาม ตัวอย่างก็คือ ถ้าไทยลดค่าเงินบาทลง 5% และหากประเทศคู่แข่งขันในการส่งออกสินค้า เช่นเงินริงกิตของมาเลเซียก็ลดค่าเงินลง 5% ด้วยเช่นกันแล้ว ความได้เปรียบทางด้านราคาก็ย่อมไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้การลดค่าเงินจะได้ผลก็ต่อเมื่อสินค้าที่ส่งออกหรือสินค้านำเข้ามี ค่าความยืดหยุ่นต่อราคาสูงเท่านั้น (หมายการเปลี่ยนแปลงของราคาจะมีผลกระทบต่อความต้องการสินค้า)

แม้ว่าการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอาจจะมีผลทำให้การส่งออกสินค้าและบริการ ดีขึ้น แต่ก็มีผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งในกรณีของประเทศไทยนั้นมีสินค้าจำเป็นที่ต้องนำเข้าที่คือ น้ำมันดิบและพลังงาน และเวชภัณฑ์และยารักษาโรค ค่าเงินที่อ่อนลงจะทำให้ราคาสินค้าเหล่านั้นปรับตัวสูงขึ้นและกระทบต่ออัตรา เงินเฟ้อ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงก็จะทำให้ผู้ที่มีรายได้ดอกเบี้ยจากการฝาก เงินเช่นกลุ่มข้าราชการบำนาญและผู้เกษียณอายุมีรายได้ลดลง ส่วนผู้ที่กู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาถึงผลกระทบให้ครบถ้วนรอบด้าน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย

view