สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธีระชัย โพสเฟสบุ๊ค เป็นห่วงรัฐบาลออก พ.ร.ก.กู้เงิน 2.2 ล้านล้าน เสนอเข้ากระบวนการงบประมาณ

จากประชาชาติธุรกิจ

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสข้อความบนเฟสบุ๊คส่วนตัว Thirachai Phuvanatnaranubala ถึงกรณีที่รัฐบาลจะกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทอย่างไร โดยเขามีความเห็นว่าไม่ควรออกมาในลักษณะ พ.ร.ก.กู้เงิน แต่ควรทำให้เข้าในระบบงบประมาณผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้วิธีการออก พ.ร.ก.กู้เงินจะลดขั้นตอน แต่มีความกังวลเรื่องความไม่ถี่ถ้วนในการพิจารณาแต่ละโครงการ กรณี การลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน จึงไม่มีเหตุผลที่จะหลบเลี่ยงกระบวนการงบประมาณแต่อย่างใด รวมทั้งเสนอว่า าในอนาคต ควรมีการพิจารณาความเหมาะสม ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อตีกรอบให้สามารถกู้นอกระบบงบประมาณได้ เฉพาะเรื่องเร่งด่วน ด้วยวิธีออกเป็นพระราชกำหนดเท่านั้น ส่วนเรื่องลงทุนหลักที่เป็นยุทธศาสตร์ชาตินั้น ควรให้ทำในกรอบงบประมาณเท่านั้น

สำหรับข้อความฉบับเต็มทั้งหมด ดังนี้

1. ผมไม่คัดค้านที่จะมีการลงทุนพัฒนาประเทศ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการออกเป็นกฎหมาย เพื่อให้อยู่นอกระบบงบประมาณ

2.รัฐ ธรรมนูญกำหนดช่องทางที่รัฐบาลจะใช้เงินไว้ดีแล้ว โดยให้ทำผ่านกระบวนการงบประมาณ ซึ่งมีทั้งงบประจำ และงบลงทุน โดยจะผูกพันงบข้ามไปกี่ปีก็ได้

3. ขั้นตอนการตั้งงบลงทุนในงบประมาณนั้น เริ่มที่กระทรวงที่จะเสนอโครงการ แล้วส่งให้สภาพัฒน์พิจารณาในแง่ความคุ้มค่าของโครงการ ซึ่งจะพิจารณากันตามลำดับชั้น เริ่มจากระดับเจ้าหน้าที่ ทำการศึกษาละเอียด แล้วจึงกลั่นกรองเสนอผู้บังคับบัญชา จึงมีความรอบคอบ

4. เมื่อผ่านสภาพัฒน์แล้ว สำนักงบประมาณก็จะพิจารณาในแง่งบประมาณอีกชั้นหนึ่ง หากเห็นว่ามีการซ่อน หรือแฝงรายการที่แปลกปลอมเข้ามา ก็จะท้วงติงตัดออกไป ขั้นตอนการพิจารณาก็จะทำจากระดับเจ้าหน้าที่ มีการศึกษาละเอียดเช่นเดียวกับสภาพัฒน์ จึงมีการพิจารณาโดยสองหน่วยงานนี้อย่างรอบคอบ จากระดับเจ้าหน้าที่ขึ้นตามลำดับชั้น

5. แต่กรณีนอกงบประมาณนั้น การดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งกรณีรัฐบาลก่อนและรัฐบาลนี้ ล้วนใช้วิธีตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา เพื่อกลั่นกรองนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยไม่ผ่านสองหน่วยงานหลักดังกล่าว

6. ถึงแม้คณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว จะมีผู้บริหารระดับสูงของสภาพัฒน์กับสำนักงบประมาณ นั่งเป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วยก็ตาม แต่การพิจารณาเรื่อง ที่เสนอให้ตัดสินใจในที่ประชุม ย่อมไม่สามารถมีการพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วน ได้ดีเท่ากับการทำงานตามลำดับชั้นในแต่ละองค์กร

7. การพิจารณานอกกระบวนการงบประมาณ ด้วยขบวนการที่ลดขั้นตอน ทำให้การอนุมัคิโครงการทำได้เร็วขึ้นก็จริง แต่มีความเสี่ยงต่อการหละหลวมมากขึ้น เพราะเดิมแต่ละองค์กรต้องรับผิดชอบการพิจารณา ให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบเต็มๆ เปลี่ยนเป็นรับผิดชอบกันเป็นคณะ

8. หากเป็นเรื่องเร่งด่วนฉุกเฉิน ก็อาจจะพอรับได้ แต่การลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน จึงไม่มีเหตุผลที่จะหลบเลี่ยงกระบวนการงบประมาณแต่อย่างใดครับ

สำหรับ โครงการที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติ ที่ต้องวางแผนล่วงหน้าและทำข้ามหลายปีนั้น มีเวลาที่จะให้สองหน่วยงาน ทำงานที่รับผิดชอบอย่างพอเพียงแน่ครับ

เรื่อง นี้ ผมเห็นว่าในอนาคต ควรมีการพิจารณาความเหมาะสม ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อตีกรอบให้สามารถกู้นอกระบบงบประมาณได้ เฉพาะเรื่องเร่งด่วน ด้วยวิธีออกเป็นพระราชกำหนดเท่านั้น ส่วนเรื่องลงทุนหลักที่เป็นยุทธศาสตร์ชาตินั้น ควรให้ทำในกรอบงบประมาณเท่านั้นครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ธีระชัย โพสเฟสบุ๊ค ห่วงรัฐบาล พ.ร.ก.กู้เงิน 2.2 ล้านล้าน เข้ากระบวนการ งบประมาณ

view