สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธนาคารกลางนักปั่นราคาทองใช้คุมค่าเงิน-กลบกระแสต้านอัดฉีด

จาก โพสต์ทูเดย์

ธนาคารกลางนักปั่นราคาทองใช้คุมค่าเงิน-กลบกระแสต้านอัดฉีด

ธนาคารกลางนักปั่นราคาทองใช้คุมค่าเงิน-กลบกระแสต้านอัดฉีด

โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

กลายเป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับวงการทองคำโลกไม่น้อย เมื่อสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ได้เกิดกระแสนักลงทุนรายใหญ่ทั่วโลกต่างเทขายทองคำอย่างหนักในเดือนที่แล้ว จนส่งผลให้ราคาทองคำตกอยู่ในสภาวะเลวร้ายที่สุดในรอบ 25 ปี (ราคาปิดตลาดในลอนดอนเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ 1,581.55 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์) และคาดว่าจะเกิดการเทขายทองคำอย่างหนักและต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

แม้ว่านักวิเคราะห์หลายฝ่ายจะออกมาชี้ว่าการเทขายสัญญาทองคำที่เกิดขึ้น จนราคาที่ลดลงนั้นจะเป็นผลมาจากทิศทางเศรษฐกิจโลกในอนาคตที่คาดว่าจะดีขึ้น และเป็นผลทำให้เหล่าบรรดาประเทศยักษ์ใหญ่หยุดใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทว่าในความเห็นของนักวิเคราะห์บางส่วนก็ไม่ได้เห็นไปตามนั้นทั้งหมด เพราะบางส่วนเห็นว่าทิศทางราคาทองคำปัจจุบันนั้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยพื้นฐาน ของเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการพยายามกดราคา หรือปั่นราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝีมือธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกนั่นเอง

ข้อมูลจากคณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดทองคำ (จีเอทีเอ) ระบุว่า เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เหล่าบรรดาธนาคารกลาง โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกพยายามกดราคาทองให้ต่ำลงกว่าความเป็นจริง เพราะจะทำให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมและกำหนดทิศทางของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อื่นๆ ในตลาดได้ อาทิ อัตราแลกเปลี่ยน พันธบัตรรัฐบาล และอัตราดอกเบี้ย

สำหรับวิธีการที่เหล่าธนาคารกลางใช้ปั่นราคาทอง ก็คือ การพยายามแสดงให้เห็นว่าธนาคารเหล่านี้ถือครองสัดส่วนทองคำแท่งเป็นทุนสำรอง ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนั่นส่งผลเชิงจิตวิทยาของตลาดให้เกิดความรู้สึกไปว่ายังมี “ซัพพลาย” ทองคำแท่งที่จะเข้าสู่ตลาดมากพอต่อความต้องการจนในที่สุดทำให้ราคาทองในตลาด ก็ต่ำลง

แม้ว่าข้อมูลของสภาทองคำโลก (ดับเบิลยูจีซี) จะออกมาชี้ว่า ในปี 2012 ธนาคารกลางทั่วโลกหันมาเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำเป็นทุนสำรองเป็นมูลค่า มากกว่า 12 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2000 อยู่ที่ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

ทว่าทางด้าน คริส โพเวล เลขาธิการคณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดตลาดทองคำ ได้ออกมาแย้งว่า ทองคำสำรองที่เหล่าแบงก์ชาติระบุออกมาอย่างน้อย 7075% ไม่ได้มีอยู่ในการถือครองจริงๆ

“มีปริมาณซัพพลายของทองคำในตลาดมากมายมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเหล่า บรรดาธนาคารกลางของประเทศตะวันตก และเป็นเรื่องง่ายมากที่จะเขียนออกมาในรายงานว่าแบงก์ชาติเหล่านั้นมีทองคำ เป็นทุนสำรองอยู่มาก ทั้งๆ ที่ไม่มีอยู่จริง” โพเวล กล่าว

คำกล่าวของ โพเวล ไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่เลื่อนลอยแต่อย่างใด เพราะเมื่อปลายปีที่แล้วมีรายงานข่าวว่า องค์กรจีเอทีเอได้รับรายงานฉบับหนึ่งขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ที่ตรวจสอบ พบว่า เหล่าบรรดาธนาคารประเทศตะวันตกพยายามปกปิด และปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลการยืมทองคำ และการทำสัญญาสวอปทองคำเอาไว้

แม้ว่าในรายงานจะไม่ได้บอกถึงเหตุผลของการปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูล แต่ก็รู้ได้ไม่ยากว่าสาเหตุที่ต้องปกปิดเอาไว้ ก็เพราะเหล่าบรรดาแบงก์ชาติเหล่านี้กลัวว่า ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การเปิดโปงโฉมหน้าของธนาคารกลาง ที่เป็นผู้แทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นเวลานาน

ขณะเดียวกัน อีกหลักฐานหนึ่งที่เป็นตัวบ่งถึงความผิดปกติที่บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางเป็นตัวปั่นราคาไว้ ก็คือ ปริมาณซัพพลายของทองคำแท่งในตลาดโลกใน 12 ปีที่ผ่านมา ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปไหนเลย ทั้งๆ ที่ความต้องการซื้อทองคำจาก จีน อินเดีย สหรัฐ และจากประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกินกว่าปริมาณซัพพลายในตลาด

“ทองคำมากมายนั้น มาจากไหน? ผมคิดว่าธนาคารกลางของตะวันตกพยายามขายทองคำออกมาเพื่อทำให้ราคาทองคำต่ำลง” อีลิก สปรอต ผู้ก่อตั้งกองทุนการจัดการสปรอตแอสเซทเมเนจเมนต์ กล่าว

นอกเหนือจากการที่เหล่าแบงก์ชาติยักษ์ใหญ่ต้องการกดราคาทอง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือแทรกแซงอัตราแปลกเปลี่ยนแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แบงก์ชาติต้องกดราคาทองเอาไว้ ก็คือ การพยายามบิดเบือนความสนใจของตลาดไม่ให้หันไปกล่าวโทษการใช้นโยบายการ กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนัก จนส่งให้ราคาทองในช่วงก่อนหน้านี้พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก โดยในเดือน ต.ค. ปี 2012 ราคาทองคำเคยทำสถิติพุ่งขึ้นไปแตะที่ 1,790 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์

“ผมยอมรับว่าการปั่นราคาทองคำของเหล่าแบงก์ชาติอาจฟังดูเป็นทฤษฎีการสมคบ คิด แต่ผมเชื่ออย่างสนิทใจว่าธนาคารกลางกำลังแทรกแซงราคาทองคำไม่ให้สูงขึ้น เพราะรู้ว่าการดำเนินนโยบายอัดฉีดทางการเงินอย่างหนัก กำลังส่งผลให้ราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น ดังนั้น พวกเขาจึงต้องแทรกแซงราคาทองคำไว้ไม่ให้สูงขึ้น และปกปิดการดำเนินนโยบายอย่างไม่รับผิดชอบเอาไว้” อีลิก สปรอต ผู้ก่อตั้งกองทุนการจัดการสปรอตแอสเซทเมเนจเมนต์ และเป็นผู้ถือครองทองคำแท่งรายใหญ่ของแคนาดา กล่าว

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากกองทุนการจัดการสปรอตแอสเซทเมเนจเมนต์ กล่าวเสริมว่า หากเหล่าแบงก์ชาติไม่เร่งแทรกแซงราคาทองคำ แน่นอนว่าอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง จะเป็นตัวขับดันให้ราคาทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องแน่นอน ดังนั้น จึงทำให้ธนาคารกลางต้องแทรกแซงราคาทองคำเอาไว้ไม่ให้สูง

จึงน่าจับตาว่า ต่อจากนี้ไปทิศทางราคาทองคำในอนาคตจะเป็นเช่นไร และบทบาทของธนาคารกลางในตลาดทองคำท่ามกลางภาวะราคาทองคำขาลงจะลดการแทรกแซง ลงหรือไม่


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ธนาคารกลาง นักปั่น ราคาทอง คุมค่าเงิน กลบกระแสต้าน อัดฉีด

view