สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผ่าคมคิด สุรนันทน์ อ่านวาระแห่งชาติ รัฐบาลปู เปิดเกมรุกปรองดอง ประคองเศรษฐกิจ

จากประชาชาติธุรกิจ

"ปี แห่งการลงทุน" กลายเป็นวาระแห่งชาติ ตามคำบัญชาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศไว้เมื่อย่างเข้าสู่พุทธศักราช 2556 จึงปรากฏคำสั่งถอยการเมือง เดินหน้าเศรษฐกิจ ที่ทุกคนในสังกัดรัฐบาล และ ส.ส.ใต้ร่มพรรคเพื่อไทยต้องยึดถือปฏิบัติตาม 6 เดือนผ่านไป คำบัญชาไม่ได้รับการตอบรับ เมื่อทั้งองคาพยพฝั่งรัฐบาล เปิดเกมรุกเดินหน้าการเมืองอย่างหนัก ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ นิรโทษกรรม และกระบวนการปรองดอง ส่งผลให้ประเด็นทางการเมืองร้อนควบคู่กับการนโยบายด้านเศรษฐกิจ ทั้งแผนการลงทุน 2 ล้านล้านบาท และแผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่ 

ณ เวลานี้ ทั้ง 2 นโยบายยังไม่สำเร็จตามที่รัฐบาลคาดหวัง เมื่อเกมการเมืองกลับมาเดินคู่ขนานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ ประชาชาติธุรกิจ สนทนากับ "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ" เลขาธิการนายกรัฐมนตรี หนึ่งในผู้มีอภิสิทธิ์เข้านอก-ออกในทุกวงประชุมเคียงคู่นายกรัฐมนตรีทุก ครั้ง

ตอบคำถามเหตุใด "วาระแห่งชาติ" จึงเปลี่ยนทิศ ติดตามได้ตั้งแต่บัดนี้

- ทำไมรัฐบาลจึงตัดสินใจเดินหน้าการเมืองและเศรษฐกิจไปพร้อมกั
น 

คง ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในที่สุดสิ่งที่พรรคหาเสียงไว้ก็ต้องทำต่อ ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องปรองดอง ก็ถือเป็นจุดหนึ่งที่ท่านนายกฯเชื่อว่า เป็นสิ่งที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศก้าวหน้าต่อไปได้ เพราะเวลานี้ต่อให้ลงทุนมหาศาลอย่างไร ก็จะมีความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ดี ดังนั้นก็ต้องทำให้กระบวนการปรองดองเดินหน้า ต้องทำให้คนเข้าใจว่าหลักประชาธิปไตยต้องมีเวทีที่ใช้ถกเถียงกัน แต่ไม่ใช่อยู่ในถนน ไม่ใช่การเรียกร้องรัฐประหาร ยอมรับว่าในทางการเมืองมีคนคิดต่างกันอยู่ ยังมีคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมอยู่ โดยเฉพาะพี่น้องคนเสื้อแดง หากรัฐบาลไม่ดำเนินการอะไร คงดูเหมือนคนไม่มี

เยื่อใย กับคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนั้นการเดินหน้าเรื่องการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันข้อกฎหมาย การเยียวยา หรือการนิรโทษกรรม ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลนี้ต้องทำ

- จัดลำดับประเด็นทางการเมืองอย่างไร 

นี่ คือสิ่งที่ท่านนายกฯอยากให้ถกเถียงกันเต็มที่ สภาคือหนึ่งเวที ประชาเสวนาคืออีกหนึ่งเวที สิ่งนี้จะเป็นตัวบอกว่าทางออกของประเทศคืออะไร วันนี้ยังมีข้อแตกต่างทางความคิดอีกเยอะ แม้กระทั่งในพรรคเพื่อไทยเองก็ตาม ท่านยิ่งลักษณ์จึงเห็นว่า ต้องมีการพูดจากัน คงต้องขอเรียกร้องไปทางฝ่ายค้านว่าต้องพูดกันด้วยเหตุผล อย่าเอาอารมณ์ทางการเมืองหรืออารมณ์ที่ต้องการกลับสู่อำนาจมาต่อสู้ 

ส่วน เรื่องจัดลำดับความสำคัญ ท่านนายกฯคงตอบเองไม่ได้ แต่สิ่งที่ท่านอยากเห็นคือกระบวนการปรองดองที่เกิดขึ้นในชาติ ส่วนจะเป็นนิรโทษกรรม กฎหมายปรองดอง หรือรัฐธรรมนูญ ต้องตกผลึกให้ชัด ซึ่งท่านย้ำเสมอว่า ต้องไม่ทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง 

- ดังนั้นประเด็นการเมืองก็ยังเป็นเรื่องร้อนที่ใกล้ตัวนายกฯ

ก็ ต้องอดทน นี่คือคุณสมบัติที่ดีของท่านยิ่งลักษณ์ หากเรื่องนี้มันร้อนจนเผลอตัดสินใจเข้าข้างใดข้างหนึ่งก็ยิ่งร้อนกันไปใหญ่ ดังนั้นท่านถึงอยากเห็นคนที่ไม่เห็นด้วยมานั่งคุยกัน และอะไรที่เห็นตรงกันก็เดินหน้าไปก่อนก่อน ส่วนที่ตกลงกันไม่ได้ก็วางไว้ แล้วค่อยทำเมื่อเห็นพ้องกันแล้ว 

- มีอะไรบ้างที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าต้องเดินหน้า 

ทุก คนเห็นตรงกันอยู่ว่า มันมีกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบือนอยู่ ตรงนี้ต้องแก้ไข หากยังยากไปก็ต้องดูคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมก่อน ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะนิรโทษกรรมก่อนหรือไม่ 

ตรง นี้ผมว่าทุกคนเห็นตรงกัน ท่านยิ่งลักษณ์มักจะพูดว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้อภัย ผู้ชุมนุมเขาอาจมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ เขาอาจทำผิดพลาดไปบ้าง แต่เราต้องให้อภัยกัน ที่ผมพูดแบบนี้ไม่ได้เหมารวมถึงแกนนำ ทั้งคุณทักษิณ (ชินวัตร) หรือคุณอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) ตรงนี้ต้องแยกแยะให้ดี 

ดัง นั้นไม่ว่าจะอีกปีกว่าหรืออีก 6 เดือน ผมว่ารัฐบาลต้องรีบทำตรงนี้ อย่าลืมว่าโลกมันเปลี่ยนเยอะ หากเราไม่ปรับระบบให้เป็นสากล ไม่ทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง เราก็จะเสียโอกาสไปเยอะมาก จะเห็นในประวัติศาสตร์ได้ว่า ประเทศที่ปรับตัวท่ามกลางความผันผวนของโลกได้ จะเห็นเสมอว่ามีบางประเทศที่ฉวยโอกาสกลับมายืนแถวหน้าได้ 

- เป็นที่มาของการประกาศกรอบรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

เรื่อง นี้ต้องยกให้ท่านนายกฯ ที่หารือกับท่านกิตติรัตน์ ณ ระนอง (รองนายกรัฐมตรี และ รมว.คลัง) ที่มองว่า เราจำเป็นต้องนำเสนอมาตรการออกมาเป็นชุด ซึ่งมีทั้งมาตรการด้านการคลัง ด้านการเงิน รวมถึงภาคการผลิต เพื่อเป็นตัวกำหนดให้ทุกหน่วยงานเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน โดยกรอบนี้จะเป็นเครื่องมือประสานความเข้าใจกับทุกฝ่าย ภาครัฐจะทำงานสอดคล้องกัน ภาคเอกชนเกิดความมั่นใจ นักลงทุนก็ไม่ตื่นตระหนก 

- รัฐบาลต้องการสื่อสารอะไรกับการประกาศมาตรการดังกล่าว 

นั่น คือสิ่งที่เราต้องการสื่อสารให้เห็นว่า เกือบ 2 ปีที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง หากวันนี้เรานำเสนอมาตรการใหม่ทั้งหมด คนคงจะตั้งคำถามว่า ที่ผ่านมารัฐบาลทำงานหรือไม่ แน่นอนว่าหลายมาตรการเราทำได้เป็นอย่างดี แต่บางอย่างก็ยังไม่เข้าเป้า เราถึงต้องนำมาตรการทั้งหมดมารวมกันเป็นภาพใหญ่ ให้ทุกหน่วยงานต้องทำความเข้าใจร่วมกัน

ส่วน มาตรการใหม่ ๆ นั้น เราคงทำผลีผลามไม่ได้ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คงไม่ต้องการออกนโยบายแบบที่คนเรียกว่าประชานิยม และสถานการณ์ ณ วันนี้ ค่าเงินผันผวนระดับนี้ เพียงแค่ดำเนินนโยบายที่เรามีอยู่ เร่งโครงการที่จะเกิดขึ้นให้พร้อม เราเห็นแล้วว่าเรื่อง

งบ ประมาณประจำปี 2557 กำลังขับเคลื่อน งบฯบริหารจัดการน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาทกำลังจะถูกใช้ ปีหน้าก็หวังว่าแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทก็จะเดินหน้า ดังนั้นมาตรการที่ออกมาเป็นเพียงจิ๊กซอว์ที่จะไปต่อกับแผนการลงทุนทั้งหมด เท่านั้น 

นอกจากนั้น ท่านนายกฯยังมีแผนที่จะลงพื้นที่ในแต่ละกลุ่มจังหวัดอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) โดยเป็นการลงพื้นที่ในนามนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ในนาม ครม. เพื่อติดตามงานที่เคยอนุมัติไป และท่านต้องการลงไปดูพื้นที่จริงว่า โครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และยุทธศาสตร์การทำโซนนิ่งเกษตร ในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร เพื่อประยุกต์ข้อมูลทั้งหมดให้อยู่ภายในโรดแมปเดียวกัน ขณะเดียวกันแผนการเดินทางต่างประเทศก็ยังมีอยู่ โดยจะเน้นไปที่การเปิดตลาดใหม่ให้กับภาคการส่งออกอีกด้วย

- มาตรการทั้งหมดคิดบนสมมติฐานการเมืองแบบไหน 

แน่ นอนว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่อยู่ในใจเราตั้งแต่ปี 2549 ก่อนหน้านั้นนักลงทุนแทบไม่มีการประเมินเรื่องความเสี่ยงทางการเมือง แต่พอเกิดรัฐประหารขึ้น ก็กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ในความเห็นผม ความขัดแย้งมันลดลงตั้งแต่เรามีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อเรามีนายกรัฐมนตรีชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

ฉะนั้น ถามว่าเรานำเรื่องนี้มาประเมินด้วยหรือไม่ เราประเมินอย่างไม่ประมาท แต่ไม่ห่วงจนทำงานไม่ได้ หลายคนที่บอกว่าท่านนายกฯพยายามลอยตัวเหนือปัญหาการเมือง ความจริงไม่ใช่เลย ท่านเป็นคนที่มีหลักประชาธิปไตยหนักแน่นคนหนึ่ง ท่านปล่อยให้การเมืองถกเถียงกันในสภา ไม่ว่าจะมีกฎหมายกี่ฉบับที่เห็นไม่ตรงกันก็เอาไปเถียงกันในสภา ส่วนท่านนายกฯ ในฐานะ ส.ส.คนหนึ่งก็อาจจะมีวาระต้องเข้าสภาบ้าง แต่ในฐานะฝ่ายบริหารก็ต้องทำงานต่อไปเช่นกัน 

- 1 ปีที่ผ่านมาเห็นจุดแข็ง-จุดอ่อนของรัฐบาลอย่างไร 

ผม ว่าจุดแข็งของรัฐบาลคือตัวท่านยิ่งลักษณ์ หากนึกภาพว่าตัวนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ท่าน ผมก็นึกไม่ออกว่าประเทศจะเดินหน้าอย่างไร เพราะท่านสามารถประสานทำความเข้าใจกับทุกกลุ่มขั้วภายในพรรคเพื่อไทยได้ มันทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนในทิศทางเดียวกัน ผมเชื่อว่าหากเราไม่มีท่านยิ่งลักษณ์เป็นผู้นำ พรรคเพื่อไทยก็อาจจะเผชิญชะตากรรมเหมือนพรรคพลังประชาชนในช่วงที่สังคมมี ความขัดแย้งก็ได้ 

ส่วน จุดอ่อนคงอยู่ที่เรื่องการสื่อสาร ที่เราต้องทำงานอีกเยอะ ยังมีคนเห็นต่างกันทั้งในและนอกพรรคอีกมาก ซึ่งวันนี้ถ้านายกฯบอกว่า เรามีเสียงส่วนใหญ่แล้วจะเดินหน้าทุกเรื่องตามอำเภอใจ ความจริงก็ทำได้ แต่ท่านก็เลือกที่จะประคองให้ทุกคนเดินไปพร้อมกัน แม้จะช้าหน่อยแต่ก็เป็นแนวทางสู่ความปรองดอง 

- ดังนั้นไม่ว่าพรรคจะเสนออะไรเข้ามา เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องร้อน ท่านนายกฯก็จะสั่งให้พักเอาไว้ก่อน 

ก็ ไม่ถึงกับทุกครั้ง หลายครั้งท่านก็ยืนสู้ แต่หลายครั้งท่านเห็นว่าสิ่งที่เสนอมายังมีฝ่ายต้าน ก็ต้องมาคุยกันก่อน ดังนั้นท่านถึงอยากให้ทุกฝ่ายมาคุยกันท่านไม่ใช่ไม่เห็นด้วยนะ ท่านเคารพสิ่งที่คนในพรรคเสนอ แต่เหรียญมีสองด้าน ยิ่งในทางการเมืองเหรียญก็มีหลายด้านมากกว่านั้น โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยก็ต้องคุยกันให้จบก่อน ถึงจุดหนึ่งเมื่อเห็นมีความชอบธรรม คนเริ่มเห็นตรงกันก็ค่อยสั่งเดินหน้า

- หากรัฐบาลปลดล็อกปรองดอง ประคองเศรษฐกิจสำเร็จ ก็จะเป็นโอกาสทองของรัฐบาล 

(สวน ทันที) นั่นคือโอกาสทอง ไม่มีใครปฏิเสธว่านี่คือศตวรรษของเอเชีย-แปซิฟิก เงินมันไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ก็อยู่ที่ว่าเราจะตัดสินใจเอาขันไปรองรับเงินตรงนี้อย่างไร และถ้าสำเร็จ ก็เท่ากับเป็นโอกาสของรัฐบาล ที่ประชาชนจะเลือกเรากลับมาหรือไม่ ก็ต้องดูที่ผลงานตรงนี้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ผ่าคมคิด สุรนันทน์ วาระแห่งชาติ รัฐบาลปู เปิดเกมรุก ปรองดอง ประคองเศรษฐกิจ

view