สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บทเรียน ม็อบยาง กับแนวรบโซเชียลเน็ตเวิร์ก

จากประชาชาติธุรกิจ

ภาพเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่ม ผู้ชุมนุมเรียกร้องราคายางพารา บริเวณแยกควนหนองหงษ์ ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตรึงกำลังอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย

ความ รุนแรงลามไปถึงการเผารถยนต์ 8 คัน เป็นรถคุมขังผู้ต้องขัง 2 คัน และรถยนต์ 191 อีก 5 คัน รถตู้ตำรวจอีก 1 คัน เมื่อเที่ยงวัน วันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ไม่ต่างอะไรกับการจลาจลย่อยๆ

ทว่า ห้วงสถานการณ์กำลังตึงเครียด ก็มีภาพปริศนาโผล่ปรากฏบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ชายแต่งกายครึ่งท่อน ท่อนบนแต่งกายคล้ายชุดปราบจลาจล มีเสื้อเกราะ หมวกกันกระแทก ท่อนล่างสวมกางเกงยีนสีดำ กำลังใช้ไม้ทุบรถควบคุมผู้ต้องขังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

เป็น ภาพปริศนาที่ถูกโพสต์ไม่ทันข้ามวันก็มียอดคนกดไลค์หลักพัน กดแชร์หลักร้อย ที่ต่อมาทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์หลายแห่ง นำไปเผยแพร่ต่อ

จาก คอมเมนต์บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก หลายคนตัดสินแล้วว่าเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการคอมเมนต์ตำหนิการกระทำดังกล่าวอย่างรุนแรง บ้างก็เสริมว่าชาวบ้านบางคนถูกยิงเป็นมือมืดมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่นั่นเอง 

กระ เเสข่าวเหล่านี้ เเพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จนเกิดข้อกังขาว่า เเท้จริงเเล้วเป็นฝีมือการสร้างสถานการณ์จากฝ่ายใด หรือเป็นมือที่สาม หรือเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ชุมนุมแต่งกายเลียนแบบเจ้าหน้าที่ หรือเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่จริงๆ ส่งผลให้ภาพลักษณ์เเละความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกบั่นทอนโดยที่ ยังไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง

จุดนี้เป็นประเด็นที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ในฐานะคู่กรณีและผู้เสียหายหลักจำเป็นต้องหาทางรับมือ และแก้ข้อครหาให้ได้?!!

พล.ต.ต. พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี (ปอท.) เปิดเผยถึงเเนวทางดำเนินการที่จะสามารถกู้ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ ตำรวจ อันเกิดจากข่าวที่ไม่จริงที่ทำลายความน่าเชื่อถือของอำนาจรัฐ เเละเป็นเหตุให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสามารถกระทำได้ 3 เเนวทาง คือ 1.การสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด 2.สกัดกั้นระงับยับยั้งข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายเเละไม่ถูกต้อง เเละ 3.การปฏิบัติการข่าวสาร หรือไอโอ หรืออินโพเมชั่น โอเปอเรชั่น

พล.ต.ต. พิสิษฐ์กล่าวว่า สำหรับการปฏิบัติการข่าวสารตามข้อ 3 นั้น สามารถจำเเนกได้อีก 3 เเนวทาง คือ 1.การสืบสวนซึ่งใช้วิธีการทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของตำรวจเเละพนักงานเจ้า หน้าที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดำเนินการหาตัวผู้กระทำความผิดเเละที่มาเครือข่ายเเนวร่วมขบวนการใหญ่มาลง โทษ โดยมาตรา 14 (1) ระบุว่าเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอม หรือข้อมูลเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดดวามเสียหายแก่ผู้อื่น (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงหรือ ก่อการร้าย (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่มีลักษณะลามก

พล.ต.ต. พิสิษฐ์กล่าวต่อว่า 2.ดำเนินการระงับยับยังข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจ เเละพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 20 เป็นการอาศัยคำสั่งศาลปิดกั้น เพื่อมิให้ข้อมูลข่าวสารเเพร่กระจายต่อไปอีก อันที่จะเกิดความเสียหายต่อสังคมเเละความมั่นคงของประเทศ 

"เเละ 3.การปฏิบัติตามข่าวสาร มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้ ชี้เเจงทำความเข้าใจกับประชาชน โดยใช้สื่อทุกรูปแบบ บนพื้นฐานเเห่งความเป็นจริง ทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ฯลฯ การโต้ตอบเชิงเทคนิค บนพื้นฐานของความเป็นจริง นั่นคือการตั้งทีมตอบกระทู้ หรือชี้เเจงในกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เเละกระทำซ้ำๆ เพื่อลดความสำคัญของกระทู้นั้นๆ ลง 

"จะ สังเกตได้ว่า เมื่อเซิร์ชหาข้อมูล ข่าวสารดังกล่าวผ่านทาง www.google.com จะขึ้นเป็นกระทู้ที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ชี้เเจงอยู่เป็นอันดับต้นๆ ในขณะที่กระทู้จากฝ่ายตรงข้ามลดระดับของข่าวสารลงไปอยู่ในอันดับท้ายๆ เเทน การปฏิบัติการเชิงลึกทางเทคนิค ที่จะทำให้การเเพร่กระจายข่าวสารของฝ่ายตรงข้ามถูกระงับ ยับยั้ง สกัดกั้น จนไม่สามารถเเพร่กระจายข่าวสารต่อไป เป็นการลดความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารได้อีกทางหนึ่ง" ผบก.ปอท.ระบุ

ผบก.ปอ ท.แจงด้วยว่า ทาง ปอท.ได้สร้างกลุ่มงานเฝ้าระวังเเละตรวจตราความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ต โดยมีหน้าที่หลักเพื่อตอบโจทย์การปฏิบัติการข่าวสารเชิงลึกทางเทคนิค นอกจากนี้ ยังต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภายในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้มีการดำเนินการจัดการที่สอดคล้องกัน 

เป็น อีกบทเรียน เมื่อโลกเปลี่ยน มีการโจมตีเล่นงานกันทางโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างรุนแรง ฉะนั้น การตอบโต้และชี้แจงทำความเข้าใจ ก็จำเป็นต้องใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กเช่นกัน!!

ที่มา นสพ.มติชนรายวัน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : บทเรียน ม็อบยาง แนวรบ โซเชียลเน็ตเวิร์ก

view