สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้จัก สถาปนิก

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เปิดมุมมอง

การออกแบบและก่อสร้างในอดีตใช้ช่าง ฝีมือที่มีการถ่ายทอดฝีมือและประสบการณ์ต่อ ๆ กันมาจากบรรพบุรุษแต่ละคนและเป็นครอบครัว เป็นตระกูล หรือแม้แต่เป็นกันทั้งหมู่บ้าน การทำงานในระดับชาติก็ใช้ช่างสิบหมู่ หรือช่างศิลป ของกรมศิลป หรือกรมศิลปากร หากมีกิจต้องทำสิ่งซึ่งต้องอาศัยฝีมือช่างโดยเฉพาะร่วมกัน ช่างสิบหมู่ จัดว่าเป็นผู้ที่มีฝีมือ ความสามารถ และชำนาญการในการสร้างสรรค์ ปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่ การออกแบบและก่อสร้างก็สามารถทำได้ในระดับหนึ่งเฉพาะงานในสาขาที่มี ประสบการณ์ความชำนาญโดยมีนายช่างเป็นผู้กำกับ เพียงแต่ช่างสมัยนี้ มี สถาปนิก (Architect) ที่จบวิชาชีพสมัยใหม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและวางแผน

โดย วิจิตร ศิลาวิเศษฤทธิ์ กลุ่มบริษัททีม


ใน การก่อสร้างที่เรียกว่า งานสถาปัตยกรรม เป็นผู้ออกแบบและกำกับวิชาชีพสถาปนิกในประเทศไทย มีการเรียนการสอนมาประมาณ 80 ปี แรกเริ่มเดิมทีสถาปนิกต้องเป็น เป็ด คือ ต้องรู้ทุกเรื่อง เนื่องจากงานมีน้อย คนก็มีน้อย เมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา มีสถาปนิกจบมาปีละ 50 คนจึงต้องทำงานได้สารพัด ออกแบบชิ้นงานได้ตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ เช่น ถ้วยกาแฟ สวนหย่อมหน้าบ้าน เฟอร์นิเจอร์ หน้าร้านขายของ จนกระทั่งงานใหญ่ ๆ เช่น การออกแบบอาคาร ชุมชนและเมือง เรียกได้ว่างานล้นคนต่างกับปัจจุบันที่มีจบมามากจนงานไม่มีรองรับ ที่สำคัญได้งานแล้วกลับทำไม่เป็น

ปัจจุบันความต้องการของมนุษย์ที่ เพิ่มขึ้นมีการปรุงแต่งสนองตอบไม่สิ้นสุด ทำให้เกิดวิทยาการที่ก้าวหน้า สลับซับซ้อน การออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบภายใน การปรุงแต่งสภาพแวดล้อมให้ได้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุดแก่เจ้าของงาน และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ทำให้งานสถาปัตยกรรมไม่สามารถทำได้โดยสถาปนิกคนเดียว นอกจากนี้ยังต้องมีผลลัพธ์ที่มีมาตรฐานตรวจสอบได้ สถาปนิกต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในแต่ละสาขาที่ได้ศึกษามาจากสภา สถาปนิกไม่สามารถทำงานทับซ้อนข้ามสาขา โดย พ.ร.บ.สถาปนิก 2543 กำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมไว้ 4 สาขา ได้แก่ สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์

นอก จากใบอนุญาตบุคคลแล้ว การประกอบกิจการต้องได้รับการอนุญาตเช่นเดียวกันทั้งบุคคลและนิติบุคคล งานโครงการ งานพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นงานสาขาใด วิธีการทำงานอยู่บนพื้นฐานเดียวกันก็คือเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งาน เช่น การออกแบบเมือง ก็ต้องรู้วิถีการใช้ชีวิต หรือวิถีชีวิตที่จะให้เกิดขึ้นเพื่อออกแบบและสร้างให้สอดคล้องกับสิ่งที่ ต้องการ

การออกแบบอาคารต้องให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้ใช้ สภาพแวดล้อม เงินทุนงบประมาณที่กำหนด สุขอนามัย ความปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ทุกคน โดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่ทุกคนใช้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก คนชรา สตรีมีครรภ์และคนพิการ การออกแบบสวน ซึ่งมีขนาดตั้งแต่สวนขนาดเล็กหน้าบ้านไปจนถึงขนาดใหญ่เป็นสนามกอล์ฟ และสวนสาธารณะ เช่น สวนลุมพินีหรือสวนรุกขชาติดอยช้างมูบ ซึ่งต้องรู้ถึงประโยชน์ที่ใช้ คุณสมบัติวัสดุและพันธุ์พืช ไม่เช่นนั้นลงทุนไป 3 ปี ก็โทรม คนก็จะไม่ไปชมเกิดความเสียหายตามมา การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ก็ต้องรู้ว่าใครใช้ ใช้ทำอะไร เช่น เก้าอี้ เพราะคนนั่งแต่ละคนมีขายาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน และคนชรา ซึ่งถ้าเป็นเครื่องเรือนใช้เฉพาะคน ก็ควรออกแบบให้เข้ากับผู้ใช้งาน

สถาปนิกจึงไม่ใช่เพียงผู้แต่งตัวให้ งานโครงสร้างแต่ต้องมีความรับผิดชอบตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ ต้องรับรู้ข้อมูลข้อจำกัดต่าง ๆ แล้วจึงสร้างสถาปัตยกรรมขึ้นมาให้ใช้ได้ดี

สวย ปลอดภัย และคุ้มค่าในทุกด้าน แน่นอนที่สุด ต้องได้รับความร่วมมือจากวิศวกรสาขาต่าง ๆ ด้วย เช่น วิศวกรโครงสร้าง ไฟฟ้า สารสนเทศและการสื่อสาร สุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ รวมถึง นักผังเมือง มัณฑนากร หรือภูมิสถาปนิก นักประวัติศาสตร์ หรือนักโบราณคดี ตามความซับซ้อนของงานรวมถึงสถาปนิกต่างสาขาในการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นหนึ่ง เดียว นอกเหนือจากการลงนามร่วมกันในแบบก่อสร้างเพื่อยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้าง

และกว่าจะเป็นแบบใช้ก่อสร้างที่เป็นกระดาษ สถาปนิกต้องใช้ความคิดและจินตนาการ โดยมีวิทยาศาสตร์และศิลปเป็นองค์ประกอบ มีระบบการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่การออกแบบแนวคิดเบื้องต้น และพัฒนาแบบ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความคิดและประสบการณ์การทำงานส่วนตัวทั้งหมด ที่มี วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ศึกษา

ข้อกำหนดของกฎหมายที่มีผลต่อลักษณะอาคาร กำหนดแนวคิดในการออกแบบ วางผังอาคาร เพื่อตอบโจทย์หรือความต้องการทั้งหมดของเจ้าของงาน

จาก นั้นก็พัฒนาแบบจนเป็นที่พอใจของเจ้าของงานในด้านประโยชน์ใช้สอยและการเชื่อม โยง การใช้วัสดุจนถึงประมาณการค่าก่อสร้าง เรียกว่า แบบร่างขั้นสุดท้าย เมื่อเจ้าของงานเห็นด้วยแล้ว จึงดำเนินการ ทำแบบละเอียดก่อสร้างพร้อมกับเตรียมเอกสารประกอบการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งจะประกอบด้วย ผังพื้น ผังเพดาน ผังหลังคา รูปตัด รูปด้านทั้ง 4 ด้าน และแบบขยายรายละเอียดต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ตรวจสอบงานระบบวิศวกรรมอื่น ๆ ได้แก่ แบบโครงสร้าง แบบระบบไฟฟ้าสื่อสาร แบบระบบเครื่องกล แบบระบบปรับอากาศและระบายอากาศ แบบระบบสุขาภิบาล เพื่อให้แบบสอดคล้องกันและเป็นไปตามแนวคิดการออกแบบ และเพื่อให้ช่างก่อสร้างทราบถึงรายละเอียด ตำแหน่ง ขนาด และวัสดุที่จะใช้งานและก่อสร้าง

แบบดังกล่าวยังต้องนำไปยื่นขอใบ อนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานรัฐที่ควบคุมดูแลอาจเป็นเทศบาล สำนักงานเขต หรือ อบต. ฯลฯ ตามที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้างอาคารที่ใบอนุญาตประทับข้อความว่าเป็นอาคารควบ คุมการใช้ เมื่อก่อสร้างเสร็จจะต้องขออนุญาตใช้อาคารอีกครั้ง

สถาปนิก อาจต้องช่วยเจ้าของงาน ทำการประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างและช่วยเจรจาต่อรองทำการเปรียบเทียบ ราคาค่าก่อสร้างที่ประมาณจากแบบกับราคาที่ผู้รับเหมาเสนอ

ชี้ราย ละเอียดต่าง ๆ ให้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจคัดเลือกผู้รับเหมากรณีที่เจ้าของงานมิได้ว่า จ้างให้บริหารและควบคุมงานก่อสร้าง สถาปนิกยังมีหน้าที่และรับผิดชอบการตรวจงานเป็นครั้งคราวว่าเป็นไปตามแบบที่ ออกแบบไว้ หรือเมื่อมีปัญหาก็ต้องทำหน้าที่อธิบายให้กระจ่าง รวมถึงการให้คำแนะนำระหว่างก่อสร้างจนการก่อสร้างแล้วเสร็จหลังการก่อสร้าง

แล้ว เสร็จก็ยังคงมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลแก้ไขปัญหาที่เป็นผลเกิดขึ้นจากการ ออกแบบแม้ว่าผู้รับเหมาส่วนใหญ่จะรับประกันงานก่อสร้าง 1-2 ปี แล้วแต่ตกลงกัน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเจ้าของงานก็สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจากสถาปนิกผู้ ออกแบบได้เช่นกัน

ปัจจุบันนอกจากรูปแบบการให้บริการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สถาปนิก 5 ประเภทซึ่งได้แก่ งานศึกษาโครงการ งานออกแบบ งานบริหารโครงการและอำนวยการก่อสร้าง งานตรวจสอบ และงานให้คำปรึกษาแล้ว สถาปนิกยังขยายขอบเขตบริการไปในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เช่น ด้านบริหารการใช้พลังงานในอาคาร ด้านการออกแบบการให้แสงประดับอาคาร ด้านบริหารจัดการอาคาร ด้านอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รู้จัก สถาปนิก

view