http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

Japan Connection (1)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด

โดย วิรัตน์ แสงทองคำ viratts.worldpress.com


ธนาคาร ญี่ปุ่นทุ่มทุนเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอย่างจริงจัง ไม่เพียงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นในแวดวงธนาคาร หากมีความหมายว่าด้วย "มหากาพย์ใหม่" ความสัมพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นกับสังคมไทย


"ดีลใหญ่ล่า สุดที่กลุ่มทุนญี่ปุ่นรุกคืบเข้ามาในธุรกิจการเงินของไทย คือ "มิตซูบิชิ ไฟแนนเชียล ยูเอฟเจ กรุ๊ป" (MUFG) แบงก์อันดับ 1 ของญี่ปุ่น ที่ประกาศพร้อมควักเงินร่วม 1.77 แสนล้านบาท เพื่อเข้าถือหุ้นใหญ่ 75% ในธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ซึ่งจะกลายเป็นแบงก์จากญี่ปุ่นรายแรกที่คว้าดีลใหญ่ในกลุ่มธนาคารไทย และแผนหลังจากนั้นจะนำ "ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ

สาขากรุงเทพฯ" ซึ่งมีสินทรัพย์อีกกว่า 5 แสนล้านบาท เข้ามาควบรวมเป็นแบงก์เดียวกันด้วยมูลค่าสินทรัพย์กว่า 1.5 ล้านล้านบาท และเงินสินเชื่อรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท"

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (11 กรกฎาคม 2556) เสนอข่าวความเคลื่อนไหวธุรกิจญี่ปุ่นไว้อย่างน่าสนใจ สำหรับแวดวงธุรกิจธนาคาร ความเคลื่อนไหวของธนาคารญี่ปุ่นน่าสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ (ในเครือ Mitsubishi UFJ Financial Group, Inc. หรือ "MUFG") มีความสัมพันธ์กับสังคมไทยมานานตั้งแต่ปี 2479 ในนาม Yokohama Specie Bank ฐานะเพียงสำนักงานตัวแทน จนถึงปี 2505 จึงกลายเป็นสาขาธนาคาร (ตอนนั้นชื่อ Bank of Tokyo) แล้วก็คงฐานะเช่นนั้นไว้นานถึง 5 ทศวรรษ


แม้ว่าธนาคารญี่ปุ่นจะมีฐานะเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศในประเทศถึง 3 แห่ง (The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, Sumitomo Mitsui Banking Corporation และ Mizuho Bank) ทว่าในช่วงเวลาการเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งใหญ่ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยหลัง วิกฤตการณ์ปี 2540 ด้วยความพยายามทลายกำแพงอันมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทย จากการเข้ามาของธนาคารหลายชาติ ไม่ว่าธนาคารจากอังกฤษ สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ รวมไปถึงจีน ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ แต่ธนาคารญี่ปุ่นซึ่งมีเครือข่ายธุรกิจมากมายในประเทศไทยกลับไม่มีความ เคลื่อนไหวใด ๆ

ไม่สามารถจะตีความเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากเครือข่ายธนาคารญี่ปุ่นที่วางรากฐานเป็นเพียงสาขาธนาคาร ไม่สามารถรองรับและสนับสนุนความเคลื่อนไหวอันคึกคักอย่างต่อเนื่อง หลายระลอก ของธุรกิจญี่ปุ่นในประเทศไทยได้

ความเคลื่อนไหวของธุรกิจญี่ปุ่นในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ถือได้ว่าได้พัฒนามาถึง 3 ยุคแล้วก็ว่าได้

จาก Sogo Shosha สู่การร่วมทุนกับหน้าใหม่ญี่ปุ่นเข้ามาเมืองไทยในช่วงยุคต่อเนื่องจากสงคราม เกาหลีสู่สงครามเวียดนาม ด้านหนึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เครือข่ายบริษัทใหญ่ที่เรียกว่า Trading Company หรือ Sogo Shosha ขยายตัว แต่อีกด้านหนึ่ง ความขัดแย้งจีนทำให้ญี่ปุ่นต้องเข้าสู่ประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะ Marubeni เข้ามาเปิดสำนักงานในเมืองไทยในปี 2500 ตามมาด้วย Mitsui Mitsubishi, Nissho-Iwai Nomura Trading ในปี 2502 และ Sumitomo ในปี 2503 เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งแสวงหาผู้ร่วมทุน นั่นคือจุดเริ่มต้นของผู้ประกอบการไทยรายใหม่ ๆ โดยเฉพาะกิจการอุตสาหกรรมพื้นฐาน ไม่ว่าสิ่งทอ น้ำตาล และเคมีภัณฑ์ ตั้งแต่การเริ่มต้นอย่างยิ่งใหญ่ของ

สุกรี โพธิรัตนังกูร ในอุตสาหกรรมสิ่งทอในปี 2508-2512 แต่ตำนานนั้นจบลงในอีก 3 ทศวรรษต่อมา เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวพ้นวงจรอุตสาหกรรมตะวันตกดิน หรือกลุ่มตระกูลศรีเฟื่องฟุ้ง ซึ่งยังคงความสัมพันธ์ไว้อย่างเงียบ ๆ ในอุตสาหกรรมกระจกและผลิตภัณฑ์เคมี ซึ่งยังสามารถปรับตัวได้มาตั้งแต่ปี 2509

นอกจากนั้น มีการบุกเบิกสินค้าที่มีลักษณะคอนซูเมอร์มากขึ้น ตั้งแต่รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปสู่สินค้าไลฟ์สไตล์สยามกลการ ก่อตั้งขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่กองทัพญี่ปุ่นเข้าควบคุมประเทศไทยในช่วงจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ถาวร พรประภา เป็นนักธุรกิจหนุ่มที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจค้าเครื่องเหล็ก มีโอกาสได้รู้จักกับผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญชักนำให้ได้เป็นผู้แทนขายรถยนต์ Nissan ในประเทศไทยสยามกลการเป็นผู้แทนขายรถยนต์ Nissan นอกประเทศญี่ปุ่นรายแรกของโลก ประวัติการบุกเบิกด้วยความยากลำบากของ ถาวร พรประภา เป็นสิ่งที่ผู้บริหาร Nissan แห่งญี่ปุ่นหลายเจเนอเรชั่นเกรงอกเกรงใจ

 

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยมากขึ้น การขายรถยนต์ญี่ปุ่นจึงเป็นสิ่งที่ยากลำบาก สยามกลการประสบการขาดทุนเกือบ ๆ 10 ปี จน Nissan แห่งญี่ปุ่นต้องเข้ามาช่วยเหลือ โดยเฉพาะการร่วมทุนตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ครั้งแรกในเมืองไทยในปี 2505 การร่วมทุนครั้งนั้นดำเนินไปสักระยะก็ถอนตัวออกไป จากงานเขียนของผมเมื่อกันยายน 2540 สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่น่าสนใจว่าด้วยการเริ่มต้นอุตสาหกรรมรถยนต์ของ ญี่ปุ่น โดยไม่คาดคิดว่าในที่สุด Nissan ก็เข้ามาครอบงำกิจการทั้งหมด

ผลิตภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้าของญี่ปุ่นเข้ายึดครองตลาดไทยอย่างรวดเร็ว ด้วยการแสวงหาตัวแทนจำหน่ายและเริ่มผลิต อาทิ Panasonic ก่อตั้งกิจการขึ้นในประเทศไทยปี 2504 ภายใต้ชื่อเดิมว่า บริษัท เนชั่นแนล ไทย ถือเป็นโรงงานแห่งแรกในต่างประเทศ Toshiba ร่วมทุนตั้งโรงงานกับ กร-นิรมล สุริยสัตย์ ในราวปี 2510 ขณะที่กลุ่มสหพัฒน์บุกเบิกจากสินค้าคอนซูเมอร์ร่วมทุนกับ Lion ผลิตผงซักฟอกในปี 2510 และสินค้าไลฟ์สไตล์ด้วยการร่วมทุนกับ Wacoal ผลิตชุดชั้นในสตรีในปี 2513

สู่เครือข่ายอันมั่นคง

ความ สำเร็จจากโมเดลการลงทุนในช่วงแรก ๆ ที่มีลักษณะกระจัดกระจาย ในอีกราว 3 ทศวรรษต่อมา มีการผนึกกำลังและโฟกัสมากขึ้นไปสู่กระบวนการหลอมรวม ควบคุมการบริหารจัดการมากขึ้น ทั้งนี้มาจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเองในเรื่องค่าเงินเยนแข็งค่ามาก เกินไป จำเป็นต้องย้ายการลงทุนที่มีเทคโนโลยีสูงมากขึ้นสู่ต่างประเทศ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยเผชิญวิกฤตการณ์การเงินครั้งแรก ๆ ในยุคสมหมาย ฮุนตระกูล รัฐมนตรีคลังที่เป็น Japan Connection คนสำคัญ

กิจการร่วม ทุนบางรายมีปัญหา ธุรกิจญี่ปุ่นจึงถือโอกาสเข้าครอบงำการบริหารกิจการ อาทิ Sony ในปี 2531 การลงทุนมีขนาดใหญ่มากขึ้น มีความพยายามแสวงหาพันธมิตรรายใหญ่และทรงอิทธิพลมากขึ้น กรณีร่วมทุนอย่างขนานใหญ่กับปูนซิเมนต์ไทย

อุตสาหกรรมยานยนต์

แม้ ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่นจะมาเมืองไทยนานแล้ว Nissan และ Toyota ในปี 2505 และ Honda ในปี 2507 แต่กว่าจะลงตัวและเข้าสู่ภาวการณ์ควบคุมตลาดก็ใช้เวลานานพอสมควร

"ผู้ กำหนดนโยบายให้ความสำคัญในอุตสาหกรรมรถยนต์ ตลอดสองทศวรรษมีความพยายามให้ธุรกิจไทยมีบทบาทในอุตสาหกรรมที่มีอนาคตมากที่ สุดเท่าที่จะเป็นได้ มาจากฐานความเชื่อในเรื่องการถือหุ้นและถ่ายทอดเทคโนโลยี ตั้งแต่การกำหนดชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ จนถึงความพยายามให้มีการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลเอง (2525-2530) จากนั้นเข้าสู่ยุคผ่อนคลายกฎเกณฑ์ มองระดับภูมิภาคมากขึ้น (2533-2540) ทั้งสองช่วงถือเป็นยุคการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการภาย ในประเทศเป็นหลัก สุดท้ายจำเป็นต้องเปิดเสรีในฐานะฐานการผลิตของธุรกิจระดับโลก (ตั้งแต่ปี 2543) ในความพยายามทำลายกำแพงระบบเศรษฐกิจเดิมให้เชื่อมโยงกันมากขึ้น "พัฒนาการของอุตสาหกรรมรถยนต์ภายใต้อิทธิพลญี่ปุ่น (อ้างจาก "เรื่องอิทธิพลญี่ปุ่น" ของผมเอง มติชนสุดสัปดาห์ 21 ตุลาคม 2554) และในบทความชิ้นนั้นเองให้ภาพ Supply Chain อันยิ่งใหญ่ไว้ด้วย

ภาพ สำคัญภาพหนึ่งเกิดขึ้น "ในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยา (เฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาน้ำท่วมทั้งหมด) คือ การปรากฏขึ้นของโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของธุรกิจญี่ปุ่น มีจำนวน 300 กว่าโรง (จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ตามรายงานข่าวสำนักงานข่าวเอพี)"

โครงสร้างธุรกิจญี่ปุ่นปัจจุบันกำลังพลิกโฉมหน้าไปจากพัฒนาการ 5 ทศวรรษข้างต้นอย่างเหลือเชื่อ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : Japan Connection (1)

view

*

view