สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กระจายอำนาจตร-ลงท้องถิ่น

จาก โพสต์ทูเดย์
โดย...ทีมข่าวการเมือง

คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย    ที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   (กปปส.) จัดเวทีเสวนาระดมความคิดปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “การปฏิรูป     โครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 17    มี.ค.ที่ผ่านมา

พล.ต.อ.ไกรสุข สินศุข อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า สิ่งแรกที่ต้องปฏิรูป คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพราะฝ่ายการเมืองมีหน้าที่กำหนดนโยบาย โดย สตช.เป็นหน่วยงานที่รับมาปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติจะมีการแทรกแซงการทำงานของตำรวจได้ และอีกประเด็นคือการขยายตัวของตำรวจมักขาดรูปแบบ ที่ผ่านมามีการปฏิรูปตำรวจหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ โครงสร้างอำนาจยังรวมที่ศูนย์กลาง ไม่ได้กระจายไปสู่ท้องถิ่น

“ถ้ามีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ตำรวจจะได้ติดพื้นที่ มีความชำนาญและอยู่นาน ไม่สามารถทำผิดได้ เพราะเปรียบเสมือนเป็นคนในครอบครัว อีกทั้งการกระจายอำนาจไปสู่นครบาล ภูธร ยังเป็นการลดสายบังคับบัญชา ให้สั้นลง จะได้ทำงานเร็วขึ้น”พล.ต.อ.ไกรสุข กล่าว

นอกจากนี้ ต้องมีการพิจารณางานที่ไม่ใช่งานของตำรวจ ไม่ควรให้ตำรวจทำ เช่น รับแจ้งบัตรประชาชนหาย และเรื่องการได้มาของตำรวจ ปัจจุบันตำรวจมีเป็นแสนนาย ต้องให้ได้มาตามสัดส่วนของประชาชน การมาจากโรงเรียนรวมเหล่าจำเป็นหรือไม่ เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา

ขณะที่ด้านการบริหาร ในอดีต ผบ.ตร.สามารถบริหารกำลังพลได้เป็นอย่างดี แต่ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงเรื่องการแต่งตั้ง เรื่องนี้ต้องเปลี่ยนกฎหมาย

พล.ต.อ.ไกรสุข กล่าวด้วยว่า ตำรวจมีวัฒนธรรมองค์กร ความคิดเห็นที่แสดงไปอาจ   จะไม่รับฟัง แต่อยากให้ตระหนักว่าการปฏิรูปองค์กรไม่สามารถแก้ไขได้ ถ้าไม่มีกรอบที่สูงกว่ามาช่วย

ด้าน คมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ระบบงานตำรวจมีปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริการแบบระบบรวมศูนย์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง คือ ภารกิจของตำรวจที่ไม่ใช่เรื่องของตำรวจ แต่กำหนดให้เป็นงานของตำรวจ ถ้ามองตามภารกิจอำนาจหน้าที่ของตำรวจ มักมีปัญหาเรื่องความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ งานของตำรวจมีมากมาย จะเอาภารกิจใดเป็นภารกิจหลักของตำรวจก่อนจึงเป็นสิ่งที่ต้องคิด

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการสอบสวนยังขาดอิสระ เพราะมีทั้งเรื่องการวิ่งเต้นซื้อตำแหน่ง อีกทั้งตำรวจชั้นประทวนมีความรู้น้อย ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ประชาชน จึงอยากเสนอให้ตำรวจกระจายอำนาจ ทำให้ภูธรมีอำนาจ อาจจะมีอธิบดีภาคเป็นผู้ดูแล

ขณะที่เรื่องระบบตำรวจแบบกึ่งทหารต้องพิจารณาใหม่ ส่วนด้านการผลิตตำรวจนายร้อย   ผู้สอนบางคนยังมีความรู้ไม่ตรง ส่วนเรื่องนี้ต้องปรับ และการผลิตตำรวจชั้นประทวนต้องให้มีความรู้เทียบเท่าอนุปริญญา

ขณะที่ ภิญโญ ทองชัย อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวว่า ต้องเข้าใจกระบวนการยุติธรรมที่เป้าหมายใหญ่ การเอาคนเข้าคุกทำมาเป็นร้อยปี มีกฎหมายอาญามากกว่า 350 ฉบับ เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจ การสอบสวนจึงเน้นไปทางนี้ทั้งหมด

อย่างไรก็ดี จากงานวิจัยกฎหมายอาญาเน้นจำคุกมากกว่าปรับ โดยที่ต่างประเทศศึกษาการใช้โทษจำคุก พบว่าเป็นการเพิ่มภาระให้แก่รัฐ ถ้าเป็นโทษปรับรัฐไม่ต้องเสียอะไรเลย

“แนวทางการปฏิรูป คือ นำหลักสมานฉันท์   มาใช้ ปรับกระบวนการยุติธรรมที่เน้นปราบเป็นป้องปราม ที่ต้องเน้นโทษปรับและให้ไปบริการสังคม โดยโทษจำคุกต้องใช้กรณีที่จำเป็นทำผิดหลายครั้ง”ภิญโญ กล่าว

ด้าน ถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. กล่าวว่า ก่อนจะพูดในเรื่องทฤษฎี หากมองตำรวจ    ในภาพการโบกรถ ติดตามจับคนร้าย หรือภาพตำรวจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากไม่มีตำรวจที่ดีก็คงมาไม่ถึงวันนี้ แต่ก็มีตำรวจที่ไม่ดีเพียงไม่กี่คนที่ทำให้ภาพของตำรวจเป็นลบ ซึ่งคนในวงการตำรวจเองก็เห็นด้วยกับการปฏิรูป เพราะไม่อยากเห็นการมีวันนี้เพราะพี่ให้ หรือพ่อให้   อีก ทั้งนี้เห็นด้วยกับการปฏิรูปโครงสร้างตำรวจให้กระจายอำนาจแบบกึ่งรวมศูนย์


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กระจายอำนาจตร ลงท้องถิ่น

view