สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้จัก-เพลงปลุกใจ-บนหน้าจอหลังรัฐประหาร

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...โพสต์ทูเดย์ออนไลน์

หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศยึดอำนาจ บทเพลงปลุกใจให้รักชาติเพลงแล้วเพลงเล่าก็ถูกเปิดขึ้นบนจอโทรทัศน์ทุกช่องให้ประชาชนทั้งประเทศได้ฟังอย่างพร้อมเพรียง จะมีเพลงอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน

เพลงแรก "ความฝันอันสูงสุด" เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 43 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2514

ต้นตอของเพลงนี้มีที่มาจากพ.ศ. 2512 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้รับพระราชเสาวนีย์จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้เขียนบทกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติ และประเทศชาติ ออกมาเป็นกลอน 5 บท

โดยถอดความมาจากเพลง The Impossible Dream ซึ่งเป็นเพลงละครบรอดเวย์เรื่อง Man of La Mancha แสดงระหว่างปี 2508-2514 บทละครเขียนโดย Dale Wasserman ทำนองเพลงโดย Mitch Leigh และคำร้องโดย Joe Darion

"ความบันดาลใจในเรื่องนี้มีที่มาจากการสังเกตของข้าพเจ้า ได้รู้เห็นพระราชอัธยาศัย พระราชจริยวัตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤติปฏิบัติอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันไม่เสื่อมคลาย ข้าพเจ้าค่อย ๆ คิดหาคำ กลั่นกรองให้ตรงกับความหมายเท่าที่จะสามารถ แล้วทูลเกล้าฯ ถวายทอดพระเนตร ทรงพระกรุณาติชม จนผลสุดท้ายออกมาเป็นกลอน 5 บท"ท่านผู้หญิงมณีรัตน์เล่าไว้ในหนังสือชื่อ"ภิรมย์รัตน์"

ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่ทำนองเพลงในคำกลอน "ความฝันอันสูงสุด"ขับร้องครั้งแรกโดยท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค จนกลายเป็นเพลงพระราชนิพนธ์รู้จักกันแพร่หลายเฉกเช่นทุกวันนี้

เพลงที่สอง "เราสู้" เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 44 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.2516 มีที่มาจากนายสมภพ จันทรประภา ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ 4 บท จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย

จากนั้นเมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัย ที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงเราสู้พระราชทานให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ทหาร อาสาสมัครและตำรวจชายแดน ทรงหยิบซองจดหมายใกล้พระหัตถ์มาตีบรรทัด 5 เส้น เพื่อทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง เสร็จแล้วพระราชทานให้ วง อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งกำลังบรรเลงอยู่ในงานวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ. 2517 นำออกบรรเลง ณ พระราชวังบางปะอิน

"ไกลกังวล" เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 26 ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขณะประทับอยู่ที่วังไกลกังวล ในพ.ศ.2500 เพื่อพระราชทานให้เป็นเพลงประจำวงดนตรี ‘อ.ส.วันศุกร์’ ใช้บรรเลงเป็นเพลงสุดท้ายก่อนเลิกเล่นดนตรี

บรรเลงครั้งแรกในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2500 ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยคือ นายวิชัย โกกิลกนิษฐ ต่อมาใน พ.ศ.2506 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นาย Rual Maglapus อดีตสมาชิกวุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และในปี พ.ศ.2514 บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่งคำร้องภาษาไทยเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักและหวงแหนแผ่นดินไทย

"ดุจบิดามารดร" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประพันธ์ทำนองโดยท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ขับร้องโดยสวลี ผกาพันธ์ และสันติ ลุนเผ่ บรรเลงโดยวงดุริยางค์ทหารเรือ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงอธิบายไว้ในคำนำของหนังสือชื่อ ‘กษัตริยานุสรณ์’ ดังนี้

"ขณะที่เริ่มเขียนเรื่อง "กษัตริยานุสรณ์" นี้ ข้าพเจ้ากำลังเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจิตรลดา ในวิชาการประพันธ์ อาจารย์สั่งให้แต่งโคลงส่งบ่อยๆ จึงมีความคิดอยากแต่งบทประพันธ์เป็นลิลิตหรือบทประพันธ์ คำโคลงสักเรื่องหนึ่งแต่ยังนึกเรื่องที่จะแต่งให้ถูกใจไม่ได้ พอดีเป็นเวลาที่ ข้าพเจ้าได้โดยเสด็จพระราชดำเนินในการแปรพระราชฐานไปจังหวัดเชียงใหม่ ในเครื่องบินท่านหญิงเป็น "เสมียน" เพราะตอนนั้น "น.ม.ส."(พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจำรัส หรือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) ทรงนิพนธ์เรื่อง "สามกรุง" ตอนนั้น "น.ม.ส." ประชวรจ้องมองอะไรไม่เห็น พอไปถึงเชียงใหม่ท่านหญิงประทาน "สามกรุง" ข้าพเจ้า 1 เล่ม"

"ข้าพเจ้าเริ่มอ่านสามกรุงไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็นึกออกว่าโคลงที่นึกอยากจะแต่งนั้นควรเป็นเรื่อง "อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี" ซึ่งเป็นบทยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงวางโครงเรื่องลงในสมุดแล้วใช้เค้าโครงจากหนังสือ "ไทยรบพม่า"..."

"การแต่งไม่ได้แต่งรวดเดียวจบ แต่แต่งเรื่อยไปวันละบทสองบทตามแต่จะคิดโคลงออก ซึ่งมักเป็นเวลาแปลกๆ เช่น เวลานั่งรถบ้าง เวลาคุยกับใครๆ หรือเวลาเข้านอน ตอนแรกๆไปได้ช้าเพราะต้องเตรียมสอบ ม.ศ. 5 พอเสร็จแล้วแต่งตามสบาย โดยอ่าน "สามกรุง" ประกอบไปด้วย นับว่าเป็นหนังสือเล่มเดียวที่ใช้ประกอบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และโคลงที่ข้าพเจ้าแต่งก็บังเอิญเสร็จตอนมหาวิทยาลัยเปิดพอดี เมื่อจบแล้วได้ให้อาจารย์กำชัย ทองหล่อดู อาจารย์กรุณาตั้งชื่อให้ว่า "กษัตริยานุสรณ์"..."

"ข้าพเจ้านำขึ้นทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนพรรษาแทนการถวายรูปเขียนของขวัญอย่างที่เคย ท่านโปรดโคลงบทที่ขึ้นต้นว่า "รักชาติ ยอมสละแม้ชีวี" มากที่สุด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ล.พวงร้อย อภัยวงศ์ ประพันธ์ทำนองเพลงที่ชื่อว่า "ดุจบิดามารดร" ใช้ร้องมาจนทุกวันนี้…"

เพลง "หนักแผ่นดิน" ประพันธ์คำร้องโดย พ.อ.บุญส่ง หักฤทธิ์ศึก และขับร้องโดย ส.อ.อุบล คงสิน และศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นเพลงที่ใช้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการสื่อสารทหารบก กองทัพบก ในการต่อสู้ทางการเมืองกับขบวนการคอมมิวนิสต์ ในช่วง พ.ศ. 2518-2523 แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2520 ชื่อเพลงนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ "หนักแผ่นดิน" นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และนัยนา ชีวานันท์

เพลง "ต้นตระกูลไทย" ประพันธ์คำร้องและทำนองโดยหลวงวิจิตรวาทการ เพื่อประกอบละคร "อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง" เมื่อปี พ.ศ. 2497 จุดเด่นของเพลงนี้คือรวบรวมบุคคลสำคัญที่มีความเก่งกล้าสามารถที่ยอมสละแม้ชีวิตของตนเองเพื่อคนไทยทั้งชาติถึง 21 ท่าน

ประกอบด้วย 1.ท่านพระยาราม  2.พระราชมนู 3.เจ้าพระยาโกษาเหล็ก  4.สมเด็จพระนารายณ์ 5.สีหราชเดโช 6.เจ้าคุณพิชัยดาบหัก  7.นายแท่น 8.นายดอก 9.นายอิน 10.นายเมือง 11.ขุนสรรค์  12.พันเรือง 13.นายทองแสงใหญ่  14.นายโชติ 15.นายทองเหม็น 16.นายจันหนวดเขี้ยว  17.นายทองแก้ว  18.องค์พระสุริโยทัย 19.ท้าวสุรนารี 20.ท้าวเทพสตรี และ 21.ท้าวศรีสุนทร

เพลง "สยามานุสสติ" เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

ต่อมาได้มีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดยนารถ ถาวรบุตร เมื่อพ.ศ. 2482 เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ค่ายบางระจัน" ของบริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ซึ่งส่วนของเนื้อร้องนั้น ได้ตัดเอาบทพระราชนิพนธ์สยามานุสสติบทที่ 3 และบทที่ 4 มาใช้ โดยสลับเอาบทที่ 4 มาร้องก่อนแล้วจึงค่อยร้องบทที่ 3 ในลำดับถัดไป

และ เพลง "ทหารพระนเรศวร" เป็นเพลงปลุกใจ ประพันธ์ทำนองโดย ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ.2515

ทั้งนี้ หลายต่อหลายเพลง โดยเฉพาะ "หนักแผ่นดิน" "ความฝันอันสูงสุด" "ทหารพระนเรศวร" "เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย" "แด่ทหารหาญในสมรภูมิ" และ "มาร์ชทหารไทย" ถูกนำมาขับร้องใหม่ในเวอร์ชันของ สันติ ลุนเผ่ นักร้องเพลงปลุกใจผู้มีชื่อเสียงในฐานะนักร้องที่มีน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ ห้าวหาญ ดุดัน ทรงพลัง จนประทับจับใจคนมาทุกยุคทุกสมัยจวบจนวันนี้

ลิงค์เพลง

ความฝันอันสูงสุด http://www.youtube.com/watch?v=m7bONrQS2xI

เราสู้ http://www.youtube.com/watch?v=_t73nMn3xb0

ไกลกังวล http://www.youtube.com/watch?v=Oa_hZsLVKuw

ดุจบิดามารดร http://www.youtube.com/watch?v=2510LzXt-V0

หนักแผ่นดิน http://www.youtube.com/watch?v=ItxSyvWz6bY

ต้นตระกูลไทย http://www.youtube.com/watch?v=Cmisq5uMIfY

สยามานุสสติ http://www.youtube.com/watch?v=4hxPZTHUxmk

ทหารพระนเรศวร http://www.youtube.com/watch?v=KkSP65T5gvI


แง่มุม 'เพลงปลุกใจ' หลัง คสช.ยึดอำนาจ

ทำความรู้จัก 'เพลงปลุกใจ' หลัง คสช.ยึดอำนาจ ว่ามีทีมาที่ไป อย่างไร

รู้จัก 'เพลงปลุกใจ' ยอดฮิต หลัง คสช.ยึดอำนาจ

หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ เมื่อเวลา 16.30 น. ของวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เสียงเพลงปลุกใจก็ถูกเปิดกระหึ่มตามสถานีโทรทัศน์และวิทยุเรื่อยมา สลับกับการประกาศของ คสช. ซึ่งเราจะพาไปรู้จักกับประวัติเพลงปลุกใจยอดฮิตของการยึดอำนาจครั้งนี้กัน

เพลงแรกคือ “หนักแผ่นดิน” ที่มีท่อนที่ทุกคนจำได้ขึ้นใจว่า “หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!) หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)“ ซึ่งเขียนเนื้อร้องโดย พ.อ.บุญส่ง หักฤทธิ์ศึก และขับร้องโดย ส.อ.อุบล คงสิน และศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

เพลงนี้ใช้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการสื่อสารทหารบก กองทัพบก ในการต่อสู้ทางการเมืองกับขบวนการคอมมิวนิสต์ ในช่วง พ.ศ.2518-2523 เพลงนี้ถูกนำมาใช้ประกอบและสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย เรื่อง “หนักแผ่นดิน” โดย สมบัติ เมทะนี เป็นผู้กำกับและแสดงนำ ร่วมกับ นัยนา ชีวานันท์, ครรชิต ขวัญประชา, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์, มานพ อัศวเทพ

เพลงที่ 2 คือ “เราสู้” ที่มีเนื้อเพลงที่ติดหูและเป็นท่อนจำของคนฟังว่า “ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น จะสู้กันไม่หลบหนีหาย สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู“ เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 44 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.2516 มีที่มาจาก นายสมภพ จันทรประภา ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ 4 บท จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย

จากนั้นเมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัย ที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงเราสู้ พระราชทานเป็นของขวัญปีใหม่แก่ทหาร อาสาสมัครและตำรวจชายแดน ทรงหยิบซองจดหมายใกล้พระหัตถ์มาตีบรรทัด 5 เส้น เพื่อทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเสร็จแล้วพระราชทานแก่ วง อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งกำลังบรรเลงอยู่ในงานวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ.2517 นำออกบรรเลง ณ พระราชวังบางปะอิน

เพลงที่ 3 ”สยามมานุสติ” เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมามีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดย นารถ ถาวรบุตร เมื่อ พ.ศ.2482 เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ค่ายบางระจัน" ของบริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ โดยครูนารถ เล่าไว้ในประวัติทำนองเพลงนี้ว่า

"ผมเตร่แถวสนามหลวงในเย็นวันหนึ่ง เพื่อค้นคว้าหาอารมณ์ที่จะทำเพลงไตเติ้ลให้ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงในเรื่องค่ายบางระจัน ซึ่งต้องเป็นเพลงปลุกใจด้วย ขณะเดินผ่านหน้ากระทรวงกลาโหม จึงเห็นโคลงของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ตามด้วยแสงนีออนสว่างไสวสะดุดตาอยู่เลยตัดสินใจเอาโคลงนี้มาทำเป็นเพลงเอก ซึ่งก็สำเร็จผล มากำนัลภาพยนตร์เสียงศรีกรุงในเรื่องค่ายบางระจัน รวมทั้งมาร์ชรัฐธรรมนูญกับมาร์ชประชาธิปไตย ใช้ดุริยางค์ราชนาวีบันทึกเสียงประมาณ 40 คน ที่ศรีกรุง บางกะปิ" เนื้อร้องที่ครูนารถนำมานั้น ได้ตัดเอาบทพระราชนิพนธ์สยามมานุสติบทที่ 3 และบทที่ 4 มาใช้ โดยสลับเอาบทที่ 4 มาร้องก่อนแล้วจึงค่อยร้องบทที่ 3 ในลำดับถัดไป

"หากสยามยังอยู่ ยั้งยืนยง เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทยฯ“

เพลงที่ 4 “รักกันไว้เถิด” เป็นเพลงปลุกใจที่ประพันธ์คำร้องและทำนอง โดยครูนคร ถนอมทรัพย์ หรือ กุง กาดิน ศิลปินแห่งชาติ ปี 2554 เป็นผู้ขับร้องเอง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากคนไทยโดยทั่วไป และมีการบันทึกเสียงซ้ำใหม่หลายครั้งโดยศิลปินหลายคน เพลงนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานถึง 3 ครั้ง คือ ผู้ประพันธ์ทำนอง ประพันธ์เนื้อร้อง และขับร้องเพลงดีเด่น เนื้อร้องที่หลายคนจำและร้องตามได้คือ “รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทยจะเกิดภาคไหน ก็ไทยด้วยกัน เชื้อสายประเพณี ไม่มีกีดกั้น เกิดใต้ธงไทยนั้น ปวงชนทุกคนคือไทย“

เพลงที่ 5 ”มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า” เป็นเพลงมาร์ชร้องหมู่ที่ นาวาตรีพยงค์ มุกดา แต่งขึ้น เพื่อเป็นการปลุกใจ และสร้างความสามัคคีระหว่างทหารเหล่าทัพต่างๆ และตำรวจ ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตย และความมั่นคงของประเทศ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร

เพลงนี้ครูพยงค์เขียนขึ้นโดยการนำเอาวรรคแรกของเพลงชาติไทย และบางส่วนของเพลงมาร์ชสำคัญของทั้งสามเหล่าทัพและตำรวจมาดัดแปลงรวมกันเป็นเพลงเดียว ดังนี้เพลงมาร์ชกองทัพบก ของกองทัพบกไทย (ประพันธ์โดย นารถ ถาวรบุตร) เพลงราชนาวี ของกองทัพเรือไทย (ประพันธ์โดย น.อ.ภิญโญ พงษ์สมรวย) เพลงมาร์ชทหารอากาศ ของกองทัพอากาศไทย เพลงมาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ของกรมตำรวจ (ปัจจุบันคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ - ประพันธ์โดย นารถ ถาวรบุตร) เพลงนี้มีท่อนขึ้นต้นที่คุ้นหูว่า “ไทยสามัคคี สามัคคี สามัคคี สี่เหล่าไทยประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยร่วมจิตร่วมใจรักไทยให้คงมั่นหากมีศัตรูจู่โจม มาโรมรบรันร่วมใจป้องกันพร้อมทุกเหล่าเชื้อเผ่าไทย“

และเพลงที่ 6 “เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย” ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 26 ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขณะประทับ ณ วังไกลกังวล ใน พ.ศ.2500 เพื่อพระราชทานเป็นเพลงประจำวงดนตรี "อ.ส. วันศุกร์" ใช้บรรเลงเป็นเพลงสุดท้ายก่อนเลิกเล่นดนตรี ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2500 ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทย คือ นายวิชัย โกกิลกนิษฐ

ต่อมา ใน พ.ศ.2506 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นาย Rual Maglapus อดีตสมาชิกวุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์ ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ.2514 บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่งคำร้องภาษาไทย "เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย" เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักและหวงแหนแผ่นดินไทย อย่างท่อนเพลงที่ว่า

“เกิดเป็นไทยแล้วใจต้องสู้ ถิ่นไทยเรารู้เรารักยิ่ง

ศัตรูหน้าไหนไม่เกรงกริ่ง หากมาช่วงชิงตายเสียเถิด

เผ่าไทยเดิมล้วนคนใจเด็ด แกร่งดังเหล็กเพชรชูชาติเชิด

ต่างรักษาไว้แดนกำเนิด เกิดเป็นไทยแล้วจำใส่ใจ“

ส่วนน้ำเสียงของผู้ร้องเพลงปลุกใจที่เป็นเอกลักษณ์ และมีความขลังปลุกเร้าหัวใจได้ทุกครั้งที่ฟัง คือ น้ำเสียงอันทรงพลังของ สันติ ลุนเผ่ หรือ เรือตรีไพศาล ลุนเผ่ นักร้องประจำคณะดุริยางค์แห่งกองทัพไทย เจ้าตัวเล่าถึงประวัติก่อนมาเป็นสัญลักษณ์แห่งเสียงเพลงปฏิวัติว่า

“เกิดที่บ้านในย่านวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของหม่องลุนเผ่ ซึ่งเป็นนักร้องละครชาวพม่า อพยพมาอยู่ ณ จังหวัดลำปาง พ่อนำชื่อ ลุนเผ่ มาใช้เป็นชื่อสกุล ก่อนย้ายรกรากมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ผมได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาในปี 2496 และศึกษาต่อที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมชอบดนตรีคลาสสิกมาตั้งแต่เด็ก พ่อผมชอบฟังคารูโซเป็นผู้สอนร้องเพลงให้ ตอนเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมได้ร่วมวงดนตรีวายุบุตร ของ เชาว์ แคล่วคล่อง และสอบชิงทุนยูธ ลีดเดอร์ชิป (Youth Leadership) ไปศึกษาด้านการเรียบเรียงเสียงประสานที่ประเทศอิสราเอลเป็นผลสำเร็จ"

"จากนั้นจึงกลับมาร่วมวงดนตรีวายุบุตร ในตำแหน่งนักกีตาร์ โดยเล่นประจำที่โรงแรมเอราวัณ ผมฝึกฝนดนตรีคลาสสิกจากการร้องเพลงในโบสถ์คริสต์ ฝึกสอนโดย แมรี คลิฟฟอร์ด เจฟฟรีย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน จากการฝากฝังโดย หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา และได้ร่วมเป็นนักร้องเสียงเทเนอร์ในวงดนตรี The Bangkok Combined Choir (BBC) เป็นคนไทยเพียงคนเดียวในวง เพลงปลุกใจเป็นเพลงที่ต้องเร้าให้คนฟังเกิดความฮึกเหิม เสียงผมมันมีตรงนั้น เพลงเหล่านี้ใช้ในโอกาสพิเศษเท่านั้น ไม่ค่อยมีใครนำมาร้อง เลยกลายเป็นเสียงผมคนเดียวที่ถูกหยิบมาเปิด"....


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

ทำความรู้จัก 'เพลงปลุกใจ' หลัง คสช.ยึดอำนาจ ว่ามีทีมาที่ไป อย่างไร

รู้จัก 'เพลงปลุกใจ' ยอดฮิต หลัง คสช.ยึดอำนาจ

หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ เมื่อเวลา 16.30 น. ของวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เสียงเพลงปลุกใจก็ถูกเปิดกระหึ่มตามสถานีโทรทัศน์และวิทยุเรื่อยมา สลับกับการประกาศของ คสช. ซึ่งเราจะพาไปรู้จักกับประวัติเพลงปลุกใจยอดฮิตของการยึดอำนาจครั้งนี้กัน

เพลงแรกคือ “หนักแผ่นดิน” ที่มีท่อนที่ทุกคนจำได้ขึ้นใจว่า “หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!) หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)“ ซึ่งเขียนเนื้อร้องโดย พ.อ.บุญส่ง หักฤทธิ์ศึก และขับร้องโดย ส.อ.อุบล คงสิน และศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

เพลงนี้ใช้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการสื่อสารทหารบก กองทัพบก ในการต่อสู้ทางการเมืองกับขบวนการคอมมิวนิสต์ ในช่วง พ.ศ.2518-2523 เพลงนี้ถูกนำมาใช้ประกอบและสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย เรื่อง “หนักแผ่นดิน” โดย สมบัติ เมทะนี เป็นผู้กำกับและแสดงนำ ร่วมกับ นัยนา ชีวานันท์, ครรชิต ขวัญประชา, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์, มานพ อัศวเทพ

เพลงที่ 2 คือ “เราสู้” ที่มีเนื้อเพลงที่ติดหูและเป็นท่อนจำของคนฟังว่า “ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น จะสู้กันไม่หลบหนีหาย สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู“ เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 44 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.2516 มีที่มาจาก นายสมภพ จันทรประภา ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ 4 บท จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย

จากนั้นเมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัย ที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงเราสู้ พระราชทานเป็นของขวัญปีใหม่แก่ทหาร อาสาสมัครและตำรวจชายแดน ทรงหยิบซองจดหมายใกล้พระหัตถ์มาตีบรรทัด 5 เส้น เพื่อทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเสร็จแล้วพระราชทานแก่ วง อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งกำลังบรรเลงอยู่ในงานวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ.2517 นำออกบรรเลง ณ พระราชวังบางปะอิน

เพลงที่ 3 ”สยามมานุสติ” เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมามีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดย นารถ ถาวรบุตร เมื่อ พ.ศ.2482 เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ค่ายบางระจัน" ของบริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ โดยครูนารถ เล่าไว้ในประวัติทำนองเพลงนี้ว่า

"ผมเตร่แถวสนามหลวงในเย็นวันหนึ่ง เพื่อค้นคว้าหาอารมณ์ที่จะทำเพลงไตเติ้ลให้ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงในเรื่องค่ายบางระจัน ซึ่งต้องเป็นเพลงปลุกใจด้วย ขณะเดินผ่านหน้ากระทรวงกลาโหม จึงเห็นโคลงของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ตามด้วยแสงนีออนสว่างไสวสะดุดตาอยู่เลยตัดสินใจเอาโคลงนี้มาทำเป็นเพลงเอก ซึ่งก็สำเร็จผล มากำนัลภาพยนตร์เสียงศรีกรุงในเรื่องค่ายบางระจัน รวมทั้งมาร์ชรัฐธรรมนูญกับมาร์ชประชาธิปไตย ใช้ดุริยางค์ราชนาวีบันทึกเสียงประมาณ 40 คน ที่ศรีกรุง บางกะปิ" เนื้อร้องที่ครูนารถนำมานั้น ได้ตัดเอาบทพระราชนิพนธ์สยามมานุสติบทที่ 3 และบทที่ 4 มาใช้ โดยสลับเอาบทที่ 4 มาร้องก่อนแล้วจึงค่อยร้องบทที่ 3 ในลำดับถัดไป

"หากสยามยังอยู่ ยั้งยืนยง เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทยฯ“

เพลงที่ 4 “รักกันไว้เถิด” เป็นเพลงปลุกใจที่ประพันธ์คำร้องและทำนอง โดยครูนคร ถนอมทรัพย์ หรือ กุง กาดิน ศิลปินแห่งชาติ ปี 2554 เป็นผู้ขับร้องเอง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากคนไทยโดยทั่วไป และมีการบันทึกเสียงซ้ำใหม่หลายครั้งโดยศิลปินหลายคน เพลงนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานถึง 3 ครั้ง คือ ผู้ประพันธ์ทำนอง ประพันธ์เนื้อร้อง และขับร้องเพลงดีเด่น เนื้อร้องที่หลายคนจำและร้องตามได้คือ “รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทยจะเกิดภาคไหน ก็ไทยด้วยกัน เชื้อสายประเพณี ไม่มีกีดกั้น เกิดใต้ธงไทยนั้น ปวงชนทุกคนคือไทย“

เพลงที่ 5 ”มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า” เป็นเพลงมาร์ชร้องหมู่ที่ นาวาตรีพยงค์ มุกดา แต่งขึ้น เพื่อเป็นการปลุกใจ และสร้างความสามัคคีระหว่างทหารเหล่าทัพต่างๆ และตำรวจ ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตย และความมั่นคงของประเทศ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร

เพลงนี้ครูพยงค์เขียนขึ้นโดยการนำเอาวรรคแรกของเพลงชาติไทย และบางส่วนของเพลงมาร์ชสำคัญของทั้งสามเหล่าทัพและตำรวจมาดัดแปลงรวมกันเป็นเพลงเดียว ดังนี้เพลงมาร์ชกองทัพบก ของกองทัพบกไทย (ประพันธ์โดย นารถ ถาวรบุตร) เพลงราชนาวี ของกองทัพเรือไทย (ประพันธ์โดย น.อ.ภิญโญ พงษ์สมรวย) เพลงมาร์ชทหารอากาศ ของกองทัพอากาศไทย เพลงมาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ของกรมตำรวจ (ปัจจุบันคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ - ประพันธ์โดย นารถ ถาวรบุตร) เพลงนี้มีท่อนขึ้นต้นที่คุ้นหูว่า “ไทยสามัคคี สามัคคี สามัคคี สี่เหล่าไทยประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยร่วมจิตร่วมใจรักไทยให้คงมั่นหากมีศัตรูจู่โจม มาโรมรบรันร่วมใจป้องกันพร้อมทุกเหล่าเชื้อเผ่าไทย“

และเพลงที่ 6 “เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย” ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 26 ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขณะประทับ ณ วังไกลกังวล ใน พ.ศ.2500 เพื่อพระราชทานเป็นเพลงประจำวงดนตรี "อ.ส. วันศุกร์" ใช้บรรเลงเป็นเพลงสุดท้ายก่อนเลิกเล่นดนตรี ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2500 ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทย คือ นายวิชัย โกกิลกนิษฐ

ต่อมา ใน พ.ศ.2506 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นาย Rual Maglapus อดีตสมาชิกวุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์ ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ.2514 บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่งคำร้องภาษาไทย "เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย" เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักและหวงแหนแผ่นดินไทย อย่างท่อนเพลงที่ว่า

“เกิดเป็นไทยแล้วใจต้องสู้ ถิ่นไทยเรารู้เรารักยิ่ง

ศัตรูหน้าไหนไม่เกรงกริ่ง หากมาช่วงชิงตายเสียเถิด

เผ่าไทยเดิมล้วนคนใจเด็ด แกร่งดังเหล็กเพชรชูชาติเชิด

ต่างรักษาไว้แดนกำเนิด เกิดเป็นไทยแล้วจำใส่ใจ“

ส่วนน้ำเสียงของผู้ร้องเพลงปลุกใจที่เป็นเอกลักษณ์ และมีความขลังปลุกเร้าหัวใจได้ทุกครั้งที่ฟัง คือ น้ำเสียงอันทรงพลังของ สันติ ลุนเผ่ หรือ เรือตรีไพศาล ลุนเผ่ นักร้องประจำคณะดุริยางค์แห่งกองทัพไทย เจ้าตัวเล่าถึงประวัติก่อนมาเป็นสัญลักษณ์แห่งเสียงเพลงปฏิวัติว่า

“เกิดที่บ้านในย่านวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของหม่องลุนเผ่ ซึ่งเป็นนักร้องละครชาวพม่า อพยพมาอยู่ ณ จังหวัดลำปาง พ่อนำชื่อ ลุนเผ่ มาใช้เป็นชื่อสกุล ก่อนย้ายรกรากมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ผมได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาในปี 2496 และศึกษาต่อที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมชอบดนตรีคลาสสิกมาตั้งแต่เด็ก พ่อผมชอบฟังคารูโซเป็นผู้สอนร้องเพลงให้ ตอนเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมได้ร่วมวงดนตรีวายุบุตร ของ เชาว์ แคล่วคล่อง และสอบชิงทุนยูธ ลีดเดอร์ชิป (Youth Leadership) ไปศึกษาด้านการเรียบเรียงเสียงประสานที่ประเทศอิสราเอลเป็นผลสำเร็จ"

"จากนั้นจึงกลับมาร่วมวงดนตรีวายุบุตร ในตำแหน่งนักกีตาร์ โดยเล่นประจำที่โรงแรมเอราวัณ ผมฝึกฝนดนตรีคลาสสิกจากการร้องเพลงในโบสถ์คริสต์ ฝึกสอนโดย แมรี คลิฟฟอร์ด เจฟฟรีย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน จากการฝากฝังโดย หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา และได้ร่วมเป็นนักร้องเสียงเทเนอร์ในวงดนตรี The Bangkok Combined Choir (BBC) เป็นคนไทยเพียงคนเดียวในวง เพลงปลุกใจเป็นเพลงที่ต้องเร้าให้คนฟังเกิดความฮึกเหิม เสียงผมมันมีตรงนั้น เพลงเหล่านี้ใช้ในโอกาสพิเศษเท่านั้น ไม่ค่อยมีใครนำมาร้อง เลยกลายเป็นเสียงผมคนเดียวที่ถูกหยิบมาเปิด"....บจ.สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พี แอนด์ อี,คณะบุคคลที่ปรึกษา พี.เอ.ที.
สำนักงานสอบบัญชี พี แอนด์ อี,บจ.สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,คณะบุคคลที่ปรึกษา พี.เอ.ที.,108acc
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน
    ,ทำบัญชี,สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน,108acc
,สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน,108acc

เปอร์เซ็นต์

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน
จากประชาชาติธุรกิจ

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน
จาก โพสต์ทูเดย์

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน
จากสำนักข่าวอิสรา

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน
จากสำนักข่าวไทย

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน
จากไทยโพสต์

จาก คมชัดลึกออนไลน์

จาก siamsport

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

จาก มติชนออนไลน์

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

จาก ข่าวสดออนไลน์

จาก ไทยรัฐออนไลน์

จาก เวปไซต์สรรพากรสาสน์
จาก เวปไซต์สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สมัครสมาชิกสรรพากรสาสน์ได้ที่ http://www.sanpakornsarn.com/
จากเวปไซต์สมาคมผู้ตรวจสอบภายใน
จากเวปไซต์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
จากเวปไซต์ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน

บัญชี,สำนักงานบัญชี,ทุจริต,ทำบัญชี,ที่ปรึกษา,สอบบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,สำนักงานจัดทำบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี auditor,สำนักงานสอบบัญชีและที่ปรึกษา,หน่วยงานสอบบัญชี,อบรมพนักงานบัญชี,เนื้อหาการอบรมบัญชี,เนื้อหาระบบบัญชีเดี่ยว,ผู้สอบบัญชี,ผู้สอบบัญชีภาษีอากร,วิเคราะห์งบการเงิน,ศึกษาความเป็นไปได้,บัญชีต้นทุน,รายงานสอบบัญชี,สภาวิชาชีพบัญชี,ภาษีสรรพากร,แผนธุรกิจ,งบดุล,งบกำไรขาดทุน,TA,บัญชี,วิชาชีพบัญชี,วิชาชีพ,รูปแบบการทำบัญชี,วิเคราะห์ธุรกิจปั้มน้ำมัน,สอบผู้ทำบัญชี,สอบผู้สอบบัญชี,ทำบัญชีธุรกิจการผลิต,ธุรกิจปั้มน้ำมัน,การบัญชีต้นทุนการผลิต,ตรวจสอบหมายเลขผู้ทำ,รายงานการตรวจสอบภายใน,บัญชีแบบลีน,บัญชีลีน,บทความบัญชี,มาตรฐานการบัญชี,มาตรฐานการสอบบัญชี,วางระบบ,ตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,อุปกรณ์การเกษตร,ชีวิตกลางแจ้ง,ไม้ผล,ไม้ดอก,ไม้ประดับ,สินค้าเกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,ที่พัก,ผจญภัย,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,servival Kit,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,การเลี้ยงไส้เดือน,การใช้ประโยชน์ปุ๋ย,น้ำหมัก,ข่าวเกษตร,บทความเศรษฐกิจการเกษตร,การเอาตัวรอดในภัยพิบัติ,อาหารอร่อย,ประตูเขาใหญ่,ที่พักปราจีนบุรี,ร้านอาหารริมทาง,อาหารรสดี,กาแฟรสเยี่ยม,ของฝาก,ขนมปังหอม,เค็กอร่อย,การเลี้ยงไส้เดือน,การใช้ประโยชน์ปุ๋ย,น้ำหมัก,ข่าวเกษตร,บทความเศรษฐกิจการเกษตร,การเอาตัวรอดในภัยพิบัติ,chain saw

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,อุปกรณ์การเกษตร,ชีวิตกลางแจ้ง,ไม้ผล,ไม้ดอก,ไม้ประดับ,สินค้าเกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,ที่พัก,ผจญภัย,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,servival Kit,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,การเลี้ยงไส้เดือน,การใช้ประโยชน์ปุ๋ย,ร้านกาแฟดี,อาหารอร่อย,เศรษฐกิจการเกษตร,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,อุปกรณ์การเกษตร,ชีวิตกลางแจ้ง,สินค้าเกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,ที่พัก,ผจญภัย,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,servival Kit,การเลี้ยงไส้เดือน,การใช้ประโยชน์ปุ๋ย,ร้านกาแฟดี,อาหารอร่อย,เศรษฐกิจการเกษตร,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ถุงมือกันบาด,อะไหล่ victorinox,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,ร้านกาแฟดี,,thaiworm33
    ,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ถุงมือกันบาด,อะไหล่ victorinox,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดภาวะวิกฤต,thaiworm33

เปอร์เซ็นต์


จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จากประชาชาติธุรกิจ

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จาก โพสต์ทูเดย์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จากสำนักข่าวอิสรา

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จากไทยโพสต์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จาก คมชัดลึกออนไลน์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จาก มติชนออนไลน์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จาก เดลินิวส์ออนไลน์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จาก ข่าวสดออนไลน์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต
จาก ไทยรัฐออนไลน์

ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต


Ulanla,Ukulele Story,ครบเรื่องอูคูเลเล่,Ukulele Bag,กระเป๋าอูคูเลเล่ สวยๆ แนวๆ น่ารักๆ , อุปกรณ์ดนตรี , เรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีกระเป๋าอูคูเลเล่ , Ukulele Bag Design , Ukulele Accessories Ulanla , Ukulele Story , ครบเรื่องอูคูเลเล่ ,Ukulele Bag , กระเป๋าอูคูเลเล่ , กระเป๋าสวยๆ , กระเป๋าแนวๆ , กระเป๋าน่ารักๆ

     ,Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จากประชาชาติธุรกิจ

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จาก โพสต์ทูเดย์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จากสำนักข่าวอิสรา

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จากไทยโพสต์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จาก คมชัดลึกออนไลน์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จาก มติชนออนไลน์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จาก เดลินิวส์ออนไลน์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จาก ข่าวสดออนไลน์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก
จาก ไทยรัฐออนไลน์

Ulanla,กระเป๋าอูคูเลเล่,Ukulele Bag,Ukulele Accessories,Uke,Ukulele Bag,กระเป๋าสวย,กระเป๋าแนว,กระเป๋าน่ารัก

Tags : รู้จัก เพลงปลุกใจ หน้าจอ หลังรัฐประหาร

view