สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธุรกิจสายการบิน กับงาน HR (จบ)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย อริยะ ฝึกฝน ที่ปรึกษาบริหาร บริษัท เฮย์กรุ๊ป

จากตอนที่แล้วผมเล่าว่า การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีคือความแตกต่างของสายการบินต่าง ๆ และในตอนนี้ผมจะอธิบายถึงการแข่งขันทางธุรกิจสายการบิน การออกแบบระบบงานพื้นฐาน และการบริหารทรัพยากรบุคคล

โดยธุรกิจนี้มีส่วนสนับสนุนโดยตรงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาการทำข้อตกลงนโยบายเปิดเสรีทางการบินขยายตัวมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจนี้มีความคล่องตัว ปลอดภัย และเอื้ออำนวยต่อผู้บริโภค แต่ก็ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมาก หากมองในมุมของสายการบิน

การแข่งขันที่รุนแรงทำให้เกิดการแบ่งระดับของการบริการ เพื่อสร้างทางเลือกที่ชัดเจนให้กับผู้บริโภค โดยเกิดสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Carriers : LCC) ซึ่งตรงข้ามกับสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service Carriers : FSC) ซึ่งต่อมานั้นมีการแบ่งระดับการบริการให้ถี่ยิ่งขึ้น เช่น สายการบินราคาประหยัด (Budget Airline) สายการบินกึ่งพรีเมี่ยม (Light Premium) เป็นต้น

นอกจากนั้น จากการแข่งขันยังพบอีกว่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ราคาตั๋วเครื่องบินลดลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับค่าเงินตามอัตราเงินเฟ้อ และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การเติบโตของธุรกิจนี้ นอกจากจะขึ้นอยู่กับการเปิดเส้นทางบินใหม่ ๆ การออกแคมเปญเพื่อแย่งชิงลูกค้า ยังขึ้นอยู่กับการบริหารต้นทุนอย่างเข้มงวดด้วย

จากการวิเคราะห์ของเฮย์กรุ๊ป พบว่าต้นทุนรวมต่อหน่วยที่นั่งกิโลเมตร (ASK) ของสายการบินในประเทศและภูมิภาคมีต้นทุนต่างกันเกือบ 3 เท่า ดังภาพที่ 1



ในกรณีของ Air Asia มีการบริหารต้นทุน 4 ด้านคือ ทรัพยากรบุคคล, เครื่องบินและน้ำมัน, ระบบงานพื้นฐาน รวมทั้งผลิตภัณฑ์และจัดจำหน่ายต่าง ๆ อย่างเข้มงวดตามภาพที่ 2 ที่จะทำให้มีต้นทุนรวมต่อหน่วยที่นั่งกิโลเมตรต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

กลยุทธ์การลดต้นทุนต่อหน่วยของสายการบินต้นทุนต่ำแบ่งออกเป็น2 ด้าน คือ การบริหารลดต้นทุนสินทรัพย์ และการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์ของบริษัทเฮย์กรุ๊ปพบว่า การบริหารต้นทุนสินทรัพย์ที่สายการบินต้นทุนต่ำนำมาใช้มีหลักการง่าย ๆ 3 ข้อ คือ ซื้อให้ถูก, ใช้ให้คุ้ม และซ่อมให้ประหยัด

นอกจากนั้น ยังเป็นการดักความต้องการล่วงหน้าของลูกค้า ปิดทางคู่แข่งอื่น และสร้างจุดเด่นทางการตลาดอีกด้วย และเพื่อให้ราคาต่ำสุดจึงพยายามลดระยะเวลาการประกอบลง โดยการออกแบบห้องโดยสารที่เน้นแบบที่เรียบง่ายที่สุด ตกแต่งน้อย เน้นใช้งานทนทาน มีชั้นที่นั่งแบบเดียวทั้งลำ ลดพื้นที่ส่วนที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อให้มีพื้นที่นั่งมากที่สุด

ซึ่งใช้เวลาประกอบรวดเร็ว ซ่อมบำรุงง่าย แตกต่างจากสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบที่เน้นการสร้างความแตกต่างทางการตลาดเป็นจุดแข่งขัน จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ เบาะนุ่มสบายหรูหรา ซึ่งใช้ระยะเวลาการประกอบนานภายใต้ต้นทุนที่สูงกว่า

สำหรับการวางแผนการบินของสายการบินต้นทุนต่ำ จะกำหนดอัตราการใช้งานให้เครื่องบินจอดนิ่ง ๆ บนพื้นดินสั้นที่สุด โดยเลือกทำการบินขึ้นหรือลงจอดในสนามบินที่เล็กกว่า มีความคับคั่งของจราจรทางอากาศน้อย เพื่อให้ประหยัดเวลาในการบินขึ้นหรือลง ไม่ต้องเสียเวลาคอย และค่าบริการก็ต่ำกว่าด้วย

หลังจากที่เครื่องลงจอดแล้ว ลูกเรือจะทำการเก็บขยะหรือสิ่งของต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ซึ่งเบาะและการจัดเรียงที่นั่งของสายการบินต้นทุนต่ำจะเน้นเรียบง่าย บางสายการบินเก้าอี้ด้านหน้าจะไม่มีกระเป๋าใส่ของหรือนิตยสาร มีเพียงช่องเล็ก ๆ สำหรับเสียบคู่มือความปลอดภัยตามมาตรฐานการบินเท่านั้น จึงทำให้การเก็บทำความสะอาดใช้เวลาสั้นลงมาก

สำหรับนักบินของสายการบินต้นทุนต่ำ หลังเครื่องจอดจะเตรียมการสำหรับเที่ยวบินถัดไปทันที จึงมีเวลาเหลือระหว่างเที่ยวบินไม่มากนัก แต่ตามกฎการบินจะกำหนดให้นักบินมีชั่วโมงบินต่อปีไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงบิน หรือประมาณ 80 กว่าชั่วโมงบินต่อเดือน เพื่อป้องกันความล้า

สายการบินต้นทุนต่ำจึงจัดกะของนักบินให้มีช่วงระยะเวลาบินต่อช่วงระยะเวลาพักแบบ3x4 (บิน 3 วันพัก 4 วัน) ในขณะที่สายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบบางสายอาจจัดแบบ 5x2 ข้อแตกต่างคือ แบบ 3x4 ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนนักบินระหว่างเที่ยวบิน สามารถย่นระยะเวลาการเตรียมการลงได้

ในขณะที่แบบ 5x2 นักบินจะบินต่อวันไม่มากนัก แต่ระยะเวลาพักน้อยกว่า อีกส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยให้ระยะเวลาในการอยู่บนพื้นดินน้อยลงคือ กระบวนการนำผู้โดยสารขึ้นเครื่อง ซึ่งพบว่าการไม่ระบุเลขที่นั่ง นอกจากประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการและลงทุนระบบแล้ว ยังลดระยะเวลาการนำผู้โดยสารขึ้นเครื่องสั้นลง

ในขณะที่สายการบินที่มีการแจกเลขที่นั่งผู้โดยสารแต่ละคนจำเป็นต้อง ใช้ระยะเวลาค้นหาที่นั่งของตัวเองนานกว่าตัวแปรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ทำให้ ระยะเวลาสั้นลงคือ กระบวนการบริการภาคพื้น ซึ่งใช้ระยะเวลาสั้นลงหากมีสัมภาระที่ต้องโหลดใต้ท้องเครื่องลดลง

ในส่วนของการซ่อมบำรุงให้มีประสิทธิภาพถือเป็นปัจจัยหลัก กระทบโดยตรงกับธุรกิจทั้งในด้านความปลอดภัย อัตราการใช้งาน และต้นทุน

ซึ่งต้นทุนการซ่อมบำรุงถือเป็นต้นทุนหลักของการดำเนินงาน เพราะหากตัดต้นทุนด้านน้ำมันออกแล้ว ต้นทุนการซ่อมบำรุงและต้นทุนพนักงานถือเป็นต้นทุนการดำเนินงานหลักของธุรกิจการบินตามมา

โดยมีหน่วยงานของรัฐช่วยควบคุมกำกับดูแลอีกทางหนึ่ง สาเหตุหลักมาจากเรื่องความปลอดภัยในการบิน ซึ่งทำให้มั่นใจว่าทุกสายการบินไม่ว่าสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ หรือสายการบินต้นทุนต่ำ จะมีมาตรฐานความปลอดภัยแบบเดียวกัน หากปฏิบัติตามมาตรฐานของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด



เนื่อง จากความพยายามในการทำให้เครื่องบินพร้อมใช้งานมากที่สุดการซ่อมบำรุงที่มี ประสิทธิภาพเริ่มต้นจากการกำหนดอายุเฉลี่ยของเครื่องบินให้ลดลง อายุเฉลี่ยของเครื่องบินที่สายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบจะอยู่ที่ประมาณ 12-15 ปี

ในขณะที่สายการบินต้นทุนต่ำจะอยู่ที่ประมาณ 5-9 ปี โดยต่ำสุดอยู่ที่ 2.3 ปี เพราะซื้อถูก ใช้มาก ก็ยิ่งถึงจุดคุ้มทุนเร็ว ต่อมาคือการสร้างความเรียบง่าย โดยทำให้แต่ละเครื่องเหมือนกันมากที่สุด ซึ่งจะทำให้ซ่อมบำรุงได้เร็ว ประหยัด บริหารอะไหล่ได้ง่าย

ในขณะที่สายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบจะมีข้อจำกัดกว่า เพราะอายุเครื่องบินมากกว่า มาจากหลายผู้ผลิต หลายรุ่น หลายเครื่องยนต์ อุปกรณ์ตกแต่งแตกต่างกัน จึงทำให้การวางแผนการซ่อมบำรุงยุ่งยากกว่าหลายเท่า

จากรายละเอียด ข้อมูลของเฮย์กรุ๊ปข้างต้นพบว่าสิ่งที่เป็นข้อแตกต่างหลักระหว่างสายการบิน ที่ให้บริการเต็มรูปแบบกับสายการบินต้นทุนต่ำไม่ได้อยู่ที่เครื่องบินแต่ อยู่ที่แนวคิดของการบริหารจัดการธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความแตกต่างให้แต่ละสายการบินในการแข่งขันทาง ธุรกิจที่รุนแรงมากขึ้นเช่นทุกวันนี้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ธุรกิจสายการบิน งาน HR

view