สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้จัก อีโบลา ก่อนจะแตกตื่น

รู้จัก "อีโบลา" ก่อนจะแตกตื่น

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ พบแพทย์จุฬาฯ

โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รพ.จุฬาลงกรณ์



ารระบาดของ "อีโบลา" ในแอฟริกาตะวันตก ที่ยังไม่มีทีท่าจะควบคุมโรคได้ นับเป็นการระบาดของอีโบลาที่ใหญ่ที่สุด นับจนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 มีผู้ป่วยในการระบาดครั้งนี้ 779 ราย เสียชีวิต 481 ราย ใน 3 ประเทศ คือ กินี สาธารณรัฐลิเบอเรีย และสาธารณรัฐเซียร์ราลิโอน โดยการระบาดเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2557 เป็นต้นมา


ภาพ-AFP

อีโบลาเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มฟิโลไวรัส พบครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทวีปแอฟริกาใกล้แม่น้ำอีโบลา จึงตั้งชื่อโรคดังกล่าวตั้งแต่ปี 2519 และเกิดมีการระบาดมากกว่า 20 ครั้ง ในแอฟริกา สันนิฐานว่าอาจจะมีค้างคาวเป็นตัวนํา และยังพบโรคดังกล่าวในสัตว์ตระกูลลิง (nonhuman primates) ในแอฟริกา แต่ติดต่อมาสู่คนด้วยวิธีใดยังไม่ทราบแน่ชัด สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้โดยการสัมผัสเชื้อโดยตรง จากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสัมผัสเชื้อจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเพณี วัฒนธรรม ของชาวแอฟริกานั้น พิธีกรรมศพ โดยการสัมผัส ล้างศพ เท่ากับแพร่กระจายโรคทําให้เกิดการติดต่อและระบาดได้

อีโบลา มีอาการคล้ายไข้เลือดออก มีการรั่วไหลของเลือดและน้ำเหลืองออกจากหลอดเลือดเหมือนไข้เลือกออก โดยมีระยะเวลาฟักตัว 2-21 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การอักเสบของตับ ไต

การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เลือดออกภายใน เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 60

ปัจจุบันไม่มียาและวัคซีนจําเพาะและป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ดูแลสุขอนามัย ความสะอาด สุขลักษณะ

แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีประกาศในการห้ามเดินทางเข้าออกในทวีปแอฟริกา แต่หากมีความจําเป็นต้องเดินทางเข้าออกในพื้นที่การระบาด ผู้เดินทางควรสังเกตและเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ควรรักษาสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ

เนื่องจากเชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อได้ทางสารคัดหลั่ง เลือด และการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และหากมีอาการเจ็บป่วยหลังจากเดินทางเข้าออกในพื้นที่ระบาด ต้องรีบพบแพทย์และแจ้งให้ทราบ เพื่อป้องกันการระบาดสู่คนใกล้ชิด

ผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ระบาดต้องมีการสวมใส่เครื่องป้องกันและปฏิบัติตามระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัดนอกจากนี้ การรับมือและป้องกันการระบาดของเชื้อต่างๆ ที่ดีที่สุด คือ การให้องค์ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อไม่ให้เกิดความตระหนก และรับมือต่อสู้กับโรคระบาดอย่างมีสติ


ที่มา นสพ.มติชนรายวัน


รู้ไหมว่า...เชื้ออีโบลาทำอะไรในร่างกายคุณ?

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ช่วงนี้ข่าวการระบาดของเชื้ออีโบลา ที่แม้แต่แพทย์ใหญู่ผู้เป็นกำลังสำคัญในการรักษาโรคนี้ก็เสียชีวิตด้วยโรค ดังกล่าว ทำให้หลายคนรู้สึกวิตกต่อโรคระบาดดังกล่าว เลยเถิดไปถึงภาพซอมบี้ที่ลุกขึ้นมาเดินอาละวาดทั่วเมือง ขณะที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันแต่เรามาทำความเข้าใจว่า ไวรัสจากสัตว์ป่าดังกล่าวทำอันตรายอะไรแก่ร่างกายเราบ้าง
       
       ข้อมูลเกี่ยวกับการโจมตีร่างกายของไวรัสอีโบลานี้ ดร.ดิเรค กาเธอร์เรอร์ (Derek Gatherer) นักชีวสารสนเทศและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแลนแคสเตอร์ (Lancaster University) อังกฤษ ได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เดอะคอนเวอร์เซชัน โดยอธิบายว่า เบื้องต้นผู้ป่วยตื่นมารู้สึกไม่ค่อยสบาย ไม่อยากอาหาร ปวดหัว และคอมีรสเปรี้ยว ซึ่งอาจทำให้เราเข้าใจว่ามีอาการไข้เล็กน้อย ทว่า เราอาจไม่รู้ตัวว่าไวรัสได้เข้าจู่โจมระบบภูมคุ้มกัน โดยทำลายเซลล์ที่-ลิมโฟไซต์ (T-lymphocyte) หรือ เซลล์ที ซึ่งเป็นเซลล์เดียวกับที่เชื้อไวรัสเอชไอวีที่ก่อโรคเอดส์จู่โจม แต่เชื้ออีโบลาจะเข้าทำลายอย่างรุนแรงกว่า
       
       อย่างไรก็ดี ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเชื้ออีโบลาจู่โจมร่างกายที่ไหนหรือเมื่อไร แต่เชื้อสามารถแสดงอาการได้นับแต่รับเชื้อได้ตั้งแต่วันแรกถึง 21 วัน แต่สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อ โดยเฉพาะใครก็ตามที่สัมผัสกับผู้อยู่ในระยะแพร่เชื้อล้วนตกอยู่ในอันตราย โดยข้อมูลที่มีในปัจจุบันพบว่ากว่า 1,500 คนที่ได้รับเชื้อนั้นเสียชีวิตไปแล้วถึง 2 ใน 3
       
       หลังจากมีอาการไข้อ่อนๆ อีก 2-3 วัน ดร.กาเธอร์เรอร์ระบุว่า ผู้ป่วยจะเริ่มทรุดลง ปวดไปทั้งร่างกาย มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อาการไข้รุนแรงขึ้น และเริ่มอาเจียนและพัฒนาไปเป็นท้องร่วง หลังจากทุกข์ทรมานอยู่ 2 วันถึงสัปดาห์ ผู้ป่วยก็จะถึงขั้นวิกฤต ตอนนี้อาการอาจจะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจเข้าสู่ความน่าสะพรึงของ “พายุไซโตไคน์” (cytokine storm) ซึ่งเป็นความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกทำลาย ซึ่งผู้ป่วยจะถูกผลักเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคไวรัสอีโบลา คือมีอาการไข้เลือดออก
       
       ตามคำอธิบายของผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษระบุว่า พายุไซโตไคน์จะปลดปล่อยโมเลกุลก่อการอักเสบเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด เมื่อถึงจุดดังกล่าวระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้ และอวัยวะทุกส่วนในร่างกายจะถูกจู่โจม หลอดเลือดฝอยแตกทั่วร่างกายทำให้ผู้ป่วยเลือดออกจนตาย ตาขาวก็เปลี่ยนเป็นสีแดง อาเจียน ท้องเสีย และมีเลือดโป่งพองอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นระยะรุนแรงสุดของการติดเชื้อไวรัสอีโบลา และเป็นระยะที่เชื้อเริ่มหาเหยื่อใหม่
       
       อย่างไรก็ดี เรายังมีโอกาสรอดโดย ดร.กาเธอร์เรอร์ระบุว่าการบำบัดด้วยการให้น้ำจะช่วยให้เราแข็งแรงพอที่จะ ต่อสู้กับระยะติดเชื้อเบื้องต้น และป้องกันเราจากภาวะไข้เลือดออก ซึ่งมีงานวิจัยที่พยายามทำความเข้าใจว่าทำไมผู้ป่วยบางคนถึงไม่เข้าสู่ระยะ สุดท้ายของโรค และคำตอบที่อาจเป็นไปได้คือ เซลล์ทีที่รอดจากการถูกจู่โจมในระยะแรกยังคงรักษาระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งแม้จะเพิ่งเริ่มมีอาการไม่สบายก็อาจบอกได้แล้วผู้ป่วยจะอยู่หรือไป หรือแม้จะรู้สึกดีขึ้นแล้ว แต่ผู้ป่วยยังสามารถแพร่เชื้อได้ต่อ 40 วันหลังจากฟื้นไข้ รวมถึงติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์
       
       สำหรับการระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกนี้เป็นการระบาดครั้งใหญ่ ที่สุดนับแต่มีการค้นพบโรคดังกล่าวเมื่อปี 1976 โดยตอนนี้พบการระบาดแล้วในประเทศกินี เซียร์ราลีโอนและไลบีเรีย ส่วนต้นตอของโรคนั้น อาจารย์จากแลนแคสเตอร์เผยว่า เคยมีทฤษฎีที่เชื่อกันอยู่ช่วงหนึ่งว่า เชื้อไวรัสอีโบลาเป็นสาเหตุของกาฬโรคที่ระบาดเมื่อศตวรรษที่ 14 แต่จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอพบว่าไม่ใช่
       
       แม้จะเป็นที่กังวลสำหรับหลายคน แต่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนว่าโรคดังกล่าวไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ โดยลักษณะการติดเชื้ออีโบลานั้นเหมือนการติดต่อของโรคเอดส์และไวรัสตับ อักเสบ คือ ติดต่อผ่านสารคดหลัง และไม่พบการติดต่อจากทางเดินหายใจ ทำให้การแพร่ระบาดเป็นไปได้ช้ากว่ากลุ่มโรคติดต่อทางเดินหายใจ อัตราการติดเชื้อจึงเกิดอย่างช้าๆ แต่ที่ควบคุมการระบาดยังไม่ได้ เพราะวัฒนธรรมและลักษณะประเทศของแอฟริกา ที่ไม่มีน้ำสะอาดเพียงพอ อุปกรณ์ป้องกัน หรือการฝังศพที่ชาวบ้านยังใช้มือเปล่า ทำให้โดนสารคัดหลั่งจากศพจนติดเชื้อและควบคุมได้ยาก
       
       “ระยะฟักตัวของ อีโบลาจะไม่เกิน 7 วัน แต่องค์การอนามัยโลก ยังระบุว่าประมาณ 2 - 21 วัน โดยมีอัตราการตายสูงร้อยละ 50 - 90 ทั้งนี้ จากการติดตามพบว่า มีประชาชนจากแถบประเทศที่เกิดการระบาดเดินทางเข้ามาประมาณ 100 รายต่อเดือน แต่อาศัยอยู่ไม่นานนัก ซึ่ง สธ. มีระบบเฝ้าระวังการระบาด โดยจะให้ประชาชนที่เดินทางมาจากประเทศต้องสงสัยรายงานตัวและลงชื่อ ที่อยู่ เพื่อติดตามอาการเจ็บป่วย จะได้เฝ้าระวังโรคทัน ส่วนคนไทยที่จะเดินทางไป 3 ประเทศดังกล่าว หากไม่มีความจำเป็นก็ยังไม่ควรเดินทางไป และหากจำเป็นต้องเดินทางไป ต้องรายงานตัวที่ประเทศเซเนกัล เพราะมีสถานกงสุลอยู่ ฉะนั้น มาตรการขณะนี้ถือว่าเพียงพอ” นพ.โอภาสระบุ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รู้จัก อีโบลา  ก่อนจะแตกตื่น

view