สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คิดสุด ๆ ไปเลย

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์

ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับนวัตกรรม (Innovation) อาจจะดูแตกต่างกันในความหมาย หรือการนำไปประยุกต์ใช้

เพราะอย่างที่ทุกคนทราบดี ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของกระบวนการคิด เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานออกมา หากแต่นวัตกรรมเป็นกระบวนการนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิด ประโยชน์ ทั้งยังต้องสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย

ผลเช่นนี้ จึงทำให้เห็นว่าประเทศที่พัฒนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือเอเชียบางประเทศ จึงมีความโดดเด่นในรื่องของการนำความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดจนสร้างเป็นนวัต กรรม

ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ

ที่ ผมยกเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังเพราะอยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อ่าน เนื่องจากไม่นานผ่านมา ผมมีโอกาสไปสัมมนา และดูงานเกี่ยวกับการเพิ่มผลิตภาพในธุรกิจการเกษตรของประเทศญี่ปุ่น

โดย การสนับสนุนจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทย และองค์กรเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (Asian Productivity Organization-APO) ประเทศญี่ปุ่น

APO คือองค์การระหว่างประเทศของรัฐบาลในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1961 เป็นองค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่แสวงหาผลกำไร และไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ หรือความแตกต่าง

มี วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิต และเร่งรัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยรับบทบาทเป็นองค์กรผู้ให้คำปรึกษา และรวบรวมข่าวสารการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต

ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 20 ประเทศ โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศจีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เนปาล, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์ และไทย

ภาย หลังมีอีก 10 ประเทศเข้าร่วมสมทบคือ ฮ่องกง, อิหร่าน, เวียดนาม, ศรีลังกา, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บังกลาเทศ, มาเลเซีย, ฟิจิ, มองโกเลีย, ลาว และกัมพูชา

สิ่งที่ APO ญี่ปุ่นต้องการให้ผม และนักข่าวอีก 13 ประเทศทราบ คือกระบวนการเพิ่มผลิตภาพธุรกิจการเกษตรในทุกภาคส่วน

ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

อาทิ ธุรกิจการเกษตรเกี่ยวกับข้าว, กระเทียม, แอปเปิล, องุ่น, ชา และธุรกิจเกี่ยวกับการประมงในรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่เพียงจะทำให้ผม และนักข่าวอีก 13 ประเทศเห็นกระบวนการผลิตทั้งหมด

หากยังทำให้ทราบ ด้วยว่า เกษตรกรชาวญี่ปุ่นเขาให้ความสำคัญกับ Creativity และ Innovation มาก ๆ เพราะเขาสามารถต่อยอดจาก Innovative Product ด้วยการ Create Value จนทำให้หลายโปรดักต์ที่ผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์ กลายเป็นสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพวกเขาอย่างมากมาย

เพราะ ฉะนั้น ตรงนี้จึงเป็นคำตอบของ Create Value และ Innovative Product ที่ไม่หยุดอยู่แค่ข้าวสาร, กระเทียมแห้ง, แอปเปิลสด, องุ่นสด, ชาเขียวเท่านั้น

หากยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันให้ครอบคลุมในทุกเซ็กเมนต์ที่ตลาดต้องการอีกด้วย

ถามว่าเกษตรกรไทยทำได้ไหม ?

ทำได้ และเราก็ทำอยู่

แต่คำถามเกิดขึ้นว่าเมื่อทำได้ แล้วทำไมเราถึงไม่พัฒนาเป็นเหมือนอย่างเขา ?

คำตอบคือเราคิดไม่สุด

ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลในอดีตผ่านมาพยายามพารัฐมนตรี เกษตรกรผู้เกี่ยวข้องไปดู

ศูนย์โอท็อปที่ประเทศญี่ปุ่น แต่พอกลับมาก็อย่างที่พวกเราเห็นกันตามเมืองทองธานี หรือศูนย์แสดงสินค้าทั่วไป

ก็จะพบสินค้าแบบเดิม ๆ

ไม่ค่อยมีอะไรแปลกใหม่

ยิ่ง เฉพาะการดีไซน์ ออกแบบแพ็กเกจจิ้งด้วยแล้ว ไม่ต้องพูดถึง เราไม่มีทางสู้ญี่ปุ่นได้เลย ทั้ง ๆ ที่สินค้า หรือขนมต่าง ๆ ไม่อร่อยเหมือนบ้านเรา

แต่อย่างที่ผมบอกคือ เราคิดไม่สุด

เมื่อคิดไม่สุด

สินค้าที่ออกมาจึงเหมือนเดิม

ผม ถึงมีความเชื่อว่า คนญี่ปุ่นนอกจากเขาจะมีความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในความคิดของตัวเอง เขายังมีอีกอย่างเพิ่มขึ้นคือ กล้าลองผิด ลองถูก

ผิดก็ทำใหม่

ถูกก็พัฒนาต่อไป

จนทำให้ผม และนักข่าวอีก 13 ประเทศต้องไปดู ซึ่งดูแล้ว ผมก็เกิดความคิดว่า...เมื่อไหร่หนอ เกษตรกรบ้านเราจะได้ลืมตาอ้าปากเสียที

เพราะเกษตรกรบ้านเขานอกจากจะมีเครื่องมือไฮเทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจการเกษตรของเขาแล้ว

บางบ้านยังใช้รถยนต์ระดับไฮบริดอีกด้วย

ตรงนี้ไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ที่ผมอยากให้มองถึงความแตกต่างหรอกครับ

แต่ อยากชี้ให้เห็นว่า ถ้าเราใช้กระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ เราจะสามารถสร้างนวัตกรรมในการผลิต และการพัฒนาสินค้าออกมาอย่างมีมูลค่าเพิ่ม

ซึ่งเหมือนกับสินค้าของประเทศญี่ปุ่นทุกชนิด

ทำไมถึงราคาสูง ?

ก็เพราะเขาคิดสุด ๆ ไปเลยนั่นเอง ?


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คิดสุด ๆ ไปเลย

view