สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ท่าทีของ FED ในปี2558

ท่าทีของ FED ในปี2558

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ในวันที่ 4 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ECB ได้ surprise ตลาดด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย

Refinancing rate จาก 0.10% เหลือ 0.05% และ Deposit rate จาก 0.30% ลงเหลือ -0.20 % บนความกังวลเรื่อง การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และ ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อ (medium-term inflation outlook) ที่อ่อนค่าลง การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในครั้งนี้ มาพร้อมกับ Stimulus plan ในรูปแบบของ Asset purchase ที่จะช่วยเรื่องสภาพคล่องในระบบ และทำให้อัตราเงินเฟ้อซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำมาก (0.6-0.7%) ไม่ไหลลงไปกว่านี้ อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ Economist คาดการณ์ไว้ทั้งสิ้น และยังได้รับการคัดค้าจากธนาคารกลางของประเทศเยอรมัน

ในด้านการตอบรับของตลาดนั้น EUR ร่วงทันที -1.6% จาก 1.315 เป็น 1.294 ซึ่งเป็น 14-month low เลยทีเดียว ในขณะเดียวกัน Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น +1.1% และ UK FTSE 100 ปิดที่ All-time high ที่ 6904.86จุด

ไม่กี่สัปดาห์ให้หลัง ตลาด FX เกิดความผันผวนอีกครั้งเมื่อ FED chairman ได้แถลงในการประชุม FOMC ในวันที่ 17 ก.ย. ทำให้ตลาดมีการคาดการณ์ว่าการปรับขึ้น Fed Fund Rate จะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่เคยคาดคิดกันไว้ หลายสำนักปรับประมาณการณ์ใหม่เป็นภายในไตรมาส 2 ของปี 2558 และจบปี 2558 ที่ 1.35% Yield ของ UST 10 ปี ได้กระชากขึ้น +9bps จาก 2.56% เป็น 2.65% เราไม่ค่อยได้เห็นการปรับตัวขึ้น intraday แรงๆ แบบนี้มาระยะหนึ่งแล้วนะครับ

ทางฝั่งตลาด FX นั้น ตลาดกลายเป็น “Bullish USD against All (currencies)” ตอบรับแถลงการณ์ FOMC ด้วยการที่ EUR อ่อนค่าลงจาก 1.298 ลงสู่ 1.285 ในวันเดียวกัน ในขณะที่ JPY ได้อ่อนค่าลงเช่นกันจาก 107.07 เป็น 108.38 ต่อดอลล่าร์สหรัฐ และที่ร่วงแรงอย่างที่หา Floor ไม่เจอ คือ ราคาทอง USD 1,234.69 แตะ 1,221.41 ภายใน 3 วัน

ตัวเลข GDP สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2014 ของกลุ่มศรษฐกิจยุโรป ซึ่งออกมาที่ +0.2% YoY นั้น สร้างความกังวลให้แก่ Mr.Draghi อยู่แล้ว แต่การที่ประเทศใหญ่อย่างเยอรมันเริ่มเกิดการถดถอยใน GDP สะท้อนความจริงที่ว่า Region นี้ เริ่มสูญเสีย momentum อย่างชัดเจน แต่เยอรมันกลับเป็นประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในครั้งนี้ เพราะเชื่อว่าโปรแกรม LTRO (Long-term Refinancing Operation) ที่ ECB จัดหาให้แก่สถาบันการเงินใน Eurozone นั้น กำลังเริ่มส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจใน Eurozone 

นาย Mario Draghi ประธานธนาคารกลางยุโรปแถลงต่อฝ่ายนิติบัญญัติของยุโรปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “อัตราการว่างงานซึ่งอยู่ในระดับสูงเกินไป และการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อในระดับต่า น่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจและความเสี่ยงก็ยังคงเป็นไปในทางลบมากกว่า” 

ปัจจัยสำคัญที่ ECB ตัดสินใจประกาศ Stimulus package ในรูปแบบของ Asset purchase ในรูปแบบของ QE ก็คือ Expected inflation ที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งการที่ inflation อยู่ในระดับที่ต่ำเกินไปย่อมสะท้อนว่า กำลังซื้อในประเทศเริ่มต่ำลง การตัดสินใจ Cut rate และทำ QE นั้น จะทำให้ EUR อ่อนค่าลงในทันที และการ import น้ำมันเข้าสู่กลุ่มเศรษฐกิจ Eurozone จะช่วยให้ inflation ขยับขึ้นได้ เมื่อพิจารณา Core inflation ซึ่งไม่นำราคา Commodities มาคำนวณพบว่า Core inflation ของ Eurozone อยู่ที่ 1% ยังต่ำกว่าของ US และ UK ในระดับ 2% การบริหารจัดการBalance Sheet ของ ECB ในเชิงรุกมากขึ้น ผ่าน QE น่าจะช่วยให้ ECB ไปถึงเป้าหมายเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และช่วยให้สินเชื่อของทั้งระบบโตขึ้น

การเข้าซื้อ Covered-bond และ Asset-backed securities หรือ QE นั้น เพื่อขยายขนาด Balance sheet จาก EUR 2 Trillion ไปยัง 2.7 Trillion ECB เชื่อว่าการเข้าซื้อ Asset-backed securities และ Covered bonds ในสกุล EUR จะช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องและสนับสนุนการเติบโตของสินเชื่อธนาคารใน Eurozone ได้

แต่หากมองในมุมของนักวิเคราะห์แล้ว พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นว่า QE program ของ ECB ครั้งนี้จะแก้ปัญหาได้ตรงจุดนัก เพราะดูเหมือนว่า Program นี้ไม่ได้รวมถึงการเข้าซื้อ Government bond ดังเช่นที่ สหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น ดำเนินการกันไปแล้วก่อนหน้านี้ การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลนั้นจะช่วยกดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวไม่ให้สูงเกินไป และสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และหากมองย้อนไป 2-3 ปี พบว่า ECB ได้เคยประกาศเข้าซื้อ Covered-bond ซึ่งได้รับการอนุมัติในปี 2011 ก็ไม่ได้รับความสนใจจากสถาบันการเงินมากนัก 

ล่าสุด ความสนใจหันไปสู่สหรัฐฯ หลังจากการประชุม FOMC ล่าสุดที่มีขึ้นในวันที่ 17 ก.ย. โดยตัวเลขประมาณการล่าสุดของ Fed Fund Rate ณ สิ้นปี 2558 อยู่ที่ระดับ 1.35% ในขณะที่ Fed Fund Rate ในปัจจุบันอยู่ที่ 0.25% นั่นหมายความว่า หาก FED ต้องการขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% เราจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 4-5 ครั้ง จากการประชุม 8 ครั้งในปีหน้า นั้นหมายถึง FED จะต้องมีการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกเร็วกว่าที่ตลาดคาด หรือ FED จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.5% ในบางครั้ง 

เป็นที่แน่ชัดว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและสหรัฐจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในปี 2558 และน่าจะเป็นปีที่ทั้ง FED และ ธปท. ต่างเริ่มปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3-4ปี ที่ผ่านมา ประเทศที่เข้าสู่ Tightening mode (ปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น) เร็วกว่า และแรงกว่า ย่อมดึงดูด Capital inflows เข้าประเทศอย่างแน่นอน แต่ต้องไม่ลืมว่า หากดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตและจะทำให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลงด้วย ซึ่งจะทำให้ FED บรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ยากขึ้น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ท่าที FED ปี2558

view