สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แนวคิดเรื่องสังคมดิจิทัล โดย วิชัย เบญจรงคกุล

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์เรื่องเล่าซีอีโอ

ใน บริบทของนโยบายดิจิทัลอิโคโนมีแอนด์โซไซตี้ (Digital Economy & Society) มีการกล่าวนำถึงการนำเทคโนโลยีไอซีทีมาพัฒนาด้านสังคม อาทิ การสาธารณสุข การศึกษา และด้านอื่น ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งส่วนมากเน้นด้านบริการที่ภาครัฐจะต้องจัดให้แก่ประชาชน อันเป็นเป้าหมายที่ถือว่าน่าสนใจ และน่ายินดีอย่างยิ่งที่รัฐบาลชุดปัจจุบันมีการหยิบยกเรื่องการบริการของภาค รัฐที่จะต้องทำให้แก่ประชาชนมาเป็นเป้าหมายในการดำเนินการเพราะที่ผ่านๆ มาจะมีแต่การโฆษณาว่า รัฐจะช่วยเรื่องความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเฉพาะจากเรื่องการเพิ่มรายได้ หรือจัดให้มีเงินอัดฉีดต่าง ๆ แต่น้อยครั้งหรือแทบจำไม่ได้เลยว่ามีการกล่าวถึงการที่รัฐจะปรับปรุงบริการ ต่าง ๆ แก่ประชาชนให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง (จริง ๆ)

อันที่จริงประชาชนคนไทยที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยจะต้องได้รับการบริการของรัฐในขั้นพื้นฐานอย่างทัดเทียมกัน...ย้ำ... อย่างทัดเทียมกันแต่ในความเป็นจริงเราต้องยอมรับว่ารัฐสามารถยังให้บริการ แก่ประชาชนไม่ทัดเทียมกัน ด้วยปัญหาและอุปสรรคหลาย ๆ อย่าง แต่รัฐต้องจัดการเรื่องนี้โดยตั้งเป็นเป้าหมายหลักเป้าหมายหนึ่งของนโยบาย รัฐบาล


โดยในครั้งนี้ถือว่ารัฐบาลจะต้องมีความ "ตั้งใจ" ที่จะพยายามจัดให้มีบริการต่าง ๆ ของภาครัฐให้ถึงประชาชนทุกคน หรืออย่างน้อยส่วนใหญ่มากกว่า 95% โดยจะอาศัยเทคโนโลยีมาช่วย แม้บริการต่าง ๆ จะไม่สามารถถูกบริหารจัดการให้ถึงแก่ประชาชน โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เป็นตัวช่วยก็ตาม (ที่แน่นอน ดีกว่าไม่มีอะไรเลย)

มีการตั้งคำถามว่า ประชาชน (ที่ติดตามนโยบาย Digital Economy & Society) คาดหวังอะไรจากนโยบายนี้ อะไรที่จะเป็นเครื่องมือหรือตัวชี้วัดว่า ประชาชนได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ขอเรียนเสนอแนวคิดว่า สิ่งที่ประชาชนทั่ว ๆ ไปน่าจะตั้งความคาดหวังไว้ อาจจัดเป็นเรื่อง ๆ ดังนี้

1.การที่สามารถเข้าใช้บริการที่รวดเร็วสม่ำเสมอ (ไม่ต้องนั่งรอคิวยาว หรือไม่แน่ไม่นอนแบบทุกวันนี้)

2.การที่สามารถรู้และเข้าใจขั้นตอนการให้และการรับบริการจากภาครัฐอย่างถูกต้อง(ไม่ต้องวิ่งเลี้ยวหาโต๊ะต่างๆ ที่โยนไปโยนมา)

3.ความโปร่งใสในกระบวนการ (ไม่ต้องจ่ายตามโต๊ะเพื่อขอใช้บริการ)

4.ความประหยัดในการรับบริการ (ไม่ต้องเดินทางไกลไปยังจุดรับบริการที่มีน้อย และนำสำเนาเอกสารต่าง ๆ มากมาย)

5.ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น (สามารถศึกษาขั้นตอนและรายละเอียดได้เอง ไม่ต้องรอข้อ 1-ข้อ 4)

เป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงบริการที่ทุกวันนี้ทางราชการใช้ระบบเก่าและมีประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนจะค่อยๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยทำให้งานต่าง ๆ ให้เดินไปได้ด้วยความมีมาตรฐาน และง่ายสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ครับ...ง่ายและสะดวกผู้ใช้ ซึ่งถือว่า "ต้อง" เป็นจุดขาย/จุดเด่น/จุดสำคัญ ในการปฏิรูปการให้บริการของงานภาครัฐในครั้งนี้

เราต้องยอมรับว่า ประชาชนตลอดจนข้าราชการจำนวนมากยังมีความไม่เข้าใจการใช้เทคโนโลยี ดังนั้นในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่จะมาใช้ช่วยทำหน้าที่ให้ดีขึ้น ต้องคำนึงว่าจะสามารถใช้ได้อย่างง่าย ๆ ด้วย เทคโนโลยีเหล่านั้นจึงจะถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ดี หากเราคิดว่าจะทำของดีแต่ไม่มีใครรู้เรื่องในการใช้หรือไม่สามารถใช้เป็น สิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีก็คงไม่ต่างกับเศษเหล็ก หรือสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ แถมสร้างปัญหาภาระอีกต่างหาก และหลักคิดแบบนี้ต้องใช้ได้กับทุกด้านที่รัฐบาลพยายามใช้เทคโนโลยีมาช่วยทำงานให้ "ทำงานและใช้งานง่ายขึ้น เร็วขึ้น ประหยัดขึ้น และดีขึ้น"

ทั้งนี้ในการพัฒนาและปฏิรูปการให้บริการที่ภาครัฐต้องให้แก่ประชาชนที่ดีขึ้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมที่ดีขึ้น ทำให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น รู้สึกว่ารัฐเอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นอย่างเสมอภาค รัฐบาลและคนข้าราชการต้องมีความมุ่งมั่นแชร์เป้าหมายร่วมกันในการให้บริการที่ดีขึ้น จะทำให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีระหว่างรัฐและประชาชน จะช่วยลดความรู้สึกว่ามีความเหลื่อมล้ำในสังคมของระดับชนชั้นต่าง ๆ เช่น ระหว่างคนในเมืองกับคนในชนบท คนรายได้มากกับน้อย หรือแม้แต่คนที่เป็นผู้พิการหรือคนด้อยโอกาสทางสังคมด้านอื่น ๆ

การกำหนดนโยบายและมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่ประกอบด้วยตัวชี้วัดและกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน จะสร้างความน่าเชื่อถือตลอดจนความไว้วางใจจากประชาชนกับนโยบายดังกล่าวได้อย่างมาก ประชาชนจะเห็นว่ารัฐบาลมีความตั้งใจจริงและมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้ประชาชนจริง ๆ ไม่ใช้เป็นเพียงแค่นโยบายหาเสียงหรือขายโครงการเพื่อซื้อของอย่างเช่นที่ผ่าน ๆ มา การบริการที่ภาครัฐให้แก่ประชาชนและมีปัญหาที่ประชาชนมักประสบปัญหาการรับบริการ

ไม่ ว่าเพราะมีสถานที่ให้บริการจำนวนจำกัดระยะทางไกลจากประชาชนที่ต้องการใช้มี จำนวนพนักงานและข้าราชการจำกัดทำให้การบริการไม่มีประสิทธิภาพล่าช้า การบริการที่ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนขึ้นกับตัวข้าราชการที่บางครั้งไม่เข้าใจ กระบวนการทำงานที่ถูกต้อง หรือพยายามเรียกร้องค่าตอบแทนที่ไม่ควรจากผู้ใช้บริการ ฯลฯ

ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้อาจถือเป็นข้อที่ต้องแก้ไขให้เห็นผลความแตกต่างเมื่อมีการนำเทคโนโลยีที่ง่ายกับการใช้มาให้บริการเพื่อเสริมให้งานต่างๆดีขึ้น และหวังว่าครั้งนี้เราคงได้เห็นการนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แนวคิด สังคมดิจิทัล วิชัย เบญจรงคกุล

view