สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ประเมินผลคนรุ่นใหม่... วัดกันที่ตรงไหน ?

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เอชอาร์ คอร์เนอร์
โดย สุภัทรา เนาว์ถิ่นสุข Strategic People Transformation บริษัทที่ปรึกษาเอพีเอ็ม กรุ๊ป


การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่นับวันจะทวีความรวดเร็ว และส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ ตลอดจนการดำเนินชีวิตของผู้คนเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด และกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายต้องคิดกันต่อไปว่า องค์กรของตนต้องพร้อมจะปรับเปลี่ยนไปอย่างไร จึงจะทันรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และจะบริหารผลการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคล หรือ "ทุนมนุษย์" ที่เป็นตัวจักรสำคัญอย่างไรเพื่อความก้าวหน้าและความสำเร็จขององค์กร

การ ศึกษาข้อมูลความคิดเห็นของคนกว่าหนึ่งพันคนทั่วโลกที่ดำเนินการโดยบริษัทที่ ปรึกษาระดับโลกแห่งหนึ่งพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจกว่า10,000คนและนักทรัพยากร บุคคลมืออาชีพกว่า500 คนทั่วโลก เชื่อว่าวิธีการทำงานในอีก 5-10 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนไป เพราะเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขึ้นเรื่อย ๆ ทรัพยากรของโลกในทุก ๆ ด้านที่ลดน้อยลง และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ตลอดจนการเปลี่ยนถ่ายของกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงช่วงอายุที่เปลี่ยนไปของกลุ่มแรงงาน

ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มอายุของแรงงานในประเทศต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบอย่างมากกับธุรกิจต่าง ๆ จึงเป็นเหตุให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับการบริหารจัดการบุคลากรต่างรุ่น (Generational Management) โดยเฉพาะเมื่อปัจจุบัน คนทำงานในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z มีจำนวนประมาณ 23% ของแรงงานทั้งหมด และจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 43% ของแรงงานทั้งหมดภายใน ค.ศ. 2020

เมื่อแรงงานในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z มีมากขึ้นในองค์กร ผู้บริหารองค์กรอาจจะต้องเริ่มพิจารณาว่าระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานในองค์กรของพวกเขาควรจะปรับเปลี่ยนในแง่มุมใดบ้าง

เพราะความสำเร็จขององค์กรมาจากความสำเร็จของพนักงาน

ดัง นั้นในบทความนี้จะชี้ให้เห็นว่ามีแง่มุมใดของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่น่าจะได้รับการพิจารณาปรับเพื่อให้ได้ทั้งผลสำเร็จขององค์กรและ"ถูก จริต"คนทำงานรุ่นใหม่ ๆ ดังนี้

ประการแรก เป้าหมายต้องชัด (Clear Goals and Quantifiable KPIs) เพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงาน Gen Y และ Gen Z ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กร เพราะการให้หัวหน้าเป็นผู้กำหนดว่าปีนี้ต้องทำงานอะไรบ้าง เป้าหมายเท่าไร

โดยไม่มีการอธิบายให้เห็นภาพเชื่อมโยงระหว่างผลงาน ที่เขาทำสำเร็จกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรเป็นสิ่งที่พนักงานกลุ่มนี้จะ ไม่ชอบใจนัก

นั่นเป็นเพราะสำหรับGenYและ Gen Z ความชัดเจนหมายถึงเป้าหมายนั้น ๆ ต้องสามารถวัดได้ ระบบประเมินผลแบบที่วัดกันจากความรู้สึกของหัวหน้าอย่างเดียว ประเภทดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง ไม่ใช่สิ่งที่เขาปรารถนา และการทราบผลที่ทันเวลา และทันต่อเหตุการณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเขา

ระบบบริหารผลการปฏิบัติงานแบบที่รอจนครบปีแล้วค่อยมาประเมินผลกัน จะไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการแน่นอน

ประการที่สอง ต้องการฟีดแบ็กที่ช่วยให้เขาดีขึ้น (Constructive Feedback) การที่พนักงานรุ่นใหม่นิยมชมชอบการให้และการรับฟีดแบ็ก

ดังนั้น ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานแบบที่มีการสื่อสารสองทางเป็นระยะ ๆ ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ตั้งแต่การวางแผนและกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การโค้ช และการให้ฟีดแบ็กเพื่อผลงานที่ดีขึ้น ตลอดจนการประเมินผลการปฏิบัติงาน จะทำให้พนักงานกลุ่มนี้ยินดี และมีส่วนร่วมเต็มที่

พวกเขาพร้อมจะรับฟังคำชี้แนะเกี่ยวกับตัวเขาเองที่หัวหน้าสังเกตเห็น หากจะทำให้เขารู้ว่าเขาทำพลาดที่ตรงไหน และจะช่วยกันทำให้ผลงานของเขาดีขึ้นกว่านั้นได้อย่างไร

ขณะเดียวกัน การที่พวกเขามักมีความเชื่อมั่นในตนเอง และชอบออกความคิดเห็น ในช่วงของการพูดคุยวางแผนร่วมกันและเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน พวกเขาจึงหวังว่าจะเป็นการสื่อสารแบบสองทางที่หัวหน้าเห็นความสำคัญกับการที่เขาจะได้ออกความเห็นของตนไปพร้อมๆกันด้วย

ประการที่สามงานท้าทาย มีความหมาย และไม่จำเจ (Meaningful, Challenging and Possibility to Grow) คน Gen Y และ Gen Z ชอบเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากงานให้ได้มากที่สุด และไม่ค่อยมีความอดทนทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อยู่ได้นาน

เขาอยากได้มีโอกาสทำงานที่ท้าทาย และมีความหมายทั้งกับองค์กร และเสริมสร้างประสบการณ์ของตนเอง

ดังนั้น งานในลักษณะโครงการ (Project) ที่มีกำหนดแล้วเสร็จที่แน่นอน และไม่กินเวลายาวนานหลาย ๆ ปี เป็นงานที่ต้องทำร่วมกับคนอื่นและทำให้พวกเขามีโอกาสได้สร้างเครือข่าย และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ งานที่มีการวัดผลสำเร็จของงานในแต่ละระยะของโครงการอย่างชัดเจน จะเป็นลักษณะงานที่คนกลุ่มนี้จะชื่นชอบและอยากทำ คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ชอบการได้ไปทำงานในสถานที่ใหม่ ๆ

ดังนั้น การมีโอกาสได้ไปทำงานโครงการ หรือทำงานในกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในต่างประเทศ จะเป็นความใฝ่ฝันที่เขามักจะไม่ปล่อยให้หลุดมือ

ประการที่สี่ ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและงาน (Work-Life Balance) ด้วยรูปแบบของการใช้ชีวิตที่เทคโนโลยี และการสื่อสารสามารถทำได้โดยไม่จำกัดสถานที่ กลุ่ม Gen Y และ Gen Z จะอยากทำงานที่สามารถเอื้อให้พวกเขาสามารถทำงานที่ใด และเมื่อใดก็ได้

ซึ่งทำให้เขาสามารถบริหารเวลาเพื่อทำงาน และใช้ชีวิตส่วนตัวได้อยางสมดุล และด้วยการกำหนดระยะเวลาและผลการปฏิบัติงานที่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน และตกลงกับหัวหน้างานตั้งแต่แรกเริ่ม จะยิ่งช่วยให้เขาสามารถปฏิบัติงานที่รับผิดชอบโดยมุ่งผลลัพธ์เป็นสำคัญ (Result-Oriented)

การวัดผลงานของพนักงานด้วยอัตราการขาด ลา มาสาย ไม่ใช่ตัววัดที่เหมาะสม กับบุคลากรกลุ่มนี้อีกต่อไป

นี่เป็นเพียงบางตัวอย่างที่ท่านอาจลองถามตนเองดูว่า ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานขององค์กรของท่านพร้อมแล้วหรือยัง ที่จะวัดผลงานของพนักงานในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นในตลาดแรงงาน เพื่อพัฒนาพวกเขาให้เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จองค์กรท่ามกลางความผันผวนของโลกปัจจุบัน?

Didyouknow?


จากการศึกษาพฤติกรรม และค่านิยมของคนรุ่นใหม่ ทั้งกลุ่ม Gen Y และ Gen Z พอจะสรุปคุณลักษณะและพฤติกรรมหลัก ๆ ของพวกเขาได้ เช่น รักที่จะเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ โหยหาความสำเร็จ กล้าเสี่ยง ชอบเรียนรู้ และลองทำสิ่งใหม่ ๆ แต่หากว่าสิ่งที่เขาทำยังไม่ดีเท่าที่ควร เขาพยายามจะปรับปรุงให้ดีขึ้น

คนรุ่นใหม่ชอบที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งชอบรับฟังความคิดเห็นด้วย นอกจากนี้การที่เขาเกิดและเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี และการสื่อสารที่เอื้อให้การเชื่อมต่อกับผู้คนทั้งในและนอกประเทศเป็นไปได้ไม่จำกัดเวลา และสถานที่ เป็นสิ่งที่ช่วยเปิดโลกทัศน์และการเรียนรู้ของเขาไม่รู้จบ

ที่สำคัญ คือการที่พวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับโลกทั้งใบได้โดยที่ไม่จำกัดเวลาและสถาน ที่จึงทำให้พวกเขาเชื่อว่าเขาสามารถบริหารทั้งโลกของการทำงานและโลกส่วนตัว เพื่อให้งานสำเร็จได้ด้วยตัวเอง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ประเมินผล คนรุ่นใหม่ วัดกันที่ตรงไหน

view