สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มารู้จักกรีนบอนด์กันเถอะ

จากประชาชาติธุรกิจ

กรีนบอนด์ เป็นตราสารหนี้เช่นเดียวกับพันธบัตรทั่วไป แต่ต่างกันตรงเงินที่ระดมจากกรีนบอนด์จะนำไปใช้ลงทุนในโครงการที่เอื้อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาออกกรีนบอนด์ในตลาดสะท้อนถึงกระบวนทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การคำนึงถึงความยั่งยืนจากการลงทุนมากขึ้น

การ ลงทุนแบบยั่งยืนเริ่มแพร่หลายเป็นครั้งแรกในตลาดหุ้นโดยดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ ที่คำนวณตามเกณฑ์มาตรฐานด้านจริยธรรมและความยั่งยืนได้เริ่มนำมาใช้ราว 15 ปีที่แล้ว นักลงทุนสถาบันกว่า 1,200 ราย ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร มูลค่ารวมกันราว 45 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ได้ร่วมลงชื่อสนับสนุนหลักการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบภายใต้การสนับสนุน ของสหประชาชาติ และประกาศจุดยืนในการนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลมาใช้พิจารณาเพื่อตัดสินใจลงทุนในอนาคต

ปัจจุบันนักลงทุนสถาบันหลายรายกำลังให้ความสนใจลงทุนในตราสารหนี้ที่ ให้ผลตอบแทนคงที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรที่มักจะออกมาเพื่อระดมเงินทุน สำหรับโครงการที่ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือพลังงานสะอาด

สำนักวิจัยระดับโลกของเอชเอสบีซีประเมินว่าการออกพันธบัตรระดมทุนที่มีลักษณะเข้าข่ายสนับสนุนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ในปี 2555 มีมูลค่ารวมกัน 7.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการกำหนดคำนิยามและประเภทของกรีนบอนด์ยังไม่ชัดเจน

แต่จากมูลค่าทั้งหมด กรีนบอนด์ในขณะนี้ยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก พันธบัตรรุ่นแรกที่เรียกเป็น "กรีนบอนด์" ได้อย่างชัดเจน คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป (The European Investment Bank) ในปี 2550 และตั้งแต่นั้นมาตลาดกรีนบอนด์ได้ขยายตัวในอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 55 ต่อปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2557 มีการออก "กรีนบอนด์" มูลค่ากว่า 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 1.1 หมื่นล้านเหรียญในปี 2556

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาพันธบัตรรุ่นใหม่ที่สะท้อนแนวคิดด้านความยั่งยืนในลักษณะอื่น ๆ เพิ่มขึ้น โดยในปี 2549 มีการออก "พันธบัตรเพื่อสังคม" รุ่นแรก เพื่อระดมทุนสำหรับโครงการฉีดวัคซีนในประเทศกำลังพัฒนา พันธบัตรเพื่อสังคมรุ่นต่อ ๆ มามักจะเน้นการระดมทุนเพื่อการศึกษา สุขภาพอนามัย การประกอบธุรกิจของสตรี มาตรฐานแรงงาน สิทธิมนุษยชน และโครงการเพื่อชุมชนระดับท้องถิ่น

ปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดชัดเจนว่า เงินทุนที่ได้จากกรีนบอนด์จะนำไปใช้ด้านใดได้บ้าง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการออกกรีนบอนด์เพื่อระดมทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในโครงการ 3 ด้านหลัก ๆ คือ

-โครงการพลังงานที่ก่อให้เกิดคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานทดแทน พลังงานที่จำกัดปริมาณคาร์บอน หรือโครงการที่ลดปัญหาความสิ้นเปลืองของพลังงาน

-โครงการที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารสำนักงาน ในอุตสาหกรรม และการขนส่ง

-โครงการที่ใช้ประโยชน์จากที่ดินและสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมด้านการเกษตร ป่าไม้ แหล่งน้ำ ของเสีย และการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

สถาบันการเงินระหว่างประเทศหลักๆ หลายแห่ง รวมทั้งธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป (The European Investment Bank) ธนาคารโลก (World Bank) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (The International Finance Corporation) เป็นหน่วยงานที่ริเริ่มกรีนบอนด์ โดยได้ออกกรีนบอนด์เพื่อระดมทุนในโครงการที่ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งต่อมาหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ ก็ได้ทำตาม

ส่วนบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่งก็เริ่มออกกรีนบอนด์ของตนเองเช่น กัน เพื่อระดมทุนให้กับโครงการที่ก่อให้เกิดคาร์บอนต่ำ และกระจายฐานนักลงทุนของบริษัท ความต้องการลงทุนในกรีนบอนด์ขณะนี้กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยนักลงทุนสถาบันรายใหญ่หลายรายได้ตัดสินใจลงทุนในกรีนบอนด์มากขึ้นจากแต่ เดิมที่ค่อนข้างระมัดระวังบางรายถึงกับประกาศจุดยืนการลงทุนที่มุ่งให้ความ สำคัญกับการระดมทุนและการสร้างความยั่งยืนทางภูมิอากาศ

หลักการและ ข้อกำหนดของกรีนบอนด์เริ่มประกาศใช้ในเดือนมกราคม2557เพื่อให้ผู้ออกกรีนบ อนด์ใช้เป็นมาตรฐานในการถือปฏิบัติแบบสมัครใจ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือให้แก่ตลาดกรี นบอนด์ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มธนาคารระหว่างประเทศรวมทั้งเอชเอสบีซีซึ่ง ครอบคลุมถึงการกำหนดรายละเอียดการใช้จ่ายเงินที่ระดมได้การประเมินและคัดสรร โครงการที่เหมาะสม การบริหารเงินทุนที่ระดมได้ และจัดทำรายงานการใช้เงิน การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานและกฎเกณฑ์ของกรีนบอนด์โดยหน่วยงานอิสระ

ตลาดกรีนบอนด์ยังอยู่ในช่วงเพิ่งเริ่มต้น แต่เห็นได้ชัดว่ามีความต้องการลงทุนจากนักลงทุนสถาบัน และเมื่อตลาดนี้ขยายตัวขึ้น คาดว่ากรีนบอนด์จะได้รับความสนใจมากขึ้นว่าจะเอื้อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ การกำหนดหลักการและกฎเกณฑ์ของกรีนบอนด์ถือเป็นก้าวแรกในความพยายามสร้างความน่าเชื่อถือให้ตลาด ส่วนก้าวต่อไปคือการกำหนดหลักเกณฑ์การลงทุนในพลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มารู้จัก กรีนบอนด์ กันเถอะ

view