สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ฮอร์โมนตัวไหนที่ร่างกายขาดแคลน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       ในสภาพสังคมปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตที่เร่งรีบ มีภารกิจที่ต้องทำหรือรับผิดชอบมากมายในแต่ละวันทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว และที่ทำงาน ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาที่จะใส่ใจดูแลเรื่องสุขภาพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกายที่ควรทำเป็นประจำ การหมั่นตรวจดูแลสุขภาพ สิ่งเหล่านี้มักถูกละเลยไปจนส่งผลให้มีปัญหาทางด้านสุขภาพ อาการสำคัญอย่างหนึ่งที่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนอันตรายที่เราจะต้องใส่ใจและ เฝ้าระวัง เพราะว่าอาจจะบ่งบอกถึงภาวะเสื่อมก่อนวัยหรือแก่ก่อนวัยอันควร นั่นก็คืออาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่ายและพละกำลังลดลง
       
       นพ.อรรถสิทธิ์ อมรถนอมโชค Diplomate American Board of Anti-Aging Medicine Certificate Fellow of Anti-Aging Medicine ประจำศูนย์ Q-Life โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า อาการอ่อนเพลียหรือพละกำลังลดลง มักพบได้บ่อยในคนที่มีอายุมากขึ้น หรือสูงวัยมากขึ้น ผู้หญิงมักมีปัญหาอ่อนเพลียเหนื่อยล้าได้มากกว่าผู้ชาย โดยปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเหนื่อยล้าง่ายมีได้มากมายหลายสาเหตุ เช่น ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดผิดปกติ โรคโลหิตจาง ค่าการทำงานของตับหรือไตผิดปกติ สมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญต่อ ร่างกาย และที่สำคัญคืออาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าที่เป็นผลจากฮอร์โมนในร่างกาย บกพร่อง
       
       สำหรับฮอร์โมนในร่างกายหลากหลายชนิดที่ส่งผลต่อพละกำลังและทำให้เกิดการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าง่าย ได้แก่
       
       1. ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่สำคัญคือ ฮอร์โมน T3 และ T4 ฮอร์โมนไทรอยด์มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจและสมองช่วยควบคุมระบบ metabolism หรือการเผาผลาญในร่างกาย ถ้าหากรางกายมีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ลดลงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม จะส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า hypothyroidism ภาวะดังกล่าวมักจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย พละกำลังลดลง เฉื่อยชา น้ำหนักตัวขึ้นง่าย ผิวแห้งหยาบกร้าน
       
       2. ฮอร์โมนเพศ ทั้งฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) และฮอร์โมนเพศหญิง (estradiol) นอกจากจะมีส่วนช่วยที่จะทำให้เกิดลักษณะความเป็นชายหรือผู้หญิง ฮอร์โมนเพศยังมีผลในเรื่องพละกำลัง ความกระฉับกระเฉง และมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศด้วย ฮอร์โมนเพศชายมีความสำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก ฮอร์โมนเพศหญิงจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคอัลไซเมอร์ โรคกระดูกพรุนและอื่นๆ ฮอร์โมนเพศที่ลดลง อาจจะเป็นผลจากอายุที่มากขึ้นเข้าสู่ภาวะวัยทอง Menopause หรือ Andropause หรืออาจะเกิดจากความเครียด การขาดการออกกำลังกาย ภาวะขาดวิตามินบางอย่างที่ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนลดลงก็เป็นได้
       
       3. ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ต่อมหมวกไตจะอยู่เหนือไตทั้งสองข้างของร่างกาย จะมีการผลิตฮอร์โมนที่สำคัญอยู่สองชนิด ที่มีผลต่อเรื่องพละกำลังและความกระฉับกระเฉง คือ ฮอร์โมน DHEAS และฮอร์โมน Cortisol ฮอร์โมน DHEAS จะเป็นออร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายใช้ในการผลิตเป็นฮอร์โมนเพศทั้งฮอร์โมนเพศ ชายและหญิง นอกจากนี้ฮอร์โมน DHEAS ยังมีส่วนช่วยเรื่องของพละกำลัง ลดการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ช่วยในเรื่องของปรับอารมณ์ทำให้ไม่เกิดภาวะซึมเศร้า
       
       ส่วนฮอร์โมน Cortisol มักมีการหลั่งมากสุดช่วงเช้าประมาณ 08.00 - 10.00 น. มีส่วนช่วยทำให้ร่างกายเราตื่นตัว เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้เซลล์ต่างๆในร่างกายเตรียมพร้อมต่อภาวะ Stress ต่างที่จะเกิดภายในร่างกายมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้ร่างกายมีสมดุลในการ ผลิตฮอร์โมนทั้งสองเปลี่ยนแปลงไป เช่น การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยรุนแรง ภาวะเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การรับประทานยาหรือใช้ยาในกลุ่ม Steroid เป็นเวลานานๆ และภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินซี แร่ธาตุแมกนีเซียม วิตามินบี เป็นต้น
       
       4. โกรทฮอร์โมน หรือฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนที่มีการผลิตมากในช่วงที่มีการเจริญเติบโต เช่น วัยรุ่น ทำให้มีการสร้างกล้ามเนื้อ เสริมการสร้างกระดูก ช่วยเสริมในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ช่วยเสริมในเรื่องความแข็งแกร่งของร่างกาย ภายหลังอายุ 20 ปี การผลิตโกรทฮอร์โมนจะเริ่มลดน้อยลง โกรทฮอร์โมนจะทำหน้าที่ในการซ่อมแซมเซลล์ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ โกรทฮอร์โมนมีการผลิตหลั่งออกมาในร่างกายเป็นจำนวนมากช่วง 4 ทุ่มถึงเที่ยงคืน การที่เข้านอนดึกกว่าเที่ยงคืนอาจจะทำให้ร่างกายได้รับโกรทฮอร์โมนไม่เพียง พอ การรับประทานอาหารที่เน้นแป้ง น้ำตาล และไขมันก็จะส่งผลให้การผลิตโกรทออร์โมนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยปกติโกรทฮอร์โมนสำคัญมากต่อการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง การตรวจประเมินวัดระดับโกรทฮอร์โมนในร่างกายมักตรวจวัดจากระดับ IGF-1เป็นหลัก
       
       หากเราเริ่มมีปัญหาเรื่องของความอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย และพละกำลังลดลง อาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่าเราอาจจะเริ่มมีปัญหาฮอร์โมน บกพร่องภายในร่างกาย นอกจากการตรวจหาสาเหตุของอาการอ่อนเพลียที่จำเป็นต้องทำแล้ว การตรวจวัดระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย รวมทั้งการตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนลดลง เช่น การตรวจวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งกรดอะมิโนที่มีความสำคัญสำหรับร่างกายต่อการผลิตฮอร์โมนต่างๆ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะทำ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานๆ อาจจะส่งผลรุนแรงและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายต่อร่างกาย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแห่งความเสื่อมต่างๆ หรือ Degenerative diseases ก็เป็นได้
       
       แนวทางการรักษาภาวะอ่อนเพลีย หรือเหนื่อยล้า และพละกำลังลดลงที่เกิดจากการบกพร่องของฮอร์โมนนั้น จะมุ่งเน้นในส่วนของการวิเคราะห์หาสาเหตุ และให้คำแนะนำในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะส่งผลต่อการผลิต ฮอร์โมนให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น การรักษาโดยการให้วิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโนต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการผลิตฮอร์โมนภายในร่างกายของเราเอง แต่หากกรณีที่มีปัญหาขาดฮอร์โมนรุนแรงก็อาจมีการพิจารณาในเรื่องของความ เหมาะสมในการรักษาโดยการให้ฮอร์โมนธรรมชาติทดแทนร่วมด้วยก็เป็นได้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ฮอร์โมนตัวไหน ร่างกายขาดแคลน

view