สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เอไอไอบี สถาบันการเงินใหม่เพื่อเอเชีย

เอไอไอบี" สถาบันการเงินใหม่เพื่อเอเชีย

จากประชาชาติธุรกิจ

ชื่อเต็มๆ ของ "เอไอไอบี" คือ "เอเชียน อินฟราสตรักเจอร์ อินเวสเมนต์ เเบงก์" หรือใครจะเรียกว่า "ธนาคารเพื่อการลงทุนด้านสาธารณูปโภคแห่งเอเชีย" ก็ได้

ถือได้ว่าเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาในระดับนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นล่า สุด โดยคาดหมายกันว่าจะมีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการภายในสิ้นปีนี้

เอไอไอบี มีจีนเป็นตัวตั้งตัวตีในการริเริ่มแนวความคิดและผลักดัน โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีเงินทุนเริ่มต้นราว 100,000 ล้านดอลลาร์

แต่ในเวลาเดียวกันก็พร้อมที่จะระดมทุนเพิ่มจากตลาดทุนทั้งหลายเพื่อขยายเงิน กองทุนให้เพิ่มมากขึ้น สำหรับ "ปล่อยกู้" ให้กับโครงการด้านสาธารณูปโภคทั้งหลายในภูมิภาคเอเชีย ที่จะทำให้ความเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคของบรรดาชาติกำลังพัฒนาทั้ง หลายในภูมิภาคนี้ มีเงินทุนรองรับอีกเป็นจำนวนมาก

จนถึงขณะนี้ ทัศนะที่มอง เอไอไอบี ไปในทางการเมืองหรือความพยายามขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคสร่างซาลงไป

เห็นได้ชัดจากจำนวนประเทศที่เข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้มี 27 ประเทศในเอเชียร่วมเป็นสมาชิก (รวมทั้งจีนผู้ก่อตั้งและไทยที่เป็นหนึ่งในสมาชิกร่วมก่อตั้ง) กับอีก 7 ประเทศนอกภูมิภาคที่เข้าเป็นสมาชิกเรียบร้อยแล้วซึ่งรวมทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี

ในเวลาเดียวกันยังมีอีก 23 ประเทศ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ออสเตรเลีย สเปน เรื่อยไปจนถึงบราซิล และรัสเซีย ยื่นใบสมัครเข้ามาแล้วแต่อยู่ระหว่างการพิจารณา

ประเทศเศรษฐกิจระดับแนวหน้าสำคัญที่ไม่ได้เข้าร่วมในเวลานี้คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เท่านั้นเอง



สาเหตุ สำคัญเป็นเพราะทุกฝ่ายเล็งเห็นความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ภูมิภาคเอเชียยังจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างทางสาธารณูปโภคอีกมากมายมหาศาลนัก มากชนิดที่ว่า แม้จะมีสถาบันการเงินรองรับอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ที่มีญี่ปุ่นเป็นหัวเรือใหญ่ กับธนาคารโลก ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนหลัก เงินทุนเพื่อการพัฒนาจากสองสถาบันการเงินนานาชาติดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอ

ผู้เชี่ยวชาญประเมินกันว่า บรรดาประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียทั้งหลาย จำเป็นต้องลงทุนเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน อนาคตตั้งแต่เวลานี้เรื่อยไปจนถึงปี 2030 หรือในช่วงระยะเวลา 15 ปี เป็นเงินสูงถึง 11 ล้านล้านดอลลาร์

ในบรรดาประเทศที่ต้องการการปรับปรุง พัฒนา โครงสร้างทางสาธารณูปโภคทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงศรีลังกา น้อยประเทศมากที่มีเงินถุงเงินถังมากเพียงพอต่อการควักออกมาใช้เป็นเงินทุน เพื่อการนี้ด้วยตัวเอง

ด้วยเหตุผลประการสำคัญที่ว่า ในเวลาเดียวกับที่ต้องการเงินทุนเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภค บรรดาประเทศเหล่านี้ยังจำเป็นต้องใช้เงินอีกไม่น้อยเช่นเดียวกันในการบริหาร จัดการด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลดแรงกดดันจากประชากรในส่วนที่ยังตกอยู่ในภาวะยากจน หรือใกล้เคียงกับภาวะยากจนในสังคมของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมกันแล้วมีมากมายหลายร้อยล้านคน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน มีตั้งแต่ในฟิลิปปินส์ อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งประชากรยังคงขยายตัวในอัตราสูง รวดเร็ว กลายเป็นแรงกดดันมหาศาลต่อรัฐบาลในการจัดหางบประมาณในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่งบประมาณเพื่อการศึกษา, งบประมาณเพื่อการสาธารณสุขและเม็ดเงินที่จำเป็นต้องใช้เพื่อปกป้องสิ่งแวด ล้อม

ทำให้หลงเหลือเงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับนำมาใช้เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงสาธารณูปโภคของประเทศ

การมีเงินทุนเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงช่วยให้บรรดาชาติในเอเชียที่กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายอย่างใหญ่ หลวง ทั้งในด้านการคมนาคมขนส่งและการบริหารจัดการน้ำ สามารถมีเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงการเหล่านี้ได้เท่านั้น ยังส่งผลถึงการกระจายรายได้ เฉลี่ยความมั่งคั่งออกไป ที่เป็นปัญหาใหญ่หลวงในภูมิภาคได้อีกด้วย

ระบบสาธารณูปโภคที่ดี ไม่เพียงอำนวยให้เกิดความสะดวกสบายทั่วถึงกันเท่านั้น การเชื่อมโยงพื้นที่ชนบทเข้ากับศูนย์กลางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ด้วยถนนหนทาง ด้วยการขนส่งที่ดี จะช่วยให้ความมั่งคั่งกระจายตัวออกไป

เหมือนกับที่จีนเคยประสบผลสำเร็จมาแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมาด้วยการเชื่อม โยงพื้นที่ตามแนวชายฝั่งที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องกับพื้นที่ลึกเข้า ไปภายในแผ่นดินใหญ่

การลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของการขนส่ง การบริหารจัดการน้ำ และการลงทุนด้านพลังงาน ต่างล้วนเป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้คนในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล แทนที่จะจำกัดโอกาสให้อยู่กับเรือกสวนไร่นาเพียงอย่างเดียว

สิ่งที่คาดหวังกันนอกเหนือจากการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการลงทุนที่เกี่ยว เนื่องกับสาธารณูปโภคจากเอไอไอบีแล้ว ก็คือความเชี่ยวชาญ ความชำนาญการในโครงการทางด้านนี้ เพราะโครงการสาธารณูปโภคทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ท่อลำเลียงน้ำมัน หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ ต่างเป็นโครงการที่ต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยีและความชำนาญการสูง

อย่างไรก็ดี พิจารณาจากการที่จีนพัฒนาโครงสร้างเหล่านี้ของตัวเองอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ทศวรรษหลังมานี้ระดับพัฒนาการของเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญทั้งทางด้าน วิศวกรรม การออกแบบและการบริหารจัดการโครงการของจีนก็น่าจะอยู่ในระดับที่ไว้วางใจได้ ไม่มากก็น้อย

ในเวลาเดียวกัน การให้ทุนสนับสนุนการก่อสร้างทางสาธารณูปโภคในเอเชียดังกล่าวนี้ จะต้องดำเนินไปอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ แต่ละโครงการผ่านการไตร่ตรองและดำเนินไปโดยสอดคล้องกับสภาวะนิเวศที่ยั่งยืน ต้องเคารพและคำนึงถึงความละเอียดอ่อน ถึงผลประโยชน์ของบรรดาชนกลุ่มน้อยและคนยากจนทั้งหลาย

นั่นเนื่องเพราะ ปัญหาจะเกิดขึ้นทันทีถ้าหาก เอไอไอบี ถูกมองอย่างแยกส่วน ถูกมองว่ากลายเป็นเครื่องมือในการสร้างและขยายอิทธิพลของจีนต่อประเทศใน เอเชีย

ภาพลักษณ์ในทางลบเช่นนี้ไม่เพียงทำลายโอกาสของชาติสมาชิกในเอเชียหลายชาติ เท่านั้น ยังบั่นทอนโอกาสในการเรียนรู้ของเอไอไอบี ในฐานะสถาบันการเงินใหม่ ที่ยังจำเป็นต้องเรียนรู้และซึมซับประสบการณ์อีกเป็นจำนวนมากเพื่อให้แน่ใจ ได้ว่าเงินทุนที่ปล่อยกู้ไปจะถูกนำไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ซึ่งจะเกิดขึ้นได้นอกจากความร่วมมือหลอมรวมประสบการณ์ของชาติสมาชิกเข้าด้วย กันแล้วยังสามารถเรียนรู้ในทางลัดจากความร่วมมือกับสถาบันการเงินเดิมที่ คุ้นเคยกับการบริหารจัดการโครงการต่างๆ เหล่านี้มาแล้ว ทั้ง เอดีบี และ เวิร์ลด์แบงก์

เฟดเดอริก นูแมนน์ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจเอเชียของธนาคารเอชเอสบีซี เรียกร้องเอาไว้ว่า เพื่อให้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาแหลมคมและมีประสิทธิภาพสูงสุด เอไอไอบี ไม่ควรเดินหน้าเพียงลำพัง ลองผิดลองถูกไปเรื่อย

แต่ควรร่วมมือกับทั้ง เอดีบี และ เวิร์ลด์แบงก์ ในรูปของการดำเนินโครงการร่วม หรือการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารในเชิงวิชาการซึ่งกันและกัน

หรือร่วมกันจัดทำ "มาตรฐานธรรมาภิบาล" สำหรับโครงการขนาดยักษ์ที่ลงทุนสูงเหล่านี้

เพื่อให้แน่ใจว่า แต่ละโครงการที่ลงทุนลงไป จะผลิดอกออกผลในระยะยาวได้ตามความประสงค์ตั้งแต่แรกนั่นเอง


ที่มา นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์


57 ชาติ ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกก่อตั้งของธนาคาร AIIB ที่จีนเป็นหัวเรือใหญ่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

        เอเจนซี— ธนาคารเพื่อการลง ทุนโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย หรือ เอไอไอบี (AIIB) ได้รับรองสมาชิกรุ่นก่อตั้ง 57 ชาติอย่างเป็นทางการแล้ว โดยที่ สวีเดน อิสราเอล แอฟริกาใต้ อาเซอร์ไบจัน ไอซ์แลนด์ โปรตุเกส และโปแลนด์ เป็นกลุ่มชาติสุดท้ายที่โดดเกาะ “ขบวนรถไฟสาย AIIB” นี้
       
       เอไอไอบี เป็นธนาคารระหว่างประเทศที่มีฐานในเอเชีย รายแรก ที่จะเป็นอิสระจากกลุ่มสถาบันจากระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่แห่ง เบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของชาติตะวันตก อย่าง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก เป็นต้น
       
       สำหรับประเทศที่ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง เอไอไอบี ได้แก่ จีน อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน อังกฤษ ออสเตรเลีย บราซิล ฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน
       
       ขณะที่ไต้หวันถูกตัดออกจากรายชื่อสมาชิกผู้ก่อตั้ง แม้ได้ยื่นเรื่องขอเข้าร่วมฯด้วยก็ตาม โฆษกกระทรวงการคลังแถลงเมื่อวานนี้(15 เม.ย.)
       
       สำหรับกลุ่มสมาชิกผู้ก่อตั้งนี้จะมีสิทธิ์อำนาจเหนือกว่ากลุ่มประเทศ ที่จะเข้าร่วมกลุ่มหลัง โดยจะมีสิทธิในการร่างกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆของธนาคาร
       
       นอกจากนี้ มีรายงานข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยัน ระบุว่าทางธนาคารปฏิเสธคำร้องฯของเกาหลีเหนือ ส่วนไต้หวันก็เผยว่าจะพยายามเข้าร่วมในฐานะสมาชิกทั่วไป
       
       ส่วนสองยักษ์ใหญ่เศรษฐกิจโลกคือ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น นั้น ไม่ได้ ยื่นเรื่องขอเข้าร่วมฯด้วย
       
       สื่อทางการจีนรายงานว่า กลุ่มสมาชิกผู้ก่อตั้งจะเริ่มถกเถียงร่างกฎฯของเอไอไอบี ซึ่งจะมีการผ่านมติขั้นสุดท้ายและลงนามกันในการประชุมที่จะมีขึ้นในเดือน หน้า
       
       กระทรวงการคลังแห่งจีนแถลงเมื่อวานนี้(15 เม.ย.) ว่าจะมีการลงนามรับรองกฎฯต่างๆ ของธนาคารในปลายเดือนมิ.ย. และมีการตั้งแต่งประธานธนาคารคนแรก
       
       โฆษกกระทรวงการคลังยังกล่าวว่า เอไอไอบี จะเรียนรู้จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศรายต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการ และสร้างประสิทธิภาพสูงสุด
       
       ทั้งนี้ เอไอไอบี เป็นความริเริ่มของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง โดยเสนอการก่อตั้งเอไอไอบี เมื่อปลายปี 2556 ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แสดงความกังวลเกี่ยวกับความโปร่งใสของธนาคารฯ ธรรมาภิบาล และความขัดแย้งกับกลุ่มสถาบันที่มีอยู่ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ที่มีฐานในกรุงมะนิลา
       กลุ่มวิเคราะห์ต่างมอง เอไอไอบี จะเป็นคู่แข่งที่ทรงพลังสูสีกับสถาบันการเงินขาใหญ่ อย่าง ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก ขณะที่ กรรมการผู้จัดการแห่งไอเอ็มเอฟ คริสตีน ลาการ์ด กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก “ยินดี” จับมือกับ เอไอไอบี
       
       ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา(2557) กลุ่มประเทศ 21 ประเทศ ได้ลงนามข้อตกลงการก่อตั้ง เอไอไอบี ซึ่งจะมีฐานในกรุงปักกิ่ง โดยมีภารกิจให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก
       
       ทางธนาคารฯมีแผนอัดฉีดทุนเพิ่มอย่างรวดเร็ว จากทุนก่อตั้ง 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และสิทธิลงคะแนนเสียงของสมาชิกขึ้นกับจีดีพี เป็นที่คาดกันว่า เอไอไอบี จะจัดตั้งเสร็จเรียบร้อยภายในปลายปีนี้.


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เอไอไอบี สถาบันการเงินใหม่ เพื่อเอเชีย

view