สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กรีซจะชนะในภาวะไหน

กรีซจะชนะในภาวะไหน?

โดย : ดร.ไสว บุญมา

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

บทความนี้เขียนขึ้นทันทีหลังการสำรวจประชามติของกรีซ สรุปได้แน่นอนว่า ชาวกรีกส่วนใหญ่ไม่ยอมรับข้อเสนอของกลุ่มเจ้าหนี้

ที่จะให้รัฐบาลดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับเงินก้อนใหญ่ที่จะนำมาใช้ชำระหนี้ พร้อมกับเอื้อให้พวกตนมีเงินใช้แบบไม่ฝืดเคืองนัก สื่อรายงานว่าชาวกรีกจำนวนมากออกมาโห่ร้องกันในสถานที่สาธารณะต่างๆ อย่างลำพองใจ เพราะมองว่าพวกตนได้ชัยชนะ แต่ลึกๆ ลงไป ชาวกรีกเหล่านั้นคงมิได้มีความสุขดังภาพที่ปรากฏ ทั้งนี้ เพราะอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปยังไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ ด้วยความมั่นใจเต็มร้อย

จามมุมมองของระบอบประชาธิปไตยซึ่ง ถือกำเนิดขึ้นในอาณาจักรกรีซโบราณเมื่อหลายพันปีก่อน กรีซยุคใหม่ได้กลับไปใช้วิธีดั้งเดิมของตนอีกครั้ง นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีสิทธิทุกคนลงความเห็นโดยตรงว่าเห็นด้วยหรือ ไม่เห็นด้วยกับขอเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ กรีซโบราณใช้ระบอบประชาธิปไตยอยู่ไม่ถึง 100 ปี ก่อนที่จะมีอันเป็นไปจนมิได้ใช้อีกครั้ง จนกระทั่งเมื่อปี 2517 เหตุปัจจัยมีหลายอย่างรวมทั้งการถูกยึดครองโดยอาณาจักรออตโตมาน หลังจากเป็นเอกราชจากอาณาจักรออตโตมานเมื่อปี 2375 กรีซก็มิได้กลับไปใช้ระบอบประชาธิปไตยที่บรรพบุรุษของตนคิดขึ้น จนกระทั่งถูกสหภาพยุโรปตั้งเงื่อนไขว่า ถ้าไม่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ก็จะไม่ยอมให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม กรีซยอมทำตามเงื่อนไข และเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มนั้นเมื่อปี 2524 และเริ่มใช้เงินสกุลยูโรแทนเงินดรักมาร์ของตนเมื่อปี 2545

การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปและใช้เงินสกุลยูโรมีเงื่อนไขหลายอย่าง รวมทั้งจะปล่อยให้งบประมาณขาดดุลเกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีไม่ได้ การละเมิดเงื่อนไขข้อนี้ คือที่มาของปัญหาที่กรีซกำลังเผชิญอยู่ กระบวนการที่นำไปสู่การละเมิดเงื่อนไขได้แก่ การใช้จ่ายอันเกิดจากนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายต่างๆ รวมทั้งการจ้างพนักงานรัฐบาลจนล้นงาน พร้อมกับการให้สวัสดิการแบบแทบไม่อั้น และการโกหกด้วยการตกแต่งบัญชี กรีซกู้หนี้ยืมสินมาปิดงบประมาณจนกู้อีกไม่ได้ กระบวนการเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายจึงเกิดขึ้น ใน ปีที่เริ่มเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลาย กรีซใช้จ่ายสูงมากจนงบประมาณขาดดุลถึง 13% ของจีดีพี ส่งผลให้ต้องไปขอกู้เงินจากสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มาจ่ายให้เจ้าหนี้

การกู้เงินดังกล่าวมีเงื่อนไขที่กรีซจะต้องปฏิบัติตาม ก่อนที่จะได้เงินมาแต่ละงวด เงื่อนไขสำคัญได้แก่รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการลดการใช้จ่ายลงพร้อมกับเพิ่มภาษี มาตรการเหล่านั้นมีผลกระทบทางลบ เพราะรัฐบาลต้องลดทั้งพนักงานและสวัสดิการลงพร้อมๆ กับขึ้นภาษี ส่งผลให้เศรษฐกิจของกรีซถดถอย และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นไปสูงถึง 26% ตามข้อตกลงที่รัฐบาลก่อนทำไว้ กรีซจะต้องรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะได้เงินอีกงวดในวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม ไม่ยอมทำตามเงื่อนไข จึงไม่ได้เงินงวดนั้นมาใช้หนี้ ส่งผลให้กรีซตกอยู่ในภาวะล้มละลายทันทีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

หลังจากชาวกรีกส่วนใหญ่ออกความเห็นว่า จะไม่รับเงื่อนไขของเจ้าหนี้ และรัฐบาลจะนำความเห็นนั้นไปใช้ต่อรองอีกครั้ง ฝ่ายเจ้าหนี้จะยอมทำตามความประสงค์ของรัฐบาลก็ได้ หรือไม่ทำตามก็ได้ ถ้า เจ้าหนี้ไม่ยอม เป็นไปได้สูงว่ากรีซจะต้องออกจากสหภาพยุโรป และกลับไปใช้เงินดรักมาร์อีกครั้ง ในกรณีนี้ชาวกรีกอาจจะต้องรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นทันทีโดยไม่มีใครบังคับ และอาจต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อด้วย เพราะรัฐบาลกรีซจะกู้เงินอีกไม่ได้ และพิมพ์เงินดรักมาร์ออกมาใช้จ่าย ในขณะที่ค่าของเงินดรักมาร์อาจตกลงมาอย่างรวดเร็ว  หลังจากนั้นเศรษฐกิจของกรีซจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครสามารถฟันธงได้ สิ่งเดียวที่แน่นอนคือ กรีซจะยังมีภาระหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดิม

กลุ่มเจ้าหนี้อาจตัดสินใจผ่อนคลายเงื่อนไขให้บ้าง เพราะไม่ต้องการให้กรีซออกจากสหภาพยุโรป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า กรีซจะได้ทุกอย่างตามที่ตนต้องการ เนื่องจากรัฐบาลต่างๆ ในกลุ่มนั้นก็มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน ฉะนั้น การผ่อนคลายให้กรีซจะต้องอยู่ในขอบเขตที่รัฐบาลเหล่านั้น สามารถโน้มน้าวให้ประชาชนของตนเข้าใจว่า พวกเขามิได้เป็นผู้รับบาปมากจนเกินไป จากความชั่วร้ายของนโยบายประชานิยม และพฤติกรรมของชาวกรีก โดยเฉพาะชาวเยอรมันซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ตามรายงานของสื่อ ชาวเยอรมันโดยทั่วไปไม่พอใจที่ตนจ่ายภาษีเต็มที่ ในขณะที่ชาวกรีกหลีกเลี่ยงกันอย่างแพร่หลาย เรื่องนี้พอเข้าใจได้เนื่องจากข้อมูลที่คณะทำงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ นำมาเสนอเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้บ่งว่าชาวเยอรมันเพียง 2.3% เท่านั้น ที่พยายามหลีกเลี่ยงภาษี ในขณะที่ชาวกรีกมีถึง 89.5% ที่พยายามหลีกเลี่ยง

แม้กรีซจะได้รับการผ่อนผันและไม่ถูกขับไล่ออกจากสหภาพยุโรป แต่กรีซก็มิได้ชนะและจะทำตัวคล้ายกาฝาก หรือมักง่ายต่อไปได้ โดยการใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้าย หรือโกหกโดยการตกแต่งบัญชี หรือหลีกเลี่ยงภาษีกันเกือบทั้งประเทศ กรีซจะชนะก็ต่อเมื่อได้ใช้ช่วงเวลาของการผ่อนผันปฏิรูปตนเองอย่างเร่งด่วน โดยลดความมักง่ายและความเลวร้ายต่างๆ ลง เพื่อจะอยู่ในสหภาพยุโรปได้แบบสังคมที่มีวุฒิภาวะเท่าเทียมกัน มิฉะนั้น อีกไม่นานก็จะถูกขับไล่ออกจากกลุ่ม 

กรีซเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจไม่ต่ำกว่าอาร์เจนตินา และเวเนซุเอลา ถ้าจะมองหาบทเรียน หรือจะมองเพียงเรื่องสวัสดิการสูงๆ ที่ประชาชนอยากได้ แต่ไม่ยอมจ่ายภาษีก็จะมีบทเรียนเช่นกัน กรีซจะเป็นประเทศสุดท้ายที่ความมักง่าย นโยบายประชานิยมและการโกหกพกลม ทำให้ล่มจม หากสังคมอื่นมองเห็นบทเรียน

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635002#sthash.Ok0EKbRR.dpufบทความนี้เขียนขึ้นทันทีหลังการสำรวจประชามติของกรีซ สรุปได้แน่นอนว่า ชาวกรีกส่วนใหญ่ไม่ยอมรับข้อเสนอของกลุ่มเจ้าหนี้

ที่จะให้รัฐบาลดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับเงินก้อนใหญ่ที่จะนำมาใช้ชำระหนี้ พร้อมกับเอื้อให้พวกตนมีเงินใช้แบบไม่ฝืดเคืองนัก สื่อรายงานว่าชาวกรีกจำนวนมากออกมาโห่ร้องกันในสถานที่สาธารณะต่างๆ อย่างลำพองใจ เพราะมองว่าพวกตนได้ชัยชนะ แต่ลึกๆ ลงไป ชาวกรีกเหล่านั้นคงมิได้มีความสุขดังภาพที่ปรากฏ ทั้งนี้ เพราะอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปยังไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ ด้วยความมั่นใจเต็มร้อย

จามมุมมองของระบอบประชาธิปไตยซึ่ง ถือกำเนิดขึ้นในอาณาจักรกรีซโบราณเมื่อหลายพันปีก่อน กรีซยุคใหม่ได้กลับไปใช้วิธีดั้งเดิมของตนอีกครั้ง นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีสิทธิทุกคนลงความเห็นโดยตรงว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับขอเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ กรีซโบราณใช้ระบอบประชาธิปไตยอยู่ไม่ถึง 100 ปี ก่อนที่จะมีอันเป็นไปจนมิได้ใช้อีกครั้ง จนกระทั่งเมื่อปี 2517 เหตุปัจจัยมีหลายอย่างรวมทั้งการถูกยึดครองโดยอาณาจักรออตโตมาน หลังจากเป็นเอกราชจากอาณาจักรออตโตมานเมื่อปี 2375 กรีซก็มิได้กลับไปใช้ระบอบประชาธิปไตยที่บรรพบุรุษของตนคิดขึ้น จนกระทั่งถูกสหภาพยุโรปตั้งเงื่อนไขว่า ถ้าไม่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ก็จะไม่ยอมให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม กรีซยอมทำตามเงื่อนไข และเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มนั้นเมื่อปี 2524 และเริ่มใช้เงินสกุลยูโรแทนเงินดรักมาร์ของตนเมื่อปี 2545

การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปและใช้เงินสกุลยูโรมีเงื่อนไขหลายอย่าง รวมทั้งจะปล่อยให้งบประมาณขาดดุลเกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีไม่ได้ การละเมิดเงื่อนไขข้อนี้ คือที่มาของปัญหาที่กรีซกำลังเผชิญอยู่ กระบวนการที่นำไปสู่การละเมิดเงื่อนไขได้แก่ การใช้จ่ายอันเกิดจากนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายต่างๆ รวมทั้งการจ้างพนักงานรัฐบาลจนล้นงาน พร้อมกับการให้สวัสดิการแบบแทบไม่อั้น และการโกหกด้วยการตกแต่งบัญชี กรีซกู้หนี้ยืมสินมาปิดงบประมาณจนกู้อีกไม่ได้ กระบวนการเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายจึงเกิดขึ้น ในปีที่เริ่มเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลาย กรีซใช้จ่ายสูงมากจนงบประมาณขาดดุลถึง 13% ของจีดีพี ส่งผลให้ต้องไปขอกู้เงินจากสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มาจ่ายให้เจ้าหนี้

การกู้เงินดังกล่าวมีเงื่อนไขที่กรีซจะต้องปฏิบัติตาม ก่อนที่จะได้เงินมาแต่ละงวด เงื่อนไขสำคัญได้แก่รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการลดการใช้จ่ายลงพร้อมกับเพิ่มภาษี มาตรการเหล่านั้นมีผลกระทบทางลบ เพราะรัฐบาลต้องลดทั้งพนักงานและสวัสดิการลงพร้อมๆ กับขึ้นภาษี ส่งผลให้เศรษฐกิจของกรีซถดถอย และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นไปสูงถึง 26% ตามข้อตกลงที่รัฐบาลก่อนทำไว้ กรีซจะต้องรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะได้เงินอีกงวดในวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม ไม่ยอมทำตามเงื่อนไข จึงไม่ได้เงินงวดนั้นมาใช้หนี้ ส่งผลให้กรีซตกอยู่ในภาวะล้มละลายทันทีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

หลังจากชาวกรีกส่วนใหญ่ออกความเห็นว่า จะไม่รับเงื่อนไขของเจ้าหนี้ และรัฐบาลจะนำความเห็นนั้นไปใช้ต่อรองอีกครั้ง ฝ่ายเจ้าหนี้จะยอมทำตามความประสงค์ของรัฐบาลก็ได้ หรือไม่ทำตามก็ได้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอม เป็นไปได้สูงว่ากรีซจะต้องออกจากสหภาพยุโรป และกลับไปใช้เงินดรักมาร์อีกครั้ง ในกรณีนี้ชาวกรีกอาจจะต้องรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นทันทีโดยไม่มีใครบังคับ และอาจต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อด้วย เพราะรัฐบาลกรีซจะกู้เงินอีกไม่ได้ และพิมพ์เงินดรักมาร์ออกมาใช้จ่าย ในขณะที่ค่าของเงินดรักมาร์อาจตกลงมาอย่างรวดเร็ว  หลังจากนั้นเศรษฐกิจของกรีซจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครสามารถฟันธงได้ สิ่งเดียวที่แน่นอนคือ กรีซจะยังมีภาระหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดิม

กลุ่มเจ้าหนี้อาจตัดสินใจผ่อนคลายเงื่อนไขให้บ้าง เพราะไม่ต้องการให้กรีซออกจากสหภาพยุโรป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า กรีซจะได้ทุกอย่างตามที่ตนต้องการ เนื่องจากรัฐบาลต่างๆ ในกลุ่มนั้นก็มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน ฉะนั้น การผ่อนคลายให้กรีซจะต้องอยู่ในขอบเขตที่รัฐบาลเหล่านั้น สามารถโน้มน้าวให้ประชาชนของตนเข้าใจว่า พวกเขามิได้เป็นผู้รับบาปมากจนเกินไป จากความชั่วร้ายของนโยบายประชานิยม และพฤติกรรมของชาวกรีก โดยเฉพาะชาวเยอรมันซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ตามรายงานของสื่อ ชาวเยอรมันโดยทั่วไปไม่พอใจที่ตนจ่ายภาษีเต็มที่ ในขณะที่ชาวกรีกหลีกเลี่ยงกันอย่างแพร่หลาย เรื่องนี้พอเข้าใจได้เนื่องจากข้อมูลที่คณะทำงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ นำมาเสนอเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้บ่งว่าชาวเยอรมันเพียง 2.3% เท่านั้น ที่พยายามหลีกเลี่ยงภาษี ในขณะที่ชาวกรีกมีถึง 89.5% ที่พยายามหลีกเลี่ยง

แม้กรีซจะได้รับการผ่อนผันและไม่ถูกขับไล่ออกจากสหภาพยุโรป แต่กรีซก็มิได้ชนะและจะทำตัวคล้ายกาฝาก หรือมักง่ายต่อไปได้ โดยการใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้าย หรือโกหกโดยการตกแต่งบัญชี หรือหลีกเลี่ยงภาษีกันเกือบทั้งประเทศ กรีซจะชนะก็ต่อเมื่อได้ใช้ช่วงเวลาของการผ่อนผันปฏิรูปตนเองอย่างเร่งด่วน โดยลดความมักง่ายและความเลวร้ายต่างๆ ลง เพื่อจะอยู่ในสหภาพยุโรปได้แบบสังคมที่มีวุฒิภาวะเท่าเทียมกัน มิฉะนั้น อีกไม่นานก็จะถูกขับไล่ออกจากกลุ่ม

กรีซเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจไม่ต่ำกว่าอาร์เจนตินา และเวเนซุเอลา ถ้าจะมองหาบทเรียน หรือจะมองเพียงเรื่องสวัสดิการสูงๆ ที่ประชาชนอยากได้ แต่ไม่ยอมจ่ายภาษีก็จะมีบทเรียนเช่นกัน กรีซจะเป็นประเทศสุดท้ายที่ความมักง่าย นโยบายประชานิยมและการโกหกพกลม ทำให้ล่มจม หากสังคมอื่นมองเห็นบทเรียน
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635002#sthash.Ok0EKbRR.dpuf

บทความนี้เขียนขึ้นทันทีหลังการสำรวจประชามติของกรีซ สรุปได้แน่นอนว่า ชาวกรีกส่วนใหญ่ไม่ยอมรับข้อเสนอของกลุ่มเจ้าหนี้

ที่จะให้รัฐบาลดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับเงินก้อนใหญ่ที่จะนำมาใช้ชำระหนี้ พร้อมกับเอื้อให้พวกตนมีเงินใช้แบบไม่ฝืดเคืองนัก สื่อรายงานว่าชาวกรีกจำนวนมากออกมาโห่ร้องกันในสถานที่สาธารณะต่างๆ อย่างลำพองใจ เพราะมองว่าพวกตนได้ชัยชนะ แต่ลึกๆ ลงไป ชาวกรีกเหล่านั้นคงมิได้มีความสุขดังภาพที่ปรากฏ ทั้งนี้ เพราะอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปยังไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ ด้วยความมั่นใจเต็มร้อย

จามมุมมองของระบอบประชาธิปไตยซึ่ง ถือกำเนิดขึ้นในอาณาจักรกรีซโบราณเมื่อหลายพันปีก่อน กรีซยุคใหม่ได้กลับไปใช้วิธีดั้งเดิมของตนอีกครั้ง นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีสิทธิทุกคนลงความเห็นโดยตรงว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับขอเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ กรีซโบราณใช้ระบอบประชาธิปไตยอยู่ไม่ถึง 100 ปี ก่อนที่จะมีอันเป็นไปจนมิได้ใช้อีกครั้ง จนกระทั่งเมื่อปี 2517 เหตุปัจจัยมีหลายอย่างรวมทั้งการถูกยึดครองโดยอาณาจักรออตโตมาน หลังจากเป็นเอกราชจากอาณาจักรออตโตมานเมื่อปี 2375 กรีซก็มิได้กลับไปใช้ระบอบประชาธิปไตยที่บรรพบุรุษของตนคิดขึ้น จนกระทั่งถูกสหภาพยุโรปตั้งเงื่อนไขว่า ถ้าไม่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ก็จะไม่ยอมให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม กรีซยอมทำตามเงื่อนไข และเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มนั้นเมื่อปี 2524 และเริ่มใช้เงินสกุลยูโรแทนเงินดรักมาร์ของตนเมื่อปี 2545

การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปและใช้เงินสกุลยูโรมีเงื่อนไขหลายอย่าง รวมทั้งจะปล่อยให้งบประมาณขาดดุลเกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีไม่ได้ การละเมิดเงื่อนไขข้อนี้ คือที่มาของปัญหาที่กรีซกำลังเผชิญอยู่ กระบวนการที่นำไปสู่การละเมิดเงื่อนไขได้แก่ การใช้จ่ายอันเกิดจากนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายต่างๆ รวมทั้งการจ้างพนักงานรัฐบาลจนล้นงาน พร้อมกับการให้สวัสดิการแบบแทบไม่อั้น และการโกหกด้วยการตกแต่งบัญชี กรีซกู้หนี้ยืมสินมาปิดงบประมาณจนกู้อีกไม่ได้ กระบวนการเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายจึงเกิดขึ้น ในปีที่เริ่มเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลาย กรีซใช้จ่ายสูงมากจนงบประมาณขาดดุลถึง 13% ของจีดีพี ส่งผลให้ต้องไปขอกู้เงินจากสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มาจ่ายให้เจ้าหนี้

การกู้เงินดังกล่าวมีเงื่อนไขที่กรีซจะต้องปฏิบัติตาม ก่อนที่จะได้เงินมาแต่ละงวด เงื่อนไขสำคัญได้แก่รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการลดการใช้จ่ายลงพร้อมกับเพิ่มภาษี มาตรการเหล่านั้นมีผลกระทบทางลบ เพราะรัฐบาลต้องลดทั้งพนักงานและสวัสดิการลงพร้อมๆ กับขึ้นภาษี ส่งผลให้เศรษฐกิจของกรีซถดถอย และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นไปสูงถึง 26% ตามข้อตกลงที่รัฐบาลก่อนทำไว้ กรีซจะต้องรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะได้เงินอีกงวดในวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม ไม่ยอมทำตามเงื่อนไข จึงไม่ได้เงินงวดนั้นมาใช้หนี้ ส่งผลให้กรีซตกอยู่ในภาวะล้มละลายทันทีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

หลังจากชาวกรีกส่วนใหญ่ออกความเห็นว่า จะไม่รับเงื่อนไขของเจ้าหนี้ และรัฐบาลจะนำความเห็นนั้นไปใช้ต่อรองอีกครั้ง ฝ่ายเจ้าหนี้จะยอมทำตามความประสงค์ของรัฐบาลก็ได้ หรือไม่ทำตามก็ได้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอม เป็นไปได้สูงว่ากรีซจะต้องออกจากสหภาพยุโรป และกลับไปใช้เงินดรักมาร์อีกครั้ง ในกรณีนี้ชาวกรีกอาจจะต้องรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นทันทีโดยไม่มีใครบังคับ และอาจต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อด้วย เพราะรัฐบาลกรีซจะกู้เงินอีกไม่ได้ และพิมพ์เงินดรักมาร์ออกมาใช้จ่าย ในขณะที่ค่าของเงินดรักมาร์อาจตกลงมาอย่างรวดเร็ว  หลังจากนั้นเศรษฐกิจของกรีซจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครสามารถฟันธงได้ สิ่งเดียวที่แน่นอนคือ กรีซจะยังมีภาระหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดิม

กลุ่มเจ้าหนี้อาจตัดสินใจผ่อนคลายเงื่อนไขให้บ้าง เพราะไม่ต้องการให้กรีซออกจากสหภาพยุโรป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า กรีซจะได้ทุกอย่างตามที่ตนต้องการ เนื่องจากรัฐบาลต่างๆ ในกลุ่มนั้นก็มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน ฉะนั้น การผ่อนคลายให้กรีซจะต้องอยู่ในขอบเขตที่รัฐบาลเหล่านั้น สามารถโน้มน้าวให้ประชาชนของตนเข้าใจว่า พวกเขามิได้เป็นผู้รับบาปมากจนเกินไป จากความชั่วร้ายของนโยบายประชานิยม และพฤติกรรมของชาวกรีก โดยเฉพาะชาวเยอรมันซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ตามรายงานของสื่อ ชาวเยอรมันโดยทั่วไปไม่พอใจที่ตนจ่ายภาษีเต็มที่ ในขณะที่ชาวกรีกหลีกเลี่ยงกันอย่างแพร่หลาย เรื่องนี้พอเข้าใจได้เนื่องจากข้อมูลที่คณะทำงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ นำมาเสนอเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้บ่งว่าชาวเยอรมันเพียง 2.3% เท่านั้น ที่พยายามหลีกเลี่ยงภาษี ในขณะที่ชาวกรีกมีถึง 89.5% ที่พยายามหลีกเลี่ยง

แม้กรีซจะได้รับการผ่อนผันและไม่ถูกขับไล่ออกจากสหภาพยุโรป แต่กรีซก็มิได้ชนะและจะทำตัวคล้ายกาฝาก หรือมักง่ายต่อไปได้ โดยการใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้าย หรือโกหกโดยการตกแต่งบัญชี หรือหลีกเลี่ยงภาษีกันเกือบทั้งประเทศ กรีซจะชนะก็ต่อเมื่อได้ใช้ช่วงเวลาของการผ่อนผันปฏิรูปตนเองอย่างเร่งด่วน โดยลดความมักง่ายและความเลวร้ายต่างๆ ลง เพื่อจะอยู่ในสหภาพยุโรปได้แบบสังคมที่มีวุฒิภาวะเท่าเทียมกัน มิฉะนั้น อีกไม่นานก็จะถูกขับไล่ออกจากกลุ่ม

กรีซเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจไม่ต่ำกว่าอาร์เจนตินา และเวเนซุเอลา ถ้าจะมองหาบทเรียน หรือจะมองเพียงเรื่องสวัสดิการสูงๆ ที่ประชาชนอยากได้ แต่ไม่ยอมจ่ายภาษีก็จะมีบทเรียนเช่นกัน กรีซจะเป็นประเทศสุดท้ายที่ความมักง่าย นโยบายประชานิยมและการโกหกพกลม ทำให้ล่มจม หากสังคมอื่นมองเห็นบทเรียน
 


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

กรีซจะชนะในภาวะไหน?

โดย :

Tags : กรีซ จะชนะ ภาวะไหน

view