สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

TPP และความเสียเปรียบของการส่งออกของไทย

TPP และความเสียเปรียบของการส่งออกของไทย

โดย :
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635069#sthash.JEapo1re.dpuf

TPP และความเสียเปรียบของการส่งออกของไทย
โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




เมื่อวันที่ 3 ก.ค.หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นรายงานว่า การเจรจาภายใต้กรอบของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

(Trans Pacific Partnership หรือ TPP) นั้น บรรลุข้อตกลงไปแล้วประมาณ 80% ของหัวข้อเจรจาหลัก 31 หัวข้อ

ทั้งนี้ การเจรจาดังกล่าว โดย 12 ประเทศที่เป็นสมาชิก TPP นั้น ดำเนินการคู่ขนานไปกับการเจรจาแบบ 2 ฝ่าย ระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแกนนำหลักของ TPP โดยรองหัวหน้าเจรจาการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐและญี่ปุ่น กล่าวเมื่อ 10 กรกฎาคมว่า การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ของ 2 ประเทศ ได้สำเร็จเสร็จสิ้นลงไปแล้ว และประเด็นที่เหลือที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น ให้เป็นการแสวงหาข้อตกลงกันในระดับรัฐมนตรี (การเมือง) ในการประชุมระดับรัฐมนตรี เพื่อให้บรรลุถึงข้อตกลงสมบูรณ์ของ TPP ณ มลรัฐฮาวาย (เกาะเมาวี) ในวันที่ 28-31 กรกฎาคม

โดยให้มีการเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ (หัวหน้าเจรจาการค้า) ในระหว่างวันที่ 24-27 กรกฎาคม กล่าวคือ TPP ซึ่งได้มีการเจรจากันอย่างยืดเยื้อมานานถึง 6 ปีนั้น กำลังมีแรงส่งอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากรัฐสภาสหรัฐผ่านกฎหมายให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐ เจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีแบบรวบรัด (Fast track authority) เป็นเวลา 6 ปี

กล่าวคือเมื่อตกลงทำเขตการค้าเสรี TPP แล้ว ก็ให้นำเสนอต่อสาธารณชนและต่อรัฐสภา โดยให้มีเวลาพิจารณา 60 วัน ก่อนที่จะลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบข้อตกลงดังกล่าว (แต่จะแก้ไขสาระอันใดของข้อตกลงไม่ได้) การรีบเร่งของสหรัฐ ก็เป็นเหตุมาจากประเด็นทางการเมือง กล่าวคือประธานาธิบดีโอบามาอยากให้รัฐสภาสหรัฐเห็นชอบ TPP ภายในปีนี้ เพื่อมิให้เป็นประเด็นที่นำไปถกเถียงในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี เพราะ TPP นั้น กระทบต่อฐานเสียงของพรรคเดโมแครต (เช่น สหภาพแรงงาน) ทำให้โอบามาต้องพึ่งพาเสียงจากพรรครีพับลิกัน เพื่อสร้างผลงานในการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2

โดยเชื่อมั่นว่า TPP จะทำให้สหรัฐเป็นแกนนำในการขยายตลาดการค้า และการรวมตัวทางเศรษฐกิจของทวีปอเมริกา กับทวีปเอเชียร่วมกับญี่ปุ่น เพื่อคานอำนาจของจีนในภูมิภาคเอเชีย ในขณะเดียวกัน อำนาจ Fast track ที่ยาวนานถึง 6 ปี จะเป็นประโยชน์ในการทำการเจรจาเขตการค้าเสรีกับยุโรปในขึ้นต่อไป จึงจะสามารถคานการขยายตัวของจีนทางด้านยุโรปพร้อมกันไปได้ด้วย

จริงอยู่การเจรจา TPP นั้น ยังตกลงกันไม่ได้ทั้งหมด และที่เหลือก็จะมีประเด็นที่ยุ่งยาก และมีความละเอียดอ่อนสูงมาก เช่น เรื่องของการเปิดเสรีตลาดสินค้าเกษตรและภาคการเกษตร ซึ่งญี่ปุ่นคัดค้านมาโดยตลอด แม้กระทั่งแคนาดาเอง ก็ยังสงวนท่าทีและกล่าวว่า พร้อมที่จะยุติการเจรจาหากไม่สามารถผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมกับแคนาดาได้

ทั้งนี้ ล่าสุดนั้นมีรายงานว่าการเจรจา TPP น่าจะตกลงกันได้แล้วใน 17 หัวข้อหลัก และอีก 8 หัวข้อ ก็ใกล้เสร็จสิ้นแล้วจากทั้งหมด 31 หัวข้อดังกล่าวข้างต้น ซึ่งประเทศที่เจรจาจัดตั้ง TPP นั้น มีทั้งสิ้น 12 ประเทศคือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐและเวียดนาม โดยประเมินว่า 12 ประเทศดังกล่าว มีจีดีพีรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 30 ล้านล้านเหรียญ หรือ 40% ของจีดีพีโลก (ส่วน ใหญ่คือสหรัฐและญี่ปุ่น ซึ่งจีดีพีรวมกันประมาณ 22 ล้านเหรียญ) และมีการค้า-ขายระหว่างกันคิดเป็นมูลค่าประมาณ 25% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด

จะสังเกตว่านอกจากจีนที่ไม่ได้อยู่ใน TPP แล้ว ก็ยังมีประเทศหลักอีก 3 ประเทศที่อยู่นอก TPP คือเกาหลีใต้ อินโดนีเซียและไทย ดังที่กล่าวในครั้งก่อน ผมเชื่อว่าอินโดนีเซียจะเข้า TPP ได้โดยไม่ยาก เพราะเป็นประเทศใหญ่ และเกาหลีใต้ก็มีข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอยู่แล้ว

ดังนั้น ประเทศที่ดูจะตกในที่นั่งลำบากจึงน่าจะเป็นประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับมาเลเซียและเวียดนาม เพราะการส่งออกของไทย จะเสียเปรียบในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐ รวมทั้งตลาดของประเทศ TPP อื่นๆ นอกจากนั้น หากต่อไปสหรัฐเจรจาทำเขตการค้าเสรีกับยุโรปได้สำเร็จ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก TPP รายอื่น แต่ไม่เป็นประโยชน์สำหรับไทย

ทั้งนี้ หาก TPP ทำได้สำเร็จจริงภายในปลายปีนี้ และมีการให้สัตยาบรรณ โดยรัฐสภาของประเทศ TPP ต่างๆ ก็อาจเริ่มเห็นการลงทุนตั้งโรงงานในมาเลเซียและเวียดนาม เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าไปขายในสหรัฐ ญี่ปุ่น และสมาชิกอื่นๆ ของ TPP เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ข้อตกลง TPP นั้น มิใช่ข้อตกลงเฉพาะเพื่อการค้า-ขายสินค้าโดยปลอดภาษีเท่านั้น แต่มีความหลากหลายและครอบคลุมในหลายด้าน เช่น การค้า บริการ การลงทุน การค้าสินค้าเกษตร การค้า E-commerce และโทรคมนาคม การต่อต้านคอร์รัปชัน การส่งเสริมการค้าโดยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรและแหล่งกำเนิดสินค้า การยุติข้อพิพาท มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อม การแข่งขันและรัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

สาระสำคัญๆ คงมีอยู่มากในหัวข้อดังกล่าว ซึ่งผมมีความรู้เพียงผิวเผิน แต่เรื่องที่มีความละเอียดอ่อนที่สุดน่าจะเป็นเรื่องสินค้าเกษตร มาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญานั้น หากไทยพยายามและสามารถเริ่มเจรจาขอเข้าร่วม TPP ได้ในที่สุด ก็น่าจะเป็นประเด็นที่เอ็นจีโอของไทยคัดค้านอย่างแข็งขัน เพราะ แกนนำที่สนับสนุนการขับเคลื่อน TPP ที่มีความจริงจังมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในสหรัฐคือ กลุ่มผู้ผลิตยาที่ต้องการให้การคุ้มครองตำรับยามีความรัดกุมยิ่งขึ้น เช่น การให้กำหนดขั้นตอนที่จะทำให้การบังคับสิทธิบัตร (Compulsory licensing) และการผลิตยาสามัญ (generic) ทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น ในส่วนของมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมนั้น ก็น่าจะมีประเด็นปัญหาที่ไทยประสบอยู่แล้ว เช่น IUU ในส่วนของการประมง เป็นต้น

แต่หาก TPP เกิดขึ้นจริง แต่ไทยไม่สามารถเป็นสมาชิกของข้อตกลงดังกล่าวได้ การส่งออกของไทยก็คงจะต้องอยู่ในภาวะเสียเปรียบหลายประเทศในเอเชีย ในระยะกลางและระยะยาวอย่างแน่นอน

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635069#sthash.JEapo1re.dpuf

เมื่อวันที่ 3 ก.ค.หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นรายงานว่า การเจรจาภายใต้กรอบของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

(Trans Pacific Partnership หรือ TPP) นั้น บรรลุข้อตกลงไปแล้วประมาณ 80% ของหัวข้อเจรจาหลัก 31 หัวข้อ

ทั้งนี้ การเจรจาดังกล่าว โดย 12 ประเทศที่เป็นสมาชิก TPP นั้น ดำเนินการคู่ขนานไปกับการเจรจาแบบ 2 ฝ่าย ระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแกนนำหลักของ TPP โดยรองหัวหน้าเจรจาการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐและญี่ปุ่น กล่าวเมื่อ 10 กรกฎาคมว่า การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ของ 2 ประเทศ ได้สำเร็จเสร็จสิ้นลงไปแล้ว และประเด็นที่เหลือที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น ให้เป็นการแสวงหาข้อตกลงกันในระดับรัฐมนตรี (การเมือง) ในการประชุมระดับรัฐมนตรี เพื่อให้บรรลุถึงข้อตกลงสมบูรณ์ของ TPP ณ มลรัฐฮาวาย (เกาะเมาวี) ในวันที่ 28-31 กรกฎาคม

โดยให้มีการเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ (หัวหน้าเจรจาการค้า) ในระหว่างวันที่ 24-27 กรกฎาคม กล่าวคือ TPP ซึ่งได้มีการเจรจากันอย่างยืดเยื้อมานานถึง 6 ปีนั้น กำลังมีแรงส่งอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากรัฐสภาสหรัฐผ่านกฎหมายให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐ เจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีแบบรวบรัด (Fast track authority) เป็นเวลา 6 ปี

กล่าวคือเมื่อตกลงทำเขตการค้าเสรี TPP แล้ว ก็ให้นำเสนอต่อสาธารณชนและต่อรัฐสภา โดยให้มีเวลาพิจารณา 60 วัน ก่อนที่จะลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบข้อตกลงดังกล่าว (แต่จะแก้ไขสาระอันใดของข้อตกลงไม่ได้) การรีบเร่งของสหรัฐ ก็เป็นเหตุมาจากประเด็นทางการเมือง กล่าวคือประธานาธิบดีโอบามาอยากให้รัฐสภาสหรัฐเห็นชอบ TPP ภายในปีนี้ เพื่อมิให้เป็นประเด็นที่นำไปถกเถียงในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี เพราะ TPP นั้น กระทบต่อฐานเสียงของพรรคเดโมแครต (เช่น สหภาพแรงงาน) ทำให้โอบามาต้องพึ่งพาเสียงจากพรรครีพับลิกัน เพื่อสร้างผลงานในการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2

โดยเชื่อมั่นว่า TPP จะทำให้สหรัฐเป็นแกนนำในการขยายตลาดการค้า และการรวมตัวทางเศรษฐกิจของทวีปอเมริกา กับทวีปเอเชียร่วมกับญี่ปุ่น เพื่อคานอำนาจของจีนในภูมิภาคเอเชีย ในขณะเดียวกัน อำนาจ Fast track ที่ยาวนานถึง 6 ปี จะเป็นประโยชน์ในการทำการเจรจาเขตการค้าเสรีกับยุโรปในขึ้นต่อไป จึงจะสามารถคานการขยายตัวของจีนทางด้านยุโรปพร้อมกันไปได้ด้วย

จริงอยู่การเจรจา TPP นั้น ยังตกลงกันไม่ได้ทั้งหมด และที่เหลือก็จะมีประเด็นที่ยุ่งยาก และมีความละเอียดอ่อนสูงมาก เช่น เรื่องของการเปิดเสรีตลาดสินค้าเกษตรและภาคการเกษตร ซึ่งญี่ปุ่นคัดค้านมาโดยตลอด แม้กระทั่งแคนาดาเอง ก็ยังสงวนท่าทีและกล่าวว่า พร้อมที่จะยุติการเจรจาหากไม่สามารถผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมกับแคนาดาได้

ทั้งนี้ ล่าสุดนั้นมีรายงานว่าการเจรจา TPP น่าจะตกลงกันได้แล้วใน 17 หัวข้อหลัก และอีก 8 หัวข้อ ก็ใกล้เสร็จสิ้นแล้วจากทั้งหมด 31 หัวข้อดังกล่าวข้างต้น ซึ่งประเทศที่เจรจาจัดตั้ง TPP นั้น มีทั้งสิ้น 12 ประเทศคือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐและเวียดนาม โดยประเมินว่า 12 ประเทศดังกล่าว มีจีดีพีรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 30 ล้านล้านเหรียญ หรือ 40% ของจีดีพีโลก (ส่วนใหญ่คือสหรัฐและญี่ปุ่น ซึ่งจีดีพีรวมกันประมาณ 22 ล้านเหรียญ) และมีการค้า-ขายระหว่างกันคิดเป็นมูลค่าประมาณ 25% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด

จะสังเกตว่านอกจากจีนที่ไม่ได้อยู่ใน TPP แล้ว ก็ยังมีประเทศหลักอีก 3 ประเทศที่อยู่นอก TPP คือเกาหลีใต้ อินโดนีเซียและไทย ดังที่กล่าวในครั้งก่อน ผมเชื่อว่าอินโดนีเซียจะเข้า TPP ได้โดยไม่ยาก เพราะเป็นประเทศใหญ่ และเกาหลีใต้ก็มีข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอยู่แล้ว

ดังนั้น ประเทศที่ดูจะตกในที่นั่งลำบากจึงน่าจะเป็นประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับมาเลเซียและเวียดนาม เพราะการส่งออกของไทย จะเสียเปรียบในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐ รวมทั้งตลาดของประเทศ TPP อื่นๆ นอกจากนั้น หากต่อไปสหรัฐเจรจาทำเขตการค้าเสรีกับยุโรปได้สำเร็จ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก TPP รายอื่น แต่ไม่เป็นประโยชน์สำหรับไทย

ทั้งนี้ หาก TPP ทำได้สำเร็จจริงภายในปลายปีนี้ และมีการให้สัตยาบรรณ โดยรัฐสภาของประเทศ TPP ต่างๆ ก็อาจเริ่มเห็นการลงทุนตั้งโรงงานในมาเลเซียและเวียดนาม เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าไปขายในสหรัฐ ญี่ปุ่น และสมาชิกอื่นๆ ของ TPP เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ข้อตกลง TPP นั้น มิใช่ข้อตกลงเฉพาะเพื่อการค้า-ขายสินค้าโดยปลอดภาษีเท่านั้น แต่มีความหลากหลายและครอบคลุมในหลายด้าน เช่น การค้า บริการ การลงทุน การค้าสินค้าเกษตร การค้า E-commerce และโทรคมนาคม การต่อต้านคอร์รัปชัน การส่งเสริมการค้าโดยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรและแหล่งกำเนิดสินค้า การยุติข้อพิพาท มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อม การแข่งขันและรัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

สาระสำคัญๆ คงมีอยู่มากในหัวข้อดังกล่าว ซึ่งผมมีความรู้เพียงผิวเผิน แต่เรื่องที่มีความละเอียดอ่อนที่สุดน่าจะเป็นเรื่องสินค้าเกษตร มาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญานั้น หากไทยพยายามและสามารถเริ่มเจรจาขอเข้าร่วม TPP ได้ในที่สุด ก็น่าจะเป็นประเด็นที่เอ็นจีโอของไทยคัดค้านอย่างแข็งขัน เพราะแกนนำที่สนับสนุนการขับเคลื่อน TPP ที่มีความจริงจังมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในสหรัฐคือ กลุ่มผู้ผลิตยาที่ต้องการให้การคุ้มครองตำรับยามีความรัดกุมยิ่งขึ้น เช่น การให้กำหนดขั้นตอนที่จะทำให้การบังคับสิทธิบัตร (Compulsory licensing) และการผลิตยาสามัญ (generic) ทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น ในส่วนของมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมนั้น ก็น่าจะมีประเด็นปัญหาที่ไทยประสบอยู่แล้ว เช่น IUU ในส่วนของการประมง เป็นต้น

แต่หาก TPP เกิดขึ้นจริง แต่ไทยไม่สามารถเป็นสมาชิกของข้อตกลงดังกล่าวได้ การส่งออกของไทยก็คงจะต้องอยู่ในภาวะเสียเปรียบหลายประเทศในเอเชีย ในระยะกลางและระยะยาวอย่างแน่นอน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : TPP ความเสียเปรียบ การส่งออกของไทย

view