สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เบี้ยประกันแบบบำนาญ

เบี้ยประกันแบบบำนาญ

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ขอนำประเด็นการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194)

เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 ก.พ.2554 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 เป็นต้นไป มาปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้ 

ปุจฉา มีแนวคิดเกี่ยวกับการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญอย่างไร

วิสัชนา แต่เดิมนั้น การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตกำหนดให้หักลดหย่อนได้เพียงเท่าจำนวนที่จ่าย จริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งในส่วนของสามีและภริยา ต่อมาได้มีการเพิ่มเติม

(61) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) เพิ่มค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตอีก 90,000 บาท ดังนี้

“(61) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินเก้าหมื่นบาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการ ประกันชีวิตในราชอาณาจักร ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันภัย ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

เมื่อ 16 ก.พ.2554 รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้ทำสัญญาประกันชีวิตแบบ บำนาญเพื่อเพิ่มทางเลือกในการออม และการสะสมเงินออมอันเป็นการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงเมื่อเกษียณอายุ จึงได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรเพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสองและวรรคสามของ (61) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร กำหนดให้เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรณีที่จ่ายเป็นเบี้ย ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เพิ่มขึ้น ดังนี้

“หากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง เป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 เป็นต้นไป ให้เงินได้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น อีกในอัตราร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกินสองแสนบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้สำหรับกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (35) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการตาม (43) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนตาม (54) แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตาม (55) แล้ว ต้องไม่เกินห้าแสนบาท ในปีภาษีเดียวกัน
การได้รับยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด”

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เบี้ยประกันแบบบำนาญ

view