สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มีชัย ซัด5เหตุผล นักการเมืองค้านระบบที่มานายกฯ ฟังเข้าใจยาก

มีชัย'ซัด5เหตุผล นักการเมืองค้านระบบที่มานายกฯ ฟังเข้าใจยาก

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"มีชัย" แถลงโต้ตอบพรรคการเมือง ค้านระบบที่มานายกฯ บอกไม่มีเหตุผล-ฟังเข้าใจยาก ให้เวลา 2-3 วันเสนอความเห็นมาอีก

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงโต้ตอบพรรคการเมืองที่ให้ความเห็นคัดค้านวิธีได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ตามแนวทางที่กรธ. เคยเสนอไว้ คือ ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อผู้ที่พรรคจะสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อแจ้งให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับทราบ ว่าจากการรับฟังเสียงคัดค้านของพรรคการเมืองมี 5 เหตุผล คือ

1.เป็นวิธีที่วิตถาร

2.เปิดโอกาสให้คนนอกมาเป็นนายกฯ

3.ขัดเจตนารมณ์ประชาชน

4.ไม่ยึดโยงประชาชน และ

5.ก้าวก่ายการตัดสินใจของพรรคการเมือง

ซึ่งตนยังมองไม่เห็นเหตุผลที่แท้จริงของการคัดค้านและฟังเข้าใจยาก กล่าวคือ

ประเด็นที่ระบุว่าวิธีดังกล่าวเป็นวิตถารจะวิตถารอย่างไร ในเมื่อประชาชนสามารถรับรู้ล่วงหน้า และรู้จักหน้าตาของบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ส่วนประเด็นที่ระบุว่าเปิดโอกาสให้คนนอกมาเป็นนายกฯ ถือเป็นข้อกล่าวหาที่ทำให้เข้าใจได้ว่า กรธ.จะเป็นผู้กำหนดให้พรรคการเมืองส่งบุคคลที่ถูกกำหนดไปเป็นนายกฯ ได้ ทั้งที่ข้อเท็จจริง กรธ.ไม่สามารถกำหนดตัวบุคคลได้ มีเพียงกำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญว่าการเสนอชื่อฯ พรรคต้องมีมติ เพื่อไม่ให้เป็นความเห็นเฉพาะหัวหน้าพรรคเท่านั้น

“เรื่องเปิดโอกาสให้คนนอกเป็น ส.ส. นั้น ผมเรียนว่าหากสภาผู้แทนราษฎรไม่ต้องการคนนอกมาเป็นนายกฯ แต่พรรคการเมืองกลับเสนอคนนอกมาให้เลือก จะมีเหตุผลใดที่สภาฯ ต้องลงมติให้คนนอกนั้นมาเป็นนายกฯ ด้วย หากนักการเมืองไม่ชอบคนนอกก็ไม่ต้องเสนอตั้งแต่แรก อย่าลืมว่าการเลือกนายกฯ ใช้ระบบการเลือกในรัฐสภา โดยส.ส.500 คนเป็นผู้ลงมติ หากส.ส.ยังตัดสินไม่ได้ จะหวั่งพึ่งใครได้อีก” นายมีชัย กล่าว  

นายมีชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นที่ว่าขัดเจตนารมณ์ประชาชนนั้น ตนมองไม่เห็นประเด็นเพราะกรณีการเลือกตั้งที่พรรคเสนอรายชื่อให้ประชาชนเห็น แล้ว และประชาชนได้ตัดสินใจไปลงคะแนน จะขัดกับเจตนารมณ์ประชาชนได้อย่างไร ขณะที่ประเด็นไม่ยึดโยงประชาชน ตนมองว่าวิธีดังกล่าวยึดโยงกับประชาชนมากที่สุด เพราะประชาชนรับรู้ล่วงหน้าว่าพรรคการเมืองจะสนับสนุนผู้ใดเป็นนายกฯ ส่วนประเด็นสุดท้ายที่ระบุว่าก้าวก่ายการตัดสินใจของพรรคการเมืองนั้น ไม่มีเหตุผลเพราะกรธ.ไม่ใช่ผู้ไปบังคับว่าพรรคการเมืองควรเสนอใคร แต่ข้อกำหนดที่ระบุนั้นพรรคต้องพิจารณาหาผู้ที่เหมาะสมด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามในรายละเอียดเนื้อหากรธ. จะไม่กำหนดว่าผู้ที่อยู่ในรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองสนับสนุนให้ดำรง ตำแหน่งนายกฯ นั้นต้องเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่ เพราะไม่ต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวเกินเหตุ และมองว่าควรปล่อยให้พรรคการเมืองได้พิจารณาและกำหนดกติกาที่ใช้ภายในพรรค เอง และเพื่อไม่ให้เกิดกรอบบังคับที่ปฏิบัติยาก

นายมีชัย กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดเรื่องรายชื่อบุคคลพรรคการเมืองสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่ง นายกฯ ที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณา เช่น การเลือกให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งนายกฯ ต้องเรียงลำดับตามลำดับบัญชีรายชื่อหรือไม่ เพราะมีแนวคิดว่าหากยึดตามลำดับอาจเกิดปัญหาได้ ในกรณีพรรคการเมืองร่วมกันตั้งรัฐบาลผสม เนื่องจากคนจากพรรคการเมืองที่จะเข้าร่วมอาจไม่พอใจผู้ที่พรรคการเมือง อันดับหนึ่งเลือกให้เป็นนายกฯ ก็ได้ , กำหนดจำนวน ส.ส.ขั้นต่ำของพรรคร่วมรัฐบาลที่จะนำบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้รับการสนับสนนุ ให้เป็นนายกฯมารวมกับพรรคอันดับหนึ่ง เบื้องต้น หารือว่าจะกำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5 หรือ 25 คน , การเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขตที่คะแนนเลือกตั้งอาจมีผลเปลี่ยนแปลงต่อการกำหนด จำนวน ส.ส.ในพรรคการเมืองได้ เบื้องต้นได้วางแนวทางว่ากรณีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ที่พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุทุจริต จะหักคะแนนเลือกตั้งของส.ส.ที่ถูกตัดสินว่าทำทุจริตออกจากคะแนนนิยมของพรรค การเมืองและให้นำมานับใหม่ ทั้งนี้ในระบบเลือกนายกฯ กรธ.จะใช้เวลารับฟังความเห็นอีก 2-3 วันจากนั้นจะกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง

นายมีชัย กล่าวในประเด็นสำคัญของบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญด้วยว่า การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรธ.ได้วางแนวทางว่าจะตัดอำนาจดังกล่าวที่ให้ไว้กับส.ว.ออก เนื่องจากที่ผ่านมา ส.ว.ไม่สามารถถอดถอนบุคคลใดได้ อีกทั้งการให้อำนาจถอดถอนได้เปิดช่องให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงส.ว.ได้ เบื้องต้นจึงจะหากลไกเพื่อมาดำเนินการตัดสินให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองที่ทำทุจริตและถูกชี้มูลความผิดพ้นจากตำแหน่ง โดยใช้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการ และเรียกว่าเป็นกระบวนการให้พ้นจากตำแหน่ง สำหรับฐานพิจารณาคือการกระทำที่ขัดต่อคุณสมบัติดำรงตำแหน่ง เมื่อขาดคุณสมบัติจึงต้องพ้นจากตำแหน่ง อย่างไรก็ตามในตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น ที่ประชุมกรธ. จะเขียนให้รัฐมนตรีมีตำแหน่งส.ส.ได้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับส.ส.แบบเขตเลือกตั้งที่ได้รับเลือกเป็นนายกฯ ที่หาเสียงเพื่อให้ได้คะแนนอุ้มส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่เมื่อได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลับต้องลาออกจากส.ส. 

นายมีชัย กล่าวตอบคำถามต่อที่มาของส.ว. กรณีที่ตัดอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปว่าจะให้มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ แต่มีแนวทางคือ ต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของพรรคการเมือง ต้องยึดโยงกับประชาชน และการปฏิบติหน้าที่ต้องเป็นผู้ที่กลั่นกรอง ดูแลกฎหมายและทำหน้าที่เพื่อถ่วงดุลการแก้ไขรัฐธรรมนูญ


'นิพิฏฐ์'อัดแนวคิดกรธ. เหมือนกาแฟ'3in1'

โดย :

"นิพิฏฐ์" อัดแนวคิดกรธ. เสนอกาบัตรลต.1ใบได้3อย่าง เปรียบ เหมือนกาแฟสำเร็จรูป "3in1" บังคับปชช.เลือกนายกฯ ที่ไม่ได้ลงสมัคร

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังจากที่ตนได้แสดงความเห็นถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ที่ให้พรรคการเมืองเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี 1-5 คน ในระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง เป็นความคิดวิตถารในทางการเมืองนั้น ยังไม่ทันอะไรก็มีผู้เสนอขึ้นมาอีกว่า การกาบัตรเลือกตั้ง1ใบ ให้หมายถึงการเลือกตัวผู้สมัคร เลือกระบบบัญชีรายชื่อ และเลือกตัวนายกรัฐมนตรีไปด้วย โดยเรียกระบบนี้ว่า“1 กา 3 ได้”หมายถึงกา 1 ใบได้ 3 อย่าง ซึ่งตนรู้สึกว่าระบบนี้เหมือนกาแฟสำเร็จรูปประเภท 3in1 (ทรีอินวัน)ซึ่งวิตถารหนักเข้าไปอีก 

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เพราะคนที่ให้พรรคการเมืองเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี อาจเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งก็ได้ แล้วเราจะไปทึกทักเอาว่าคะแนนที่ประชาชนเลือกเป็นคะแนนของเขาได้อย่างไร เพราะเขาไม่ได้ลงสมัคร ประชาชนเขากาบัตรลงคะแนน เพราะเขาชอบส.ส.ก็ได้ แต่ได้นายกฯแถมมาด้วย ที่สำคัญประเทศไทยมีการปกครองในระบบรัฐสภา ระบบนี้นายกฯมาจากการเลือกในสภาฯ ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ยิ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ลงสมัครเพียงแต่พรรคการเมืองเสนอชื่อจะทึกทัก เอาว่าประชาชนเลือกมาแล้วจากระบบ 3in1ได้อย่างไร

“ระยะหลังผมไม่ค่อยแสดงความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะเบื่อคนที่วันๆเอาแต่จีบปากจีบคอพูดเรื่องรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญเสร็จก็ยกพวกไปกินข้าวกันในโรงแรม 5 ดาว โดยไม่สนใจว่าวันๆประชาชนจะกินข้าวกับอะไร ประชาชนก็ได้แต่ตักข้าวเปล่าใส่จานให้ลูกกินกับร่างรัฐธรรมนูญของท่านกันต่อ ไป แต่ครั้นผมจะไม่พูดอะไรเสียเลยก็น่ากังวล เพราะจะเข้าทางคนคิดวิตถาร จึงต้องออกมาแสดงความเห็นไว้บ้าง ส่วนจะกันความวิตถารได้ขนาดไหน ผมไม่รู้ เพียงแต่บอกว่า ผมไม่เล่นพิเรนๆกับท่าน เชิญวิตถารสนุกๆของท่านไปคนเดียว” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว


ชทพ.จี้กรธ ปรับรายละเอียดเลือกตั้ง

โดย :

ชทพ.จี้กรธ ปรับรายละเอียดเลือกตั้ง ทั้งบัตรเลือกตั้ง และส่งบัญชีรายชื่อนายกฯ เหตุไม่ตอบโจทย์การพัฒนาการเมือง ความต้องการประชาชน

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล กรรมการที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานกรธ. ว่า ตนขอให้กรธ. ทบทวนในเนื้อหาของรายละเอียดการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดให้ใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว เพราะจงมองว่าระบบประชาธิปไตยที่เคารพเสียงของประชาชน และยังกำหนดให้มีส.ส. 2 ระบบ คือ ระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งหมายถึงการลงคะแนนให้กับพรรคการเมือง และระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งหมายถึงการเลือกตัวบุคคล ควรให้สิทธิและเสรีภาพกับประชาชนในการเลือกตั้งด้วยบัตร 2 ใบ เพราะประชาชนคุ้นเคย อีกทั้งการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือเปิดโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือก เช่น พรรคการเมืองหนึ่งส่งคนที่ประวัติไม่ดี เป็นผู้มีอิทธิพลลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะต้องการเสียงจากคนๆ นั้นในเขตเลือกตั้งนั้น ขณะที่ประชาชนไม่ต้องการเลือกนักการเมืองที่พรรคส่งลง แต่ความนิยมในพรรคการเมืองนั้นยังมีอยู่ จะทำอย่างไร 

"กรธ.อย่าใช้หลักซื้อเหล้าแถมเบียร์ ต้องกลับไปคิดใหม่ แม้ระบบบัตรใบเดียวที่กรธ.คิดคือเพื่อให้เลือกเฟ้นหาบุคคลที่ดีที่สุดมาลง เลือกตั้ง ผมขอถามว่าดีที่สุดของใคร หากดีของพรรคการเมืองแต่กลับพบว่าคนนั้นมีปัญหา ดังนั้นคำว่าดีที่สุด คือ ดีอย่างไร อย่างไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยที่เรายึดเสียงข้างมาก ขณะเดียวกันเสียงข้างน้อยต้องไม่ถูกละเลย ขณะที่ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่กรธ.พิจารณาเพื่อหวังให้เกิดการ พัฒนาทางการเมืองจากที่เป็นมาเดิมๆ ผมมองว่ายังไม่ตอบโจทย์" นายสมศักดิ์ กล่าว

นายสมศักดิ์ กล่าวถึงกรณีของที่มานายกฯ ที่กรธ.เสนอให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อผู้ที่จะสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ หลังชนะการเลือกตั้งว่า พรรคการเมืองอึดอัดกับวิธีการดังกล่าว เพราะก่อนหน้านี้ระบุว่าให้นายกฯ มาจากคนนอกได้ เพื่อเปิดกว้าง ต่อมาระบุว่าให้พรรคการเมืองเสนอชื่อได้ หากพรรคการเมืองไม่เสนอชื่อหัวหน้าพรรคของตนเองหรือไม่เสนอรายชื่อของบุคคล ที่อยู่ในพรรคการเมือง ช่วงหาเสียงเลือกตั้งจะตอบคำถามสังคมอย่างไร กับคำถามที่ว่าคนในพรรคไร้คนดี ไร้ฝีมือแล้วหรือ 


พท.อัดยับบัญชีนายกฯ ผิดหลักอธิปไตยเป็นของปชช.

โดย :

"ชูศักดิ์"อัดยับบัญชีนายกฯ ยํ้าจุดยืนไม่หนุนสิ่งที่ผิดไปจากหลักการ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน วอนเลิกใช้เทคนิกทางกฎหมาย

นายชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย แถลงถึงท่าทีของพรรคต่อร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ว่า พรรคเพื่อไทยได้แสดงจุดยืนถึงร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ชุดนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ไปหลายครั้งว่า เรายึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน อะไรที่ผิดไปจากนี้ อยู่นอกหลักการ เช่น ประสงค์ใช้นายกฯ คนนอก หรือการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งให้ยุ่งยากกว่าเดิมนั้น พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ล่าสุดบอกให้ส่งรายชื่อว่าที่นายกฯ ไม่เกิน 5 คนนั้น ถามว่าต่างจากระบบเดิมอย่างไร ในเมื่อปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 คือว่าที่นายกฯ อยู่แล้ว ดังนั้นอะไรที่ผิดไปจากหลักการในเรื่องของอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชนเรา ไม่เห็นด้วยทั้งสิ้น 

ผู้สื่อข่าวถามว่า การให้พรรคเสนอชื่อบุคคลที่เป็นนายกฯ ซ้ำกันจะทำให้พรรคการเมืองจับมือกันก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ นายชูศักดิ์กล่าวว่า ไม่ถึงขั้นนั้น แต่ทุกพรรคคงต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ระบบนี้อาจทำให้เกิดการแตกแขนงของพรรคการเมือง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ ทั้งนี้ หลักการของรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ทั้งปี 40 และปี 50 ตกผลึกแล้วโดยประชาชน และประชาชนก็พอใจกับระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมาแล้ว สังเกตว่าตั้งแต่ปี 40 ประชาชนมาเลือกตั้งมากขึ้นโดยลำดับ ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง หากจะมีการเปลี่ยนแปลงคงมองเป็นอื่นไม่ได้นอกจากเป็นความพยายามลดคะแนนพรรค ใหญ่ ซึ่งไม่ใช่เจตนาหรือเป้าหมายของการร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ขอตั้งคำถามว่า จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย หรือมีเป้ามายทางการเมือง ซึ่งที่ผ่านมาหลังการรัฐประหารมักจะมีการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป้าหมายทางการ เมือง

ด้านนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยได้แสดงจุดยืนเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญชัดเจนผ่านการออก แถลงการณ์ส่งถึงกมธ.ยกร่างและกรธ.ทั้งสองชุดแล้ว ซึ่งหลักการสำคัญที่เรายึดถือเป็นหลักคือรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย รับฟังเสียงของประชาชน และเป็นไปตามหลักสากลที่สังคมโลกยอมรับ ไม่อย่างนั้นจะแก้ปัญหาไม่ได้ ไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ กรธ.อย่าประดิษฐ์วาทกรรมเพื่ออธิบายสิ่งที่ตัวเองปรารถนา อย่าตัดสินเองโดยไม่ฟังเสียงประชาชน วันนี้ประชาชนไม่ขัดข้องในการเข้าคูหากาบัตรสองใบ และที่ผ่านมาพรรคการเมืองก็เอาบุคคลที่อาสาเข้ามาทำงานให้พี่น้องประชาชน เลือก ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะไปเอาคนนอกที่ไม่ได้อาสาเข้ามาทำงานมาให้เลือก นี่เป็นหลักปรัชญาขั้นพื้นฐานว่า ต้องเลือกคนที่พร้อมเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบทุกขั้นตอน ทั้งนี้ วิธีที่จะใช้เทคนิกทางกฎหมายเพื่อให้ได้ตามสิ่งที่ตนเองปรารถนานั้นไม่ถูก ต้อง กรธ.ต้องซื่อตรงต่อตนเองและระบอบประชาธิปไตยด้วย

ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกฯ กล่าวว่า การจะให้พรรคเพื่อไทยเลือก 5 รายชื่อหรือ 10 รายชื่อไม่ใช่เรื่องยาก แต่ขอตั้งคำถามว่า รายชื่อเหล่านั้นจะเอามาจากไหน จากเขตหรือจากบัญชีรายชื่อ หรือนี่เป็นภาคพิสดารเพื่อประโยชน์อะไรสักอย่างใช่หรือไม่ เช่น เอาคนที่ไม่มีโอกาสเป็นนายกฯ แล้ว แต่ยังมีคนเคารพ มาใส่ไว้เพื่อให้ประชาชนเลือกใช่หรือไม่


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มีชัย ซัด 5เหตุผล นักการเมืองค้าน ระบบที่มานายกฯ ฟังเข้าใจยาก

view