สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

องค์การอนามัยโลก หนุนกม.ยาสูบฉบับใหม่ ห่วงบริษัทข้ามชาติแทรกแซง

องค์การอนามัยโลก′ หนุนกม.ยาสูบฉบับใหม่ ห่วงบริษัทข้ามชาติแทรกแซง

จากประชาชาติธุรกิจ

องค์การอนามัยโลกยื่นหนังสือถึงนายกฯ ชื่นชมไทยควบคุมยาสูบได้ดี ประกาศหนุนเต็มที่ ร่างกฎหมายฉบับใหม่ แนะหาแนวทางลดการนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมาย หวั่นถูกแทรกแซงจากธุรกิจข้ามชาติ


เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พญ.วีรา ลุยซ์ ดา คอสต้า เอ ซิลวา ประธานคณะเลขาธิการในกรอบอนุสัญญาว่าการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก และคณะ เข้าหารือร่วมกับ พญ.มยุรา กุสุมภ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี สธ. นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ เกี่ยวกับมาตรการควบคุมยาสูบของไทย พร้อมเรียกร้องให้ประเทศไทยสนับสนุน พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ รวมทั้งได้ยื่นหนังสือสนับสนุนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านทาง สธ.ด้วย

พญ.มยุรา กล่าวภายหลังว่า ทางผู้แทนองค์การอนามัยโลกได้กล่าวชื่นชมประเทศไทยที่มีมาตรการควบคุมยาสูบ ได้ดี พร้อมสนับสนุนการออก พ.ร.บ.ยาสูบฉบับใหม่ ที่ขณะนี้อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย และเสนอให้หาแนวทางลดการนำเข้าบุหรี่ที่ผิดกฎหมายอีกด้วย

นพ.ภูษิต กล่าวว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวอยู่ในวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื้อหาสาระสำคัญยังคงควบคุมเรื่องสื่อประชาสัมพันธ์ การใช้พริตตี้ ดารา หรือการ์ตูนมาเป็นสื่อหรือเป็นช่องทางสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มีนัยสื่อว่า บุหรี่ไม่เป็นอันตราย รวมถึงห้ามบริษัทนำเข้า จำหน่าย และผลิตบุหรี่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์กร ก่อนหน้านี้กลุ่มเกษตรกรชาวไร่ยาสูบได้ออกมาคัดค้านเพราะเกรงว่าจะได้รับผล กระทบนั้น ยังต้องมีการทำความเข้าใจกันต่อไป ซึ่งต้องแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมอาชีพใหม่ เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งเคยแก้ปัญหาเรื่องการปลูกฝิ่น ต้องทำอย่างจริงจัง นอกจากนี้กฎหมายยังห้ามหน่วยงานราชการเข้าไปข้องเกี่ยวกับบริษัทบุหรี่ ทั้งนี้จะสรุปผลการหารือเสนอให้รัฐมนตรี สธ.รับทราบในสัปดาห์หน้าและนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป

พญ.ดา คอสต้า เอ ซิลวา กล่าวว่า ขอชื่นชมการทำงานของประเทศไทยเรื่องมาตรการควบคุมบุหรี่ โดยเฉพาะการขยายภาพคำเตือนเป็นร้อยละ 85% แต่ยังมีงานที่ต้องทำตามกรอบอนุสัญญาอีกมาก แต่เป็นห่วงเรื่องการแทรกแซงทางกฎหมายจากธุรกิจบุหรี่ข้ามชาติ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะเยาวชนมากกว่า การค้าระหว่างประเทศ และเป็นห่วงสถานการณ์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ประเทศไทยควรรักษาไว้ ทั้งนี้ในฐานะตัวแทนองค์การอนามัยโลก ขอแสดงจุดยืนในการสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ กฎหมายฉบับนี้จะเพิ่มความเข้มแข็งและปกป้องประชาชนไทยจากพิษภัยของยาสูบ

"บริษัทบุหรี่ข้ามชาติจะมีกลยุทธ์ในการแทรกแซงและต่อต้านกฎหมายในประเทศต่างๆ 4 มาตรการ คือ 1.หาทางให้การออกกฎหมายใหม่อ่อนลง 2.พยายามต่อต้านการออกกฎหมายใหม่ด้วยการสนับสนุนการเคลื่อนไหวกลุ่มต่างๆ 3.พยายามทำให้กระบวนการเกิดความล่าช้า และ 4.หาทางให้กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันอ่อนลง ซึ่งประเทศไทยก็กำลังประสบปัญหาแทรกแซงทางกฎหมายเช่นกัน"
พญ.ดา คอสต้า เอ ซิลวา กล่าว



นสพ.มติชนรายวัน


ฟิลลิปมอร์ลิสไทยฯยกคำวินิจฉัยWTO โต้รบ.ไทย ไม่มีอำนาจฟ้อง

โดย :

ฟิลลิปมอร์ลิสไทยฯยกคำวินิจฉัย WTO โต้รัฐบาลไทย ระบุไม่มีอำนาจฟ้อง กระตุกให้คำนึงกฎองค์การค้าโลก

นายพงศธร อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการแผนกบรรษัทสัมพันธ์ของบริษัทฟิลลิป มอร์ริส ไทยแลนด์ ชี้แจงกรณีที่รัฐบาลไทยจะมีการฟ้องร้องกับฟิลลิปมอร์ลิส ว่า ยังคงมีการนำเสนอข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อพิพาท ระหว่างประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์ที่ได้ตัดสินโดยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) (WTO) ในเรื่องการดำเนินการของประเทศไทยในการกำหนดราคาศุลกากรสำหรับสินค้าของ ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด (สาขาประเทศไทย) (PMTL) หากประเทศไทยดำเนินการฟ้องจะเป็นการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัย ของ WTO

นอกจากนี้ ยังมีความคลาดเคลื่อนคือ กฎเกณฑ์ของ WTO นั้นแท้จริงแล้วมีผลกับหน่วยงานราชการของประเทศไทยทุกหน่วยงานรวมถึงทุกการ กระทำและการงดเว้นการกระทำของรัฐบาลไทย ดังนั้น การดำเนินคดีกับบริษัทฯ และบุคคลที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายอาญาของประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าจะไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกนาย พงศธร กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ ประเทศฟิลิปปินส์จึงมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านเกี่ยวกับข้อกล่าวหาในคดี อาญาและ หรือตามด้วยการดำเนินการฟ้องร้องใดๆ ที่มีต่อ PMTL และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยฟิลิปปินส์สามารถอาศัยช่องทางเร่งด่วนในกระบวนการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยใน ชั้น WTO ได้ และในขั้นต่อไปฟิลิปปินส์ก็จะมีสิทธิ์ในการดำเนินการในลำดับถัดมาตามกระบวน การระงับข้อพิพาทของ WTO ได้ทันที อาจจะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากประเทศไทยหรืออาจเลือกบังคับใช้มาตรการ การลงโทษทางการค้า (trade sanctions) ต่อประเทศไทยได้

นายพงศธร กล่าวว่า อีกประเด็นที่มีความไม่ถูกต้องแต่กลับถูกยกขึ้นมารายงานซ้ำๆ โดยกลุ่มผู้สนับสนุนให้มีการดำเนินการฟ้องร้องต่อบริษัทฯ คือ การอ้างว่าบริษัทฯ ชำระภาษีขาดไป 68,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประมาณตัวเลขโดยใช้ราคานำเข้าของ PMTL ไปเปรียบเทียบกับราคาสินค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) แต่การกำหนดราคาศุลกากรภายใต้กฎหมายทั้งศุลกากรไทยและองค์การการค้าโลก คือ การเปรียบเทียบระหว่างราคาสำหรับสินค้าที่อยู่ในสายการจัดจำหน่ายแบบเสีย อากรและในสายจัดจำหน่ายแบบปลอดอากรนั้นไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกัน

อีกทั้งการขายสินค้าแบบปลอดอากรนั้นยังไม่ต้องมีการเสียภาษีสรรพสามิตใน ประเทศอีกด้วย ยืนยันว่าการดำเนินการในการกำหนดราคาศุลกากรและราคานำเข้าที่ PMTL สำแดงนั้นถูกต้องตามกฎหมายไทยและกฎเกณฑ์ด้านการกำหนดราคาศุลกากรที่เกี่ยว ข้องของ WTO“ผมเชื่อว่าไม่ได้ทำผิดอะไร ดังนั้นจึงไม่สมควรที่จะต้องถูกกล่าวหาว่าร้ายอย่างรุนแรง อย่างเช่นที่ต้องประสบอยู่มาเป็นเวลากว่า 10 ปี เรายังคงรอการพิจารณาทบทวนข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลดังกล่าวนี้และเชื่อเป็น อย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะรักษาคำมั่นในสิ่งที่ตนเองได้ยืนยันอย่างเปิดเผยกับ ประเทศฟิลิปปินส์และประชาคมการค้าระหว่างประเทศว่าตนจะดำเนินการให้สอดคล้อง กับพันธกรณีที่มีอยู่ต่อ WTO” นายพงศกรกล่าว


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : องค์การอนามัยโลก กม.ยาสูบฉบับใหม่ ห่วงบริษัทข้ามชาติ แทรกแซง

view