สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ตรวจความพร้อมก่อนเปิด AEC

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ พร้อมรับ AEC หรือยัง?

โดย ณกฤช เศวตนันท์ Thai.attorney@hotmail.com

อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งนอกจากจะเป็นวันสิ้นปีแล้วยังเป็นวันที่สำคัญอีกวันหนึ่งของชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นวันเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ตามที่ผู้นำชาติอาเซียนได้เห็นพ้องให้เลื่อนมาจากกำหนดเดิม คือ วันที่ 1 มกราคม 2558

เหตุที่ต้องมีการเลื่อนนั้นก็เพราะมีข้อตกลงและขั้นตอนต่าง ๆ อีกหลายขั้นตอนที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ และผู้นำของบางประเทศยังมีความกังวลปัญหาต่าง ๆ ที่มีลักษณะการข้ามชาติ (Transnational Problem) รวมถึงยังเหลือความท้าทายอีกหลายอย่างที่ต้องจัดการให้แล้วเสร็จ

หนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือการส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นตลาด และฐานการผลิตเดียวกันโดยให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีซึ่งสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือในระหว่างประเทศสมาชิก และตามกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service : AFAS) และความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement : ACIA)

มีเป้าหมายในส่วนการเคลื่อนย้ายเสรีบริการแบ่งออกเป็นวิธี การค้าบริการโดยการให้บริการแบบข้ามพรมแดนการเดินทางไปบริโภคในต่างประเทศ และที่สำคัญคือในส่วนการจัดตั้งธุรกิจในประเทศสมาชิก ซึ่งมีเป้าหมายเปิดให้นักลงทุนอาเซียนสามารถเข้ามาจัดตั้งธุรกิจในประเทศ สมาชิกโดยถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 70% ในธุรกิจบริการต่าง ๆ

สถานะปัจจุบันของการเปิดเสรีการค้าบริการของอาเซียนอยู่ ในขั้นประเทศสมาชิกได้ลงนามพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการจน ถึงฉบับที่9จากทั้งหมด 11 ฉบับ โดยสาระสำคัญของข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่ 9 ของไทยจะเป็นการเพิ่มจำนวนสาขาบริการจากข้อผูกพันการค้าบริการชุดที่ 8 แต่ยังคงมีข้อจำกัดในการให้บริการในแต่ละสาขาบริการหรือกิจกรรมที่ไทยต้อง การสงวนเพื่อการกำกับดูแลสาขาบริการหรือกิจกรรมข้างต้นซึ่งต้องพิจารณาตาม แต่ละประเภทการบริการที่นักลงทุนต่างชาติประสงค์เข้ามาลงทุนในประเทศไทยตาม ที่ข้อผูกพันกำหนดไว้

ตัวอย่างเช่นหากนักลงทุนอาเซียนต้อง การประกอบธุรกิจบริการด้านกฎหมายในประเทศไทยจะต้องจดทะเบียนนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัดในประเทศไทยและต้องมีสัดส่วนหุ้นต่างชาติไม่เกินร้อยละ49 ของทุนจดทะเบียนและจำนวนผู้ถือหุ้น

ต่างชาติ ต้องน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทแต่หากให้บริการ ให้คำปรึกษาในการร่างเอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมายการค้าระหว่างประเทศจะต้องมี สัดส่วนหุ้นต่างชาติไม่เกินร้อยละ70 ของทุนจดทะเบียน และจะต้องดำเนินธุรกิจในลักษณะร่วมทุน (Joint Ventures) กับบุคคลหรือนิติบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น เป็นต้น


ส่วนการเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยของนักลงทุน อาเซียน จะต้องดำเนินการขออนุญาตหน่วยงานใดและอย่างไรนั้น เนื่องจากยังไม่มีการออกกฎหมายใหม่เพื่ออนุวัติการในส่วนการเข้ามาลงทุนของ ชาวต่างชาติอาเซียนนอกไปจากพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตีความว่า นักลงทุน หรือ นักธุรกิจสัญชาติอาเซียน ถือเป็น "คนต่างด้าวโดยสนธิสัญญา" ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีด้วย ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และได้รับสิทธิภายใต้การตกลงของอาเซียนดังกล่าว

โดยสามารถประกอบ ธุรกิจตามที่ผูกพันไว้ในความตกลงด้วยวิธีการขอหนังสือรับรองการใช้สิทธิ ประกอบธุรกิจจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตประกอบ ธุรกิจจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวดังเช่นเหมือนกับคน ต่างด้าวทั่วไปที่ประสงค์ประกอบธุรกิจอันเป็นธุรกิจในบัญชีท้ายของพระราช บัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542 ซึ่งการรับรองสิทธิการประกอบธุรกิจของคนสัญชาติอาเซียน ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวถือเป็นช่องทางพิเศษในการอำนวยความสะดวกให้ประเทศ สมาชิกอาเซียนสามารถประกอบธุรกิจในประเทศได้โดยสะดวกและรวดเร็วเพื่อส่ง เสริมการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนอาเซียนของประเทศสมาชิก

การเปิดสมาคมอาเซียนในวันสิ้นปีนี้ย่อมทำให้เกิดความตื่นตัวทางธุรกิจไม่เพียงแต่กลุ่มประเทศภาคีสมาชิกเท่านั้น แต่ต่อกลุ่มการค้าอื่นทั่วโลกด้วย และการแข่งขันทางการค้าย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และออกกฎหรือระเบียบให้มีความชัดเจนเอื้อแก่การลงทุนของนักลงทุนชาติอาเซียนอื่นในเดือนนี้ หรือเดือนหน้าเป็นอย่างช้า


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ตรวจความพร้อม เปิด AEC

view