สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ค่าตอบแทนจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณฯของฐานภาษี(2)

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ขอนำประเด็นค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4)

แห่งประมวลรัษฎากร คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 101/2543 มาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้ 

ปุจฉา   กรณีการนำเข้าสินค้าซึ่งผู้ซื้อไม่มีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงาน ศุลกากรเนื่องจากผู้ซื้อได้วางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชำระภาษี เพราะเหตุที่นำเข้าสินค้าเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือในกรณีนำเข้าเครื่องจักร หรือวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก ของผู้ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ตามาตรา 83/8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้ซื้อได้นำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยก เว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งไม่มีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อน ต้องปฏิบัติอย่างไร

วิสัชนา   กรณีการนำเข้าสินค้าซึ่งผู้ซื้อไม่มีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงาน ศุลกากรเนื่องจากเหตุดังกล่าว ถือได้ว่า ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ นำเข้าไม่ได้ชำระภาษี มูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จึงไม่มีสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อให้เจ้าพนักงาน ประเมินตรวจสอบ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 2)

ปุจฉา   กรณีการขายสินค้าซึ่งผู้ซื้อได้นำเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้า พนักงานศุลกากรตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไป หากการขายสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะและเงื่อนไขการขายสินค้าที่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จะมีผลต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าอย่างไร

วิสัชนา   ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายมารวม คำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความ รับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากรทั้งนี้ ไม่ว่ามูลค่าของสินค้าตามสัญญาจะสูงหรือต่ำกว่าฐานภาษีจากการนำเข้าสินค้า ดังกล่าว

ตัวอย่าง  ผู้ประกอบการจดทะเบียนทำสัญญาขายสินค้าราคา 10,000 บาท โดยโอนสินค้าให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้า ฐานภาษีจากการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า บวกด้วยค่าธรรมเนียมอื่นจำนวน 9,000 บาท ผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ขายสินค้านั้น ไม่ต้องนำส่วนต่างของราคาสินค้าตามสัญญาและฐานภาษี จากการนำเข้าสินค้าจำนวน 1,000 บาท (10,000 - 9,000) มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้ออีก (ข้อ 5)

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ค่าตอบแทนจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณฯของฐานภาษี(2)

view