สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ค่าตอบแทนจากการขายที่ไม่ต้องคำนวณมูลค่าของฐานภาษี(3)

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ขอนำประเด็นค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับ จากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 101/2543 มาปุจฉา – วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้ 

ปุจฉา มีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการขายสินค้าพร้อมกับการให้บริการ เช่น การขายสินค้าตามสัญญาซื้อขายแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้จัดหาสินค้า ตลอดจนทำการขนส่ง ติดตั้ง อบรมพนักงาน เป็นต้น หากการขายสินค้าในลักษณะดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและได้โอนสินค้าให้ผู้ ซื้อเป็นผู้นำเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร อย่างไร

วิสัชนา กรณีการขายสินค้าพร้อมกับการให้บริการ เช่น การขายสินค้าตามสัญญาซื้อขายแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้จัดหาสินค้า ตลอดจนทำการขนส่ง ติดตั้ง อบรมพนักงาน เป็นต้น หากการขายสินค้าในลักษณะดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและได้โอนสินค้าให้ผู้ ซื้อเป็นผู้นำเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าตามสัญญาในส่วนของสินค้าซึ่ง นำเข้าจากต่างประเทศ มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร(ข้อ 6) การขายสินค้าพร้อมกับการให้บริการตามวรรคหนึ่ง กระทำได้ดังนี้ 

(1) กรณีทำสัญญาโดยแยกราคาสินค้าและค่าบริการออก ต่างหากจากกัน ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำ มูลค่าของสินค้าส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศที่โอน ให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้า มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่าง      ผู้ประกอบการจดทะเบียนทำสัญญาขายเครื่องจักรพร้อม ติดตั้ง โดยแยกเป็นราคาเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ และค่าติดตั้ง ดังนี้
        ค่าเครื่องจักร (นำเข้าจากต่างประเทศ) 200,000 บาท
        ค่าอุปกรณ์ (นำเข้าจากต่างประเทศ) 20,000 บาท
        ค่าอุปกรณ์ (ภายในประเทศ) 30,000 บาท
        ค่าติดตั้ง 50,000 บาท

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขาย ไม่ต้องนำมูลค่าตามสัญญาของเครื่องจักรและอุปกรณ์ส่วนที่นำเข้าจากต่าง ประเทศที่โอนให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้า จำนวน 220,000 บาท มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) กรณีทำสัญญาโดยไม่แยกราคาสินค้าและค่าบริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่โอนให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้า มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่าง   ผู้ประกอบการจดทะเบียนทำสัญญาขายเครื่องจักรพร้อมติดตั้ง ราคา 200,000 บาทโดยโอนให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักร ฐานภาษีในการนำเข้าเครื่องจักร ได้แก่ ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า บวกด้วยค่าธรรมเนียมอื่นจำนวน 150,000 บาท ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายไม่ ต้องนำมูลค่าของเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศจำนวน 150,000 บาท ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ค่าตอบแทนจากการขายที่ไม่ต้องคำนวณมูลค่าของฐานภาษี(3)

view