สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มิวสิค สตรีมมิ่ง-ค่าลิขสิทธิ์" กระเป๋าเงินของธุรกิจเพลง

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ทีมข่าวแมกกาซีน

ในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจเพลงได้ถูกคุกคามจากสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เริ่มตั้งแต่ยุคเทปผีซีดีเถื่อนจนมาถึงยุคดาวน์โหลดผ่านระบบออนไลน์ ทำให้บริษัทเพลงยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยต้องเบนเป้าไปประกอบธุรกิจในสายอุตสาหกรรมบันเทิงอื่นๆ ด้วย เพราะธุรกิจเพลงไม่ใช่ขุมทรัพย์ใหญ่ดังในอดีต แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

วิเชียร ฤกษ์ไพศาล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานมิวสิค โปรดักชั่น และโปรโมชั่น บริษัทจีเอ็มเอ็มถึงแกรมมี่ กล่าว ภาพรวมของธุรกิจเพลงในปัจจุบันว่า แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนผ่านจากยุคอะนาล็อกมาสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมเพลงที่รูปแบบการเสพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

“จากอดีตที่เลือกฟังเพลงจากแผ่นเสียง เทป ซีดี วันหนึ่งเปลี่ยนเป็นการดาวน์โหลด จนกระทั่งวันนี้กลายเป็นฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่ง ซึ่งเห็นได้ว่าเพลงได้ผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีในการสร้างเม็ดเงินให้กับอุตสาหกรรมในช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แต่เพลงก็ยังเป็นสินค้าที่คงความมีเสน่ห์ ยังเป็นต้นน้ำของการสร้างเม็ดเงินในระบบ ประเด็นสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่าทุกวันนี้ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมเพลงปฏิวัติตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนี้แล้วหรือยัง”

วิเชียรชี้ว่า บริษัทได้มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีมานานแล้ว และปัจจุบันซึ่งถือเป็นยุคของโลกโซเชียลที่มันสุดโต่งจากอดีต

“เรียกได้ว่าหลายปีมานี้มีการพลิกโฉมไปมาก ตั้งแต่การเข้ามาของเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูบ ไอทูนส์ ไลน์ และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ซึ่งถือว่าส่งผลดีกับอุตสาหกรรมเพลง เพราะสามารถเปลี่ยนโฉมการฟังเพลงในลักษณะของฟรีคอนเทนต์ให้กลายเป็นการฟังเพลงแบบถูกกฎหมายมากขึ้น โดยช่องทางใหม่ๆ เหล่านี้ได้กลายมาเป็นช่องทางที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจเพลงอย่างมีนัยสำคัญทีเดียว”

ในการมาอุดช่องว่างเรื่องรายได้ที่หายไป ธุรกิจคอนเสิร์ตและอีเวนต์ก็มาช่วยเป็นช่องทางรายได้ให้กับบรรดาค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ที่นำนักร้องของตัวเองขายผ่านช่องทางเหล่านี้ รวมถึงเวทีการประกวดร้องเพลงที่กลายมาเป็นสังกัดเพลงปั้นนักร้องเพื่อมาใช้งาน อาทิ เครือซีพีและทรูที่มีฐานเวทีของ
เอเอฟ อะคาเดมี่ กับเวทีเดอะวอยซ์ ในการเซ็นสัญญานักร้องในสังกัด รวมถึงบีอีซี-เทโร ที่มีค่ายเพลงของตัวเอง สามารถสร้างนักร้องได้แบบครบวงจรป้อนทั้งรายการทีวี ละครโทรทัศน์ คอนเสิร์ต และงานอีเวนต์ต่างๆ ของตัวเอง เรียกว่าอัฐยายกินขนมยายไม่ต้องไปจ้างนักร้องจากค่ายเพลงอื่นๆ มาให้สูญเสียรายได้แต่อย่างใด

การมาถึงของโลกยุคดิจิทัลที่ทำให้รายได้ของธุรกิจเพลงอยู่ตรงนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งรายได้จากยูทูบประเทศไทย จากยอดวิวและสัดส่วนโฆษณาจากบรรดาเพลงฮิตในช่องทางนี้ และล่าสุดมิวสิค สตรีมมิ่ง หรือการฟังเพลงผ่านระบบออนไลน์ โดยการเสียค่าสมาชิกเป็นรายเดือนและสามารถเก็บเพลงฟังในระบบออฟไลน์ได้ ก็กำลังกลายเป็นเทรนด์หลักการฟังเพลงของคนรุ่นใหม่

แอพพลิเคชั่นมิวสิค สตรีมมิ่ง ต่างทยอยมาเปิดบริการในเมืองไทยในรอบปีสองปีที่ผ่านมา อาทิ ดีเซอร์ แอปเปิ้ลมิวสิค ทิดัล ไลน์มิวสิค เคเคบ๊อกซ์ จูคซ์ กูเกิลเพลย์มิวสิค เป็นต้น ซึ่งมีค่าบริการที่ไม่แพงมากในการเช่าฟังเพลงในแต่ละเดือนอยู่ที่ระดับร้อยต้นๆ ถึงหลายร้อยบาท แล้วแต่แพ็กเกจของคุณภาพเสียง หรือแม้กระทั่งให้ฟังฟรีแต่มีโฆษณา และนี่คือช่องทางสร้างรายได้ใหม่ของธุรกิจเพลง

การซื้อเพลงอย่างถูกลิขสิทธิ์ ผ่านการดาวน์โหลดเพลงในระบบดิจิทัลที่ทำเงินได้พอประมาณ รายได้อีกก้อนที่มาทดแทนยอดขายของซีดีและเอ็มพี 3 ที่หายไป ก็คือการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง กษม อดิศัยปัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล (MPI) กล่าวว่า การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของ MPI ในปัจจุบัน แบ่งการจัดเก็บออกเป็น 2 ส่วน คือ ลิขสิทธิ์เพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งจะนำไปจัดสรรให้กับคนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพลงทั้งหมด อย่างผู้แต่งเนื้อร้อง ทำนอง ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ผู้ควบคุมการผลิต รวมทั้งนักร้อง คิดเป็นสัดส่วน 80% และที่เหลือเป็นการดูแลลิขสิทธิ์เพลงของค่ายเพลง ครูเพลง ศิลปิน ที่ไม่ได้สังกัดค่าย

ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา กษม บอกว่า การจัดเก็บลิขสิทธิ์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 10-20% ซึ่งหมายถึงคนเริ่มเข้าใจและยอมรับเข้ามาในระบบมากขึ้น


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มิวสิค สตรีมมิ่ง ค่าลิขสิทธิ์ กระเป๋าเงิน ธุรกิจเพลง

view