สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้ยัง?? อาหารที่มีฉลาก Sugar Free, Low Fat, Fat Free ไม่ได้ดีเสมอไป

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       สำหรับบางคนที่ลดน้ำหนักมักจะมองหาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม หรืออาหารที่ทานแล้วดีต่อสุขภาพและไม่อ้วน ซึ่งหากมีฉลากที่เขียนว่า Suger-Free, Low Fat และ Fat Free ด้วยนั้นยิ่งทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าถ้าทานแล้วจะไม่ทำให้อ้วนอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่คุณเข้าใจนั้นผิดมหันต์ เพราะ…อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคำข้างต้นเหล่านั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป และเพราะอะไรเรามาหาคำตอบกัน 

รู้ยัง?? อาหารที่มีฉลาก Sugar Free, Low Fat, Fat Free ไม่ได้ดีเสมอไป
        

        ผลิตภัณฑ์ Suger-Free, Low Fat, Fat Free บางชนิดนั้น ไม่ได้ดีต่อสุขภาพอย่างที่คิด เพราะบางชนิดอาจจะอุดมไปด้วยโซเดียมที่ค่อนข้างสูงได้ ดังนั้นควรเช็คปริมาณโซเดียมด้วย
       
       ผลิตภัณฑ์บางชนิด ปลอดไขมัน (Fat Free) ไขมันต่ำ (Low Fat) ก็จริง แต่ก็อาจจะอุดมไปด้วยน้ำตาล แถมยังอาจแต่งกลิ่น แต่งสี แต่งรสเพื่อให้อร่อยขึ้นด้วย 
       
       ส่วนผลิตภัณฑ์ Suger Free บางชนิดก็อาจจะแฝงไปด้วยสารให้ความหวาน ซึ่งสารให้ความหวานบางตัวทำหน้าที่หลอกลิ้นเราว่าหวานแต่สมองที่ต้องการน้ำตาลจริง ไม่ได้รับความหวานตามที่ต้องการ จึงทำให้เรากินมากขึ้นเพื่อรับน้ำตาลตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน และ พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ได้ให้ข้อมูลเรื่องนี้ไว้ว่า การบริโภคน้ำตาลเทียมต่อเนื่อง กระตุ้นกลไกในสมอง ส่งผลให้สมองโหยหาอาหารมากขึ้น หิวเก่งขึ้น และกินมากขึ้นกว่าปกติราว 30% ซึ่งแน่นอนว่า เป็นการกินไปแบบไม่ค่อยรู้ตัวเท่าไร พบว่า เมื่อกินน้ำตาลเทียมร่วมกับอาหาร จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดขึ้นสูงกว่าการกินอาหารกับน้ำเปล่า นั่นหมายความว่า แม้น้ำตาลเทียมจะไม่ใช่น้ำตาล แต่ก็กระตุ้นการตอบสนองของอินซูลินในร่างกาย และมีความเป็นไปได้ ที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงหรือเบาหวานได้เช่นกัน 

รู้ยัง?? อาหารที่มีฉลาก Sugar Free, Low Fat, Fat Free ไม่ได้ดีเสมอไป
        

        5 อาหารเพื่อสุขภาพ ที่ลวงความเข้าใจว่าน่าจะดีต่อสุขภาพ (ข้อมูลจาก หนังสือ THE FIRST WEALTH IS HEALTH กินดีอยู่ดี)
        
       
       1. เครื่องดื่มหรือน้ำอัดลมปลอดน้ำตาล 
       นอกจากดับกระหายให้ความสดชื่นแล้ว น้ำอัดลมเองไม่ได้มีคุณประโยชน์อะไรต่อสุขภาพมากนัก นานๆ ดื่มทีไม่เป็นไร แต่ถ้าดื่มทุกวันหรือดื่มแทนน้ำเปล่าเลย ออกจะน่ากลัว ทั้งสารให้ความหวาน สารเคมีแต่งกลิ่น รสและสี เมื่อผสมผสานกันแล้วอาจกลายเป็นสูตรค็อกเทลก่อมะเร็งได้เลย แนะนำว่าให้ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด

       
       
       2. น้ำผลไม้ ก็ดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพแต่ก็ต้องรู้จักเลือก น้ำผลไม้บางยี่ห้อผสมน้ำตาลมากเกินไป บางยี่ห้อแต่งกลิ่นสีและรส และบางยี่ห้ออาจเป็นน้ำผลไม้แท้ 100% ไม่ผสมน้ำตาลเลย แต่รู้ไหมว่า ผลไม้บางอย่างน้ำตาลสูงมากอยู่แล้ว ดื่มบ่อยๆ ก็อ้วนได้ น้ำผลไม้หากจะให้ดีคั้นเสร็จดื่มทันทีก่อนที่วิตามินซีจะละลายหายไป จะให้ดีที่สุดควรรับประทานผลไม้เป็นผล น้ำตาลจะน้อยกว่าแบบคั้น แถมได้ไฟเบอร์ครบครันอีกด้วย

       
       3. อาหารว่างเป็นซองๆ เช่น ถั่วต่างๆ และเมล็ดพืช อาทิ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง พยายามเลือกแบบ อบแทนแบบทอด ให้เลือกแบบไม่ปรุงรสแทนแบบโรยเกลือหรือคลุกน้ำตาล หรือคลุกช็อกโกแลต แบบทอดเราไม่สามารถหยั่งรู้ว่าน้ำมันที่ใช้ทอดเก่าหรือใหม่แค่ไหนได้เลย ส่วนเกลือ อาหารแต่ละมื้อมีเกลือมากพออยู่แล้ว รับประทานเยอะไปทำให้ความดันเลือดสูงอีก น้ำตาลเป็นตัวทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
       
       4. โยเกิร์ต อันนี้ดีต่อสุขภาพเนื่องจากมีโปรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ดี ที่มีประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหาร แต่โยเกิร์ตโดยทั่วไปมักแต่งเติมรสชาติโดยการ เพิ่มน้ำตาล เพิ่มรส เพิ่มกลิ่นเพื่อความอร่อย ซึ่งน้ำตาลที่เพิ่มมา เท่ากับแคลอรี่ที่มากตามไปด้วย ขณะที่สารปรุงแต่งทั้งหลายอาจจะสนองความอร่อยปากแต่เป็นของเกินความจำเป็นที่ร่างกายเราไม่ได้ต้องการ
       
       หมายเหตุ
       
        - ควรเลือกซื้อโยเกิร์ตรสธรรมชาติไม่ผสมน้ำตาลจะดีที่สุด และเติมถั่ว หรือธัญพืช หรือผลไม้สดเข้าไป ซึ่งน้ำตาลที่มาจากผลไม้สดจะช่วยเพิ่มรสชาติได้ หรือไม่ก็ลองผสมน้ำผึ้งลงไปเล็กน้อยก็ได้เช่นกัน เท่านี้ก็ได้คุณค่าทางโภชนาการ ที่สำคัญครบถ้วนแบบไม่ทำลายสุขภาพ 
       
       
       - โยเกิร์ตควรแช่ในความเย็นต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสนะค่ะ ไม่เช่นนั้นแล้ว โปรไบโอติกในโยเกิร์ตจะไม่มีชีวิตเหลือรอด
        
       
       5 ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง โดยปกตินั้น ในถั่วเหลืองจะมีไฟโตเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเอสโตรเจน ในพืชที่ว่ากันว่าช่วยให้ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ มะเร็งเต้านม และลดอาการวัยทองในสตรีหมดประจำเดือนได้ แต่ถ้าหากฮอร์โมนไม่สมดุล ร่างกายเราได้รับเอสโตรเจนที่มากเกิน ในทางกลับกัน เอสโตรเจนอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งได้เลย ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกจึงควรที่จะเลี่ยงผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองเพื่อจะได้ไม่เป็นการกระตุ้นอาการ 

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รู้ยัง อาหารที่มีฉลาก Sugar Free  Low Fat  Fat Free ไม่ได้ดีเสมอไป

view