http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล



ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

แล้วภาษีทีดิน รูปแแบบหน่วยภาษี และธรรมนูญครอบครับ มาเกี่ยวกันอย่างไร

หากเราทำตามที่กูรูส่วนใหญ่แนะนำคือจดเป็นนิติบุคคลเพื่อรองรับที่ดินทั้งหมด ทรัพย์สินทั้งหมดของเราจะไปรวมอยู่ในนิติบุคคลนั้นๆ นั้นหมายความว่า หากเราเสียชีวิตไป ทรัพย์สินในบริษัทจะต้องตกกับทายาท ซึ่งจะไปเกี่ยวพันกับธรรมนูญครอบครัว เราต้องกำหนดวิธีการจัดการทรัพย์สินไว้ตั้งแต่เรายังสามารถทำได้

แล้วมันจำเป็นหรือไม่ ?

ปกติเราจะเห็นการกำหนดธรรมนูญครอบครัวในธุรกิจครอบครัว ที่เป็นบุคคลธรรมดาเราไม่ค่อยเห็นหรอกครับ เพราะมันเป็นการจัดการผลประโยชน์ของทรัพย์สินส่วนกลาง (กงสี) ถ้าเป็นครอบครัวธรรมดาพินัยกรรมก็เหลือเฟือ ที่ต้องกำหนดเป็นธรรมนูญครอบครัวเพราะมีธุรกิจครอบครัวถึงค่อยทำกันเพื่อความชัดเจน ผมจึงไม่เข้าใจว่าคนที่ครอบครัวระดับเดียวมีแค่ที่ดินไม่มีธุรกิจอะไรจะไปทำธรรมนูญทำไม ในเมื่อบางคนมีการจัดแบ่งทรัพย์สินชัดเจนไปในรูปของพินัยกรรมแล้ว อาจจะเป็นทั้งช่วงมีชีวิตและหลังเสียชีวิตแล้ว

เพราะฉะนั้นการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้นไม่จำเป็น นอกจากเราจะใช้ทรัพย์สินนั้นๆเพื่อการดำเนินธุรกิจครอบครัวในปัจจุบันหรืออนาคตเท่านั้น

ธรรมนูญครอบครัวก็ควรทำในกรณีที่เรามีธุรกิจส่วนกลางที่ใช้ประโยชน์ในครอบครัวพี่น้องหลายคน เพื่อการจัดสรรผลประโยชน์ ความก้าวหน้าของลูกหลาน การวางแผนทยาทในการดำเนินธุรกิจครอบครัวในอนาคตเหมือนกัน

ธุรกิจครอบครัว เป็นการผสมผสานกันระหว่าง ความเป็นเจ้าของ ความเป็นครอบครัว และการจัดการ อาจมาในลักษณะหลายรูปแบบ อาจเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด โฮลดิ้งคอมแพนนี หรือบริษัทมหาชน แม้กระทั่งบริษัทข้ามชาติ ธรรมชาติของธุรกิจครอบครัว คือมีบุคคลในครอบครัวเข้าไปมีส่วนในทีมบริหาร เป็นกรรมการบริหาร เป็นผู้ถือหุ้นหรือ เข้าไปมีบทบาทในมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว

ในเรื่องการจัดการธุรกิจครอบครัว เป็นเรื่องของความไว้วางใจและข้อตกลง แต่ละครอบครัวจะมีการจัดการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของครอบครัว

ระบบครอบครัวสรุปย่อได้ว่า ต้องมีความเป็นระบบ กฎระเบียบ รูปแบบ ความคาดหวังต่างๆ ขึ้นอยู่กับสมาชิกในครอบครัว ความเป็นครอบครัว หรือ ส่วนตัว สามารถเรียนรู้รูปแบบและพฤติกรรมที่ต่างไปจากพื้นฐานครอบครัวเดิม ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับความตึงเครียดที่มีแนวโน้มที่กลับไปหารูปแบบและพฤติกรรมของครอบครัวเดิม


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน


Tags : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

view

*

view