สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อัตราเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินและการลงทุนในปี 2018

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ทีมจัดการการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด

ในปี 2018 ถึงแม้ว่าเรายังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อการลงทุนใตราสารทุน (Equity) มากกว่าตราสารหนี้ (Fixed Income) จากปัจจัยหนุนจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเติบโตในระดับที่น่าพอใจที่ 3.8% ในปี 2018 การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนที่ทำให้ Earnings ของบริษัทจดทะเบียนยังคงอยู่ในช่วงของการขยายตัว อีกทั้งนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เราเชื่อว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุนมีแนวโน้มที่จะดีกว่าตราสารหนี้อยู่มาก 

อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ภาพความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในปี 2018 อาจจะไม่เหมือน 2 ปีที่ผ่านมาที่ตลาดหุ้นอยู่ในทิศทางขาขึ้นมาตลอด จากสภาพคล่องที่ล้นมาจากการทำ QE ของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก แต่ในปี 2018 เรามองว่าในช่วงครึ่งแรกของปีปัจจัยบวกต่างๆ ในปีที่แล้วจะยังคงเอื้อต่อการลงทุนในตลาดหุ้น แต่ในช่วงครึ่งปีหลังเราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของนโยบายทางการเงินที่จะเริ่มตึงตัวขึ้นทีละน้อย ผ่านทั้งจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการลดขนาดงบดุลของสหรัฐฯ การปรับลดขนาดการทำ QE (QE Tapering) ของยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดหุ้นที่สูงขึ้น 

ทั้งนี้ นโยบายทางการเงินที่จะตึงตัวขึ้นในปี 2018 จะเกิดมากหรือน้อยกว่าคาด ปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดคือ อัตราเงินเฟ้อ โดยในปี 2018 เรามองว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับสูงขึ้นจะมาจากสองส่วนด้วยกัน คือ ค่าจ้างแรงงานที่จะปรับสูงขึ้น จากที่ตลาดแรงงานในหลายประเทศเริ่มตึงตัว Unemployment Rate อยู่ในระดับต่ำ และราคาน้ำมันที่อาจจะปรับขึ้นได้จากอุปสงค์ที่มากขึ้นด้วยเหตุสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ผลของการปรับสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อจะทำให้ธนาคารกลางต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้เร็วและแรงมากขึ้น

ผลกระทบจากการปรับดอกเบี้ยที่แรงและเร็วกว่าคาด จะมีผลทำให้ 1) อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ปรับสูงขึ้น ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ และตราสารทุน 2) ต้นทุนทางการเงินของบริษัทจะปรับสูงขึ้น ประกอบกับค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ทำให้อัตรากำไร (Profit Margin) ของบริษัทลดลงและจะเป็นแรงกดดันต่อผลกำไรของบริษัท 3. PER Valuation จะถูกปรับลดลง (De-rate) จาก Earnings Growth ที่ชะลอลง นอกจากนี้ การลดขนาดงบดุลของสหรัฐฯ ซึ่งได้เริ่มทำไปแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2017 และมีแผนที่จะทำการปรับลดเพิ่มขึ้นในปี 2018 อีกทั้งการทำ QE Tapering ของยุโรปและญี่ปุ่น จะทำให้สภาพคล่องส่วนเกินนั้นลดลง 

อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ข้อความจากการประชุม Fed ครั้งล่าสุดในวันที่ 12-13 ธ.ค. 2017 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงให้ความเห็นว่า ถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวดีกว่าคาดการณ์เดิมในปี 2018 โดยมีการ Revise up GDP (g) ขึ้นมาจาก 2.1% ในคาดการณ์ครั้งที่แล้วมาที่ 2.5% จากการรวมผลกระทบเชิงบวกจากการทำ Tax Reform ของประธานาธิบดี Donald Trump เข้ามา อีกทั้งคาดการณ์ว่า Unemployment Rate จะปรับลดลงมาที่ระดับ 3.9% ในปี 2018 จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 4.1% ซึ่งจะทำให้อัตราค่าจ้างแรงงานปรับสูงขึ้น แต่กระนั้น Fed ยังคง Target Inflation ที่ให้ไว้ในการประชุมครั้งที่แล้วที่ 1.9% 

ด้วยการคาดการณ์ดังกล่าวข้างต้น Fed จึงยังคงทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามแผนเดิม คือจะปรับขึ้น 3 ครั้งในปี 2018 มาที่ 2.25% ณ สิ้นปี 2018 และอีก 2 ครั้งในปี 2019 ซึ่งหากเป็นไปตามนี้จะเหมือนกับที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพการลงทุนที่เรายังคงให้น้ำหนักการลงทุนใน Equity มากกว่า Fixed Income ในทางกลับกัน หากอัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นแรงกว่าที่ Fed คาดไว้ อาจจะทำให้ Fed จำเป็นต้องขึ้น Fed Fund Rate เกินกว่า 3 ครั้ง และจะทำให้ธนาคารหลายๆ ประเทศจะต้องพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยตาม ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิด Correction ในตลาดหุ้นได้ ซึ่งเราคาดว่าหากจะเกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่สภาพคล่องส่วนเกินจากการทำ QE จะลดลงจากการทำ QE tapering ของยุโรปและญี่ปุ่น และการลดขนาดงบดุลของสหรัฐฯ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อัตราเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลง นโยบายทางการเงินและการลงทุน ปี 2018

view