http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

Abilene Paradox

จากประชาชาติธุรกิจ

โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา สลิงชอท กรุ๊ป

“Jerry B. Harvey” เขียนบทความหนึ่งชื่อ “Abilene Paradox-The Management of Agreement” ที่โด่งดังเป็นพลุแตก เมื่อปี 2517 หรือเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว จนกลายมาเป็นทฤษฎีการบริหารที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก จวบจนถึงทุกวันนี้

“Jerry” เล่าว่าในเมืองโคลแมน (Coleman) มลรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา มีครอบครัวหนึ่งที่ประกอบไปด้วยพ่อ แม่ ลูกสาว และลูกเขย กำลังนั่งเล่นเกมโดมิโนอยู่ที่ระเบียงบ้านในวันที่อากาศร้อนมาก ๆ อยู่ดี ๆ พ่อก็พูดขึ้นมาว่า…เราขับรถไปกินข้าวเย็นที่ Abilene กันดีมั้ย (Abilene เป็นเมืองที่สวยงามแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากใจกลางเมืองเทกซัสไปทางทิศตะวันตกประมาณ 250 กิโลเมตร แต่อยู่ห่างจากบ้านที่ครอบครัวนี้อาศัยอยู่ ไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงเศษ)

ภรรยาบอกว่า…เป็นไอเดียที่ดี

ส่วนลูกเขยที่ในใจลังเลเพราะคิดว่าสุดท้ายคงไม่พ้นตัวเองที่ต้องเป็นคนขับรถ ระยะทางก็ไกล อากาศก็ร้อนมากเสียด้วย แต่เห็นว่าพ่อตากับแม่ยายอยากไป เลยบอกว่า…ก็ดีเหมือนกัน เราไม่ได้ไป Abilene ด้วยกันมานานมากแล้ว

ส่วนลูกสาวที่คิดในใจว่าไปทำไมกัน ร้อนก็ร้อน ไกลก็ไกล แต่เห็นว่าทุกคนอยากไป ตนเองไม่ติดขัดอะไร จึงตอบว่า… ก็ดีเหมือนกัน จะได้นั่งรถเที่ยว

จากนั้นจึงแยกย้ายกันไปแต่งตัวและออกเดินทาง

ตลอดระยะเวลาที่อยู่บนรถ ทุกคนรู้สึกร้อน แถมฝุ่นเยอะอีกต่างหาก ดูช่างเป็นการเดินทางที่ยาวนานเสียเหลือเกิน พอไปถึงภัตตาคารที่จองไว้ อาหารกลับไม่อร่อยอย่างที่คาดหวัง เรียกได้ว่าแย่พอ ๆ กัน ทั้งความทุลักทุเลในการเดินทาง และรสชาติของอาหาร แต่ไม่มีใครกล้าบ่นอะไร เพราะเห็นว่าคนอื่น ๆ

ดูหงุดหงิดพอแล้ว จึงไม่อยากทำให้บรรยากาศเลวร้ายลงไปอีก

ทานเสร็จจึงเดินทางกลับ สิริรวมเวลาแห่งความเหนื่อยล้าประมาณ 4 ชั่วโมงเต็ม พอถึงบ้านแม่ก็เอ่ยขึ้นมา ทั้ง ๆ ที่ตัวเองรู้สึกตรงกันข้ามว่า…เป็นทริปที่ดีมาก ๆ เลยเนอะ (แต่จริง ๆ ในใจคิดว่าน่าจะอยู่บ้านซะดีกว่า)

จากนั้นพ่อก็พูดขึ้นมาว่า…จริง ๆ ฉันไม่ได้อยากไปหรอกนะ แต่ยอมไปเพราะตามใจทุกคน

แม่เลยพูดว่า…อ้าว ! ฉันก็ไปเพราะอยากให้ทุกคนรู้สึกแฮปปี้ ฉันต้องเป็นบ้าแน่ ๆ ถ้าเป็นต้นคิดที่อยากจะออกไปข้างนอกในวันที่อากาศร้อนอย่างนี้

ส่วนลูกสาวกับลูกเขย บอกคล้าย ๆ กันว่า…ที่จริงงง และสงสัยว่าจะออกไปทำไมไกล ๆ ในวันที่อากาศไม่เป็นใจเช่นนี้ แต่เห็นว่าพ่อกับแม่อยากไป เลยเอออวยไปด้วยเพราะไม่อยากขัดใจ

หลังจากถกกันได้สักพัก ทุกคนก็ชี้นิ้วมาที่พ่อว่าเป็นต้นเหตุของเรื่องนี้ พ่อบอกว่าที่เสนอความคิดขึ้นมาเพราะคิดว่าทุกคนอาจจะเบื่อที่นั่งอยู่บ้านเฉย ๆ โดยไม่ได้ทำอะไรในวันที่อากาศร้อนอบอ้าว อันที่จริงไม่ได้คิดว่าทุกคนจะไปหรอก แค่เปรย ๆ ขึ้นมาเฉย ๆ ตอนนั้นยังรู้สึกประหลาดใจเลยว่า…เฮ้ย จะไปกันจริง ๆ เหรอ นี่แค่คิดเล่น ๆ นะ

ทั้งหมดระเบิดเสียงหัวเราะออกมาด้วยความงุนงง แล้วก็กลับมานั่งคิดร่วมกันว่าทำไมจึงไป Abilene ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครอยากไปจริง ๆ สักคน อันที่จริงทุกคนอยากอยู่บ้านเฉย ๆ ด้วยซ้ำ แต่พูดไปคนละทางกับสิ่งที่ตนเองคิด เพราะไม่อยากขัดใจคนอื่น

ความคิดที่ย้อนแย้งกับการกระทำ (Paradox) เช่นนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในครอบครัวอย่างที่เล่าให้ฟังเท่านั้น ในสังคม ในที่ทำงาน ในรัฐบาล หรือเวทีการประชุมระดับนานาชาติ ก็มีให้เห็นทั่วไป

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมนั่งประชุมคณะกรรมการของบริษัทแห่งหนึ่งในฐานะกรรมการอิสระ หนึ่งในวาระการประชุมเป็นการทบทวนแผนกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งมีตัวเลข และอัตราส่วนทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

กรรมการหลายท่านเห็นความผิดปกติบางอย่างในตัวเลขเหล่านั้น แต่ไม่มีใครซักถาม หรือคัดค้านใด ๆ ต่างคนต่างบอกว่าเป็นแผนที่ดี วาระนั้นจึงผ่านฉลุย หลังจากที่ฝ่ายบริหารนำเสนอ หลายเดือนให้หลัง เมื่อมีการลงมือปฏิบัติจริงพบว่าข้อมูลบางอย่างคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ส่งผลกระทบถึงผลประกอบการขององค์กร

กรรมการนำแผนกลับมาทบทวนอีกครั้ง ทุกคนพูดตรงกันว่าในวันที่พิจารณาครั้งแรก เห็นความผิดปกตินั้นแล้ว แต่เพราะกรรมการท่านอื่น ๆ ดูเหมือนไม่คัดค้านอะไร ในทางกลับกันยังแสดงท่าทีสนับสนุนอีกด้วย ตนเองจึงเออออตามไป

ในคณะกรรมการมีผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชี และการเงินอยู่ 2 ท่าน คณะกรรมการท่านอื่น ๆ เห็นว่าทั้ง 2 ท่านนี้ไม่แสดงความคิดเห็นคัดค้าน จึงคิดว่าข้อมูลน่าจะถูกต้อง ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ท่าน รู้สึกว่าตนเองยังใหม่กับธุรกิจลักษณะนี้ ที่สำคัญคณะกรรมการท่านอื่นที่มีประสบการณ์โดยตรง และเข้าใจธุรกิจมากกว่า ไม่ได้แสดงความเห็นแย้ง อีกทั้งยังแสดงท่าทีสนับสนุนด้วย จึงคิดว่าตนเองอาจไม่รู้รายละเอียดของบริบทในการทำธุรกิจเท่ากับกรรมการท่านอื่น ๆ จึงสนับสนุนแผนงานนั้นไปแบบแอบสงสัยนิด ๆ

ผลกลายเป็นว่ากรรมการทั้งคณะลงมติเห็นชอบ และอนุมัติแผน ทั้ง ๆ ที่ลึก ๆ ยังไม่เห็นด้วย แต่คิดว่าตนเองรู้น้อย เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย เลยไม่อยากทำให้คนอื่นเสียเวลา และเสียความรู้สึก รวมทั้งไม่อยากทำตัวเป็นจระเข้ขวางคลองอยู่คนเดียว

Abilene Paradox จึงเป็นสิ่งเตือนใจว่าในการบริหาร และการทำงานเป็นทีม ความท้าทายไม่ได้อยู่แค่จะจัดการกับความเห็นต่าง (disagreement) ได้อย่างไร แต่การที่คนในทีมมีความเห็นไปในทางเดียวกันทั้งหมด (agreement) ก็เป็นประเด็นที่ทำให้ต้องฉุกคิดด้วยเช่นกัน


#สำนักงานบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,๒ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : Abilene Paradox

view

*

view