สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชำแหละรากแห่งวิกฤตสังคมไทย เอาเลือดหัวมาล้างตีน ...ต้องไม่เกิดขึ้น!!!

 

จากประชาชาติธุรกิจ


รสนา โตสิตระกูล วิพากษ์ทางออกประเทศไทย แนะรัฐบาลใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส เปิดเวทีรัฐบาลกับประชาชน ชำแหละรากแห่งปัญหา ความไม่เป็นธรรม เหลื่อมล้ำ ย้ำยุบสภาไม่ช่วยแก้ปัญหา แค่เปลี่ยนหน้ารัฐบาลเท่านั้น "พงษ์เทพ เทพกาญจนา" หนุนยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ใช้รัฐบาลที่มาจากประชาชน แก้ปัญหาโครงสร้างเหลื่อมล้ำ

                ผู้สื่อข่าว ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า วันนี้เวลาประมาณ 13.45 น. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการจัดแถลงข่าวการจัดงานครคบรอบชาตกาล 110 ปีรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และได้มีการเสวนาเรื่อง "ก้าวข้ามวิกฤตด้วยอภิวัตน์สู่สันติ" ณ ห้องประชุมวรรณไวทยากร ชั้น 1 ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีวิทยากร  คุณรสนา โตสิตระกูล คุณสุนีย์ ไชยรส  คุณพงษ์เทพ เทพกาญจนา และคุณวิภา ดาวมณี ให้เกียรติมาร่วมเสวนาครั้งนี้    โดยวงเสวนานี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ตัวแทนที่มีแนวคิดด้านต่างๆ ได้มาร่วมกันหาแสวงหาทางออกให้กับประเทศไทยผ่านแนวคิดเรื่อง "อภิวัฒน์สู่สันติ" ที่ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เคยวางแนวทางไว้ @พงษ์เทพ เทพกาญจนา
 นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตสมาชิกพรรคไทยรักรักไทย กล่าวว่า ปัญหาแท้จริงของสังคมไทยในเวลานี้คือ เรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม การจัดสรรอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ความแตกต่างด้านการกระจายรายได้ ไม่มีสังคมใดอยู่ได้ ถ้ามีความแตกต่างมากมายขนาดนี้
    การเมืองมีการใช้อำนาจนอกระบบเข้าแทรกแซง  ตั้งแต่ก่อน 19 กันยายน 2549 องค์กรต่างๆ ถูกแทรกแซง ทั้งๆ ที่ต้องอยู่ตรงกลาง ผลของการช่วงชิงอำนาจเมื่อ 19 กันยายน ได้มีการทำให้เกิดการช่วงชิงอำนาจไปไว้ในกลุ่มคนไม่กี่คน องค์กรอิสระบ้าง ศาลบ้าง มีการเขียนกติกาให้เกิดปัญหา มีระบบตัวแทนมากมาย
 ทุกวันนี้คน ที่มีบทบาทจริงๆ ทางการเมือง ไม่ได้อยู่ข้างหน้าอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นคนที่อยู่ข้างหลัง เพราะคนเหล่านี้เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ไม่ต้องเปิดเผยทรัพย์สิน กลายเป็นเสียอย่างนี้ไป
 ทางออก ของปัญหานี้ต้องย้อนกลับมาที่คนไทย 60 ล้านกว่าคน ต้องอยู่อย่างมีสติ อย่างมีเหตุผล และจะต้องมีการร่างโครงสร้างการอยู่ร่วมกันใหม่ ปัญหาโรคแทรกอย่างเสื้อเหลือง เสื้อแดง ที่ต่างก็มีชนักติดหลัง มีคดีความ ต้องปลดชนักนี้ แล้วมาเริ่มต้นกันใหม่ เคารพกติกาใหม่
 ถ้าการบังคับใช้ กฎหมายยังคงเป็นแบบนี้ มันก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะฉะนั้นจะทำอะไร และใครเป็นคนทำ มันจึงขึ้นกับว่า ต้องเป็นสิ่งที่ต้องทำหลังจากมีการเลือกตั้งใหม่ ได้รับรัฐบาลใหม่มาแล้ว เพื่อมาจัดระเบียบใหม่ @รสนา โตสิตระกูล
 รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงทางออกของปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ท่าน อ.ปรีดี เคยพูดเอาไว้ว่า คำ "อภิวัฒน์" ซึ่งต่างกับปฏิวัติตรงที่ปฏิวัติมีความหมายด้านลบอยู่ แต่อภิวัฒน์คือการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
 ในความหมายของ อ.ปรีดี การอภิวัฒน์ ในทางการเมืองนั้น คือการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยสมบูรณ์ ประชาชนมีความป็นอิสราธิปไตย
 ประชาธิปไตยภาคการเมืองจะดำรงอยู่ได้ ก็จะต้องวางรากอย่าง ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางสังคมวัฒนธรรมก่อน จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นซึ่งทั้งหมดนั้นก็ต้องผ่านมาด้วยซึ่งความสุข สมบูรณ์ของราษฎร
 แต่ถ้าลองมองย้อนกลับไป  ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 จุดหมายอย่างหนึ่งซึ่ถูกมองข้ามไปในการเดินขบวนของประชาชนนั้น ใช่เป็นแค่ความต้องการโค่นล้มเผด็จการทหาร  แต่เพราะไม่ต้องการนักการเมืองที่ทุจริต คือเรียกร้องธรรมมาภิบาลของนักการเมืองด้วย
 ช่วงเวลาตั้งแต่ 2500 เป็นต้นมา ก่อนจะถึง 14 ตุลาคม 2516 นั้น เป็นช่วงบ่มเพาะภาคประชาชน เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งต้องขอบคุณท่าน อ.ปรีดี ซึงพยายยามใช้การศึกษาเป็นตัวผลักดัน
 ส่วนเรื่องธรรมภิบาลของนักการ เมืองนั้น หากย้อนไปดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งงชาติ ฉบับ 1-10 นั้น ต้องยอมรับว่า ไม่มีความสมดุลย์ เน้นภาคอุตสาหกรรม เน้นคนเมือง เน้นคนมั่งมี ซึ่งช่วงเวลา ได้ถ่างให้ช่องว่างถ่างตัว ประชาชนส่วนมากก็ต้องดิ้นรนด้วยตัวเอง
 จากยุค เปรม ที่เป็นโลกาภิวัตน์ มากขึ้น ชาติชายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า แต่ทั้งหมดยังห่างไกล
 จาก ช่วงเวลาที่ผ่านมาอาจบอกได้ว่า ด้านหนึ่งเป็นพัฒนาการ อีกด้านหนึ่งเป็นกลับเป็นปัญหา ดังนั้นจึงพากันบอกว่า เมื่อมันไม่เป็นธรรม ก็ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ แก้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีพื้นฐานมาจากรัฐประหาร ซึ่งมันไม่ตอบโจทย์ของปัญหาที่แท้จริง เนื่องจากระบบการเมืองของตัวแทนที่ประชาชนมีอำนาจแค่ 5 นาที เพื่อเข้าไปกากบาทนั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนหน้ารัฐบาลเท่านั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหา
 ฉะนั้นเสื้อเหลือง เสื้อแดง จึงเป็นเพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมา
   เพราะฉะนั้น  รัฐบาลควรใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส ให้รากหญ้าได้พูดคุยกับรัฐบาล ให้มาพูดถึงปัญหาของเขา และแนวทางที่คุณจะเสนอให้พวกเขา และจะได้เป็นการบอกให้คนทั้งโลกรู้ไปเลยว่า ความไม่เป็นธรรมที่ว่านั้น มีลักษณะรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และรัฐจะตอบปัญหา แก้ปัญหานั้นอย่างไร
     ประชาธิปไตยทางการเมืองจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ถ้ามีส่วนนี้แล้วเชื่อว่า วัฒนธรรมอุปถัมภ์ที่เหมือนจะเป็นอุปสรรคก็จะไม่เกิดขึ้นหรือลดหายไปในสังคม แล้วการบอกว่าเป็น สงครามระหว่างชนชั้น วาทกรรมไพร่กับอำมาตย์ ไม่ใช่สิ่งที่ อ.ปรีดี ต้องการพูด ทั้งยังเป็นสิ่งที่อ่อนแรงไปมากแล้วในปัจจุบัน เวลานี้ในทางสังคมเราเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ คนรวย คนจน สิ่งที่ อ.ปรีดีเสนอคือ เราควรจัดระบบการเกื้อกูลให้เกิดขึ้นในสังคม
    เช่นนั้นแล้วในเวลานี้ เรากำลังสร้างวาทกรรมให้เกิดการแบ่งแยกซึ่งไม่ควรเกิด มันไม่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา เวลานี้การบอก "เอาเลือดหัวมาล้างตีน" ต้องไม่มี
    รามอน แมกไซไซ เคยพูดว่า "คนที่มีน้อย รัฐต้องให้มาก"
       รัฐบาลต้องสร้างโอกาสใหม่จากวิกฤตตรงนี้ ให้เขามีอำนาจต่อรอง ควบคุมนักการเมืองทุจริต ไม่ใช่ไพร่ที่มาพร้อม "มูลนาย" @วิภา ดาวมณี
 วิภา ดาวมณี นักวิชาการอิสระ   กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น อย่าง อ. ปรีดี บอกว่า การเมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือด แต่สงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด ทางออกของปัญหานี้คงต้องย้อนกลับมาที่ประชาชน แต่ถ้ามองไม่ออกว่าศัตรูที่แท้จริงของประชาชนคือใคร ก็คงหาทางได้ยาก
 เหตุการณ์ เมื่อ 19 กันยายน 2549 ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะเป็นการปลุกชีพเผด็จการทหารขึ้นมาอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เผด็จการทหารหรือเผด็จการทางทุนก็น่ากลัวพอกัน
 การเมืองในเวลานี้นั้น คับแคบมาก ในทางปฏิบัติการมีทหารออกมาอยู่ในจุดต่างๆ นั่นคือความรุนแรง
 สิ่ง ที่นักการเมืองทำในเวลานี้อย่าง ประชานิยม นั้นไม่พอ ต้องดำเนินไปสู่รัฐสวัสดิการให้ได้ เก็บภาษีที่ดิน มรดก เพื่อมาชดเชยคนจน ช่องว่างจะได้น้อยลง กฎหมายจัดตั้งพรรคการเมืองก็ควรได้รับการแก้ไข เพราะมันเอื้อกับนายทุน มากกว่าประชาชน
 ศาลก็เป็นอีกเรื่องที่พูดกันมาก หากมีระบบลูกขุน ระบบศาลจะเปลี่ยนไป จะยึดโยงกับประชาชน @ สุนีย์ ไชยรส
 สุนีย์ ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ทุกวันนี้ ความไม่เป็นธรรมในสังคมนั้นมีความดุเดือดถึงจุดวิกฤต และประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ชี้ให้เห็นว่า การต่อสู้ทุกครั้งในสังคมเป็นการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เรียกได้ว่ามันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมโดยรวมไทย
 ในเวลานี้ผู้ คนในสังคมต่างมีความรู้สสึกต่าง ปัญหาเชิงโครงสร้าง เศรษฐกิจ การเมืองที่ฝังรากลึก อย่างภาคใต้ในเวลานี้ ผู้คนต่างบอกว่า มองไม่เห็นทางออก เพราะเรายังมองว่ามันต่าง เราต้องไม่มองมันขาว มันดำ อย่าไปแยกมัน
 หากถามถึงทางอออกในเวลานี้ ยุบสภาไม่ใช่ทางออก เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ต้องมองให้เรื่องนี้ให้ทะลุถึงปัญหาของประชาชน
 ความ รุนแรงจากที่ผ่านมานั้นสอนให้เราได้รู้จักบทเรียนมากมาย วันนี้เรายังไม่เห็นทหารออกมายิงเสื้อแดง
 เห็นด้วยกับ สว.รสนา อย่างยิ่งว่า เปิดเวทีขึ้นมาเลย เอาปัญหาที่คนรากหญ้าบอกมาบอกกกล่าวกับประชาชนทั้งประเทศ ความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่พวกคุณได้รับนั้นคืออะไร ให้โอกาสพวกเขาได้พูด เพราะการเปลี่ยนโฉมหน้ารัฐบาลไม่ใช่การแก้ปัญหา
 ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการยอมรับเรื่องความต่างๆ การเปิดเวทีจะช่วยให้คนเมืองที่ไม่เข้าใจได้เข้าใจพวกเขามากขึ้น ได้รับรู้ว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่ง เกิดการยอมรับ เพราะหากทุกอย่างยังเป็นไปเช่นวันนี้ การเผชิญหน้ากันดูจะรังแต่ทำให้แย่ลง เพราะเมื่อประชาชนไม่ได้พูด ไม่ได้รับการปฏิบัติ พวกเขาจะเกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เมื่อประชาชนไม่เอาด้วยแล้ว ก็คงไม่อาจยกระดับเชิงโครงสร้างได้  

view