สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วรเจตน์ ตอบ คุณประสงค์ กรุณา อย่าใช้ความเชื่อ ทัศนะทางการเมือง จริยธรรมตัดสิน???

 

จากประชาชาติธุรกิจ


วิวาทะเรื่องคดียึดทรัพย์ ทักษิณ 4.6 หมื่นล้าน ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่าง วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กับ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักเศรษฐศาสตร์แห่งทีดีอาร์ไอ.เท่านั้น แต่ล่าสุด อาจารย์ วรเจตน์ ต้องเปิดศึกทางวิชาการ อีกด้านกับ "ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์" คอลัมนิสต์ใหญ่จาก มติชน อีกด้วย เราเชื่อว่า ผู้อ่านได้ประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะทั้งคู่ต่อสู้กันด้วยข้อมูลและความรู้.. ไม่บ่อยครั้งนักที่สังคมจะถกเถียงกันทางปัญญา

   
           ....สืบเนื่องจากจากบทความ "วิเคราะห์คำพิพากษา ยึดทรัพย์ ลักไก่ยิงดาวเทียม "ไอพีสตาร์" กับคำถามถึง 5 อาจารย์นิติ มธ.ฯ กรณี "ซุกหุ้น" ที่คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์เขียนลงในหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 28 มีนาคม 2553 แสดงความเสียดายที่ 5 อาจารย์นิติ มธ. ไม่ได้ให้ความเห็นประเด็นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ยังคงถือไว้ซึ่งหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป จำนวน 1,419 ล้านหุ้น ในระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย     ทั้งๆที่คุณประสงค์เห็นว่าประเด็นดังกล่าวเป็น ประเด็นที่เป็น "หัวใจ" ของคำพิพากษา    เนื่องจากประเด็นนี้นำไปสู่ประเด็นการวินิจฉัยว่า พ.ต.ท. ทักษิณ มีพฤติการณ์ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปซึ่งเป็น บริษัทของตนเองและเป็นประเด็นที่บ่งบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีพฤติกรรมที่ฉ้อฉล ปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทรัพย์สินต่อสาธารณะหรือไม่
   โดยคุณประสงค์กล่าวว่า การไม่ยอมวิเคราะห์เรื่องนี้โดยละเอียด (เหมือนกับเรื่องอื่นๆ) อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่าคณาจารย์ทั้งห้ากระทำไปโดยอคติ เมื่อเห็นว่าเรื่องใดเป็นโทษกับ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับละเลยที่จะกล่าวอ้างถึง พร้อมกับกล่าวถึงประเด็นเรื่องดาวเทียม "ไอพีสตาร์" ด้วยนั้น     ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่คุณประสงค์ได้ตั้งคำถามดังกล่าวขึ้น และขอใช้โอกาสนี้อธิบายความดังกล่าวดังนี้
   @ ปัญหาที่เป็นฐานแห่งโครงสร้างของคำพิพากษาคดียึดทรัพย์
    ประเด็นหลักของคำพิพากษาในคดี "การร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน" หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่าคดียึดทรัพย์นั้น อยู่ที่ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ หรือไม่ ซึ่งการ "ร่ำรวยผิดปกตินั้น"
   หมายความว่า "การมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติหรือมีหนี้สิน ลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่"
     แน่นอนว่าหากจะมีการยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ กรณีย่อมจะต้องได้ความว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงไว้ซึ่งหุ้นในชินคอร์ป
   และต้องปรากฏต่อไปด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กระทำการที่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ โดยการกระทำดังกล่าวนั้นเอื้อประโยชน์ให้กับชินคอร์ป และผลจากการกระทำที่เป็นการเอื้อประโยชน์ดังกล่าวทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร หรือมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นผิดปกติหรือมี ทรัพย์สินลดลงมากผิดปกติ ถ้าปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้คงไว้ซึ่งหุ้นในชินคอร์ปเสียแล้ว ก็ไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปถึงการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณว่าเป็นการเอื้อประโยชน์หรือไม่
 
 ดังนั้นบทวิเคราะห์ ของกลุ่มห้าอาจารย์ จึงระบุว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่เป็นฐานแห่งโครงสร้างของคำพิพากษาในคดีนี้
  เพราะถ้าปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้คงไว้ซึ่งหุ้นในชินคอร์ปเสียแล้ว ก็จะไม่มีฐานทางกฎหมายที่จะเดินต่อไปได้ ศาลก็จะต้องพิพากษายกฟ้อง
  อย่างไรก็ตาม แม้จะปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คงไว้ซึ่งหุ้นในชินคอร์ปจริง กรณีก็ยังไม่สามารถพิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ หากจะพิพากษายึดทรัพย์ จะต้องปรากฏต่อไปถึงการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทที่ตนถือครองหุ้นอยู่
   และในที่สุดแล้วการกระทำดังกล่าวทำให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือได้ ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรอันถือว่าเป็นการร่ำรวยผิดปกติด้วย   @  อาจารย์ทั้ง 5 หาได้มีฉันทาคติใดๆ ดังที่คุณประสงค์เข้าใจ
  ดังจะเห็นได้ว่าผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยในคดีนี้ (หม่อมหลวงฤทธิเทพ เทวกุล) แม้จะได้วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรยังคงถือหุ้นในชินคอร์ปอยู่
   แต่ก็เห็นว่าเงินที่ได้จากการขายหุ้นไม่เป็นทรัพย์สินที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้มาเนื่องจากการกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วน บุคคลกับประโยชน์ส่วนตัว ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควรจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจตาม ตำแหน่งหน้าที่อันถือว่าเป็นการร่ำรวยผิดปกติแต่อย่างใด    นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมกลุ่มห้าอาจารย์จึงกล่าวว่า เมื่อได้พิเคราะห์ข้อเท็จจริงแห่งคดีโดยตลอดแล้ว ประเด็นว่ามีการถือหุ้นแทนกันหรือไม่ ไม่มีนัยสำคัญใดๆต่อการพิจารณาในทางเนื้อหาของคดีว่าการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตามข้อกล่าวหามีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์หรือไม่
    นั่นคือ ต่อให้ถือตามความเห็นของผู้พิพากษาในคดีนี้ รวมทั้งความเห็นของคุณประสงค์ที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงถือหุ้นในชินคอร์ปอยู่ (ที่คุณประสงค์เรียกว่า "ซุกหุ้น") ก็ไม่มีผลใดๆต่อความเห็นในเนื้อหาคดีที่กลุ่มห้าอาจารย์ได้วิเคราะห์ไว้ ละเอียดพอสมควรแล้ว
     กล่าวอีกนัยหนึ่งประเด็นที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ให้บุคคลอื่นถือหุ้นแทนตน ซึ่งความจริงแล้วตนเองเป็นเจ้าของหุ้นอยู่ ไม่ได้เป็นประเด็นที่บ่งชี้โดยอัตโนมัติว่ามีการกระทำที่เป็นการเอื้อ ประโยชน์ สองเรื่องนี้เป็นคนละประเด็นกัน ลำพังเฉพาะข้อเท็จจริงที่ว่าการที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังคงไว้ซึ่ง หุ้นในบริษัทเอกชน (โดยให้ผู้อื่นถือแทนนั้น) ยังไม่ทำให้รัฐมีอำนาจไปยึดทรัพย์สินของบุคคลนั้นได้
     หากปรากฏว่านายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้น ส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ กรณีก็อาจมีการยื่นเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยให้บุคคลนั้นพ้นจาก ตำแหน่ง (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 267 และที่เกี่ยวข้อง)
     หรือในกรณีที่ปรากฏว่าการคงไว้ซึ่งหุ้นในบริษัทเอกชนของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองเท่ากับเป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและ เอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ กรณีก็อาจมีการยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองวินิจฉัยให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งและห้ามมิให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งทางการ เมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยได้ (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา  263)
    และโดยที่กลุ่มอาจารย์ทั้งห้าเห็นประเด็นข้อกฎหมายดังกล่าวนี้ และเห็นแล้วว่าแม้จะวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงถือหุ้นในชินคอร์ปอยู่จริง ก็ไม่มีผลต่อการวิเคราะห์ในเนื้อหาของคดีในเรื่องของการยึดทรัพย์เลย
   อีกทั้งเห็นว่ากรณีนี้เป็นกรณีที่เป็นประเด็นหลักในคดีลักษณะอื่น (คือคดีที่ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีพ้น จากตำแหน่ง และคดีที่ร้องขอให้ศาลฎีกาฯวินิจฉัยเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สิน)
   กลุ่มห้าอาจารย์จึงไม่ได้กล่าวไว้ในบทวิเคราะห์ฉบับเต็มโดยละเอียด หาได้มีฉันทาคติใดๆ ดังที่คุณประสงค์อาจจะเข้าใจไปเช่นนั้นไม่
 @ อยากให้อ่านสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสาร(เสียก่อน)
     สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับการละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการดาวเทียมตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ หรือกรณีเกี่ยวกับดาวเทียม "ไอพีสตาร์" นั้น
   กลุ่มห้าอาจารย์ได้วิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวนี้และได้แสดงเหตุและผลที่ไม่ เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฎีกาฯในประเด็นนี้ไว้ถึงกว่าหกหน้า
    น่าเสียดายอย่างยิ่งที่คุณประสงค์เห็นว่าบทวิเคราะห์ดังกล่าวยังไม่ละเอียด
   อย่างไรก็ตามในบทความที่กล่าวอ้างถึง คุณประสงค์ก็เพียงแต่สรุปสาระสำคัญของคำพิพากษาในเรื่องดังกล่าวมาให้ผู้ อ่านได้อ่านอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้นำความเห็นของกลุ่มห้าอาจารย์มาร่วมพิจารณาให้เห็นเลยว่ากลุ่มห้า อาจารย์ได้โต้แย้งประเด็นที่เป็นสาระสำคัญอะไรไว้บ้าง
   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโต้แย้งการตีความสัญญาในเรื่องดังกล่าวของศาลฎีกาฯ หากคุณประสงค์จะได้อ่านสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศเสีย ก่อนตามที่กลุ่มห้าอาจารย์ได้โต้แย้งไว้ ก็เชื่อได้ว่าคุณประสงค์จะเห็นประเด็นในเรื่องนี้อีกหลายประเด็น    อย่างไรก็ตามโดยที่คุณประสงค์ได้เขียนเรื่องบทความดังกล่าวออกมาแล้ว ผมเห็นว่าผมควรแสดงประเด็นสำคัญๆในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง และหลังจากที่กลุ่มห้าอาจารย์ได้ออกบทวิเคราะห์ไปแล้ว
     ผมได้อ่านความเห็นของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยในคดีนี้ และได้พบการอ้างอิงพยานบุคคลที่สนับสนุนความเห็นของกลุ่มห้าอาจารย์ให้มี น้ำหนักมากขึ้น จึงขออธิบายความเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
 @  ชัดๆ อีกครั้ง กรณี ดาวเทียมไอพีสตาร์
   เรื่องดาวเทียมไอพีสตาร์นี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการทำสัญญาดำเนินกิจการดาว เทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 1 กันยายน 2534 โดยมีบริษัทชินคอร์ปเป็นผู้รับสัมปทาน ต่อมามีกล่าวหาว่าการอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง การอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานเรื่องลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ในบริษัทไทยคม จากที่ต้องถือครองหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
      และการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจากการที่ดาวเทียมไทยคม 3 เกิดความเสียหาย จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯไปเช่าช่องสัญญานต่างประเทศ เป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ ทำให้รัฐเกิดความเสียหาย กรณีจึงต้องวิเคราะห์ว่าการกล่าวหาดังกล่าวมีมูล และมีเหตุผลรับฟังได้หรือไม่ในทางกฎหมาย
  @ อนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง เอื้อประโยชน์ หรือไม่ ?
    หนึ่ง การอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง เป็นไปตามสัญญาหรือไม่ เอื้อประโยชน์หรือไม่
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่อง นี้ปรากฏตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศซึ่งระบุให้บริษัท ชินคอร์ปมีสิทธิในการบริหารกิจการและการให้บริการวงจรดาวเทียม (Transponder) เพื่อการสื่อสารภายในประเทศและมีสิทธิเก็บค่าใช้วงจรดาวเทียมจากผู้ใช้วงจร ดาวเทียม โดยบริษัทชินคอร์ปตกลงจัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศดวงที่ หนึ่งขึ้นสู่วงโคจรพร้อมกับจัดให้มีระบบดาวเทียมสำรองในลักษณะดาวเทียม ภาคพื้นดิน
      รวมทั้งจัดให้มีดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองดวงที่สองและดวงต่อๆไปขึ้นใช้ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องกับการสิ้นอายุของดาวเทียมดวงก่อน โดยคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองตั้งแต่ดวงที่สองเป็น ต้นไปจะต้องมีคุณสมบัติการใช้งานไม่ด้อยกว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียม หลักและดาวเทียมสำรองดวงที่หนึ่ง
     แต่จำนวนวงจรดาวเทียมและและชนิดย่านความถี่ (C-Band หรือ Ku-Band) ให้เป็นไปตามที่กระทรวงและบริษัทจะตกลงกัน  ในการนำวงจรดาวเทียมไปให้ประเทศอื่นใช้ บริษัทรับที่จะให้โอกาสเท่าเทียมกันในการขอใช้วงจรดาวเทียมของผู้ใช้วงจรดาว เทียมสื่อสารภายในประเทศทุกราย
    และในกรณีที่มีวงจรเหลือจากปริมาณการใช้ในประเทศ บริษัทด้วยความเห็นชอบของกระทรวงคมนาคมสามารถนำวงจรดาวเทียมที่เหลือไปให้ ประเทศอื่นใช้ได้ 
   นอกจากนี้บริษัทชินคอร์ปยินยอมให้กระทรวงหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ กระทรวงเห็นชอบใช้วงจรดาวเทียมแบบ Non Pre-emptible Transponder ของดาวเทียมที่บริษัทจัดตั้งขึ้นซึ่งใช้เป็นดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองใน ย่านความถี่ C-Band จำนวน 1 วงจรดาวเทียมโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ
@   ดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นอะไรกันแน่ ?
     ประเด็นปัญหาในเรื่องนี้ก็คือ หลังจากที่บริษัทชินคอร์ปได้ส่งดาวเทียมหลัก คือ ดาวเทียมไทยคม 1 ดาวเทียมสำรอง คือ ดาวเทียมไทยคม 2 ดาวเทียมหลักดวงต่อมา คือ ดาวเทียมไทยคม 3 แล้ว กระทรวงคมนาคมได้อนุมัติให้มีการจัดสร้างและส่งดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทย คม 3 คือ ดาวเทียมไทยคม 4 แต่บริษัทได้ขอเลื่อนการส่งดาวเทียมดังกล่าวหลายครั้ง
    และต่อมาได้มีการแก้ไขข้อกำหนดด้านเทคนิค โดยเปลี่ยนคุณสมบัติของดาวเทียมสำรองดังกล่าว เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงส่งดาวเทียมดังกล่าว คือ ดาวเทียมไอพีสตาร์ (ไทยคม 4) ขึ้นสู่วงโคจร
    ศาลฎีกาฯ เห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ดวงต่อดวงได้ ด้วยเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน โดยดาวเทียมไอพีสตาร์ใช้ย่านความถี่เคยู-แบน รับและส่งข้อมูลให้ลูกค้าและใช้ย่านความถี่ เคเอ-แบน ในการสื่อสารรับส่งข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดินกับดาวเทียมบนอวกาศในการเชื่อม ต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยไม่มีย่านความถี่ ซี-แบน ที่จะให้กระทรวงคมนาคมใช้จำนวน 1 วงจรดาวเทียมตามสัญญา และไม่มีข้อตกลงว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อทดแทน
     ทั้งที่ดาวเทียมไทยคม 3 ซึ่งเป็นดาวเทียมหลักมีช่องสัญญานย่านความถี่ ซี-แบน และเคยู-แบน และเห็นว่าการลงมติว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ หรือเป็นดาวเทียมสำรองของคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขัดแย้งกัน 
    กล่าวคือกรมไปรษณีย์โทรเลขและคณะกรรมการประสานงานตามสัญญาสัมปทานในคราว พิจารณาอนุมัติคุณสมบัติของดาวเทียมไอพีสตาร์เห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็น ดาวเทียมหลักดวงใหม่ แต่ในการประชุมครั้งต่อมาคณะกรรมการประสานงานตามสัญญาสัมปทานได้อนุมัติให้ ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง และได้มีการเสนอความเห็นดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อ อนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง
     หากดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่ใช่ดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 แต่เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่แล้ว บริษัทจะต้องจัดสร้างดาวเทียมสำรองดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวงตามสัญญา 
     ศาลฎีกาฯเห็นต่อไปว่าเมื่อดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาว เทียมหลัก คือ ดาวเทียมไทยคม 3ได้ ทำให้ความมั่นคงในการสื่อสารดาวเทียมของชาติต้องเสียหายจากการที่ไม่มีดาว เทียมไทยคม 4 เพื่อเป็นดาวเทียมสำรองจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทำให้บริษัทผู้รับสัมปทานไม่ต้องกู้ยืมเงินมาลงทุนในการส่งดาวเทียมไทยคม 4
    นอกจากนั้นวัตถุประสงค์หลักของดาวเทียมไอพีสตาร์ยังเป็นไปเพื่อมุ่งหวังทาง การค้าและรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้งานในต่างประเทศ และบริษัทยังกำหนดแผนการจำหน่ายในต่างประเทศถึงร้อยละ 94 แต่จำหน่ายในประเทศร้อยละ 6
     ศาลฎีกาฯจึงเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักที่สร้างขึ้นเพื่อการ สื่อสารระหว่างประเทศเป็นหลัก การอนุมัติดังกล่าวทำให้บริษัทได้สัมปทานดาวเทียมระหว่างประเทศไปโดยไม่ต้อง มีการประมูล จึงเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคม
@ อยากให้คุณประสงค์ ไปดูสัญญา ข้อ 6
    สำหรับประเด็นดังกล่าวนี้ หากคุณประสงค์ซึ่งเขียนบทความขึ้นจะได้อ่านสัญญาที่เกี่ยวข้องแล้ว จะเห็นว่าสัญญา ข้อ 6 กำหนดไว้ว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองตั้งแต่ดวง ที่สองเป็นต้นไปจะต้องมีคุณสมบัติไม่ด้อยกว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียม หลักและดาวเทียมสำรองดวงที่หนึ่ง ทั้งนี้โดยมีการกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของดาวเทียมดวงที่หนึ่งไว้ในข้อ 8 ของสัญญาดังกล่าวรวมทั้งกำหนดไว้ด้วยว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมสำรอง ดวงที่หนึ่งอย่างน้อยจะต้องไม่ด้อยกว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมดวงที่ หนึ่ง และทดแทนดาวเทียมหลักดวงที่หนึ่งเพื่อสามารถใช้งานได้โดยต่อเนื่อง สัญญาดังกล่าวไม่ได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ตั้งแต่ดวงที่สองเป็นต้นไปไว้
 
   ในกรณีของดาวเทียมไอพีสตาร์นั้น เห็นได้ชัดว่าบริษัทผู้รับสัมปทานมุ่งประสงค์จะให้เป็นดาวเทียมสำรองของดาว เทียมไทยคม 3 เพียงแต่ได้พัฒนาเทคโนโลยี่ให้สูงขึ้น ดังที่ปรากฏในคำพิพากษาว่าดาวเทียมไอพีสตาร์มีคุณสมบัติทางเทคนิคพัฒนาขึ้น เป็นการเฉพาะครั้งแรกของโลกตามที่จดสิทธิบัตรไว้
    และปรากฏชัดเจนว่าคุณสมบัติของดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่ด้อยไปกว่าดาวเทียมดวง อื่นๆ การมีดาวเทียมสำรองที่มีคุณสมบัติทางเทคนิคที่พัฒนาขึ้นใหม่ดีกว่าดาวเทียม หลัก เป็นดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพสูงและครอบคลุมพื้นที่การให้บริการมากกว่าย่อม เป็นผลดีต่อการจัดทำบริการสาธารณะ ทำให้รัฐได้ประโยชน์ยิ่งไปกว่าการให้บริษัทผู้รับสัมปทานสร้างดาวเทียมทีมี คุณสมบัติเท่าเดิม
   @ สิ่งที่ขาดหายไปในคำพิพากษาศาลฎีกา
    ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่ถือว่าเป็นดาวเทียมสำรองของดาว เทียมไทยคม 3 ดวงต่อดวงได้ด้วยเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน แต่เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่นั้น ผมมีความเห็นที่ต่างออกไป เพราะในสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศไม่มีข้อใดเลยที่ระบุ ให้ดาวเทียมสำรองต้องใช้เทคโนโลยีเดียวกับดาวเทียมหลัก เพียงแต่ระบุว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองตั้งแต่ ดวงที่สองเป็นต้นไปจะต้องมีคุณสมบัติไม่ด้อยกว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาว เทียมหลักและดาวเทียมสำรองดวงที่หนึ่งเท่านั้น
   ประเด็นที่น่าคิดมีต่อไปอีกด้วยว่าถ้าบริษัทไม่ได้รับอนุมัติให้ดาวเทียมไอ พีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง บริษัทยังจะลงทุนสร้างดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพในลักษณะดังกล่าวหรือไม่
   นอกจากนี้ที่ศาลฎีกาฯเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่มีย่านความถี่ซี-แบนที่จะ ให้กระทรวงคมนาคมใช้จำนวน 1 วงจรดาวเทียมตามสัญญา เพราะดาวเทียมไอพีสตาร์ใช้ย่านความถี่เคยู-แบน และย่านความถี่เคเอ-แบน นั้น
   เมื่อพิจารณาจากข้อมูลทางเทคนิคแล้วจะเห็นได้ว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์สามารถรองรับความถี่ซี-แบนได้ แต่ต้องมีสถานีสัญญาน และกรณีนี้ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในคำพิพากษาที่แสดงว่าหน่วยงานโต้แย้งว่าตน ไม่ได้ใช้วงจรดาวเทียมเพราะเหตุว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่มีย่านความถี่ซี-แบน แต่อย่างใด
   สำหรับคำให้การของพยานที่เชี่ยวชาญเรื่องทางเทคนิคซึ่งสนับสนุนความเห็นใน การตีความสัญญาของกลุ่มห้าอาจารย์ในประเด็นนี้ปรากฏอยู่คำพิพากษาส่วนตนของ หม่อมหลวงฤทธิเทพ เทวกุล (หน้า104-105) แต่ไม่ปรากฏในคำพิพากษากลาง
 @ ก็แค่ ...เรื่องปกติธรรมดาทางธุรกิจ
  สำหรับกรณีที่ศาลฎีกาฯเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักที่สร้าง ขึ้นเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศเป็นหลัก เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากเอกสารขอรับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งหวังทางการค้าต่างประเทศนั้น
    เมื่อพิจารณาจากสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศข้อ 11 จะเห็นว่า สัญญาระบุอนุญาตให้บริษัทสามารถนำวงจรดาวเทียมเหลือจากปริมาณความต้องการใน ประเทศไปให้ประเทศอื่นใช้ได้โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคม ในการวางแผนการตลาดนั้น เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาความต้องการการใช้วงจรดาว เทียมทั้งในและต่างประเทศว่าเป็นอย่างไร
    ในคำพิพากษาดังกล่าวไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าเกิดความขาดแคลนใน การใช้วงจรดาวเทียมของผู้ใช้วงจรดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ เมื่อปริมาณความต้องการการใช้วงจรดาวเทียมในประเทศยังมีไม่มากนัก การที่บริษัทนำวงจรดาวเทียมที่เหลือจากความต้องการในประเทศไปให้ประเทศอื่น ใช้โดยได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาฝ่ายรัฐ จึงชอบแล้ว
      อีกทั้งการวางแผนการตลาดในการนำวงจรดาวเทียมออกให้บุคคลอื่นใช้บริการนั้น ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศโดยคำนวณตามความต้องการของตลาด ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาทางธุรกิจ ไม่ใช่ข้อที่จะบ่งชี้ว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักที่สร้างขึ้น เพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศแต่อย่างใด
 @ ที่ว่า รวบรัดและเร่งรีบนั้น  จริงหรือ ?
   สำหรับประเด็นที่คุณประสงค์หยิบยกขึ้นกล่าวอ้างว่าการดำเนินการเพื่อขอ อนุมัติเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นการกระทำที่ลัดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการในลักษณะที่รวบรัดและเร่งรีบ โดยการเสนอความเห็นของคณะกรรมการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
   ทั้งที่ยังไม่ได้มีการรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้ง แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์เป็น ดาวเทียมสำรองนั้น ก็เป็นเพียงการข้ามขั้นตอนการปฏิบัติราชการเท่านั้น
    อันที่จริงแล้วในทางกฎหมาย การรับรองรายงานการประชุมเป็นการกระทำในทางแบบพิธี ซึ่งหากไม่ได้ปฏิบัติก็ไม่ทำให้มติของคณะกรรมการกลายเป็นมติที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายแต่อย่างใด ในทางกลับกัน การประชุมที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะได้มีการรับรองภายหลัง ก็ไม่ทำให้การประชุมดังกล่าว กลายเป็นการประชุมที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้แต่อย่างใด
    @ ดูแต่ความบกพร่องในทางรูปแบบ.. ไม่ได้แน่
      เมื่อปรากฏว่าการพิจารณาดังกล่าวสอดคล้องกับสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว และไม่ทำให้รัฐเสียประโยชน์ ตรงกันข้ามรัฐกลับได้ดาวเทียมสำรองที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้งาน ประกอบกับไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่ามีการกระทำที่ผิดสัญญา หรือเอื้อประโยชน์
   กรณีจึงถือไม่ได้ว่าการอนุมัติดังกล่าวไม่เป็นไปตามสัญญาแต่อย่างใด สำหรับการนำโครงการไอพีสตาร์ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนนั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริม การลงทุนเลย
    เมื่อผมเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองตามสัญญาแล้ว ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผมจะเห็นต่อไปว่าความมั่นคงของรัฐไม่ได้เสียหายอะไร จากกรณีนี้
    ประเด็นหลักของเรื่องนี้จึงเป็นประเด็นที่ว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียม สำรองตามสัญญาหรือไม่
   เพราะถ้าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองตามสัญญาเสียแล้ว ประเด็นอื่นก็ไม่ต้องพูดถึงเลย ซึ่งคุณประสงค์ย่อมจะวินิจฉัยด้วยตนเองได้ หากได้พิเคราะห์สัญญาในเรื่องดังกล่าว โดยจะต้องตระหนักถึงอำนาจในการบริหารสัญญาอันเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร และการรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ทางเทคนิคเรื่องดังกล่าวดังที่ ปรากฏในคำพิพากษาส่วนตนของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยด้วย จะดูแต่ความบกพร่องในทางรูปแบบที่ไม่เป็นสาระสำคัญไม่ได้
  @  ไม่ใช่การ "ลักไก่" ยิงดาวเทียมแต่อย่างใด
   กล่าวโดยสรุปเมื่อพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่างๆดังที่ปรากฏข้างต้นแล้ว ผมเห็นว่า การยิงดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นการยิงดาวเทียมตามสัญญาที่ได้รับอนุมัติถูกต้อง มีเหตุมีผลรับฟังได้ ไม่ใช่การ "ลักไก่" ยิงดาวเทียมแต่อย่างใด    สอง การอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปใน บริษัทไทยคมจากร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 เป็นการเอื้อประโยชน์หรือไม่ รัฐเสียหายหรือไม่   กรณีการอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานโดยให้มีการลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บริษัทชินคอร์ปที่ต้องถือในบริษัทไทยคมจากที่บริษัทชินคอร์ปต้องมีสัดส่วน การถือครองหุ้นในบริษัทไทยคมเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 นั้น กรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่าสัญญาดำเนินกิจการสื่อสารดาวเทียมภายในประเทศ
    ข้อ 4 ระบุให้บริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯ (ชินคอร์ป) จะต้องตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อดำเนินการตามสัญญา โดยจะต้องจัดตั้งบริษัทใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือน นับจากวันเริ่มให้บริการวงจรดาวเทียม และให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ตลอดอายุสัญญาด้วย คือ
  (1) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1000 ล้านบาท
 (2) บริษัทชินคอร์ปจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
  (3) บริษัทชินคอร์ปต้องดำเนินการให้บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้ ต่อกระทรวงร่วมกันและแทนกันกับบริษัท     หลังจากทำสัญญาแล้วบริษัทชินคอร์ปได้ก่อตั้งบริษัทไทยคมขึ้นเพื่อปฏิบัติให้ เป็นไปตามสัญญา ต่อมาบริษัทไทยคมได้ขอแก้ไขสัญญาสัมปทานโดยให้เหตุผลว่าต้องใช้เงินลงทุนใน โครงการดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นจำนวนสูงมากจึงต้องหาพันธมิตรเข้ามาเพื่อร่วม ลงทุน ทำให้ต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปที่จะต้องถือหุ้นในบริษัทไทย คมลง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสารได้อนุมัติให้ แก้ไขสัญญาสัมปทานดังกล่าว โดยอนุมัติให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
 
    ศาลฎีกาฯเห็นว่าการกำหนดการถือครองหุ้นในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นนัยสำคัญที่ทำให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้บริษัทชินคอร์ปได้สัมปทาน การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯอนุมัติให้แก้ไขสัญญาดัง กล่าวโดยมิได้นำเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบเป็นการอนุมัติโดยมิชอบ และเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ป เนื่องจากในกรณีที่บริษัทไทยคมทำการเพิ่มทุนเพื่อดำเนินโครงการใดๆโดยเฉพาะ โครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมากนั้น    บริษัทชินคอร์ปไม่ต้องระดมทุนหรือกู้เงินมาซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ 51 ของตนเอง แต่กลับกระจายความเสี่ยงไปให้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นดังกล่าวทำให้บริษัทชินคอร์ปได้รับเงินทุนคืนจาก การโอนขายหุ้นออกไปให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่น
   ทั้งมีผลเป็นการลดทอนความมั่นคงและความมั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียมของ บริษัทชินคอร์ปในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอำนาจควบคุมการบริหาร จัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้อีกด้วย
  @ ลำพังเพียงไม่เสนอเรื่องต่อครม.ไม่อาจถือว่าเอื้อประโยชน์
  หากอ่านคำพิพากษาให้ตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯไม่ได้นำเรื่อง ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น
  ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯได้หารือสำนักงานอัยการสูงสุด เกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาดังกล่าว
  สำนักงานอัยการสูงสุดตอบหนังสือกระทรวงเทคโนโลยีว่าการแก้ไขสัญญาเป็นการ แก้ไขในสาระสำคัญจึงควรนำเสนอคณะรัฐมนตรี
 ต่อมาเมื่อกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศฯได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องคืน โดยแจ้งว่าไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของเรื่องที่จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯได้หารือไปที่สำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้ง หนึ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบหนังสือว่าเมื่อสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมี ความเห็นว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีฯจึงมีดุลพินิจที่จะแก้ไขสัญญาได้
   แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯจะเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่
  แต่เพื่อพิจารณาจากขั้นตอนการทำงานแล้ว เห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามขั้นตอนการทำงานปกติแล้ว ก่อนจะใช้ดุลพินิจอนุมัติ ลำพังแต่เพียงการไม่เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีจึงยังถื    @ มองต่างมุม ชินคอร์ปก็เสียประโยชน์
  สำหรับประเด็นที่ว่าการอนุมัติดังอไม่ได้ว่าการอนุมัติดังกล่าวเป็นไปเพื่อ เอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ป
 กล่าวทำให้บริษัทชินคอร์ปได้ประโยชน์ ที่ไม่ต้องไปกู้เงินมาลงทุนนั้น  หากมองในทางกลับกันก็จะเห็นได้ว่าบริษัทชินคอร์ปก็เสียประโยชน์ในลักษณะที่ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทไทยคมลดน้อยลงเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าบริษัทชินคอร์ปก็จะได้ส่วนแบ่งจากกำไรในการประกอบการน้อยลง
   ส่วนประเด็นที่ว่าการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทไทยคม เป็นสาระสำคัญนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าการแก้ไขสัญญาดังกล่าวไม่อาจกระทำได้ สำนักงานอัยการสูงสุดเองเมื่อครั้งที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯได้หารือไป นั้นก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ห้ามแก้ไข การจะอนุมัติให้แก้ไขหรือไม่แก้ไขสัญญาจึงเป็นดุลพินิจในทางบริหาร
    เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทคู่สัญญามีความจำเป็นที่จะต้องลงทุน การลงทุนดังกล่าวจะต้องใช้เงินทุนจำนวนสูงมาก และคู่สัญญาเองก็มีความเสี่ยงในการลงทุน หากการลงทุนดังกล่าวประสบกับความล้มเหลว เมื่อรัฐเห็นว่าการลงทุนดังกล่าวจะนำมาซึ่งประโยชน์ให้การจัดทำบริการ สาธารณะ คือ การมีดาวเทียมสำรองดวงใหม่ที่มีเทคโนโลยีดีกว่าเดิมซึ่งจะทำให้การจัดทำ บริการสาธารณะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวไม่มีผลกระทบใดๆต่อความรับผิดของบริษัท
    รัฐมนตรีฯในฐานะฝ่ายบริหารก็สามารถดำเนินนโยบายและผลักดันนโยบายในเรื่องดัง กล่าวได้ให้ปรากฏเป็นจริงในทางปฏิบัติได้ พิจารณาในแง่นี้การลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวย่อมกลับเป็นผลดีกับการ บริหารสัญญา และทำให้บริษัทคู่สัญญาสามารถดำเนินกิจการต่อไปด้วยความมั่นคงอันเป็นผลดี ต่อรัฐในที่สุด
  @ ไม่มีข้อเท็จจริงใดแสดงให้เห็นว่าการใช้ดุลพินิจ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    สำหรับประเด็นที่ว่าการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปมีผลเป็นการ กระจายความเสี่ยงไปให้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์นั้น เมื่อพิจารณาจากหลักการลงทุนทั่วไปแล้วเห็นว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ที่ลงทุนย่อมต้องศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
    เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการปกปิดข้อมูลสัดส่วนการถือหุ้น ผู้ลงทุนรายย่อยก็ต้องตัดสินใจโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่จะได้รับ จากการลงทุนดังกล่าว
    ที่ศาลฎีกาฯเห็นว่าการลดสัดส่วนการถือหุ้นมีผลเป็นการบั่นทอนความมั่นคงและ มั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ปในฐานะผู้รับสัมปทานโดย ตรงที่ต้องมีอำนาจควบคุมการบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้นั้น
     เห็นว่าความมั่นคงและมั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียมไม่ได้เกิดจากการที่ บริษัทใดบริษัทหนึ่งในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะมีอำนาจควบคุมการตัดสินใจ อย่างเด็ดขาดแต่เพียงอย่างเดียว
    แต่มีปัจจัยอื่นอีกหลายประการที่สนับสนุนและลดทอนความมั่นคงและมั่นใจในการ ดำเนินโครงการ เช่น ผู้ถือหุ้นที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจเป็นใคร มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจดังกล่าวมากน้อยเพียงใด มีสถานะทางการเงินอย่างไร ฯลฯ
    และไม่ว่าอย่างไรก็ตามในกรณีนี้บริษัทชินคอร์ปก็ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่มีอำนาจตัดสินใจ ตลอดจนควบคุมบริหารการจัดการได้อย่างเด็ดขาดในบริษัทไทยคม
   การอนุมัติให้แก้ไขสัญญาดังกล่าวนี้ผมเห็นว่าเป็นดุลพินิจโดยแท้ในทางบริหาร ซึ่งเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดแสดงให้เห็นว่าการใช้ดุลพินิจดังกล่าวไม่ชอบ ด้วยกฎหมายแล้ว
   กรณีย่อมจะถือว่าการตัดสินของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ปไม่ได้ เพราะหากถือว่าการอนุมัติดังกล่าวที่มีเหตุผลฟังได้ในแง่ของการบริหารสัญญา เป็นการกระทำที่ไม่ชอบแล้ว
  ต่อไปในภายภาคหน้าหน่วยงานที่เป็นคู่สัญญาจะบริหารสัญญากันอย่างไร และไม่ว่าอย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นเรื่องในทางนโยบายที่ยังอยู่ในกรอบของ กฎหมายอยู่นั่นเอง
    @  กรณีการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทน 6.7 ไปเช่าช่องสัญญานต่างประเทศ
    สาม กรณีการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทน 6.7 ไปเช่าช่องสัญญานต่างประเทศเป็นการเอื้อประโยชน์หรือไม่ ทำให้รัฐเสียหายหรือไม่    สำหรับกรณีการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าช่องสัญญานดาวเทียมต่างประเทศเมื่อดาวเทียมไทยคม 3 เกิดความเสียหายนั้น
  ปรากฎข้อเท็จจริงว่าในคราวที่บริษัทไทยคมได้ร้องขอเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของ ดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์โดยร้องขอเป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิมและต่อมาได้รับการ อนุมัตินั้น ก็ได้มีการอนุมัติแผนสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ด้วยในกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ดาวเทียมไทยคม 3 ขึ้น
   ต่อมาได้เกิดเหตุดาวเทียมไทยคม 3 เสียหายขัดข้องเกี่ยวกับระบบพลังงานบางส่วน แต่ยังมีบางส่วนใช้งานได้ หลังจากเกิดเหตุดังกล่าวได้มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย และได้รับเงินค่าสินไหมทดแทน และบริษัทไทยคมได้ขออนุมัติสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทน
    และต่อมาบริษัทไทยคมก็ได้ร้องขออนุมัตินำเงินไปเช่าช่องสัญญานดาวเทียมจาก ต่างประเทศเพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 พร้อมทั้งใช้เป็นช่องสัญญานสำรอง โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศได้อนุมัติให้ตามที่ร้องขอ
     โดยระบุว่าหากหากค่าก่อสร้างสูงกว่าวงเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัท ประกันภัยซึ่งผ่านการอนุมัติจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ บริษัทไทยคมจะรับผิดชอบในส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น
    ศาลฎีกาฯเห็นว่า การจัดการกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ดาวเทียมนั้น สัญญาสัมปทานกำหนดให้บริษัทผู้รับสัมปทานรีบซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายหรือ จัดหาทรัพย์สินทดแทนทรัพย์สินที่สูญหายโดยทันทีเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป อย่างต่อเนื่อง และกระทรวงผู้ให้สัมปทานก็จะมอบค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย ให้ ถ้าค่าซ่อมแซมหรือราคาทรัพย์สินที่จัดหามีราคาสูงกว่าเงินค่าสินไหมทดแทน บริษัทผู้รับสัมปทานตกลงรับผิดชอบจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด
    เห็นได้ว่าตามสัญญานั้นหากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินซึ่งกรณีนี้คือดาว เทียมไทยคม 3 ถ้าเกิดความเสียหายบางส่วน บริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องรีบดำเนินการซ่อมแซม แล้วจึงมารับเงินค่าสินไหมทดแทน
   แต่ถ้าเกิดความเสียหายทั้งดวงจนไม่สามารถใช้งานหรือดำเนินงานได้อย่างต่อ เนื่อง บริษัทผู้รับสัมปทานต้องจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นทดแทน แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศได้อนุมัติให้บริษัทผู้รับ สัมปทานนำวงเงินบางส่วนที่ได้รับจากค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศเพื่อใช้ทดแทนช่องสัญญานเดิมและใช้สำรองจึงขัด ต่อสัญญาสัมปทาน
    เนื่องจากบริษัทไทยคมทำผิดสัญญาไม่มีดาวเทียมสำรองไทยคม 3 มาโดยตลอด บริษัทจะต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้มีดาวเทียมใช้ได้ อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ไม่มีสิทธินำเงินไปใช้เช่าช่องสัญญาน แต่ต้องนำเงินค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยไปสร้างดาว เทียมดวงใหม่ทดแทน
    การที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศอนุมัติให้บริษัทไทยคมนำเงินบางส่วนที่ได้ รับจากค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศเพื่อใช้ทดแทนและสำรองเป็นการอนุมัติที่ไม่ชอบ เอื้อประโยชน์แก่บริษัทไทยคมและชินคอร์ป
   เพราะเท่ากับว่าในช่วงนั้นบริษัทไทยคมไม่ต้องใช้ทุนของตนเองในการจัดสร้าง ดาวเทียมดวงใหม่แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงผู้ให้สัมปทาน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ภาครัฐเนื่องจากทรัพย์สินที่ทำประกันภัย (ดาวเทียม) เป็นของรัฐ ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวรัฐต้องเป็นผู้ดูแลและคงไว้เป็นหลักประกันความมั่นคง
  @ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
   เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงโดยตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าบริษัทชินคอร์ปได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างดาวเทียมไอพีสตาร์เป็น ดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2547 ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 ได้เกิดความเสียหายขึ้นกับดาวเทียมไทยคม 3
   บริษัทไทยคมได้เจรจากับบริษัทประกันภัย ได้รับค่าสินไหมทดแทนจำนวนหนึ่ง ซึ่งบริษัทได้ขออนุมัติกระทรวงผู้ให้สัมปทานสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทน และขออนุมัติเงินค่าสินไหมทดแทนส่วนหนึ่งเช่าช่องสัญญานดาวเทียมต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3พร้อมทั้งใช้เป็นช่องสัญญานสำรอง
    เห็นว่าการขออนุมัติดังกล่าวเป็นไปตามเหตุผลของเรื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
    การที่ศาลฎีกาฯเห็นว่าบริษัทไทยคมทำผิดสัญญาเพราะไม่มีดาวเทียมสำรองไทยคม 3 มาโดยตลอดนั้น
    เห็นว่าในระหว่างที่เกิดความเสียหายกับดาวเทียมไทยคม 3 เป็นช่วงเวลาที่บริษัทได้รับอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง แล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งขึ้นสู่อวกาศ ในระหว่างเวลานั้นจึงไม่มีดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3
   เหตุการณ์ที่เกิดความเสียหายขึ้นกับดาวเทียมดวงหลักในขณะที่ยังไม่มีระบบดาว เทียมสำรองนั้นอาจเกิดขึ้นได้ เพราะการส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่อวกาศนั้นจะกระทำหลังจากส่งดาวเทียมดวงหลัก ขึ้นไปแล้ว
  ในระหว่างนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นกับดาวเทียมดวงหลัก ก็จะต้องแก้ไขปัญหาเพื่อให้บริการสาธารณะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
  กรณีที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นนี้เป็นกรณีที่ไม่มีอยู่ในข้อกำหนดของสัญญา เพราะเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นกับดาวเทียมดวงใดดวงหนึ่ง แต่เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีดาวเทียมสำรองใช้บริการ การที่ต้องเช่าดาวเทียมของต่างประเทศเพื่อใช้ทดแทนช่องสัญญานเดิมและใช้เป็น ระบบสำรอง ไม่ได้เกิดจากความผิดของบริษัทไทยคม
    และยิ่งไปกว่านั้นยังสอดคล้องกับเหตุผลของเรื่องด้วย เพราะถ้าไม่เช่าดาวเทียมของต่างประเทศแล้ว ย่อมจะไม่สามารถจัดทำบริการสาธารณะให้ต่อเนื่องไปได้
 @ ไม่เห็นว่าการอนุมัติ ไม่ชอบ แต่อย่างใด
    เมื่อพิจารณาการอนุมัติเช่าช่องสัญญานดาวเทียมต่างประเทศเพื่อใช้ทดแทนดาว เทียมไทยคม 3  แล้ว จะเห็นได้ว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯอนุมัติเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐไปเช่าช่องสัญญาน
    และอนุมัติเงินอีก 26,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ไปสร้างดาวเทียมที่ชื่อว่าดาวเทียมไทยคม 5 หรือ 3 R ทดแทน เงินที่อนุมัติไปนั้นอยู่ในวงเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกัน ภัย
    อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเงินค่าก่อสร้างดาวเทียมไทยคม 5 หรือ 3 R มากกว่าค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งบริษัทไทยคมจะต้องรับภาระส่วนต่างนี้เอง
   ผมพิเคราะห์การปฏิบัติในเรื่องนี้แล้วยังไม่เห็นว่าการอนุมัติดังกล่าว ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการอนุมัติที่ไม่ชอบและเอื้อประโยชน์แก่ บริษัทไทยคมและบริษัทชินคอร์ปแต่อย่างใด     ในบทความที่คุณประสงค์ได้เขียนขึ้นนั้น คุณประสงค์ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
  "แม้ไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์จนสิ้นสงสัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีพฤติการณ์ในการใช้อำนาจหน้าที่ในการเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง แต่ก็ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า การที่บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่จงใจปกปิดการถือครองทรัพย์สินมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท มีวัตถุประสงค์อะไรแอบแฝงอยู่ สมควรหรือไม่ที่จะดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหาร เพราะการกระทำดังกล่าวฝ่าฝืนต่อข้อห้ามในทางกฎหมายและจริยธรรมอย่างชัดแจ้ง"
   @  การใช้ความเชื่อหรือทัศนะทางการเมืองหรือจริยธรรมเข้าตัดสิน ถูกต้องจริงหรือ ?
  ความจริงข้อความตอนนี้ของบทความของคุณประสงค์ได้ตอบทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยว กับคดีการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในตัว ประเด็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจปกปิดการถือครองทรัพย์สินหรือไม่นั้น เป็นคดีอีกลักษณะหนึ่งดังที่ผมได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นของบทความนี้
     แต่คดีนี้เป็นคดีการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งจะต้องปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติหรือมีหนี้สินลดลง มากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ที่ผมเห็นต่างไปจากคำพิพากษาศาลฎีกาฯในคดีนี้ ก็อยู่ตรงนี้ คือ หลังจากที่ผมได้ศึกษากฎหมายโทรคมนาคม ได้พิเคราะห์ข้อกล่าวหาต่างๆในทางเนื้อหา ศึกษาคำพิพากศาลฎีกาในคดีนี้ อ่านสัญญาที่เกี่ยวข้อง
   ผมไม่เห็นว่าการกระทำตามข้อกล่าวหา เมื่อพิเคราะห์ในทางเนื้อหาแล้วมีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ และทำให้รัฐเสียหายแต่อย่างใด     ดังนั้นประเด็นที่คุณประสงค์หยิบยกขึ้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมควรจะดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารหรือไม่ จึงไม่ใช่ประเด็นแห่งคดีนี้ และไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมายด้วย แต่เป็นประเด็นทางการเมือง หากจะมีประเด็นทางกฎหมายในเรื่องนี้ กรณีก็ย่อมจะเป็นประเด็นที่ผมได้แสดงให้เห็นไว้ในตอนต้น
   คือ ประเด็นเรื่องการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    สำหรับเรื่องในทางจริยธรรมนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งจะนำมาปะปนกันไม่ได้
   ผมอาจจะมีความเห็นในประเด็นนี้ หากเป็นประเด็นทางจริยธรรมและประเด็นความไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจทางการ เมือง เหมือนกับคุณประสงค์ก็ได้
 แต่นี่เรากำลังพูดถึงการยึดทรัพย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เหตุผลในทางกฎหมายเข้าตัดสิน  ไม่ใช่ใช้ความเชื่อหรือทัศนะทางการเมืองหรือจริยธรรมเข้าตัดสินมิใช่หรือ    ขณะที่ นายประสงค์ เอ่ยแต่เพียงว่า อาจารย์วรเจตน์ ตอบยาวเหลือเกิน อ่านจนตาลาย   ถามแค่ประเด็นเดียว ตอบทุกประเด็นเลย(ฮา)

view