สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กินยา...ให้ได้ยา

จากประชาชาติธุรกิจ



เรื่อง ของยาเข้ามาเกี่ยวข้องกับทุกคน คุณรู้จักยาดีพอ พอแล้วหรือยัง ? ถ้ายังก็ลองฟังความจากเภสัชกรหญิง เมธาวี วิริยธนานนท์ จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

เรื่องวิธีใช้ยานั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำความ เข้าใจ เพราะ ยาแต่ละตัวมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันไป ถ้าใช้อย่างถูกต้อง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยา แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็มีผล ไม่พึงประสงค์ ทำไมต้องกินยาก่อนอาหาร ?

ทำไมต้องกินยาหลังอาหาร ?

การกิน ยาก่อนหรือหลังอาหารจะมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการดูดซึมของยา ปกติเมื่อเรากินยาเข้าไป ยาจะละลายและแตกตัวในระบบทางเดินอาหาร

ยา ที่กินก่อนอาหารจะดูดซึมได้ดีช่วงท้องว่าง หรือว่า ตัวยาเองมีฤทธิ์ในการรักษาอาการในขณะรับประทานอาหาร เช่น กลุ่มยาต้านอาการคลื่นไส้อาเจียนจะกินก่อนรับประทานอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง หากเรากินหลังอาหารจะ ถูกกรดในอาหารทำลายหรือทำให้ยาอ่อนฤทธิ์ลง

ยา ที่กินหลังอาหาร ควรจะกินหลังอาหารประมาณ 15 นาที หรือกินหลังอาหารทันที

ส่วน ยาที่กินก่อนนอน ควรกินก่อนนอนและเป็นช่วงที่ ท้องว่างด้วย

และยัง มียาที่กินเมื่อมีอาการ เช่น กินเมื่อมีอาการ ปวดศีรษะ กินเมื่อมีอาการปวดท้อง กินเมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ้าไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องกิน

ส่วนระยะเวลาในการใช้ยานั้น ยาที่ต้องกินต่อเนื่อง เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาคุมน้ำตาล แต่ยาบางตัวจะกินเมื่อมีอาการหรือเป็นคอร์ส ๆ ไป เช่น ยาปฏิชีวนะ อาจจะกิน 5 ถึง 7 วัน

แล้วเครื่องดื่มต่าง ๆ มีผลต่อยาหรือไม่ ?

ปกติ ในเหล้า เบียร์ หรือไวน์ จะมีแอลกอฮอล์เป็น ส่วนผสม ตัวแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กดประสาท เช่นเดียวกับ ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายกังวล ยาต้านความซึมเศร้า จะไปกดประสาททำให้ง่วงนอน หากกินยาพร้อมแอลกอฮอล์จะทำให้มีผลข้างเคียงมากขึ้น มีอาการง่วงนอน ง่วงซึม ขาดสมาธิ และถ้ากินแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ๆ อาจจะรุนแรงถึงขั้นมีผลต่อระบบการหายใจ

และแอลกอฮอล์ยังมีผลต่อตับ จะทำให้ตับทำงาน หนักมากขึ้น ถ้าดื่มแอลกอฮอล์พร้อมกับยาพาราเซตามอล ซึ่งมีผลต่อตับเช่นกัน จะทำให้เสี่ยงต่อตับวายเฉียบพลันได้

แล้ว แอลกอฮอล์ยังเป็นตัวทำละลายที่ดี ถ้าดื่มแอลกอฮอล์พร้อมกับยาจะทำให้ดูดซึมได้ดีขึ้น ทำให้ยาที่กินเข้าไปมีสารเกินกว่าปกติ อาจจะเกิดผลข้างเคียงจากยาได้

หาก จะเลี่ยงโดยกินยาตอนเช้าแล้วไปดื่มแอลกอฮอล์ ตอนกลางคืนจะได้หรือเปล่า ?

ก็ มีผลข้างเคียงเช่นกัน เพราะแอลกอฮอล์เมื่อเข้าไปในร่างกาย ฤทธิ์ของมันจะอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จะไปอยู่ที่ตับ ตับยังทำงานเพื่อขจัดมันอยู่ อาจมีผลข้างเคียงและทำให้ตับวายได้

แล้ว กินยาพร้อมนม น้ำแร่ น้ำผลไม้ได้หรือเปล่า ?

น้ำทั้ง 3 ชนิดจะมีแร่ธาตุบางตัวที่จะไปทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับยา ยาอาจดูดซึมได้ยากขึ้นและ ไม่ออกฤทธิ์ ทำให้มีประสิทธิภาพน้อยลง เช่น กลุ่มยาฆ่าเชื้อเตรต้าไซคลิน ด็อกซี่ไซคลิน หรือ ซิโปรฟล็อกซาซิน รวมทั้งยารักษาโรคกระดูกพรุนใน กลุ่มบิสฟอสฟอเนต

หากกินยาพร้อมชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลังล่ะจะเป็นอะไรหรือไม่ ?

ชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลังจะมีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ตื่นตัว สดชื่น กระปรี้กระเปร่า ถ้าไปดื่มพร้อมกับกินยากลุ่มลดน้ำมูกจะยิ่ง มีอาการใจสั่นมากขึ้น

ยา บางตัวจะมีปฏิกิริยาระหว่างกาเฟอีนกับยา เช่น ยาฆ่าเชื้อซิโปรฟล็อกซาซิน หรือยาลดกรดไซมีทีดีนจะทำให้กาเฟอีนอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น

สรุป แล้วควรกินยาพร้อมน้ำเปล่าดีที่สุด นอกจากจะช่วยละลายยาแล้วยังช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากยาได้ เช่น กัดกระเพาะอาหารหรือเกิดระคายเคืองกระเพาะอาหาร

แล้วอาการแบบไหนจึง เรียกว่าแพ้ยา ?

เมื่อกินยาแล้วเกิดมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาจคิดว่าเป็นอาการแพ้ยา แต่จริง ๆ แล้วการแพ้ยาหมายถึงเป็นอาการที่รุนแรง เช่น หลอดลมตีบ หายใจไม่ออก มีผื่นขึ้น มีลมพิษรุนแรง ปากบวม เยื่อบุตาบวม

ส่วนอาการข้างเคียง ของยา ส่วนใหญ่จะรู้อยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้นจากการใช้ยาแต่ละตัว เกิดจากฤทธิ์ของตัวยาเองที่ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กินยาฆ่าเชื้ออะม็อกซี่ซิลลินแล้วเกิดการคลื่นไส้ พะอืดพะอม ซึ่งไม่รุนแรง และสามารถแก้ไขอาการในเบื้องต้นได้

หากเมื่อกินยาแล้วมีอาการท้อง เสีย ควรงดอาหาร ที่มีรสจัด งดกาแฟ งดนม ในช่วงที่มีอาการท้องเสีย ถ้ากินยาฆ่าเชื้อแล้วท้องเสียให้กินพวกโยเกิร์ต ซึ่งจะมีจุลินทรีย์ที่ดีไปเสริมลำไส้ ทดแทนแบคทีเรียที่เสียไปกับการท้องเสีย

ฟังแล้วคงจะเข้าใจเรื่องของ การกินยาให้ได้ยากันมากขึ้น

view