สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด หลักการภาษีที่ดิน&สิ่งปลูกสร้าง 10 ประเภททรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น

จากประชาชาติธุรกิจ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติตรวจพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

ข้อเท็จจริง กระทรวงการคลังเสนอว่า 1.ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนร่างพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ในประเด็นอัตราภาษีสำหรับที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตาม ควรแก่สภาพที่ดิน และการยกเว้นภาษีให้แก่เกษตรกรที่ใช้ที่ดินของตนเพื่อการเกษตรไม่เกินจำนวน ที่กำหนด และได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยการจัดอบรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศและสัมมนาประชาชนแล้ว

2.ได้ นำข้อคิดเห็นจากการฝึกอบรมและสัมมนามาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นใน 4 ประเด็น คือ

(1) การหักค่าเสื่อมราคาสิ่งปลูกสร้างตามประมวลกฎหมายที่ดิน

(2) อัตราภาษี กรณีอยู่อาศัยโดยไม่ประกอบเชิงพาณิชย์

(3) การยกเว้นภาระภาษีสำหรับผู้อยู่อาศัยและเกษตรกรที่ยากจน

(4) ยกเลิกคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมิน

3.นายกรัฐมนตรีได้มีดำริ ให้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นให้ยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยและที่ประกอบ เกษตรกรรมตามจำนวนพื้นที่ดินหรือมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถือครองตาม ที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา และขอให้กระทรวงการคลังนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์




สาระ สำคัญของร่างพระราชบัญญัติ มีดังนี้

ทรัพย์สินที่ไม่จัดเก็บภาษี 10 ประเภท

1.ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยการ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์

2.ทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์

3.ทรัพย์สินของรัฐซึ่งใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะโดยมิได้ใช้หาผลประโยชน์

4.ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการของ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันที่ต้องยกเว้นภาษีให้ตามอนุสัญญาหรือความตกลงอื่น ใด

5.ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลของ ต่างประเทศ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

6.ทรัพย์สิน ของสภากาชาดไทย

7.ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติไม่ว่าของศาสนาใดที่ใช้ เฉพาะเพื่อการประกอบศาสนกิจหรือกิจการสาธารณะ หรือทรัพย์สินที่เป็นที่อยู่ของสงฆ์ นักพรต นักบวช หรือบาทหลวงไม่ว่าในศาสนาใด ทรัพย์สินที่เป็นศาลเจ้า ทั้งนี้เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์

8.ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสาน สาธารณะหรือฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

9.ทรัพย์สิน ของเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจเฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการหรือประชาชนใช้ เพื่อสาธารณประโยชน์โดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ใช้หรือหาผลประโยชน์ใน ทรัพย์สินนั้น

10.ทรัพย์สินตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

ผู้มี อำนาจจัดเก็บภาษี

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจจัดเก็บภาษีจาก ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาษีที่จัดเก็บได้ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดให้เป็นรายได้ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

การสำรวจและการจัดทำบัญชีรายการที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

1.ให้ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศกำหนดระยะเวลาที่จะทำ การสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และแต่งตั้งพนักงานสำรวจเพื่อปฏิบัติการดังกล่าว

2.ให้พนักงานสำรวจ มีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดเกี่ยวข้องกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง จากผู้เสียภาษี และมีอำนาจเข้าไปในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องใน ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการได้

3.ให้ พนักงานสำรวจจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยต้องแสดงประเภท จำนวน และขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การประเมินภาษี

4.ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเห็นว่าบัญชี รายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดทำขึ้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ให้ผู้เสียภาษีมีคำร้องแจ้งไปยังผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้อง ได้

ฐานภาษี

1.ฐานภาษีในการคำนวณ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างที่คิดจากราคาประเมินทุนทรัพย์รวมกับมูลค่าของ ทรัพย์สินอื่นอันติดกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มีลักษณะถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

2.หลัก เกณฑ์การคำนวณ

2.1 ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นฐานภาษี

2.2 ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้าง ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรวมกับราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง เป็นฐานภาษี

2.3 ห้องชุด ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดเป็นฐานภาษี

อัตราภาษีสำหรับ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

1.ทั่วไป อัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 ของฐานภาษี

2.ใช้ เป็นที่อยู่อาศัย โดยไม่ประกอบเชิงพาณิชย์ อัตราไม่เกินร้อยละ 0.1 ของฐานภาษี

3.ใช้ในการประกอบเกษตรกรรม อัตราไม่เกินร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี

คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ประกอบ ด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่กำหนดอัตราภาษีในทุกรอบระยะเวลาสี่ปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พิจารณากำหนดเกี่ยวกับประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และเสนอแนะการลดอัตราภาษี

view