สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บริหารพอร์ตเชิงกลยุทธ์ โต้คลื่นสึนามิการเมือง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ท่ามกลางความ ร้อนแรงของการเมืองในประเทศ Fundamentals จะพาไปสำรวจมุมมองและกลยุทธ์การลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงตลาดทุนมาฝากกัน อีกสักครั้ง

ท่ามกลางความร้อนแรงของการเมืองในประเทศ Fundamentals จะพาไปสำรวจมุมมองและกลยุทธ์การลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงตลาดทุนมาฝากกัน อีกสักครั้ง

@ เศรษฐกิจโดยภาพรวมยังเติบโตดี

“ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ และ CHIEF ECONOMIST บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า สถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นภาพข่าวที่ออกไปในต่างประเทศยังไงก็ดูไม่ดี และสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยแน่ๆ มีอยู่ 3 เรื่อง ที่สำคัญ คือ 1) การท่องเที่ยว 2) การเบิกจ่ายงบของภาครัฐตามโครงการต่างๆ ที่อาจจะมีความล่าช้าเกิดขึ้น และ 3) ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปกติก็มีค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว ในประเด็นของการเบิกจ่ายงบภาครัฐล่าช้าอาจจะไม่ค่อยมีผลกระทบต่อการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศมากนัก

แต่ประเด็นในเรื่องของการท่องเที่ยวแม้จะมีสัดส่วนเพียง 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แต่ก็คงได้รับผลกระทบในเรื่องนี้อย่างแน่นอน เพราะเท่าที่มองคาดว่าสถานการณ์ไม่น่าจะยุติโดยง่ายและถึงแม้จะยุติลงโดย เร็วแต่สิ่งที่น่าห่วงคือผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในระยะยาวเหมือนกรณีปิด สนามบินสุวรรณภูมิในอดีต ที่แม้เหตุการณ์จะจบไป แต่ต้องใช้เวลากว่า 10 เดือน กว่าจะฟื้นตัว เดิมเคยคาดว่าการท่องเที่ยวในปีนี้จะโตได้ประมาณ 8-10% แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้การท่องเที่ยวทั้งปีไม่โตเลยหรือโตใน ระดับต่ำประมาณ 2-3% เท่านั้น ซึ่งผลกระทบทางตรงอาจดูไม่เท่าไรแต่ผลกระทบทางอ้อมมีไม่น้อยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโดยภาพรวมของไทยในปี 2553 นี้ ยังจะคงเติบโตในระดับที่สูงใกล้เคียงกับที่มีการประเมินไว้เพราะได้เรื่อง ของภาคการส่งออกที่ดีขึ้นและเป็นสัดส่วนใหญ่ของ GDP มาช่วยไว้ นั่นเอง โดยยังมั่นใจว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาสที่ 1/53 จะออกมาในระดับที่ใกล้เคียง 9.0% เลยทีเดียว

“ผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมใจกลางเมืองที่เกิดขึ้นท่ามกลางศูนย์กลางการ ค้าและการท่องเที่ยวนั้น น่าจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาลง ทุนโดยตรงในไทยอย่างแน่นอน ซึ่งกรณีมาบตาพุดมีความสำคัญมากกว่าปัจจัยการเมืองด้วยซ้ำปัจจุบันก็ยัง แก้ไขไม่ได้ ตรงนี้น่าห่วง แต่เรื่องเม็ดเงินลงทุนในลักษณะของ PORTFOLIO INVESTMENT ไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไร เพราะเชื่อมั่นว่ายังไงเอเชียก็ยังเป็นเป้าหมายของเม็ดเงินลงทุนเหล่านี้ และไทยเองก็น่าจะได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินที่เข้ามาในภูมิภาคเอเชียนี้ด้วย เช่นกัน”

@หุ้นไทยยังเป็นเป้าหมายต่างชาติ

สำหรับภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น “วีระ วุฒิคงศิริกูล” รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานจัดการลงทุน บลจ.กรุงไทย มองว่า ตลาดหุ้นปรับตัวลงมาด้วยปัจจัยทางการเมืองเป็นสำคัญโดยที่พื้นฐานเศรษฐกิจ ของประเทศและตลาดหุ้นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด และต้องไม่ลืมว่านักลงทุนต่างชาติเองยังคงเพิ่มน้ำหนักการลงทุน (OVER WEIGHT) ตลาดหุ้นเอเชียอยู่และก่อนหน้าที่ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นจากระดับ 700 จุด ในช่วงที่ผ่านมานั้น โบรกเกอร์ต่างชาติก็มีการปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมาอย่างต่อ เนื่องจนทำให้มีเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่าง ต่อเนื่อง

มุมมองต่อทิศทางตลาดหุ้นไทยในสายตาของต่างชาติคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม  แม้ว่าประเทศไทยจะมีความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้นก็ตาม เพราะโดยปกติเม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดเกิดใหม่ย่อมมีความเข้าใจในปัญหา การเมืองในกลุ่มประเทศเกิดใหม่เป็นอย่างดีรวมทั้งในไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยลบดังกล่าวนี้ก็ได้สะท้อนอยู่ในราคาหุ้นไปหมดแล้ว ทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่ปกติมีการเทรดที่ระดับสัดส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ต่ำกว่าตลาดอื่นในภูมิภาคอยู่แล้ว

“ที่สำคัญตลาดหุ้นไทยมีน้ำหนักในดัชนี MSCI ASIA ประมาณ 1.0% เท่านั้น ในขณะที่การเข้าลงทุนในของนักลงทุนต่างชาติเมื่อจะเข้าเอเชียก็จะอ้างอิงกับ ดัชนี MSCI ASIA ดังกล่าวด้วย จะเห็นว่าประเทศไทยเล็กมากจนไม่มีนัยสำคัญอะไร แม้จะมีปัจจัยการเมืองมากระทบก็แทบไม่มีผลกระทบอะไรกับพอร์ตการลงทุนโดยรวม ของเขาๆ สู้เอาเวลาไปสนใจกับตลาดหุ้นจีนหรือตลาดอื่นที่มีน้ำหนักในดัชนี MSCI ASIA มากกว่าไทยไม่ดีกว่าหรือ แต่โดยภาพรวมเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังจะเป็นเป้าหมายหนึ่งของเม็ดเงินลงทุนของ ต่างชาติ และเม็ดเงินเก่าที่เข้ามาลงทุนในไทยในช่วงที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้ออกไปไหนดัง จะเห็นได้ว่าทิศทางของค่าเงินบาทยังไม่อ่อนค่าลงแต่ประการใด และด้วยความที่ตลาดหุ้นไทยเล็กเมื่อเงินทุนต่างชาติไหลเข้าหรือออกจึงส่งผล กระทบต่อทิศทางตลาดหุ้นค่อนข้างมากตามไปด้วย แต่เมื่อไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในดัชนี MSCI ASIA ยังไงต่างชาติก็ต้องลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วยเช่นกัน แม้จะดูเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนักก็ตาม”

โดย บลจ.กรุงไทยยังมองกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีระหว่าง 650 - 850 จุด แต่เชื่อว่าแนวรับ 700 จุด จะเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งและเป็นระดับที่น่าสนใจลงทุนเพื่อหวังผลในระยะยาว ไม่ต่างอะไรกับ บลจ.ยูโอบี (ไทย) ที่คงเป้าดัชนีไว้ที่ 700 - 850 จุด

@ พื้นฐานและเทคนิค

“ต่อ อินทวิวัฒน์” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจกองทุนรวมและที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ที่มองว่า พื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยในระยะกลางถึงยาวยังดีอยู่และมีความน่าสนใจกว่าบาง ประเทศในเอเชียด้วย ตราบเท่าที่ต่างชาติยังเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียก็จะมีเม็ดเงิน ลงทุนบางส่วนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วยเช่นกัน และจากพื้นฐานที่บริษัทประเมินดูผลกระทบจากการชุมนุมที่เกิดขึ้นน่าจะส่งผล กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศประมาณ 0.26 - 1.5% ขึ้นกับความยาวนานของเหตุการณ์เป็นสำคัญ แต่ภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดีโดยทางธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) เองคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะเติบโต 3.3 - 5.3%

“ในส่วนของผลกระทบอาจจะทำให้กรอบบนได้รับผลกระทบบ้างแต่โดยภาพรวมของการ เติบโตแล้วก็ยังอยู่ในระดับที่ดีโดยทางไอเอ็นจีประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไว้ที่ระดับ 3.5 - 5.0%”

ด้าน “พัชราภา มหัทธนกุล” ผู้อำนวยการ ฝ่ายจัดการกองทุน บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) บอกว่าภาพแนวโน้มของดัชนีตลาดหุ้นไทยทางเทคนิคตลาดหุ้นไทยในระยะยาวยังเป็น แนวโน้มขาขึ้น โดยมีกรอบ 650 - 920 จุด ในระยะสั้นก็ยังเป็นแนวโน้มขาขึ้นมีกรอบ 700-850 จุด โดยอิงพื้น P/E ที่ 10 - 13 เท่า แนวโน้มตลาดที่เป็นขาขึ้นทำให้ความเสี่ยงในขาลงมีค่อนข้างจำกัด และโดยพื้นฐานของดัชนีไทยในระยะสั้นแนวรับ 700 จุด น่าจะรับได้อยู่ โดยกรอบแนวรับในระยะยาวจะอยู่ที่ระดับ 650 จุด ทั้งนี้ตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ 2 ประการ หนุนอยู่ คือ

1) มูลค่าตลาดหุ้นไทยที่ยังถูกเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค หากมองจากสัดส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ของตลาดหุ้นไทยมีส่วนลด (DISCOUNT) จากตลาดภูมิภาคประมาณ 20% และ 2) อัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในไทยยังดูดีและมีความต่อเนื่อง โดยในปี 2010 คาดว่ากำไรจะโต 15-20% และต่อเนื่องไปในปี 2011 ที่คาดว่าจะโตได้อีก 15-20% เช่นเดียวกัน

“เมื่อราคาหุ้นยังถูกและกำไรบริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มเติบโตที่ดีต่อ เนื่อง   จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย ในช่วงที่ผ่านมา ปัจจุบันที่ระดับดัชนีหุ้นไทย 760 จุด เทรดที่ P/E ประมาณ 12 เท่า เมื่อบวกกลับไปด้วยกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2010 แล้วก็จะเทรดที่ P/E เฉลี่ย ณ สิ้นปีเพียง 10-11 เท่า ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย P/E ของตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็ถือว่าไม่แพง และหากดัชนีขยับขึ้นไปเทรดที่ระดับ P/E 13 เท่า ก็ยังสามารถขยับขึ้นไปได้ที่ระดับ 840-850 จุด ซึ่งหุ้นไทยมีโอกาสจะปรับตัวขึ้นไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีความแข็ง แกร่งและเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติที่มีเข้ามาได้อีกเช่นกัน”

@ แปลงวิกฤติเป็นโอกาสในการปรับพอร์ต

“ฉัตรพี ตันติเฉลิม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.อยุธยา แนะนำว่า การลงทุนมีความเสี่ยงเป็นปกติ ตลาดหุ้นไทยเองก็มีความผันผวนสูง จึงไม่อยากให้นักลงทุนไทยไปมองภาพการลงทุนในหุ้นในลักษณะของการจับจังหวะ เพื่อลงทุนเช่นนั้น เพราะคนที่มองว่าสถานการณ์กำลังจะดี หุ้นน่าจะขึ้นก็จะเข้าไปซื้อ แต่หุ้นอาจจะไม่ขึ้นก็ได้ ในขณะที่บางคนมองว่าสถานการณ์น่าจะแย่ ตลาดหุ้นน่าจะลงก็หนีออกจากตลาดปรากฏว่าหุ้นกลับขึ้นไป 10 จุด ทั้งที่เหตุการณ์ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างนี้ เป็นต้น แต่อยากให้นักลงทุนมีการ “วางแผนทางการเงิน” มี “เป้าหมายทางการเงิน” ที่ชัดเจน แล้วนำมา “จัดสัดส่วนการลงทุน" (ASSET ALLOCATION) ที่เหมาะสมกับตัวเองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ให้ได้มากกว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองขึ้นจนทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมาจึง เป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนจะได้ถือโอกาสในการมา “ปรับสัดส่วนการลงทุน" (RE BALANCING) ของตัวเองใหม่อีกครั้ง

ตัวอย่าง เดิมผู้ลงทุนมีเงินลงทุน 100% มีสัดส่วนของหุ้น 30% และสินทรัพย์ที่มั่นคงอยู่ 70% จากผลกระทบทางการเมืองในระยะสั้นอาจจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงและทำให้สัด ส่วนการลงทุนในหุ้นลดลงเหลือ 10% ตรงนี้ก็ต้องมาถามตัวเองดูว่ายังรับความเสี่ยงได้หรือไม่ ถ้ารับไม่ได้ก็อาจจะต้องปรับลดเป้าหมายการลงทุนของตัวเองลง เพราะเป้าหมายเดิมจะบรรลุได้ด้วยสัดส่วนหุ้น 30% ตรงนี้ก็ต้องปรับลดสัดส่วนลงมา แต่ถ้ายังอยากจะบรรลุเป้าหมายทางการเงินเดิมที่ตั้งใจเอาไว้แต่แรกก็อาจจะ ต้องเก็บเงินเพิ่มหรือรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

หรือเมื่อสัดส่วนในหุ้นลดลงเหลือ 10% แล้วตัวเองรับความเสี่ยงไม่ได้แล้ว   เพราะจัดพอร์ตการลงทุนไว้ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ 30% เงินที่มั่นคงจะต่ำกว่า 70% ไม่ได้ ถ้าแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นขึ้นอาจจะคงไว้เท่าเดิม ที่เคยลงทุนไปแล้ว แต่ถ้ารับความเสี่ยงต่อไปไม่ไหวจริงๆ รู้สึกว่าไม่อยากรับความเสี่ยงเพิ่มแล้วก็อาจจะตัดใจขายหุ้น 10% ที่เหลือแล้วโยกมาไว้ในสินทรัพย์ที่มั่นคงรวมกับของเดิม 70% รวมเป็น 80% เป็นต้น

“หากนักลงทุนมีเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน เช่น เป้าหมายเกษียณ มีระยะเวลาการลงทุนอีกค่อนข้างยาว การจัดสัดส่วนการลงทุนก็แนะนำให้มีการลงทุนในหุ้นได้ แต่จะมีมากน้อยเท่าไรนั้นขึ้นกับแต่ละบุคคลเพราะมีความเสี่ยงที่รับได้แตก ต่างกัน แต่ถ้ามองในมิติเช่นนี้เมื่อพอร์ตของตัวเองมีการจัดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น อยู่แล้ว สมมติ 30% เมื่อตลาดหุ้นตกจนทำให้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นลดลงเหลือ 10% ก็อาจจะมีการ RE BALANCING พอร์ตใหม่

โดยโยกเงินจากส่วนที่เป็นสินทรัพย์มั่นคงมาใส่ในหุ้นให้เป็น 30% เท่าเดิม เป็นต้น แล้วคอยติดตามประเมินดูผลการลงทุนของตัวเองในระยะยาวว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ที่ได้ตั้งใจไว้หรือไม่น่าจะดีกว่าการที่จะมานั่งจับจังหวะลงทุนโดยมองภาพใน ระยะสั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยากและทำได้ยากมากในความเป็นจริง”

@ แนะทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอดีกว่า

“ธีระ ภู่ตระกูล” ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษานิตยสาร MONEY AND WEALTH (M&W) บอกว่า ตลาดหุ้น S&P ซึ่งเป็นตัวแทนของตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วนั้น ให้ผลตอบแทนในระยะยาวเฉลี่ยประมาณ 10-20% ต่อปี แต่ตลาดหุ้นไทยซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่มีการแกว่งตัวที่ต่างกันออกไปโดยมีความ ผันผวนและความแตกต่างของผลตอบแทนในแต่ละปีค่อนข้างแตกต่างกันมาก บางปีบวกเป็น 160% บางปีติดลบ 50% เป็นต้น เป็นตลาดที่ท้าทายความสามารถของผู้จัดการกองทุนหุ้นค่อนข้างมากเพราะเป็น ตลาดที่มีความเสี่ยงสูงมาก บางปีก็ดีมาก บางปีก็ไม่ดี จึงทำให้กองทุนหุ้นมีผลการดำเนินงานที่ แตกต่างกันมากพอสมควรระหว่างกองทุนหุ้นที่ได้ “อันดับ 1” กับกองทุนหุ้นที่ได้ “อันดับสุดท้าย”

ตัวอย่างผลตอบแทนของกองทุนหุ้นในปี 2552 ที่ผ่านมา ย้อนหลัง 1 ปี กองที่ได้ที่ 1 ให้ผลตอบแทน 71% แต่กองทุนหุ้นที่ผลงานแย่สุดให้ผล ตอบแทนติดลบ 2.6% ย้อนหลัง 3 ปี กองทุนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีสุด ให้ผลตอบแทน 24% ในขณะที่กองทุนหุ้นที่มีผลงานแย่สุดให้ผล ตอบแทนติดลบ 12% ย้อนหลัง 5 ปี กองทุนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่ สุดให้ผลตอบแทน 66% ในขณะที่กองทุนหุ้นที่มีผลงานแย่สุดให้ผล ตอบแทน 13% แตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียว

แต่หากมาดูกองทุนหุ้นที่เป็นกองทุนดัชนี SET50 ที่มีการบริหารแบบ PASSIVE FUND ในช่วงเวลาเดียวกัน ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 71% ย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 24% ย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 39% ซึ่งจะเห็นได้ว่ากองทุนดัชนี SET50 ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีที่เดียว ในขณะที่กองทุนหุ้นที่บริหารแบบ ACTIVE ผลการดำเนินงานแตกต่างกันค่อนข้างมาก ซึ่งตรงกับการศึกษาในต่างประเทศที่พบว่าการจะพยายามเอาชนะตลาดหุ้นนั้นทำได้ ค่อนข้างยาก ยิ่งในประเทศไทยโอกาสจะเอาชนะตลาดหุ้นและแพ้ใกล้เคียงกัน 50-50 เลยทีเดียว

“ดังนั้นการลงทุนตามดัชนีโดยมีการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม (RE BALANCING) และการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ (DOLLAR COST AVERAGING) จึงน่าจะเป็นทางเลือกในการลงทุนในตลาดหุ้นที่ดีกว่าสำหรับนักลงทุน ในปี 2000 ที่ตลาดหุ้นร่วง 50% นั้น ต้องใช้เวลาถึง 7 ปี กว่าจะกลับไปที่ระดับเดิมได้ นั่นเท่ากับว่าถ้าไม่ทำอะไรเลยหุ้นตกแล้วนั่งรอมา 7 ปี ผลตอบแทนที่ได้เท่ากับศูนย์ ในขณะที่การลงทุนอย่างสม่ำเสมอนั้นสามารถช่วยผู้ลงทุนได้จริง”

@ ผสมกลยุทธ์เทรดดิ้งในการบริหารพอร์ต

 โดยวีระ แนะนำว่า ปกติตลาดหุ้นไทยจะมีกรอบการเคลื่อนไหวของตัวเองในแต่ละปีแตกต่างกันออกไป อย่างในปี 2553 นี้ มองกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 650 - 850 จุด ค่อนข้างกว้าง เมื่อตลาดหุ้นขึ้นไปเคลื่อนไหวในกรอบบนก็เป็นปกติที่นักลงทุนจะมีการขายทำ กำไรบางส่วนออกมาเพื่อลดความเสี่ยง   ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนต่างชาติหรือนักลงทุนสถาบันในประเทศก็ตาม และเมื่อตลาดปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวบริเวณกรอบล่างก็จะเป็นโอกาสในการเข้าไป ซื้อเพื่อลงทุนอีกครั้ง โดยอาศัยความผันผวนของตลาดให้เป็นโอกาสในการลงทุน ซึ่งกองทุนหุ้นของบริษัทก็จะมีการ แบ่งเงินบางส่วนประมาณ 10-15% ลงทุนในลักษณะที่เทรดดิ้งตามกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีนี้เช่นกัน แต่โดยการลงทุนหลักยังคงถือหุ้นมากกว่า 80% ในปัจจุบันหลังจากที่ตลาดมีการปรับตัวลงมาเพราะมองว่าพื้นฐานตลาดหุ้นไทยยัง ดีอยู่และหากเป็นการลงทุนระยะยาว 1-2 ปีข้างหน้า การลงทุนในหุ้นยังน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนประเภทอื่นอยู่นั่นเอง

“โดยเน้นไปที่การคัดเลือกหุ้นรายตัวที่น่าสนใจและราคาต่ำเมื่อเทียบกับ พื้นฐานเพื่อลงทุนในระยะยาว โดยปัจจุบันกลุ่มที่น่าสนใจก็ยังเป็นหุ้นใหญ่ในกลุ่มพลังงานและธนาคาร พาณิชย์เป็นหลัก และหากดัชนีตลาดหุ้นไทยลงมาเคลื่อนไหวบริเวณ 700 จุด ก็เป็นระดับที่น่าสนใจกลับเข้าไปลงทุนเช่นกัน”

เช่นเดียวกับ “วนา พูลผล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ไทย) ที่ยอมรับว่า ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันค่อนข้างผันผวนกองทุนหุ้นของบริษัทจึงมีบางส่วน ประมาณ 10-15% เพื่อลงทุนในลักษณะเทรดดิ้งเมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปเต็มมูลค่าก็จะมีการ ขายทำกำไรออกไปบ้างหรือเปลี่ยนตัวเล่นเพื่อลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสในขาขึ้น เปิดมากกว่า เพื่อไม่ให้เสียโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนไป แต่พอร์ตหลักในการลงทุนยังคงเน้นลงทุนในหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเป็นหลัก อยู่ โดยยังมองว่าเหตุการณ์เลวร้ายอย่างไรตลาดหุ้นก็ไม่น่าจะหลุด 680 จุด ลงไป ที่ระดับแนวรับ 700 จุด ปัจจุบันน่าจะรับอยู่ได้
 
นี่คือ ภาพสะท้อนเพียงบางส่วนต่อตลาดหุ้นไทยในท่ามกลางการเมืองที่ร้อนระอุว่าใน “วิกฤติ” ย่อมมี “โอกาส” แฝงอยู่เสมอ ตลาดที่มีความผันผวนย่อมนำมาซึ่งโอกาสในการทำกำไรเช่นเดียวกัน อยู่ที่มุมมองของผู้ลงทุนที่จะเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์เท่านั้นเอง

view