สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จด จ่อ...จัดระเบียบข้อมูล สร้างอัจฉริยะด้านความจำคนใหม่

จากประชาชาติธุรกิจ



เคยไหม เรื่องบางเรื่องที่เราอยากลืมแต่สมองเรากลับจำได้ แต่เรื่องบางเรื่องที่อยากจำแต่กลับจำไม่ได้ซะอย่างงั้น

มันเกิดอะไร ขึ้นกับสมองก้อนน้อย ๆ ของเรา

"เอรัน คัท" ชาวอิสราเอลผู้เป็นทั้ง นักพูด นักเขียน และนักฝึกอบรมมืออาชีพด้านการพัฒนาสมองและความจำ และได้รับการยกย่องจาก Guinness Book อิสราเอลว่า เป็นผู้มีความจำเป็นเลิศ ได้ไขปริศนาเรื่องนี้ในช่วงที่เขาเดินทางมาบรรยายที่ประเทศไทยเมื่อกลาง เดือนมีนาคมที่ผ่านมาอย่างน่าทึ่ง

"ผมไม่มีความจำที่ดีเป็นพิเศษมา ตั้งแต่กำเนิด ผมมีสติปัญญาปานกลางแบบ คนทั่วไป แต่สิ่งที่มีค่าอย่างเดียวที่ผมมี คือ ความจำที่ได้รับการฝึกแล้ว"

"ความ จำที่ดีเป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุด เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของเรา แต่พวกเราก็ลงทุนกับมัน ฝึกฝนและพัฒนามันน้อยเหลือเกิน"

สิ่งที่ "เอรัน คัท" พูดทำให้เกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า ความจำเป็นสิ่งที่พัฒนาได้จริงหรือ ?

"เอ รัน" เล่าว่า ในวัยเด็กเขาเรียนไม่เก่ง คุณแม่จึงไปซื้อหนังสือเกี่ยวกับการจำทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาดมาให้เขา และด้วยเทคนิคในหนังสือต่าง ๆ ที่เขาอ่าน ทำให้ความจำของเขาพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ และเปลี่ยนชีวิตของเขาในที่สุด

เพราะความจำไม่เพียงแต่ทำให้การ เรียนของเขาดีขึ้น แต่ยังนำมาซึ่งความสำเร็จในการทำงานด้วย

"ในขณะ ที่เพื่อน ๆ ขะมักเขม้นอ่านหนังสือกันถึง 1 สัปดาห์เต็มก่อนสอบ แต่สำหรับเขาใช้เวลาเพียง 3 วันก็จำเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมาได้ ผลการเรียนจึงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด"

จากวันนั้นเขาก็พัฒนาความจำ ขึ้น เรื่อย ๆ เปลี่ยนทักษะการจำให้เป็นงานอดิเรก ปรับปรุงวิธีการ และคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ ในการจำ โดยตั้งปณิธานว่า วันหนึ่งเขาจะเป็นคนถ่ายทอดเทคนิคเหล่านี้ให้กับคนอื่น ๆ

"ทุกคนไม่ ว่าจะเกิดมาในสถานะใดก็ตาม สามารถที่จะพัฒนาตัวเองในเรื่องความจำได้"

นี่ คือสิ่งที่ "เอรัน" เชื่อมั่นและพยายามถ่ายทอดเทคนิคการจำให้กับผู้คนทั่วโลก เขายกตัวอย่างบารัก โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต คนหนึ่งว่า เขาก็ไม่ได้มาจากครอบครัว ที่ดีเลิศ แต่เขามีแรงจูงใจที่จะพัฒนาตัวเอง เขาพูดกับทุกคนโดยใช้ความจำ ไม่ใช้เทคโนโลยี ไม่ใช้กระดาษ ทำให้เขาประสบความสำเร็จในวันนี้

"เอรัน" ไม่ได้พูดลอย ๆ ว่าเขามีความจำเป็นเลิศ แต่เขาจะแสดงให้ทุกคนดูว่าสมองเขาทำงานแตกต่างจากคนที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝน อย่างไร ด้วยวิธีการง่าย ๆ คือ ให้ผู้ฟัง พูดตัวเลข 0-9 สลับกันไปมา 30-40 ตัวแล้วเขาจะพูดตัวเลขทั้งหมดตามลำดับที่ฟัง โดยไล่ตัวเลขจากหน้าไปหลัง แล้วไล่จากหลังไปหน้า และบอกกับทุกคนว่า มันไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้หากมีการฝึกฝนและพัฒนา อย่างต่อเนื่อง

"การจะจำอะไร ต้องทำให้มีเหตุ มีผล แล้วเชื่อมโยงข้อมูล ตัวเลขจาก 0-9 เขาได้ทำให้เป็นตัวอักษรแล้วแปลงให้เป็นคำ แต่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจหนึ่งเรื่อง เท่านี้ก็สามารถไล่ลำดับตัวเลขทั้งหมดได้ไม่ว่าจำนวนมากขนาดไหนก็ตาม หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์ 500 เลขหมายก็ไม่ยากที่จะจดจำ"

"เอรัน" บอกว่า ความจำเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้บริหารระดับสูง สละเวลาสักวันละ 1 ชั่วโมง ฝึกฝนเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำ เพื่อทำให้เขาจำสถิติต่าง ๆ ในองค์กรได้ จำตัวเลขสำคัญ ๆ เกี่ยวกับลูกน้องได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากจะสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีแล้ว ยังช่วยสร้างความประทับใจ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น เพราะอย่างไรเทคโนโลยีก็ไม่สามารถทดแทนความจำของมนุษย์ได้ เทคโนโลยีไม่ได้ช่วยให้เราจำหน้าผู้คน จำชื่อบุคคลเวลาที่พบหน้ากันได้ หรือการสื่อสารต่างภาษา เทคโนโลยีก็ไม่สามารถพูดแทนคนได้

หลักการ ทั่วไปของการจำในแบบของ "เอรัน" นั้นไม่ยาก ขั้นแรกจะต้องจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น ให้ความสนใจกับสิ่งที่อยากจะจำเป็นพิเศษ

ยกตัวอย่าง ถ้าวันนี้คุณเป็นผู้บริหารองค์กร มีลูกจ้างอยู่ทั้งหมด 500 คน วิธีการเดียวที่จะจำทุกคนได้คือ ต้องสร้างความประทับใจให้กับลูกน้อง อาจจะเป็นการจดจำสมาชิกในครอบครัวของ พนักงาน

หรือเวลาที่มีพนักงานเดินมาหาพร้อม กับปัญหา ในฐานะผู้บริหารก็ต้องฟังลูกน้องอย่างตั้งใจ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปลูกน้องเดินมาถามความคืบหน้าเกี่ยวกับปัญหาที่หารือจะ ได้มีคำตอบที่น่าสนใจไว้ให้กับ ลูกน้อง

เทคนิคการจำที่น่าสนใจ อีกเรื่องหนึ่งคือ การฆ่าสิ่งรบกวน

ช่วงเวลาที่มีคนมาพูดกับเรา แล้วเรารู้สึกว่าใจมันลอยไปถึงเรื่องอื่น จะต้อง ตั้งสติแล้วไล่สิ่งต่าง ๆ ออกไป หันมาให้ความสนใจกับคนที่อยู่เบื้องหน้าอย่างจริงจัง ปรับใจของเราแล้วบอกกับตัวเองว่า "ฉันอยากรู้จักคนคนนี้จริง ๆ"

ความ ตั้งใจ ความสนใจ และการจัดการที่ดี จะช่วยให้ความจำดีขึ้น

"เอรัน" บอกว่า สมองของเราก็เหมือนกับสำนักงานแห่งหนึ่ง ถ้าภายในสำนักงานของเราเต็มไปด้วยแฟ้มเอกสารที่ไม่มีการจัดการให้มีความเป็น ระเบียบเรียบร้อย การค้นหาข้อมูลก็ยาก แต่เมื่อไรที่เราเข้าไปจัดเอกสารให้เป็นหมวดหมู่ เมื่อต้องการใช้ข้อมูลก็จะจำได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน ในเรื่องความจำก็เช่นกัน จำเป็นต้องจัดระเบียบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ทุกอย่างใน ชีวิตจะแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนเช่นเดียวกับกระบวนการจำ

ขั้นที่ 1 การรับข้อมูล

ขั้นที่ 2 การประมวลผลและจัดเก็บข้อมูล

ขั้น ที่ 3 การเรียกใช้ข้อมูล

ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ผ่านแม้กระทั่งขั้นตอน การรับข้อมูล เพราะจิตใจที่ไม่ได้จดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

ถ้า เราขาดสมาธิ ก็จะจำอะไรไม่ได้ เพราะกระบวนการรับข้อมูลล้มเหลว การจัดเก็บข้อมูลก็ไม่ต้องพูดถึง

คำตอบของปัญหานี้ "เอรัน" บอกว่า จะต้องยกระดับความสนใจแล้วกระจายความสนใจอย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเวลาไปฟังคอนเสิร์ตก็ต้องพยายามฟังเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะ หรือในการชมภาพยนตร์นอกจากจะเพ่งสมาธิไปที่นักแสดงและบทสนทนาแล้วจะต้องมอง ให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ซึ่งอาจจะมีจุดสังเกตที่น่าจดจำได้

คราวนี้ก็ มาถึงขั้นตอนสำคัญของการจำ นั่นคือ ความเป็นระเบียบ

วิธีการจัดหมวด หมู่ความจำ "เอรัน" เรียกว่า เทคนิคห้องโรมัน คือการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการจำเข้ากับเครื่องเรือนที่อยู่ในบ้านผ่านจินตนาการ

สมมติ ว่าพรุ่งนี้จะต้องโทรศัพท์หาลูกค้าคนหนึ่ง พอเลิกงานกลับไปถึงบ้านก็ให้จินตนาการว่ามีลูกค้าคนหนึ่งนั่งอยู่ที่โซฟา เมื่อกลับถึงบ้านในอีกวันหนึ่ง เห็นโซฟาเราก็จะจำได้ว่าต้องโทรศัพท์หาลูกค้าคนนี้

หรือสร้างเรื่อง ราวว่า เมื่อวานฉันเปิดตู้เย็นแล้วเจอรายงานถล่มใส่ พอตื่นเช้าเดินไปเปิดตู้เย็นก็จะจำได้ว่า วันนี้ต้องเอารายงานไปส่งอาจารย์

"วิธี การจำนั้นมีมากมายหลายแนวทาง แต่ทั้งหมดต้องตั้งอยู่บนหลักการเบื้องต้น นั่นคือ จะต้องเชื่อมั่นในความจำ หลังจากนั้นก็สร้างแรงจูงใจปรับปรุงความจำ ตั้งสมาธิจดใจกับสิ่งที่ต้องการจำไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ ผู้คน แล้วค้นหาความน่าสนใจของสิ่งที่ต้องการจำ จากนั้นก็เชื่อมโยงข้อมูลโดยใช้จินตนาการแล้วจัดระบบประมวลข้อมูลเพื่อให้ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายในอนาคต"

นั่นคือวิธีการง่าย ๆ ในการสร้างอัจฉริยะด้านการจำ ซึ่ง "เอรัน" ทิ้งท้ายก่อนจบบทสนทนาด้วยประโยคว่า เคยมีคนพูดไว้อย่างน่าคิดว่า ไม่มีคนใดที่จะลดน้ำหนักได้เพียงพอด้วยการอ่านหนังสือลดน้ำหนัก เรื่องความจำก็เป็น เฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีใครจะพัฒนาความจำได้ดีด้วยการอ่านหนังสือ หรือเข้าคอร์สสัมมนา แต่ต้องรู้จักนำมาประยุกต์และฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งหากอยากมีความจำระยะยาวก็ยิ่งต้องหมั่นทบทวนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

view