สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เจาะ ลึก-เจาะใจ พฤติกรรมคนไทย อ่านเกม-เดาใจผู้บริโภคแบบมีกึ๋น

จากประชาชาติธุรกิจ

เราได้ยินจนคุ้นหูว่าประเทศไทยจะมีคน แก่มากขึ้น และนักวิชาการบางคนบอกว่า รัฐบาลควรจะเร่งรณรงค์ให้คนไทยมีลูกมากขึ้นได้แล้ว เพราะอนาคตประเทศไทยจะขาดแคลนแรงงานอย่างแน่นอน อย่างกรณีไต้หวันมีปัญหาเช่นเดียวกับไทย รัฐบาลเขามีนโยบายให้เงินอุดหนุนครอบครัวที่มีลูกอย่างเต็มที่ แล้วประเทศไทยละกำลัง ทำอะไรเพื่อรองรับปัญหานี้บ้าง ยังเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ

เมื่อโครงสร้าง "คน" เปลี่ยน ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนนี่เอง ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ศึกษาผลกระทบ "โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง ทำให้การบริโภคของไทยเปลี่ยนอย่างไร ?"

งาน วิจัยระบุว่า เรากำลังกลายเป็นสังคมของ "คนแก่" ่อนกำหนด ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเท่าไรนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าแปลกใจและน่าเป็นห่วง โดยอายุกึ่งกลางของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 32 ปี ซึ่งเป็นระดับเดียวกับสิงคโปร์และเกาหลี ที่มีรายได้สูงกว่าไทยเกือบ 4 เท่า และกว่า 2 เท่าตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าไทยกำลังขาดแคลนแรงงานในขณะที่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะของแรง งาน สะสมทุนและเทคโนโลยีขึ้นมาได้ทันพอที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้จริง

การเปลี่ยนทางโครงสร้างประชากรที่สำคัญและเด่นชัดมาก คือ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ "คนแก่" โดยในปี 2537 โครงสร้าง "เด็ก" มีฐานกว้าง แต่ปี 2563 โครงสร้างจาก "พีระมิด" ของประชากรจะเปลี่ยนเป็นรูปทรงคล้ายเหยือกมากขึ้น โดยกลุ่มคนอายุ 40-49 ปีเป็นส่วนที่กว้างที่สุด ทั้งนี้ในระหว่างช่วงปี 2550-2563 สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจะลดจาก 22% เป็น 17% ขณะที่คน 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 11% เป็น 17% ซึ่งแม้จะดูเป็นการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่คิดเป็นจำนวนผู้สูงวัย 12 ล้านคน ภายในปี 2563 เพิ่มขึ้นถึงกว่า 60% ทีเดียว และจะมี ผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว !

ปัญหาที่ไทยเผชิญ อยู่ คือ อายุเฉลี่ยของคนอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเช่นเดียวกับประเทศยากจน แต่อัตราการเกิดของเราต่ำคล้ายกับประเทศร่ำรวย อัตราการเติบโตของคนวัยทำงานจะลดลง อย่างรวดเร็ว อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมักสะท้อนถึงโครงสร้างประชากร ประเทศที่มีคนวัยทำงานขยายตัวอย่างรวดเร็วมักมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่รวดเร็วไปด้วย อันเป็นปรากฏการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ "การปันผลทางประชากร" (demographic dividend)

พฤติกรรมที่ เปลี่ยนแปลงไป

เมื่อศึกษาลึกลงไปพบว่าไม่ใช่เพียงแค่ประชากรสูง วัยขึ้นเท่านั้น แต่พฤติกรรมยังเปลี่ยนแปลงด้วย โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยมีแนวโน้มที่จะ "แต่งงาน" ในช่วงอายุ 20-29 ปี หากหย่าร้าง ก็มักจะเกิดขึ้นในช่วง 40-49 ปี และในช่วง 70-79 ปีหลายคน ก็เป็นม่าย หากมีชีวิตถึงช่วง 80-89 ปี โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หญิง ดังนั้นการระบุถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจึงต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลง ของสถานะของแต่ละช่วงอายุ




"แต่ง งานช้าลง" เห็นได้ชัดว่าผู้คนต่างแต่งงานกันช้าลง เช่น เห็นได้จากสัดส่วนของช่วงอายุ 20-29 ปี แต่งงานลดลง จากประมาณ 55% ในปี 2537 เป็นประมาณ 50% ในปี 2550 ซึ่งเราคาดว่าสัดส่วนนี้จะลดลงไปเหลือประมาณ 45% ภายในปี 2563

"ทำ งานมากขึ้น" (อย่างน้อยก็ในกลุ่มผู้หญิง) ขณะที่สัดส่วนผู้ชายที่ทำงานไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่สัดส่วนผู้หญิงทำงานกลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไม่เหมือนในประเทศอื่น ๆ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหญิงทำงานมิได้มาจากผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรง งานใหม่ แต่เป็นเพราะจำนวนผู้หญิงทำงานที่อายุยังน้อยมีสัดส่วนสูงอยู่แล้วในไทย ทั้งนี้มีผู้หญิงจำนวนมากราว 74% ของช่วงอายุ 20-29 ปีที่ทำงานอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2537 ดังนั้นสัดส่วนนี้จึงไม่น่าเพิ่มขึ้นได้มาก อาจเพิ่มขึ้นเป็นราว 77% ในปี 2563

ในทางตรงกันข้าม จำนวนผู้หญิงทำงานที่มีอายุมากจะเพิ่มสูงขึ้นมากทีเดียว เพราะมี "สต๊อก" ของผู้หญิงที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในอดีตที่ยังคงทำงานอยู่ ประเด็นนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรของผู้บริโภคที่สำคัญ สัดส่วนของคนทำงาน ผู้หญิงอายุ 30-39 ปี และ 40-49 ปี เราคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากภายใน ปี 2563 โดยกลุ่มภรรยาที่เป็นแม่บ้านจะยิ่งหายากขึ้นทุกวัน เราคาดว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ทำงานที่มีอายุ 30-39 ปี และ 40-49 ปี จะลดลงเหลือเพียง 0.7 ล้านคน คิดเป็นน้อยกว่า 8% ของประชากรในกลุ่มช่วงอายุเหล่านั้น

"หย่าร้างมากขึ้น" สัดส่วนของคนอายุ 40-49 ปีที่หย่าหรือแยกกันอยู่ได้เพิ่มขึ้นจาก 3% เป็น 6% ในปี 2537 และ 2550 โดยเราคาดว่าสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 7% ในปี 2563 ตัวเลขนี้แสดงถึงอัตราการหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ที่เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็น ได้ชัด โดยจำนวนการจดทะเบียนหย่าต่อการจดทะเบียนสมรสได้เพิ่มจากการหย่าร้างประมาณ 10 ครั้งต่อการแต่งงาน 100 ครั้ง ในปี 2537 เป็น 30 ครั้ง ในปี 2550

"มี ลูกน้อยลง" ด้วยแนวโน้มที่การแต่งงานช้าลงและการเข้าสู่การทำงานของทั้งสามีและภรรยา จึงไม่น่าแปลกใจว่าคนจะมีลูกกันน้อยลง แม้กระทั่งครอบครัวที่มีลูกก็มีแนวโน้มที่ลูกจะแยกบ้าน ออกไปอยู่เองมากขึ้น เห็นได้จากจำนวนครัวเรือนที่ไม่มีลูกอาศัยด้วยมีจำนวนมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีราว 9 ล้านคนในปี 2563 เพิ่มขึ้นจากราว 6 ล้านคนในปี 2550 ซึ่งกว่า 40% มาจากครอบครัวที่มีลูกแต่ลูกได้แยกครอบครัวไปแล้ว

อ่าน เกม-เดาใจผู้บริโภค

ผลกระทบของผู้บริโภคบางประการที่ชัดเจน ภายในปี 2563 จำนวนผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้นอีก 4.5 ล้านคน ขณะที่จำนวนเด็กจะลดลง 2.5 ล้านคน ดังนั้นธุรกิจที่ตอบสนองกลุ่มแรก เช่น โรงพยาบาล จะได้ประโยชน์มากกว่าธุรกิจที่ตอบสนองกลุ่มหลัง เช่น โรงเรียน อย่างไรก็ดียังมีแนวโน้มสำหรับในทุกเซ็กเตอร์เช่นกัน เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเพิ่มคุณสมบัติของอุปกรณ์ เข้าไปมากขึ้น และมีรูปทรงเล็กลง แต่ผู้สูงวัยจะนิยมอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานง่ายมากกว่า



โครง สร้างของครัวเรือนที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการบริโภคในแต่ละ ธุรกิจแตกต่างกันไป ครัวเรือนที่แต่งงานมักใช้จ่ายสำหรับการคมนาคมมากกว่าครัวเรือนประเภทอื่น แต่ในทางตรงข้าม การใช้จ่ายด้านการสื่อสารกลับไม่แปรผันไปตามประเภทของครัวเรือน คนที่อยู่คนเดียวและคู่แต่งงานไม่มีลูก มักใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและสันทนาการมากกว่า การที่ครัวเรือน 2 ประเภทนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้การใช้จ่ายในหมวดดังกล่าวไป ได้ดี นอกจากนี้การขยายตัวต่อเนื่องของครัวเรือน 2 ประเภทนี้ยังจะส่งผลต่อความต้องการด้านที่อยู่อาศัยแบบอพาร์ตเมนต์และ คอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นสูงมากโดยไม่น่าแปลกใจ

ทั้งนี้ "จังหวะน้ำขึ้น" ของไทยไม่ค่อยมี ธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับโอกาสที่เกิดขึ้นในตลาดครัวเรือนแบบใหม่ ๆ แม้จะไม่ใช่กลุ่มตลาดที่ใหญ่มาก แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ตัวอย่างเช่น คนที่อยู่ตัวคนเดียว หรือแต่งงานโดยไม่มีลูกนั้น คิดเป็น 13% ของประชากร แต่มีการใช้จ่ายคิดเป็น 21% ของการใช้จ่ายรวม ทั้ง 2 กลุ่มตลาดนี้เป็นประชากรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การตอบสนองความต้องการของกลุ่มตลาดเหล่านี้ รวมถึงเทรนด์ย่อยอื่น ๆ ที่กล่าวถึงในส่วนที่ผ่านมา (เช่น ครอบครัวที่ บุตรหลานแยกบ้านออกไป ครอบครัวที่ไม่ใช่ครัวเรือนเดี่ยว) ต่างเป็นความท้าทายและโอกาสของธุรกิจเช่นกัน

จากการเจาะลึกธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล พบความจริงที่ว่าคนนิยมอาศัยในคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ในปี 2550 จากปี 2537 หรือมีสัดส่วน ราว 13% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดรองจากทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยว

แต่ที่น่า สนใจกว่านั้น คือ คู่แต่งงานไม่มีลูกเป็นลักษณะ ครัวเรือนที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมมากที่สุด โดยในปี 2550 มีสัดส่วนกว่า 36% แซงหน้าครัวเรือนประเภทที่อยู่คนเดียวที่ เคยมีสัดส่วนสูงสุดในปี 2537 ที่ประมาณ 28% อีกทั้งยังเป็นลักษณะครัวเรือนที่ย้ายมาอยู่คอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม ราว 15% ต่อปี โตเร็วกว่าครัวเรือนประเภทที่อยู่คนเดียวที่โตประมาณ 10% ต่อปี

สำหรับ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การตัดสินใจระหว่างเลือกสร้างบ้านเดี่ยวขาย หรือคอนโดมิเนียมอาจไม่พออีกต่อไป แต่ต้องตัดสินใจต่อด้วยว่าจะสร้างประเภทไหนถึงจะถูกใจ ผู้ซื้อและขายได้ดี จำนวนคู่แต่งงานไม่มีลูก ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญสำหรับตลาดคอนโดมิเนียม และที่เราคาดว่าจะโตต่อเนื่องไปอีกค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่คิดจะสร้างคอนโดมิเนียมขายอาจ ต้องปรับกลยุทธ์ให้ตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสมกล่าวคือ แทนที่จะมุ่งเน้นห้องพักประเภท studio มีพื้นที่ใช้สอยไม่มากเท่าที่จำเป็นสำหรับอยู่คนเดียว ตั้งอยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้ามาเป็นจัดให้มีห้องพักประเภท 1-2 ห้องนอน หรือแม้กระทั่งแบบ 2 ชั้น (duplex) มีพื้นที่ใช้สอยพอสมควร อาจมีครัวย่อม ๆ มีที่จอดรถเพียงพอ ตั้งอยู่ใกล้ lifestyle mall หรือมี retail area อยู่ชั้นล่าง ไม่จำเป็นต้องใกล้แนวรถไฟฟ้าหรือโรงเรียน เพื่อให้ง่ายกับการพักผ่อนช่วงวันเสาร์-อาทิตย์

แนวโน้มที่บ่งชี้ ถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรนั้น มิใช่ส่งผลต่อรูปแบบการบริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจและสังคมด้วย การออมของครัวเรือนนั้นลดต่ำลงเมื่อผู้คนสูงวัยขึ้น หลายอุตสาหกรรมยังมีการดำเนินงานภายใต้สภาวะที่ประเมินไว้ เมื่อยังมีแรงงานมากและราคาถูก แต่การทำธุรกิจแบบ "business as usual" จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมลดลงเพราะแรงงานจะเติบโตช้าลงมากในอนาคต จึงจะมีความต้องการแรงงานต่างชาติสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้อง แล้วเราจะดูแล ผู้สูงวัยของเราอย่างไร อัตราการพึ่งพิงที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วหมายความว่า ผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุนประกันสังคมสำหรับวัยเกษียณในปัจจุบันที่มีการ จ่ายสมทบเข้ามานั้น จะถึงจุดที่รับไม่ไหวสักวันหนึ่ง เพราะจะกลายเป็นว่ามีคนทำงานที่จ่ายเงินสมทบ เข้ามาน้อยลงเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณที่มีมากขึ้น

ธุรกิจ ต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เมื่อกำลังแรงงานสูงวัยมากขึ้น คนทำงานที่มีอายุมากกว่าจะต้องทำตัว ให้ชินกับการทำงานกับหัวหน้าที่มีอายุน้อยกว่า อีกทั้งจะมีหัวหน้าที่เป็นผู้หญิงมาก เพราะได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น

การ พัฒนาไปสู่สังคมประชากรสูงวัยของไทยเป็นความท้าทาย เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วเกินกว่า ความพร้อมของนโยบาย การบริหารจัดการ เศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นภาครัฐ กลุ่มธุรกิจ และผู้ประกอบการ ไม่เพียงต้องปรับตัวเพื่อพร้อมรับมือ แต่ควรปรับตัวเพื่อฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงนี้

คำถาม จึงคงไม่ใช่ "ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดขึ้น ?" แต่เป็น "จะต้องทำอย่างไรให้พร้อมรับมือและฉกฉวยโอกาสที่พึงจะเกิดขึ้น ?"

view