สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เจียเม้ง ลดสต๊อก 8 หมื่นตันอุดขาดทุน จับมือโรงสีใช้ JIT ล็อกราคาซื้อล่วงหน้า (1)

จากประชาชาติธุรกิจ



ภาวะราคา ข้าวในตลาดโลกที่กำลังดิ่งหัวลงได้ส่งผลกระทบไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องตลอด ซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่ชาวนา พ่อค้าข้าวเปลือก โรงสี หย่ง ผู้ขายข้าวภายในประเทศ และผู้ส่งออกต่างเจ็บตัวไปตามกันจากสต๊อกข้าวที่ซื้อเก็บไว้

บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด ผู้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงในนาม "หงษ์ทอง" ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ส่งออกข้าวอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยที่มียอดขายเกือบ 6,000 ล้านบาทต่อปี กำลังประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกับผู้ส่งออกรายอื่น

"ปีนี้เราขาด ทุนข้าวเก่าที่เก็บสต๊อกไว้ประมาณ 70-80 ล้านบาท เราต้องหาทางปรับลดค่าใช้จ่ายมาชดเชยตรงส่วนนี้ให้ได้ ดังนั้นปีนี้เราจะเน้นนโยบายด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบเข้มข้นกว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เราจะปรับวิธีการทำงานใหม่ ทุกส่วนงาน ตอนนี้ผมตั้งเป้าลดสต๊อกข้าวทุกชนิดที่มีอยู่ถึง 88,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2,749 ล้านบาท ให้เหลือเพียง 19,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 597 ล้านบาท ให้ได้ในเดือนตุลาคม และภายในปลายปี 2553 ผมมี นโยบายตั้งเป้าลดสต๊อกให้ต่ำสุดเหลือ ไม่เกิน 300 ล้านบาท

ไม่ ว่าข้าวใหม่จะออก เราจะเลิกซื้อเก็งกำไรเหมือนแต่ก่อน จะเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อข้าวโดยวางแผนสั่งซื้อล่วงหน้าแบบใหม่ เพื่อหาทางปรับลดค่าใช้จ่ายลงมาชดเชยกับการขาดทุน และในอนาคตจะทำสต๊อกให้เหลือเป็นศูนย์ (zero stock) นี่คือความมุ่งมั่นที่ นายวัลลภ มานะธัญญา ประธาน บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

เร่งเพิ่มคุณภาพ-ลดต้นทุน

วัลลภ บอกว่า ที่ผ่านมาได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และ ซัพพลายเชนกับหลายหน่วยราชการทั้งกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันเพิ่มผลผลิต โดยนำความรู้ที่ได้รับและคำแนะนำจากที่ปรึกษามาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม กับธุรกิจค้าข้าว

วัลลภบอกว่า นโยบายเรื่องซัพพลายเชนของธุรกิจข้าวประกอบด้วย 2 ด้านหลัก คือเรื่องคุณภาพกับต้นทุน โดยเรื่องคุณภาพเป็นสิ่งที่บริษัทอยากพัฒนาปรับปรุง โดยบริษัททำข้าวหอมมะลิเป็นหลัก ที่ผ่านมาลูกค้าของบริษัททั้งภายในประเทศและต่างประเทศบ่นกันมากว่า ข้าวหอมของไทยปัจจุบันกลิ่นไม่หอมเหมือนในอดีต จึงเป็นนโยบายของเจียเม้งที่ต้องการพัฒนาปรับปรุงข้าวหอมมะลิตั้งแต่ต้นทาง โดยทำโครงการลักษณะคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งกับชาวบ้านและโรงสีที่เป็นพันธมิตร

นอก จากนี้ต้องพยายามลดต้นทุน โลจิสติกส์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ของเจียเม้งประมาณ 3.57% ของยอดขาย 5,200 ล้านบาท ในปี 2552 หรือเท่ากับต้นทุน โลจิสติกส์ 200 กว่าล้านบาท ในปี 2553 ผมกำหนดนโยบายให้พนักงานว่า อย่างน้อยต้องลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้ได้ไม่เกิน 3%

การจะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต้องมาวิเคราะห์ดูโครงสร้างซัพพลาย เชนทั้งหมดของบริษัทก่อนว่า เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ทั้งข้าวเปลือกและข้าวสาร โดยการซื้อข้าวเปลือกมีวิธีการรับซื้อทั้งหมด 3 ทาง ได้แก่ 1.ซื้อตรงจากชาวนาที่ปลูกข้าวประมาณ 5-6% 2.ซื้อจากพ่อค้าข้าวเปลือกที่ไปกว้านซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาหลาย ๆ รายมาอีกที 3.ซื้อจากโรงสี

ส่วนการรับซื้อข้าวสารมีวิธีการรับซื้อ ทั้งหมด 3 ทาง 1.ซื้อจากโรงสี 2.ซื้อจากหย่ง หรือพ่อค้าคนกลาง 3.ซื้อจากรัฐ แต่ละแหล่งที่รับซื้อมาจะมีต้นทุนการผลิตเป็นข้าวสารที่แตกต่างกัน

เมื่อ ช่วงปลายปี 2552 เราประมูลข้าวเก่าของรัฐได 120,000 ตัน จากความต้องการใช้จริงเพียง 60,000 ตัน เหลืออีก 60,000 ตัน ทำให้เดือนเมษายน 2553 ผมมีสต๊อกข้าวทุกชนิดรวมกันประมาณ 88,000 ตัน มีมูลค่าประมาณ 2,700 ล้านบาท คิดดอกเบี้ย 5% ต่อปี เท่ากับต้องเสียดอกเบี้ย 11 ล้านบาท ผมมีนโยบายเร่งการขายและทยอยขายให้ผู้ส่งออกรายอื่น

สต๊อก 88,000 ตัน แบ่งเป็นข้าวใหม่ 16,600 ตัน เดือนมิถุนายนมีนโยบายให้ลดเหลือ 3,045 ตัน เพราะผมไม่ให้ซื้อแล้ว จะเริ่มซื้ออีกครั้งเดือนมิถุนายน ข้าวที่เป็นข้าวใหม่ในฤดูกาล ผมขอให้ใช้ระบบ JIT ให้หมด แต่พนักงานขอให้มี buffer stocks สต๊อกข้าวหอมมะลิใหม่ประมาณ 2,000 ตัน หรือประมาณ 100 ล้านบาท

ถ้าปีนี้เจียเม้งทำได้จะลดดอกเบี้ยจากเดือน เมษายน-พฤศจิกายนไปได้ประมาณ 34 ล้านบาทต่อปี ต่อไปให้เก็บสต๊อกได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท ประมาณ 10,000 ตัน จะเสียดอกเบี้ยประมาณ 1 ล้านบาท แทนที่จะจ่ายเดือนละ 10 กว่าล้านบาท

ทำจัดซื้อล่วงหน้าโยนโรง สี-หย่งสต๊อก

ธุรกิจค้าข้าวถือเป็นธุรกิจที่มีการเก็บรักษาสต๊อก สินค้าค่อนข้างมาก แต่ยิ่งเก็บมากมีดอกเบี้ยมาก เก็บน้อยมีดอกเบี้ยน้อย ดังนั้นปีนี้ผมขอเปลี่ยนวิธีการไม่ให้เก็บสต๊อกเลย หรือเก็บให้น้อยที่สุด โดยการนำวิธีการเรื่อง Just in Time : JIT มาประยุกต์ใช้ ขอเปลี่ยนจากการสต๊อกแบบเดิม 3 เดือน มาเป็น Just in Time buffer stocks ขอเก็บเพียง 1-2 สัปดาห์

โดยการสั่งซื้อข้าวล่วงหน้าจะทำ 2 วิธี 1.จะมีการทำสัญญาล่วงหน้า 2-3 เดือน โดยการล็อกราคาและจำนวน โดยมีแผนให้ทยอยส่งเป็นรายสัปดาห์ ผมจะซื้อแค่ส่งให้ลูกค้าล่วงหน้าที่รู้ต้นทุนแน่นอน เพื่อป้องกันความเสี่ยงกรณีการสั่งซื้อล่วงหน้า ผมกำลังจะทำสัญญาล่วงหน้ากับลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมที่มาสั่งซื้อปลายข้าว เก่าหอมมะลิไปเป็นวัตถุดิบทำขนมข้าวอบกรอบ แต�ูกค้าต้องเสียค่าเก็บรักษาและค่าดอกเบี้ยให้ผม ไม่ต้องห่วงว่าราคาข้าวจะขึ้นหรือลง แต่ต้องรับซื้อข้าวที่สั่งไว้ให้หมด ลูกค้าก็ชอบเพราะไม่ต้องบริหารความผันผวนเรื่องราคาและได้เรื่องคุณภาพ รวมถึงฮ่องกงก็สั่งซื้อข้าวเรา 3 เดือนล่วงหน้า วิธีการที่เราซื้อล่วงหน้าล็อกราคา ปลายทางเราก็ล็อกได้อยู่แล้ว เราจะล็อกเมื่อมีลูกค้าปลายทางแน่นอน 2.มีการทำสัญญาล่วงหน้ารายปี แต่ซื้อตามราคาตลาด แต่การซื้อล่วงหน้าต้องทำกับคนที่ไว้ใจได้ ซื่อสัตย์ ไม่เบี้ยว

view