สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ล้าง ภาพลบ กอบกู้ภาพลักษณ์ "โจทย์หิน ธุรกิจ...หลังม็อบจบ

จากประชาชาติธุรกิจ

วิเคราะห์


แม้ม็อบ เสื้อแดงจะสลายตัวจากสี่แยกราชประสงค์ไปแล้ว

แต่ผู้ประกอบการและ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูธุรกิจ ครั้งใหญ่ และยังมีหนทางอีกยาวไกลกว่าจะบรรลุจุดหมาย

ม็อบจบแล้วแต่ ยังทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้อย่างมหาศาล และยากที่จะประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้

ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการในย่านช็อปปิ้งสตรีตเมืองไทยต่างร่วมกันวาดหวัง ว่า หลังจากการชุมนุมยุติลงจะเตรียมฟื้นฟูและสร้างบรรยากาศการช็อปปิ้งให้ฟื้น ขึ้นมาอย่างไรบ้าง

แต่แผนการที่ทุกฝ่ายร่วมกันเตรียมไว้คงจะไม่ สามารถทำได้ในเร็ววันและต้องกลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้งหนึ่ง

นอก จากสิ่งของ อาคาร สถานที่ ฯลฯ ที่เสียหายไปกับกองเพลิงแล้ว "ความเชื่อมั่น" ของชาวต่างประเทศจากภาพต่าง ๆ ที่ปรากฏต่อสายตาชาวโลกยิ่งทำให้การฟื้นฟูเยียวยาธุรกิจและเศรษฐกิจของ ประเทศครั้งนี้มีความยากลำบากมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ซ่อมแซมควบ คู่ ฟื้นความเชื่อมั่น

ผู้บริหารบริษัทเซ็นทรัลกรุ๊ปรายหนึ่ง กล่าวว่า สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ การซ่อมแซมเซ็นทรัลเวิลด์ให้มีสภาพกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบฯอีกไม่น้อย ทั้งในแง่ของการซ่อมแซมอาคารสถานที่ การคุยกับผู้เช่า ฯลฯ การจัดกิจกรรมที่จะเหมือนกับเปิดศูนย์การค้าใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ในส่วนของห้างสรรพสินค้าเซนที่อยู่ภายใต้การดูแลของ เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือซีอาร์ซี ที่เสียหายมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ

แม้ ว่าจะทำประกันไว้แต่ก็ไม่คุ้มในแง่ของการเสียโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งไม่เฉพาะในส่วนของเซ็นทรัลเท่านั้น เจ้าของสินค้า ซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ร้านค้า ร้านอาหาร ฯลฯ ล้วนเสียหายด้วยกันทั้งสิ้น

"แผนการฟื้นฟูและ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการย่านราชประสงค์เตรียมไว้ เบื้องต้นคงไม่สามารถทำได้ในทันทีหลังจากการเคลียร์พื้นที่จบลง แต่ละแห่งจะต้องเร่งบูรณะซ่อมแซมความเสียหาย ต่าง ๆ ให้เรียบร้อย"

ควบ คู่กับการซ่อมแซม ทีมงานก็จะต้องคิดเพื่อแผนการตลาด การสร้างบรรยากาศ การกระตุ้นการจับจ่ายไปพร้อม ๆ กัน

แหล่งข่าวรายนี้ยอมรับว่า ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ แต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพราะปัญหาในเวลานี้ก็คือ เรื่องของมู้ดและความเชื่อมั่น

"ฟ้าฟื้น เต็มบุญเกียรติ" เลขานุการสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจในย่าน ราชประสงค์ได้ แต่ประเมินความเสียหายเบื้องต้นเฉพาะยอดขายของห้างสรรพสินค้าในย่านดังกล่าว จะมีมูลค่าราว 5.2 พันล้านบาทต่อเดือน

"ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมิน ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ โดยผู้ประกอบการยังไม่ได้หารือกัน หากถามถึงว่าความเสียหายเฉพาะห้าง ที่เป็นตัวยอดขาย เฉพาะห้างอย่างเดียว 5.2 พันล้านบาทต่อเดือน"

"สุรพล ศรีตระกูล" นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว คาดจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-9 เดือนในการเรียกความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับคืนมา หลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นในประเทศ ขณะที่มองยอดนักท่องเที่ยวปี 2553 จะลดเหลือ 12-13 ล้านคน จากเดิมคาดไว้ 14.5 ล้านคน

ก่อนหน้านี้ผู้ บริหารศูนย์การค้าเกษรยอมรับว่า ตลอดช่วง 2 เดือนที่มีความ วุ่นวาย ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจไม่น้อย โดยเฉพาะสินค้าลักเซอรี่แบรนด์ใหม่ ๆ ที่ เตรียมจะเข้ามาลงทุนและเปิดสาขาในเมืองไทยอีกหลายแบรนด์ที่กังวลไม่มั่นใจ และมีความเป็นไปได้ที่แบรนด์เหล่านี้อาจจะหันไปเปิดในประเทศอื่นแทน

ทางออก ที่พอจะทำได้ก็คือ การเร่งสร้างความเชื่อมั่น กอบกู้ภาพลักษณ์กลับคืนมา

ตปท. มองไทยเปลี่ยน

นักการตลาดที่คลุกคลีกับวงการค้าปลีกมานานราย หนึ่งแสดงทรรศนะว่า การกระตุ้นการจับจ่ายของลูกค้าในประเทศ โดยความเห็นส่วนตัวมองว่า หากสถานการณ์สงบจริงก็ไม่น่าจะยากอะไรนัก เนื่องจากมู้ดการจับจ่ายนั้นเป็นนีด (need) ที่เป็นธรรมชาติของทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าดีกรีของ "นีด" จะมากหรือน้อย

แต่ สิ่งที่น่ากังวลและเป็นโจทย์ข้อสำคัญที่ทั้งผู้ประกอบการภาคธุรกิจและภาครัฐ จะต้องร่วมแรงร่วมใจกันมาก ๆ ก็คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เปรียบเสมือนท่อ น้ำเลี้ยงขนาดใหญ่ทางเศรษฐกิจของประเทศ

พร้อมกันนี้เขาได้ให้เหตุผล เสริมว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้กลายเป็น "บาดแผล" ที่ทำให้มุมมองและความ รู้สึกดี ๆ ที่ชาวต่างประเทศมีต่อเมืองไทย คนไทย เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

จากสยามเมืองยิ้ม กลายเป็นเมืองที่ เต็มไปด้วยเสียงปืน เสียงระเบิด การเผา การปล้นสะดม ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่สร้างความไม่ปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

ยิ่งภาพของการ "เผา" ที่ลามออกไปสู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวสำคัญหลาย ๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ เชียงราย อุดรฯ ขอนแก่น อุบลฯ

ยิ่งเป็นภาพลบ และบั่นทอนความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลงไปอีก

"จากนี้ไปการดึงนัก ท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเข้ามาคงไม่ใช่ง่าย ๆ เพราะอย่าลืมว่า ทุกวันนี้มีประเทศที่เป็นคู่แข่งในเรื่องการท่องเที่ยวกับไทยเกิดขึ้นเป็น จำนวนมาก ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวมีตัวเลือกมากขึ้น"

จับตา "ภัยแล้ง" ซ้ำเติม

นอกจากการพยายามฟื้นความเชื่อมั่นและดึง "นักท่องเที่ยว" ที่จะเป็นเครื่องจักรในการขับเคลื่อนรายได้และยอดขายแล้ว สิ่งที่ผู้บริหารบริษัทเครื่องดื่มรายใหญ่กังวลและเป็นห่วงอีกอย่างหนึ่งก็ คือ ปัญหาภัยแล้ง ที่อาจจะลามไปกระทบกับการส่งออกสินค้าพืชผลทางการเกษตรหลาย ๆ ชนิด

หาก เป็นเช่นนั้นจริง เขามองว่า ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ กำลังซื้อที่ลดลง และส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ตอนนี้นอกจากความเชื่อมั่นที่ ทำให้ผู้บริโภคลดการจับจ่าย แต่ในระยะถัดไป จากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลถึงกำลังซื้อซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น

เท่า กับว่าผู้ประกอบการและธุรกิจต่าง ๆ จะต้องออกแรงมากกว่าเรื่องการฟื้นฟูบรรยากาศและการกระตุ้นการจับจ่าย

รายงาน จากบริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี ประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคชาวไทยกว่าครึ่ง (56%) มีความคิดว่า ในอีก 12 เดือนข้างหน้าโอกาสในด้านการงานของตนยังไม่ค่อยดีนัก และผู้บริโภคจำนวน 40% ยังไม่ค่อยมีความมั่นใจกับสถานะทางการเงินของตน ความรู้สึกดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงจากการสำรวจเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา

ที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อของและการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคชาวไทย พยายามลดรายจ่ายดังต่อไปนี้ ประหยัดค่าไฟ (60%) ซื้อเสื้อผ้าใหม่ (58%) ลดสิ่งบันเทิงนอกบ้าน (53%) ประหยัดค่าโทรศัพท์ (44%)

เป็นโจทย์ การบ้านข้อใหญ่ที่ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจจะต้องพยายามหาทางออกให้เจอโดย เร็ว

view