สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โอกาส ในวิกฤตโลกออนไลน์ เว็บข่าว-ทวิตเตอร์-เฟซบุ๊ก ทำลายสถิติ

จากประชาชาติธุรกิจ

จากภาวะเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการ เมืองไทยช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้คนไทยให้ความสนใจเกาะติดข่าวสารบ้านเมืองอย่างใกล้ชิด ซึ่งทำให้สื่อบนโลกออนไลน์ทั้งหลายได้เข้ามามีบทบาทและตอบโจทย์ความต้องการ ของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ทั้งหลาย รวมถึงในโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊กและ ทวิตเตอร์ ต่างเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ

จากสถิติภาพรวมการใช้เว็บไซต์ ไทยในช่วงเดือนเมษายน 2553 ของเว็บไซต์ truehits.net พบว่าเว็บไซต์ข่าวออนไลน์มี ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นถ้วนหน้า ขณะที่เว็บไซต์วาไรตี้และบันเทิงทั้งหลายก็มีอัตราการเข้าใช้บริการลดลงถ้วน หน้าเช่นกัน

เรียกว่าในบรรยากาศที่บ้านเมืองวิกฤต ทำให้พฤติกรรมการท่องโลกไซเบอร์ของ คนไทยเปลี่ยนไปเช่นกัน จากที่เดิมชาวไซเบอร์ส่วนใหญ่จะเน้นการท่องเว็บด้านความบันเทิง เกม เป็นต้น

ดร.ปิยะ ตัณฑวิเชียร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค บริษัท ศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตไทย จำกัด ผู้จัดทำสถิติข้อมูลการใช้บริการเว็บไซต์ในประเทศไทย (www.truehits.net) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากที่รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวจากข้อมูลจะเห็นชัดเจนว่าทราฟฟิกการเข้าอิน เทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากวันที่ 18 พ.ค.ประมาณ 20% เพราะว่าประชาชนต้องการติดตามข้อมูลข่าวสาร ทำให้ทราฟฟิกการเข้าเว็บไซต์ข่าวต่าง ๆ มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก




โดย จะเห็นได้ชัดว่า "คำค้น" (keyword) ที่มีการใช้มากที่สุดของวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา คือคำว่า "ดูทีวีออนไลน์" ตามด้วยคำว่า "ข่าวด่วน" ส่วนคำว่า "เกม" ซึ่งปกติจะเป็นคำค้นยอดฮิตตกลงมาอยู่อันดับ 3 และตามมาด้วยคำค้นคำว่า "ข่าว"

สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการติดตาม ข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ในภาวะวิกฤตที่พุ่งพรวดขึ้นมา ในขณะที่ข่าวจาก ฟรีทีวีต่าง ๆ ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ทั้งหลายมีทราฟฟิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงที่วิกฤตการเมืองช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็พบว่าในส่วนเว็บด้านความบันเทิงต่าง ๆ ทั้งเพลงและเกมรวมถึง ช็อปปิ้งมีปริมาณการเข้าชมเว็บลดลงจากช่วงเดือนที่ผ่านมาโดยถ้วนหน้าเช่นกัน

เช่น สนุกดอทคอม เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากอันดับหนึ่งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีปริมาณทราฟฟิกที่เข้าเว็บไซต์ลดลง 5.61% รวมถึงกระปุกดอทคอม, แกรมมี่ และ Dek-D ต่างอยู่ในสภาวะเดียวกัน คือ ปริมาณการเข้าชมลดลง

ขณะที่ใน เดือนเมษายนนี้พบว่ามีจำนวนผู้เข้าเว็บไซต์ไทยอยู่ที่ 22 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเมื่อต้นปี ซึ่งมีข้อมูลว่าประชากรเน็ตอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านคน

ดร.ปิยะกล่าวว่า ทิศทางการบริโภค ข่าวสารในเดือน พ.ค.ก็ไม่แตกต่างกัน และจากข้อมูลก็พบว่ามี

เว็บไซต์ข่าวทั้งหลายที่ มีการทำ "นิว-ไฮ" ของผู้เข้าชมกันเกือบทุกวันในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้พบว่าจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ในเดือน พ.ค.นั้นเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.อย่างมาก เช่น เว็บเนชั่นชาแนล จากเดือนเมษายนมี Unique IP เฉลี่ยอยู่ที่ 74,340 ราย/วัน แต่ข้อมูลเมื่อ 19 พ.ค.มีผู้เข้าชม Unique IP เพิ่มขึ้นเป็น 246,638 ราย

เช่นเดียวกับเว็บไซต์มติชนออนไลน์ matichon.co.th จากเดือนเมษายนมีผู้เข้าชมตาม Unique IP เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 79,739 ราย และเมื่อวันที่ 19 พ.ค. เพิ่มเป็น 154,532 ราย ซึ่งเว็บไซต์ข่าวอื่น ๆ ก็มีแนวโน้มในทิศทางเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ดร.ปิยะกล่าวว่า แต่เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติก็จะเห็นว่าปริมาณการเข้าชมของ เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต่าง ๆ อยู่ในสถานการณ์ "ทรงและทรุด" ซึ่งเป็นเรื่องปกติ

ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ข่าวทีวีไม่มีการนำ เสนอข่าว พบว่าประชาชนหันไปพึ่งเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ควบคู่กับการเกาะติดข่าวผ่านสื่อ ทางเลือกอย่าง "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" มากขึ้น

ในช่วงที่คนไทยต้องการ เกาะติดข่าวแบบนาทีต่อนาที ทำให้ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กเข้ามามีบทบาทอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีการแบ่งปันกันบนโซเชียลเน็ตเวิร์กก็มีทั้งข้อ (มูล) เท็จและจริง ทำให้การรับข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลเน็ตเวิร์กต้องผ่านการกลั่นกรองและตรวจ สอบ ก็ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลเช่นกรณีทวิตเตอร์ถ้า "followers" ทวิตเตอร์ของผู้ที่มีความน่าเชื่อถือก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง

ต้องยอมรับ ว่าวิกฤตการเมืองครั้งนี้ทำให้จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ในเมืองไทย เพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราด

จากข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊กเมื่อต้นปีที่ผ่าน มาอยู่ที่ 2 ล้านเศษ ๆ แต่วันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมาพบว่าจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทย มีมากถึง 3.62 ล้านคนทีเดียว ขณะที่ ทวิตเตอร์ก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นและบ่อยครั้งที่พบว่าทวิตเตอร์มีปัญหาว่า "twitter is over capacity"

วิกฤตครั้งนี้น่าจะเรียกว่าเป็นการแสดง พลังของโลกออนไลน์กันอย่างเต็มที่ ทั้งเว็บไซต์ข่าวต่าง ๆ ไปจนถึงเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่ได้เข้ามาทำหน้าที่แทนสื่อกระแสหลักได้เช่น กัน เพราะไม่ใช่แค่การถ่ายทอดข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาพข่าว คลิปวิดีโอเหตุการณ์ต่าง ๆ

view