สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Debt Stress Test เจาะลึก หนี้ นานาชาติ

จากประชาชาติธุรกิจ

ประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่หลายประเทศ ไล่เรียงตั้งแต่ "ญี่ปุ่น" ไปจนถึง "อังกฤษ" จะต้องเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะไปอีกยาวนาน โดยขั้นที่เลวร้ายที่สุดคือต้องแบกหนี้ไปจนถึงปี 2627

ปัจจุบันการ ขาดดุลงบประมาณของประเทศต่าง ๆ กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และ มีการประเมินกันว่าอัตราหนี้สาธารณะเฉลี่ยของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจขนาด ใหญ่ (จี 20) จะไต่ระดับจาก 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2550 เป็น 106% ในปีนี้ และแม้ว่าวิกฤตการเงินโลกครั้งใหญ่ได้ยุติลงแล้ว แต่ผลพวงของวิกฤตยังจะดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ สถาบันพัฒนาบริหารจัดการ (ไอเอ็มดี) ได้จัดทำ "Debt Stress Test" เพื่อประเมินระยะเวลาที่ประเทศ ต่าง ๆ จะสามารถปรับระดับหนี้สาธารณะให้กลับมาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (bearable public debt level) หรือหนี้ สาธารณะคิดเป็น 60% ของจีดีพี ซึ่งต่อไปนี้จะระบุปีไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ

การประเมินนี้เกิดขึ้น ภายในสมมติฐานที่ว่า แต่ละประเทศจะสามารถลดการขาดดุลงบประมาณให้มาอยู่ในระดับที่มีดุลยภาพได้ใน ปี 2558 และในปีเดียวกัน แต่ละประเทศจะตัดรายได้ 1% ของจีดีพีเพื่อไปชำระหนี้ โดยขณะนั้นคาดว่าแต่ละประเทศจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับเดียว กับอัตราเฉลี่ยในปี 2543-2551

จากรายงานพบว่า ญี่ปุ่น (2627) อิตาลี (2603) และเบลเยียม (2578) ยังแบกหนี้ท่วมในปัจจุบัน แต่เจ้าหนี้ส่วนใหญ่กลับเป็นสถาบันการเงินท้องถิ่น ต่างจากรัฐบาลของกรีซ ( 2574) และโปรตุเกส (2580) ที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินต่างชาติ โดยกรีซเป็นหนี้แบงก์ต่างชาติอยู่ราว 106 พันล้าน ยูโร ขณะที่โปรตุเกสเป็นหนี้ต่างชาติ 44 พันล้านยูโร

ความเสี่ยงของ สกุลเงินเป็นปัจจัยเสริมของความไม่แน่นอนสำหรับประเทศอย่างอังกฤษ (2571) ที่รัฐบาลมีหนี้อยู่ 1,482 พันล้านดอลลาร์ และไอซ์แลนด์ (2575) มีหนี้ 14.9 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่หนี้ราว 75% ของกรีซและโปรตุเกสเป็นหนี้ในสกุล ยูโร และหนี้ส่วนใหญ่ของสหรัฐ (2576) เป็นสกุลดอลลาร์

ทั้งนี้ ความสามารถในการชำระหนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเศรษฐกิจ และเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว ประเทศก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน นอกจากนี้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศก็มีผลต่อภาระหนี้ ซึ่งประเทศอย่างกรีซ โปรตุเกส สเปน อิตาลี และไอร์แลนด์ ต่างมีการ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาลทั้งสิ้น

ขณะที่อีกปัจจัยต้องนำมาพิจารณา คือ ยอดสุทธิระหว่างหนี้ต่างประเทศและสินทรัพย์ต่างประเทศ เช่น เยอรมนีมีหนี้ 2,448 พันล้านดอลลาร์ แต่มียอดสุทธิของหนี้และสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นบวก ขณะที่สหรัฐ เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ แคนาดา และอิตาลี ล้วนมีสินทรัพย์อุตสาหกรรมในต่างประเทศ มากกว่าที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ

พร้อมกันนี้ คุณภาพของหนี้ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ค้ำประกันและความสามารถในการชำระหนี้ ในระยะสั้นพบว่า ประเทศอย่างกรีซ โปรตุเกส และสเปน มีปัญหาความน่าเชื่อถือเพราะเผชิญวิกฤตหนี้ และขาดช่องทางที่จะช่วยสนับสนุนให้สามารถชำระหนี้ได้ เช่น อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัด และการลงทุนใน ต่างประเทศ ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ที่อ่วมหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลับมีปัญหาความน่าเชื่อถือน้อยกว่า แต่ปัญหาหนี้ได้กระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน และอำนาจการซื้อของผู้บริโภค

จากการประเมินครั้งนี้ "ไทย" มีระดับหนี้สาธารณะราว 29.06% ของจีดีพีในปี 2552 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ หากเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในการสำรวจครั้งนี้

view