สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความต่างทางวัฒนธรรมที่สื่อฝรั่งมองต่างมุม

จาก โพสต์ทูเดย์   

การเช็กข่าวสารอย่างรอบด้านจากสื่อทั่วโลกนั้น นับเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างยิ่ง ตราบใดที่ไม่มีการนำสื่อต่างชาตินั้นเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ใส่ตัว ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม


โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ


ภายใต้ความต่างทางการเมืองไทยที่ปะทุขึ้นอย่างรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 10 ปีครั้งนี้ ไม่ได้สะท้อนให้เห็นเพียงความต่างระหว่างคนไทยด้วยกันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความต่างทางมุมมองของสื่อมวลชนต่างชาติ ที่ถูกตั้งข้อสงสัยอย่างหนาหูว่าไม่เป็นกลาง (Bias)


ไม่เป็นกลางอย่างไร? บ้างก็ว่าไม่เป็นกลางเพราะรายงานผ่านปากคำของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงเป็น หลัก โดยที่ไม่ให้น้ำหนักการชี้แจงจากฝั่งรัฐบาลเท่าใดนัก อาทิ กรณีผู้สื่อข่าวของซีเอ็นเอ็น อินเตอร์เนชันแนล ที่ถูกตั้งคำถามอย่างหนักผ่านกลุ่มในเว็บโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะสังคมเฟซบุ๊ก อาทิ กลุ่มที่ใช้ชื่อว่า We want more informed reporting from Dan Rivers and CNN


ขณะเดียวกันสื่อต่างชาติบางสำนักต่างก็พาดหัวข่าวสถานการณ์ในไทยที่เต็ม ไปด้วยอารมณ์เน้นความหวือหวา (Sensational) อาทิ เดลี มิร์เรอร์ ในอังกฤษ ที่รายงานถึงการใช้กระสุนจริงของทหารในการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ด้วยพาดหัวว่า “Thai’s Kill Zone” ซึ่งให้ภาพการจินตนาการที่สุดหวือหวาถึงสถานการณ์การเมืองในไทย


ในความเป็นจริงนั้น อคติหรือความไม่เป็นกลางอาจไม่ใช่สิ่งที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น กับการรายงานของสื่อต่างชาติในวันนี้ได้ เพราะคำที่น่าจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุดคือ “ความต่างทางวัฒนธรรมและความคิด”


แม้จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยเหมือนๆ กัน ทว่าก็เป็นความเหมือนที่แตกต่างกันในรายละเอียดอย่างมาก โดยเฉพาะรายละเอียดที่ว่าการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 นั้นแตกต่างจากการได้มาซึ่งประชาธิปไตยในหลายๆ ประเทศ อีกทั้งสภาพสังคมไทยทั้งวิถีการดำรงชีวิต ความคิด และขนบธรรมเนียมก็ล้วนต่างออกไป


และวิกฤตการณ์ความรุนแรงทางการเมืองครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของไทย ในปี 2553 นี้ ก็อยู่บนพื้นฐานความต่างข้างต้นนี้ด้วย โดยที่ไม่สามารถอธิบายให้คนทั่วโลกเข้าใจได้ผ่านการรายงานข่าวทางโทรทัศน์ 3 นาที หรือหน้าหนังสือพิมพ์ 1 คอลัมน์ข่าว หากผู้สื่อข่าวต่างชาติไม่พยายามทำความเข้าใจสังคมไทยหรือการเมืองแบบไทยๆ ให้มากขึ้น


วัฒนธรรมทางความคิดหนึ่งที่ต่างกันอย่างแทบจะสิ้นเชิงคือ “วัฒนธรรมทหารในการเมือง” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจรับได้ในรูปแบบของการเมืองตะวันตกที่เป็นประชาธิปไตย ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนนั้น ต้องไม่ถูกครอบงำด้วยทหาร หรือกลุ่มคนที่ปกครองด้วยอาวุธปืนและรถถัง


เพราะต้องไม่ลืมว่าการได้มาซึ่งประชาธิปไตยในหลายประเทศนั้น ล้วนผ่านสงครามและความสูญเสียอย่างสาหัส อาทิ สงครามกลางเมืองในสหรัฐระหว่างฝ่ายเหนือ-ใต้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไปหลายแสนคนเฉพาะทหาร


เมื่อทหารเป็นผู้ที่ไม่ควรอยู่ในบริบทการเมืองในแง่ของการบริหารประเทศ รัฐบาลทหาร (Military Junta) หรือรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับการหนุนหลังจากทหาร จึงเป็นผู้ที่ไม่พึงชื่นชอบของบรรดาโลกประชาธิปไตยตะวันตก


ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยังคงการปกครองในระบอบรัฐบาลทหาร โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา อาทิ กินี (2008-ปัจจุบัน) ลิเบีย (ตั้งแต่ 1969) ไนเจอร์ (2010-ปัจจุบัน) ขณะที่รัฐบาลทหารซึ่งอาจเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกมากที่สุดก็อยู่ใกล้ตัวของ ไทย อย่างรัฐบาลทหารพม่า (1962-ปัจจุบัน)


ตัวอย่างหลังได้ให้ภาพที่ชัดเจนว่าเหตุใดตะวันตกจึงไม่สามารถมีแนวคิด เชิงบวกกับทหารได้ เมื่อคณะนายทหารที่นำโดย พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย คว่ำผลการเลือกตั้งเมื่อปี 1990 ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของ อองซานซูจี ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ซึ่งนอกจากถูกปล้นชัยชนะ ซูจีและแกนนำหลายคนยังถูกกักขังหรือกักบริเวณในบ้านพักเพื่อไม่ให้เคลื่อน ไหวทางการเมืองได้


จึงไม่น่าแปลกใจที่สำนักข่าวหลายแห่งจะยังคงกังขาต่อความชอบธรรมของ รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่แม้จะเข้ามาบริหารได้อย่างถูกต้องชอบธรรมทุกประการ ทว่าความเคลือบแคลงที่มีนับตั้งแต่เหตุรัฐประหารโดยคณะนายทหารเมื่อปี 2549 ก็เป็นปัจจัยสำคัญว่าเหตุใดคนไทยจึงยังคงเห็นสื่อต่างชาติตั้งคำถามเรื่อง ความชอบธรรมมาจนถึงวันนี้


แอนดรูว์ บิ๊กส์ คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อดีตนักข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในออสเตรเลีย มองถึงกรณีที่เกิดขึ้นกับการรายงานข่าวของซีเอ็นเอ็นว่า|ซีเอ็นเอ็นอาจไม่ ได้ทำผิดจรรยาบรรณข่าวด้วยการบิดเบือนหรือเขียนความเป็นเท็จ


ทว่า สิ่งที่ไม่น่าชื่นชมนักคือความไร้สมดุลของการรายงานข่าว เมื่อนักข่าว “เล่นง่ายๆ” กับการหาข้อมูลด้วยการเข้าไปจ่อไมค์สัมภาษณ์กลุ่มผู้ชุมนุม โดยที่ไม่มีความพยายามไปหาข้อมูลรายงานสิ่งที่มาบาลานซ์ หรือสร้างสมดุลเพื่อไม่ให้เกิดการเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ซึ่งการรายงานข่าวที่เป็นกลางโดยต้องเปิดโอกาสให้มีเสียงของอีกฝ่ายด้วยนั้น นับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง


กรณีการสัมภาษณ์บุคคลก็เช่นกัน การเลือกสัมภาษณ์บุคคลที่รู้ดีว่าอยู่ฝ่ายใดนั้น ย่อมต้องมีการสัมภาษณ์อีกบุคคลหนึ่ง หรือมีการตั้งคำถามที่คานสมดุลกัน อาทิ การสัมภาษณ์ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทางสถานีโทรทัศน์อัลจาซีรา ซึ่งพิธีกรได้ถามคำถามหลายข้อที่เป็นการคานสมดุลไปในตัว เพื่อไม่ให้การสัมภาษณ์สดทางโทรทัศน์กลายเป็นกระบอกเสียงช่องทางหนึ่งของผู้ ที่หวังผลทางการเมือง ไม่ว่าจะฝ่ายใดก็ตาม


การเช็กข่าวสารอย่างรอบด้านจากสื่อทั่วโลกนั้น นับเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างยิ่ง ตราบใดที่ไม่มีการนำสื่อต่างชาตินั้นเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ใส่ตัว ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม



อ.จุฬาฯหวังสื่อช่วยสร้างปัญญาให้สังคม

ประเด็น:เกาะ ติดฝ่าวิกฤตกลียุคประเทศไทย , 24 พฤษภาคม 2553 เวลา 17:40 น.

อาจารยนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ยกกระเช้าร่วมให้กำลังใจ"โพสต์ทูเดย์" ห่วงสื่อมวลชนทำงานในภาวะขัดแย้งรุนแรง ฝากช่วยวิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข่าวสาร เพื่อสร้างปัญญาให้กับสังคม

นางสุภาพร โพธิ์แล้ว อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในโอกาสที่มาเยี่ยมหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เพื่อแสดงความห่วงใยกับสื่อมวลชน ในการนำเสนอข่าวในภาวะวิกฤตที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ว่า ในฐานะสถาบันการศึกษาด้านสื่อสารมวลชนมีความห่วงใยอย่างมากกับการทำข่าวของ สื่อมวลชนในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากมีเรื่องความปลอดภัยของชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

สุภา พร

อย่างไรก็ตาม เห็นว่าบทบาทของสื่อมวลชน มีความสำคัญต่อกระบวนการรับรู้ข่าวสารของประชาชนอย่างมาก ซึ่งข้อมูลที่สื่อมวลชนนำเสนอนั้นประกอบไปด้วย ข้อมูลที่เป็นข่าวสารข้อเท็จจริง กับ ข้อคิดเห็น ซึ่งที่ผ่านมาข่าวสาร บางข่าวสารนั้นมีการนำเสนอข้อคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปด้วย ทำให้ข่าวสารบางข่าวสารไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

“ปัจจุบัน มีสื่อจำนวนมาก ทำให้ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้เป็นจำนวนมากตามไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีต่อสังคม และประชาชนที่จะได้รับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ มากขึ้น รวมถึงข้อคิดเห็นตามคอลัมน์ที่มีอยู่ ก็จะทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลในหลายแง่มุม แต่สิ่งที่อยากให้สื่อมวลชนนำเสนอมากกว่านี้ คือในเรื่องของ บทวิเคราะห์ ที่นำข่าวสารข้อเท็จจริง มาวิเคราะห์หาถึงที่มาที่ไป ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป หรือ ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์อย่างนั้น”

บทวิเคราะห์ คือสิ่งที่จะสร้างปัญญาให้กับสังคม เพื่อที่สังคมจะได้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงของข่าวสาร เพราะปัจจุบันข่าวสารที่เกิดขึ้น นั้นมีความสลับซับซ้อนด้านข้อมูลอย่างมาก ทำให้สื่อมวลชนต้องช่วยวิเคราะห์เหตุการณ์เหล่านั้นให้กับสังคม

“ที่ถูกต้องที่สุด คือสังคมรับข่าวสารข้อมูล ข้อเท็จจริงให้มากที่สุด เพื่อนำข่าวสารทั้งหมด มาตกผลึกด้วยความคิดของตัวเอง เป็นการวิเคราะห์ด้วยตัวเอง แต่ขณะนี้ ข่าวและความคิดเห็นถูกนำเสนอปนกันไปหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรระวังอย่างยิ่ง”

นางสุภาพร ย้ำว่า บทบาทสื่อคือ การสร้างปัญญาให้กับสังคม ต้องตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วน นำเสนออย่างรอบด้าน และที่สำคัญต้องถูกต้อง นอกจากนี้ ในส่วนของบุคคลากรที่ทำสื่อ จะต้องยืนอยู่บนแนวความคิดในการนำเสนอข่าวเพื่อนำไปสู่สันติ ซึ่งหากคนทำข่าวมีจุดยืนในการทำข่าวว่าเพื่อต้องการความสงบสุข หรือ สันติ ทุกองค์ประกอบของข่าวไม่ว่าจะเป็น ประเด็นในการตั้งคำถาม ภาษาในการรายงานข่าว ภาษาในการพาดหัวข่าว ก็จะมุ่งสร้างความสงบให้กับสังคม



มธ.ซัดCNNรายงานข่าวมีอคติ

24 พฤษภาคม 2553 เวลา 17:08 น.

คณะวารสารศาสตร์ มธ. เปิดเวทีวิพากษ์การนำเสนอข่าวของสื่อต่างชาติ ซัดซีเอ็นเอ็นมีอคติกับประธิปไตยในประเทศโลกที่สาม ทำให้รายงานข่าวไม่รอบด้าน เตรียมร่อนหนังสือชี้แจงกรณี"แดนริเวอร์"

คณะวารศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดเวทีระดมความเห็นเรื่อง "การนำเสนอข่าวของสื่อต่างประเทศ"   โดยมีผู้เข้าร่วมอาทิ นางพรจิต สมบัติพานิช คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายนิพนธ์ นาคสมภพ   นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งประเทศไทย นายปารเมศร์  รัชไชยบุญ จากสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย สภาการณ์หนังสือพิพม์  สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  สมาคมผู้ประกอบการเคเบิลทีวี

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเบื้องต้นว่า จะตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษากรณีการรายงานข่าวที่ขาดมุมมองของสื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะ กรณีของ นายแดน ริเวอร์ ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น ซึ่งที่ประชุมจะทำหนังสือถึงซีเอ็นเอ็นเพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวต่อไป

"การนำเสนอข่าวของซีเอ็นเอ็น ยังมีอคติเรื่องประชาธิปไตยในประเทศโลกที่สาม  ที่มักจะเห็นว่ารัฐบาลที่มีทหารสนับสนุนมักจะเป็นเผด็จการจนกลายเป็นการนำ เสนอภาพที่ทหารใช้ความรุนแรงเท่านั้น  ซึ่งผิดกับสำนักข่าวต่างประเทศอื่นๆ  ไม่ว่าจะเป็น อัลจาซีราห์ และ ฟรานซ์24 ที่จะเสนอข่าวรอบด้านมากกว่า"ที่ประชุมระบุ

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้วิพากษ์วิจารณ์การนำเสนอข่าวของ ซีเอ็นเอ็น โดยเห็นว่าไม่มีจริยธรรมในการรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย  และไม่มีความเป็นมืออาชีพ โดยนำเสนอไม่รอบด้าน   โดยเฉาะตัวผู้สื่อข่าว เช่น นายแดน  ริเวอร์   ที่นำเสนอความจริงด้านเดียว โดยให้น้ำหนักกับฝ่ายคนเสื้อแดงมากกว่า โดยมีการนำเสนอข่าวทางฝั่งรัฐบาลน้อยมาก


กาชาดเข้าพบขอบคุณนายกฯ

จาก โพสต์ทูเดย์   
24 พฤษภาคม 2553 เวลา 15:45 น.


กาชาดเข้าพบขอบคุณอภิสิทธิ์ หลังรัฐบาลให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือ เด็ก-ผู้หญิง-คนชราในวัดปทุมฯ  

นพ.พิชิต  ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์  สภากาชาดไทย  เปิดเผยภายหลังเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า นายกฯเชิญมาหารือเรื่องภารกิจด้านมนุษยธรรมของสภากาชาดในระหว่างการชุมนุม ทางการเมืองที่สี่แยกราชประสงค์  ซึ่งสภากาชาดไทยได้ช่วยเหลือในการลำเลียงผู้บาดเจ็บออกจากพื้นที่เกิดเหตุ และการแจกเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ทุกฝ่ายที่ได้รับความเดือดร้อน

ทั้งนี้ นพ.พิชิต ถือโอกาสขอบคุณรัฐบาลที่เป็นผู้อนุญาตให้สภากาชาดไทยได้เข้าไปช่วยเหลือเด็ก ผู้หญิง คนชรา ในวัดปทุมวนาราม เมื่อบ่ายวันที่ 17 พ.ค. ซึ่งเป็นไปตามหลักการของกาชาดที่จะให้การช่วยเหลือผู้เดือดร้อนโดยไม่คำนึง ถึงความเชื่อทางการเมืองใดๆ  โดยเฉพาะเด็กและผู้อ่อนแอต้องเข้าถึงอาหารได้แม้ยามสงคราม 

นอกจากนี้รัฐบาลยังให้ความร่วมมือกับกาชาดในการนำผู้บาดเจ็บ 5 คน  ออกจากวัดปทุมวนาราม เมื่อประมาณ 4 ทุ่มของคืนวันที่ 19 พ.ค.เพื่อส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลด้วย

“สภากาชาดไทยคาดหวังว่า จะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลในการปฏิบัติภารกิจมนุษยธรรม เพื่อช่วยเหลือทุกฝ่ายต่อไป  หากมีความข้ดแย้งทางการเมืองใดๆ เกิดขึ้นอีกในอนาคต” นพ.พิชิต กล่าว

อนึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 พ.ค. มีรายงานว่า นายกฯ ได้แสดงความเห็นต่อที่ประชุม ครม. ด้วยความแปลกใจ กรณีสภากาชาดไทยเข้าไปสนับสนุนเสบียงอาหารแก่ผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ทั้งที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานกาณณ์ฉุกเฉิน กำลังใช้มาตรการกดดัน สกัดเส้นทางเข้าชุมนุมและตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหาร



เอ็นจีโอเปิดศูนย์รับร้องเรียนผลกระทบจากเหตุรุนแรง

จาก โพสต์ทูเดย์   
24 พฤษภาคม 2553 เวลา 16:25 น.

เอ็นจีโอเปิดศูนย์ ศรส.รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ได้รับผลกระทบความรุนแรงในกทม.

เมื่อเวลา 14.00 น. ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน ได้มีการแถลงข่าวจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย จากความรุนแรงทางการเมือง ( ศรส.) โดยนายไพโรจน์ พลเพชร ในฐานะประธาน ศรส.กล่าวว่า ศูนย์นี้จะเปิดขึ้นเพื่อดำเนินการเป็นการเฉพาะกิจ ให้ความช่วยเหลือจากการกรณีอันเนื่องจากสาเหตุความรุนแรงทางการเมืองที่เกิด ขึ้นในเขต กทม.และพื้นที่อื่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ 1.รับร้องเรื่องเรียนกรณีคนตาย สูญหาย บาดเจ็บ ถูกจับกุม  และ ผู้เดือดร้อนเสียหายอื่น 2.ให้คำปรึกษาเบื้องต้นและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งราชการ เอกชน และองค์กรอิสระ 3.บันทึกข้อเท็จจริง เหตุการณ์ จากผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรง 4.รณรงค์เพื่อกระตุ้นหน่วยงานรั้ฐ เอกชน และองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการช่วยเหลือ และเยียวยา

ทั้งนี้ศุนย์จะเปิดรับเรื่องร้องเรียนทุกวัน ระหว่าง 10.00 น.-17.00 น.โดยมีนักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน ประจำศูนย์อย่างน้อย 5 คน ผู้ที่ต้องการร้องเรียนสามารถติดต่อประสานงานขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลข 086-0808-767 และ 086-0808477 หรืออีเมล์ hlachumanrights@gmail.com 


เหตุเกิดที่วัด ปทุมวนาราม

จาก ไทยรัฐออนไลน์


บรรทัดนี้ขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัยกับ  ผู้เสียชีวิต  อันเนื่องมาจากเหตุการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ประวัติศาสตร์ การเมืองเลือด  19  พฤษภาคม  จะถูกบันทึกไว้ในลักษณะไหนก็ตาม  ผู้สูญเสีย

จะ ถูกเรียกขานว่าผู้ก่อการร้ายหรือวีรบุรุษก็ตาม   และนับตั้งแต่นี้ไปความแตกแยกในประเทศจะลุกลามเป็นสงครามกลางเมือง   บ้านป่าเมืองเถื่อนหรือไม่ก็ตาม แต่ความเป็นชาติไทยและการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์คนไทยจบสิ้นลงแล้ว จากปากคำของเจ้าหน้าที่อาสาพยาบาล ร่วมด้วยช่วยกันโดยอ้างอิงจากการบอกเล่าเรื่องราววิปโยคของเจ้าหน้าที่ชื่อ เก่ง   ผ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจหน้า 8 ประจำวันศุกร์ที่ 21 พ.ค.2553 ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณวัดปทุมวนาราม

"พวกผมคิดว่าเขตอภัยทาน คือพื้นที่ปลอดภัยมากที่สุด" "ความจริงแล้วเพื่อนผมน้องเล็กศพที่  6  ไม่น่าจะเสียชีวิตถ้ามีคนมาช่วยได้ทัน   ไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนกล้าเข้ามาช่วยเพราะขนาดพวกผมเห็นคนโดนยิง   จะออกไปลากผู้บาดเจ็บเข้ามาในวัดก็ถูกกราดยิงลงมาหมด"

"ผู้บาดเจ็บ 6 รายในวัดทรมานมาก ลุงคนหนึ่งโดนยิงอกทะลุหลัง เป็นรูใหญ่มาก   ต้องเอาไม้ช่วยกันดามหลังไม่ให้กระดูกขยับ   เจ้าหน้าที่ไม่มีใครนำคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาลได้   ช่วยกันทำทุกอย่างให้น้ำเกลือ   ให้เลือด จาก 6 โมงเย็นจน 5 ทุ่มกว่ามีรถพยาบาลเข้ามา แต่ก็มีคนเจ็บโดนยิงที่สะโพกไม่ยอมออกไปเพราะกลัวทหารยิงมาก" "ผมไม่ได้ใส่ร้ายทหาร ผมว่าศพเยอะมากๆ ผมสงสัยทำไมทหารต้องเอาศพคนตายไป ผมเห็นกับตา เข้าไปโดนยิงแล้วทหารเอาเชือกผูกแล้วลากออกไป   ทำไมรัฐบาลเป็นแบบนี้ ผม   ชาวบ้านหลายคนเห็นเหตุการณ์ทุกอย่าง   ในช่วงเช้าที่สลายการชุมนุมเฉพาะศพที่ลากขึ้นรถไปน่าจะ 4 ศพ วันที่ 10 เม.ย.ผมว่าหนักแล้วน่าจะยุติ วันที่ 19 พ.ค.หนักกว่าเยอะ"

"ผมคิดว่า ป้ายตัวใหญ่เขตอภัยทานหน้าวัดจะปลอดภัยที่สุดแล้วแต่ไม่ใช่"

และวัน ที่ 21 พ.ค.เข้าเคลียร์พื้นที่เซ็นทรัลเวิลด์บางส่วน พบศพอีก  9  ศพ  ตามคำบอกเล่าของผู้อยู่ในเหตุการณ์  หลังแกนนำเสื้อแดงเข้ามอบตัวเกิดความชุลมุนวุ่นวาย  มีคนเสื้อแดง  จำนวนนับร้อย  หนีเข้าไปหลบในตึกเซ็นทรัลเวิลด์  ต่อมามีเสียงปืน  มีการจุดไฟ  มีเสียงกรีดร้อง

ใครคือชายชุดดำที่เผาทั้งช่อง  3  เผาเซ็นทรัลเวิลด์  กราดยิงใส่ประชาชน

ทั้งๆที่รู้ว่าคนที่อยู่ใน เหตุการณ์ก็คือประชาชนเสื้อแดงที่มาร่วมชุมนุมมือเปล่าทั้งนั้นคงไม่ทำกัน เอง   สลดกับมาตรฐานความเป็นมนุษย์ในสังคมไทย   สลดกับท่าทีรัฐบาล   สลดกับการวิตกกังวลต่อการสูญเสียวัตถุผลประโยชน์มากกว่าชีวิตเพื่อนมนุษย์   สลดต่อสันดานของนักการเมืองที่แอบอ้างชาวบ้านเป็นตัวประกันได้ทุก สถานการณ์   และสลดต่อการปล้นอำนาจในระบอบประชาธิปไตยครั้งแล้วครั้งเล่า

มาตรฐาน ของประเทศไทยอยู่ที่ปลายกระบอกปืนว่าจะชี้ไปทางไหน.

หมัดเหล็ก


2นักข่าวฝรั่ง เล่าประสบการณ์สยองในวัดปทุมวนาราม

จาก ข่าวสดออนไลน์

วันทหารสลายผู้ชุมนุม

 เมื่อ 21 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ข่าว ดิ ออสเตรเลียน ของออสเตรเลีย รายงานว่า นายสตีฟ ทิกเนอร์ นักข่าวช่างภาพในสังกัดที่มาจากเมืองนิวคาสเซิล รัฐนิวเซาท์เวลส์ เข้าไปทำข่าวการชุมนุมและอยู่ในที่เกิดเหตุสลายผู้ชุมนุมที่วัดปทุมวนาราม วันที่ 19 พ.ค. ทิกเนอร์ เล่าว่า ตลอดคืนนั้นมีแต่เสียงปืนและระเบิด ภายในวัดมีทั้งคนตายและผู้บาดเจ็บ คนที่อยู่ในวัดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และไม่ใช่กลุ่มฮาร์ดคอร์


 นายทิกเนอร์ กล่าวว่า ชายคนหนึ่งที่อยู่ในวัดถูกทหารที่อยู่ห่างจากวัดไม่กี่เมตรยิงเข้าใส่ ชายคนนั้นทรุดลงไปกองกับพื้น เมื่อตนและพระสงฆ์จะเข้าไปช่วยลากชายคนนั้น ก็ถูกทหารยิงใส่เข้ามา ตนคิดว่าทหารรู้ว่าตนเป็นนักข่าว เพราะเห็นกล้อง ต่อมาตนและพระช่วยกันลากชายคนนั้นเข้าไป แต่ก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา บรรยากาศในตอนนั้นเต็มไปด้วยความกลัว ตื่นตระหนกและเครียด ตนไม่ได้ออกจากวัด เพราะกลัวถูกยิงตาย ข้างนอกวัดมีสไนเปอร์และรถถัง มีแต่ความโกลาหล

 

 ด้านเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะโกล้บ แอนด์ เมล์ สื่อชื่อดังของประเทศแคนาดา รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค. นายมาร์ก แม็กคินนอน ผู้สื่อข่าวเดอะโกล้บ แอนด์ เมล์ ปฏิบัติหน้าที่ทำข่าวเหตุทหารไทยบุกโจมตีเวทีชุมนุมใหญ่คนเสื้อแดงแยกราช ประสงค์ และเขียนบทความเรื่อง In a Bangkok Buddhist temple, the groans of the wounded shot seeking sanctuary. เล่าประสบการณ์เฉียดตายในวันดังกล่าว ว่า ตนกับนายแอนดรูว์ บันคอมบ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ ดิ อินดีเพนเดนต์ ประเทศอังกฤษ พร้อมนายร็อบ ดอนเนลแลน ชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และอาสาทำหน้าที่ล่ามแปลภาษา ออกไปเก็บข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกระทั่งท้ายที่สุดเข้าไปทำข่าวในเขตวัด ปทุมวนารามในช่วงเย็นและพบชาวนา รวมทั้งชาวบ้าน ซึ่งเป็นมวลชนคนเสื้อแดงหลบภัยอยู่ข้างในวัดประมาณ 1,500 คน ส่วนแกนนำ นปช.นั้นหายไปหมดสิ้น


 นายแม็กคินนอนระบุว่า ก่อนหน้านี้แกนนำเสื้อแดงกล่าวกับมวลชนว่าถ้าทหารบุกเข้าที่ชุมนุมให้ เคลื่อนย้ายมายังวัดปทุมวนารามเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม พอใกล้ถึงกำหนดที่รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว เวลา 20.00 น. วันที่ 19 พ.ค. สถานการณ์รอบๆ วัดก็ตกอยู่ในสภาพตึงเครียด จนตนกับแอนดรูว์และร็อบออกจากวัดไม่ได้ต้องหลบกระสุนกันชุลมุน แม้ว่าวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และน่าจะปลอดภัยก็ตาม ขณะเดียวกัน คนบางคนในกลุ่มผู้ชุมนุมพยายามยิงพลุตอบโต้ฝ่ายทหาร

 

 ต่อมาตนเข้าไปหลบในกุฏิพระและมีโอกาสใช้อินเตอร์เน็ตตรวจสอบเหตุการณ์ ข้างนอก จากนั้นนายแอนดรูว์โทรศัพท์มือถือเข้ามาบอกว่า "ผมถูกยิงแล้วเพื่อน" เมื่อไปถึงบริเวณประตูวัดพบนายแอนดรูว์ถูกปืนลูกซองยิงใส่ได้รับบาดเจ็บตรง ต้นขา และเสียงกระสุนปืนดังสนั่นหวั่นไหวมาก


 ผู้สื่อข่าวแคนาดาซึ่งผ่านประสบการณ์สยองในวัดปทุมวนาราม รายงานต่อไปว่า ตนใช้มือถือโทร.ติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานทูตแคนาดา อังกฤษ รวมถึงโรงพยาบาลต่างๆ และต่อสายไปยังสำนักงานของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผู้ออกคำสั่งปราบปรามคนเสื้อแดง ชั่วโมงอันยาวนานผ่านพ้นไป บางขณะเสียงปืนเงียบไป แต่กลับดังระงมขึ้นอีก ตามด้วยเสียงระเบิดปริศนาหลายนัด ในที่สุดได้รับโทรศัพท์แจ้งว่ามีการตกลงหยุดยิงเพื่อให้รถพยาบาลเข้ามารับ นายแอนดรูว์กับผู้บาดเจ็บออกจากวัดไปโรงพยาบาล

 

 เมื่อรถมาถึงนายแอนดรูว์ปฏิเสธไม่ยอมขึ้นรถเป็นคนแรก เพื่อเปิดทางให้ผู้บาดเจ็บคนอื่นๆ ไปก่อน เพราะไม่มั่นใจว่าเมื่อเจ้าหน้าที่มาช่วยชาวต่างชาติแล้วจะกลับไปเลยโดย ละทิ้งคนอื่นๆ หรือไม่ ส่วนเจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉินขอให้ตนเข้าไปบอกคนในวัดว่าพรุ่งนี้เช้าจะ พยายามกลับมาใหม่ อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อช่วยเหลือสตรี คนชรา และผู้บาดเจ็บที่อาจยังหลงเหลือ จากเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 7 คน ในจำนวนนี้เป็นเจ้าหน้าที่การแพทย์ 2 คน บาดเจ็บ 10 คน


จาก ข่าวสดออนไลน์


ถ้า ไม่ยุบ-ไม่ออก
ชก ไม่มีมุม
วงค์ ตาวัน


ในนาทีนี้ ไม่มีใครรู้สึกสบายอกสบายใจ เพราะไม่เชื่อว่าจะเกิดความสงบขึ้นในบ้านเมือง ภายหลังรัฐบาลตัดสินใจใช้ปฏิบัติการทางทหารจัดการกับม็อบราชประสงค์จนราบคาบ

*ทุกคนรู้ดีว่า ชัยชนะของรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 พ.ค. จะนำไปสู่ความรุนแรงที่น่ากลัวกว่า!*

คราวนี้แหละ สิ่งที่ศอฉ.โหมประโคมมาตลอด เรื่องผู้ก่อการร้าย โดยไม่มีใครเคยเห็นเลยนั้น

ทีนี้อาจจะได้เห็นกันจริงๆแล้ว

ก่อการร้ายรับมือยากเย็นขนาดไหน ก็ 3 จังหวัดใต้นั่นไง

แล้วจะได้รู้กันว่า ระหว่างการยอมยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ซึ่งเป็นทางออกประชาธิปไตย กับการใช้อำนาจกองทัพจัดการกับผู้ชุมนุมนั้น

อะไรคุ้มกว่ากัน!!

สำคัญที่สุดเหตุการณ์ขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนหนนี้มีชาวบ้านสังเวย ชีวิตกว่า 80 ศพ

อันเป็นความตายในทางการเมืองที่มากมายที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

*แล้วส่วนใหญ่ ไม่น่าจะเป็นผู้ก่อการร้าย*

เห็นได้จากภาพข่าว คลิปว่อนตามเน็ต คนตายมักโดนส่องด้วยหน่วยสไนเปอร์

ตายขณะเคลื่อน ไหวในแนวบังเกอร์ยางรถยนต์ โดยอาวุธในมือ คือ ระเบิดขวด ระเบิดเพลิง หนังสติ๊ก ปืนสั้น!

เมื่อรัฐบาลเลือกหนทางใช้รถหุ้มเกราะบุกเข้าสู่พื้นที่ชุมนุม ทำให้ต้องยอมสลายตัวด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่เต็มไปด้วยความคับแค้น

รู้สึกถูกข่มเหงรังแก เพราะรัฐบาลไม่ใช้วิถีเจรจา แต่ใช้กำลังอำนาจรัฐอันใหญ่โต ใช้กองทหารที่มีความเหนือกว่าผู้ชุมนุมทุกประการ

**ส่วนอาวุธร้ายแรงของม็อบ เราได้เห็นจากการตรวจค้นภายหลัง จะเชื่อได้สนิทใจหรือ!?**

แล้วจนบัดนี้ญาติพี่น้องของเขาที่ล้มตายไปกว่า 80 ศพ ไม่มีท่าทีความรับผิดชอบจากผู้มีอำนาจ

เมื่อม็อบจบแบบนี้ ทุกคนย่อมรู้ดีว่า เตรียมรับมือกับก่อการร้ายของจริงในทั่วประเทศได้เลย

ถ้ารัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯ ไม่แสดงท่าทีทางการเมือง เช่นยุบสภา หรือลาออก

*เพื่อรับผิดชอบต่อความตายของพลเมืองภายใต้การปกครองของนายกฯ*

ซึ่งก็เห็นห่วงกันแต่ตึก แต่ไม่นึกถึงชีวิตคนตาย

ถามหน่วยความมั่นคงดูเองก็ได้

นายกฯและคนในรัฐบาลนี้จะเดินเหินไป ไหนคงยากลำบากน่าห่วงใยเต็มที!


สุเทพเตือนสื่อมีสติเสนอข่าวภาพทหารบนบีทีเอส

จาก โพสต์ทูเดย์   
24 พฤษภาคม 2553 เวลา 12:34 น.


สุเทพเตือนสื่อมีสติเสนอข่าวภาพทหารบนรถไฟฟ้าบีทีเอส ย้ำเป็นภาพที่ศาลาแดงไม่ใช่สยามสแควร์

นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี  กล่าวถึงกรณีที่ นายพร้อมพงษ์  นพฤทธิ์ นำภาพมีทหารอยู่บนรถไฟฟ้าบีทีเอส และกล่าวเชื่อมโยงถึงการยิงประชาชนเสียชีวิต 6 รายที่วัดปทุมวนารามว่า   นายพร้อมพงษ์ก็โกหกทุกวัน  ถ้าจะเชื่อนายพร้อมพงษ์ ไม่ว่าใครก็แล้วแต่ แต่นั่นคือภาพที่ศาลาแดงซึ่งสังเกตที่มีแนวบังเกอร์อยู่  แต่ ที่สยามสแควร์จะไม่มีแนวบังเกอร์ของเจ้าหน้าที่

“ใคร ที่ลงข่าวก็จะต้องมีสติในการดูด้วย ถ้าเห็นอะไรนิดนึงแล้วเชื่อเขาไปหมด ตกใจไปหมดอีกหน่อยเราก็คงจะต้องกลุ้มใจ”นายสุเทพ กล่าว


นายสุเทพ กล่าวว่า  การสืบสวนเหตุการณ์ยิงประชาชน 6 ราย ที่วัดปทุมวนาราม  ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังรวบรวมหลักฐานข้อมูล ซึ่งรัฐบาลจะพูดต่อเมื่อมีหลักฐานครบถ้วนเรียบร้อย ขอให้สบายใจได้ว่าในการตรวจสอบเบื้องต้น เท่าที่ดู ไม่ใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่


เมื่อถามว่า พวกไหนใครที่จะสามารถเดินไปบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสได้  นอก จากเจ้าหน้าที่เพราะมีการปิดให้บริการ นายสุเทพ กล่าวว่า  “โจรไงครับ ผู้ร้ายไงครับ เขาอยู่ที่นั่นมาตลอด การขึ้นไปบนรางรถไฟฟ้านั้นเจ้าหน้าที่เข้ามา 2 ทาง จากศาลาแดงหนึ่งทางและจากเพลินจิตอีกหนึ่งทาง และเมื่อตอนที่ทางสยามสแควร์ปิดเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถขึ้นไปบนนั้นได้  และขณะที่แกนนำนปช.มอบตัว ยุติการชุมนุมเราได้ให้เจ้าหน้าที่หยุดไม่เคลื่อนที่ต่อไป เพราะว่าจะทำให้บรรยากาศของเขาที่จะประกาศยุติกานชุมนุม จะกระทบกระเทือน ในขณะเดียวกันช่วงเย็นเราก็ไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่อีก เพราะว่าไปสำรวจแล้วยังมีประชาชนอีกจำนวน 2-3 พันคน ที่ยังคงมีอารมณ์ค้าง ซึงเรื่องอย่างนี้เราจะเอาข้อเท็จจริงมาแถลงกับพี่น้องประชาชน กราบเรียนให้ประชาชนทราบทุกขั้นทุกตอน


นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า อยากทราบเหมือนกันคนที่ยิงพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล  ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็นหน่วยงานใด ฝ่ายไหน ใครเป็นคนทำและเจ้าหน้าที่ก็กำลังตรวจสอบที่จะดำเนินคดีต่อไป  เพราะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่จะต้องดำเนินการ ทุกคนทุกรายที่เกิดเหตุจะต้องพยามยามหาหลักบานมาตรวจสอบข้อเท็จจริง


view