สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จี้ รัฐจัดระเบียบ-ปฏิรูปกฎหมาย ดัน โลจิสติกส์ไทย สู่แถวหน้าอาเซียน (2)

จากประชาชาติธุรกิจ



หมาย เหตุ - ผลศึกษาศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์และขนส่งทางบกไทย ของผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ฉบับนี้ต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างไทย-มาเลเซีย ดังต่อไปนี้

ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า นอกจากจะมีการศึกษาศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ โลจิสติกส์และขนส่งทางบกไทยของผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เปรียบเทียบไทยกับสิงคโปร์แล้ว ศูนย์ยังได้ศึกษาเปรียบเทียบกับมาเลเซีย ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์มาก โดยมีการกำหนดทิศทางการพัฒนา ประเทศด้วยการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไปสู่ระบบ Externality Logistics Network ซึ่งเป็นระบบที่มีการพัฒนา ต้นทุนโลจิสติกส์ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบเครือข่ายซัพพลายเชน การพัฒนา โลจิสติกส์ของมาเลเซียนับว่ามีความก้าวหน้ามาก

ในขณะเดียวกัน มาเลเซียยังให้ความสำคัญกับการปกป้อง ผู้ให้บริการด้าน โลจิสติกส์ในประเทศ เช่น ในด้านธุรกิจคลังสินค้า หรือธุรกิจขนส่ง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้น ย่อมส่งผลต่อธุรกิจขนส่งทางบกและบริการด้านโลจิสติกส์ของไทยและมาเลเซียด้วย เช่นกัน

หากพิจารณาเปรียบเทียบไทยกับมาเลเซียด้านปัจจัยการผลิต เมื่อพิจารณาด้านแรงงานมาเลเซียจะพบว่ามีความได้เปรียบมากกว่าไทย โดยเฉพาะในด้านภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และ ความคล่องตัวในด้านการใช้อินเทอร์เน็ต ขณะที่แรงงานไทยยังมีความตื่นตัวหรือการพัฒนาทางด้านภาษา อินเทอร์เน็ต ตลอดจนความรู้ในด้านการขนส่งและด้านโลจิสติกส์น้อยกว่าแรงงานมาเลเซีย

สำหรับ บุคลากรหรือผู้บริหารของธุรกิจขนส่งทางบกในมาเลเซีย ถือได้ว่าเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีความรู้ความสามารถด้านการ ขนส่งด้านโลจิสติกส์ รวมถึงด้านภาษา ตลอดจนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล อีกทั้งยังมีความสามารถในการเจรจาการค้ากับผู้ว่าจ้าง (Supplier) ในประเทศนอกอาเซียนได้ดีกว่าผู้บริหารไทย จึงส่งผลให้ตลาดของการขนส่งทางบกของมาเลเซียค่อนข้างกว้างกว่าไทย

ทาง ด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น ทั้งไทยและมาเลเซียค่อนข้างจะมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ในระดับใกล้เคียงกันด้านการสื่อสาร แต่ของมาเลเซียได้เปรียบไทยในด้าน การบริหารจัดการและการบริการที่ค่อนข้างเป็นระบบและมีระเบียบมากกว่าไทยทาง ด้านเทคโนโลยี โดยทั่วไปแล้วใกล้เคียงกัน แต่มาเลเซียมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านข้อมูลการขนถ่ายสินค้าที่เป็นระบบ และมีความละเอียดมากกว่าของไทยมาก

เมื่อพิจารณาด้านการบริหารจัดการ ซึ่งเชื่อมโยงมาจากปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรระดับผู้บริหาร รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบกันแล้ว จะพบว่าการบริหารจัดการด้านการขนส่งสินค้าทางบกของมาเลเซียมีการบริหาร จัดการที่เป็นระบบมากกว่าของไทย

สำหรับปัจจัยด้านเงินทุนและการเข้า ถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจการขนส่งทางบกของไทยเปรียบเทียบกับมาเลเซีย พบว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของไทย ค่อนข้างยากกว่ามาเลเซีย อันเนื่องมาจากด้านการเงินและบัญชีของมาเลเซีย มีการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าของไทย มีระบบบัญชีที่มีความชัดเจน ไม่ซับซ้อน หรือการมีเพียงบัญชีเดียว จึงทำให้ระบบการให้การสนับสนุนด้านเงินทุนหรือส่งเสริมการเงินคล่องตัวกว่า ไทย

สำหรับการแข่งขันและกลยุทธ์ธุรกิจ ทางด้านประสิทธิภาพการให้บริการด้วยการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการค่อนข้างดีกว่าไทย อีกทั้งการให้บริการขนส่งทางบกของมาเลเซียนั้น รถบรรทุกสามารถผ่านเข้ามาในประเทศไทยและสิงคโปร์ได้ ขณะที่การผ่านเข้ามาเลเซียของรถบรรทุกไทยค่อนข้างมีข้อจำกัดมากกว่า จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการให้บริการต่อลูกค้า

ส่วนการรวมกลุ่มของ ผู้ประกอบการ การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางบกของมาเลเซียค่อนข้างมีความเข้ม แข็งกว่าการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการไทย การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมขององค์กร อีกทั้งการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินการที่เกื้อกูลกัน อาทิ การบริหารคลังสินค้าของมาเลเซีย มีลักษณะเป็นคลังสินค้าสาธารณะ ซึ่งจะเอื้ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในขณะที่คลังสินค้าของไทยส่วนใหญ่จะเป็นของเอกชน จึงทำให้เกิดต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น

สุดท้ายคือนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบของภาครัฐ การดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าทางบกของมาเลเซีย มีกฎหมายและกฎระเบียบที่เข้มงวดและมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง อีกทั้งขั้นตอนของพิธีการศุลกากรของมาเลเซียยังเป็นแบบ One Stop Service และขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เมื่อเปรียบเทียบกับของไทย ซึ่งค่อนข้างมีพิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยากกว่ามาก สำหรับนโยบายของภาครัฐ การเมืองของมาเลเซียมีเสถียรภาพและความต่อเนื่องมากกว่ารัฐบาลของไทย จึงทำให้มาเลเซียมีนโยบายด้านการขนส่งและด้านโลจิสติกส์ที่ค่อนข้างแน่นอน ประกอบกับมาเลเซียมีเป้าหมายพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2563 จึงมีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่ง ขันของมาเลเซียไปสูาระดับโลก เหล่านี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านการขนส่งทางบกและ โลจิสติกส์ของมาเลเซียในที่สุด

view